ความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มจะซบเซาต่อเนื่องยาวนาน กำลังส่งผลให้เกิดคลื่นการอพยพของผู้คนครั้งใหม่ในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมในระยะถัดจากนี้อย่างไม่อาจเลี่ยง
การอพยพย้ายถิ่นของประชากรโลกในช่วงที่ผ่านมา อาจผูกพันอยู่กับประเด็นว่าด้วยสงครามและความขัดแย้ง ซึ่งนำไปสู่การย้ายถิ่นครั้งใหญ่ของประชากรทั้งจากภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเข้าสู่ยุโรป ซึ่งติดตามมาด้วยวิกฤตผู้ลี้ภัยในปี 2015 ที่แม้ในปัจจุบันจำนวนผู้อพยพจะลดปริมาณลง แต่นั่นก็ไม่อาจทำให้สหภาพยุโรปและประเทศในยุโรปสามารถนิ่งนอนใจว่าการอพยพระลอกใหม่จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต
ก่อนหน้านี้ ประเทศในยุโรปหลายประเทศได้เรียกร้องให้มีมาตรการควบคุมคนเข้าเมืองที่รัดกุมยิ่งขึ้น ในขณะที่คณะกรรมการสหภาพยุโรปแจ้งว่าพร้อมยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนจากความวุ่นวายทางการเมืองดังกล่าว โดยเฉพาะผู้อพยพย้ายถิ่นวัยหนุ่มสาวที่กำลังเผชิญปัญหาการว่างงานในประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือเหล่านั้น
เพราะประเด็นปัญหาว่าด้วยผู้อพยพในยุโรปไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยว หากแต่ยังเต็มไปด้วยความอ่อนไหวเปราะบางที่เกี่ยวเนื่องกับภูมิทัศน์ทางการเมืองและการบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับกลุ่มประชากรที่เป็นฐานเสียงสนับสนุนการเลือกตั้ง และต่อเนื่องสัมพันธ์ไปสู่บริบทของการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย
ขณะเดียวกันภาพของคลื่นมนุษย์ที่รอคอยโอกาสในการเข้าเมืองไปแสวงหาอนาคตใหม่ในภูมิภาคละตินอเมริกา กลับให้ภาพที่แตกต่างออกไป เพราะประชาชนจำนวนไม่น้อยยินดีที่จะทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนเดินเท้าไปยังแนวพรมแดนของทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือพรมแดนสหรัฐอเมริกา ได้สะท้อนภาวะแร้นแค้นจากสภาพเศรษฐกิจที่ล้มเหลว ซึ่งแผ่ซ่านไปทั่วทั้งภูมิภาคอย่างชัดเจนที่สุด
การอพยพลี้ภัยหนีถิ่นฐานของผู้คนที่เกิดขึ้นจากผลของความล่มสลายทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคละตินอเมริกาและอเมริกากลาง ดูจะเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังจับตามองอย่างสนใจ และเร่งหาแนวทางในการแก้ไขอย่างกังวล โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ระบุว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าภูมิภาคละตินอเมริกากำลังต้องการความช่วยเหลือ
“ปัญหานี้อาจทวีความรุนแรงจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ที่เราได้เห็นมาแล้วในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้อาจกลายเป็นวิกฤตการณ์ได้อย่างรวดเร็ว และเราต้องเตรียมรับมือ” IOM ระบุ
ขณะที่รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ระบุว่าแนวโน้มการอพยพย้ายถิ่นของประชากรโลกกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ โดยประเทศต่างๆ พยายามเร่งฟื้นฟูการจ้างงานในประเทศ พร้อมกับสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง สะอาดและเท่าเทียมมากกว่าเดิม ซึ่งการวิเคราะห์การอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรโลกครั้งใหม่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ประเด็นที่น่าสนใจจากรายงานของ OECD ดังกล่าวในด้านหนึ่งอยู่ที่การระบุว่าการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้อพยพข้ามประเทศจำนวนมากกว่าร้อยละ
EconomicRefugeeคลื่นผู้อพยพเศรษฐกิจโลก Read More