วันศุกร์, พฤศจิกายน 8, 2024
Home > New&Trend > แคนนอน EOS โตสวนกระแส ผงาดเบอร์ 1 กล้องดิจิตอลถอดเปลี่ยนเลนส์ได้แบบฟูลเฟรมในประเทศไทย ฉลองผลิตครบ 100 ล้านเครื่องทั่วโลก ในปี 2562

แคนนอน EOS โตสวนกระแส ผงาดเบอร์ 1 กล้องดิจิตอลถอดเปลี่ยนเลนส์ได้แบบฟูลเฟรมในประเทศไทย ฉลองผลิตครบ 100 ล้านเครื่องทั่วโลก ในปี 2562

แคนนอน EOS โตสวนกระแส ผงาดเบอร์ 1 กล้องดิจิตอลถอดเปลี่ยนเลนส์ได้แบบฟูลเฟรมในประเทศไทย ฉลองผลิตครบ 100 ล้านเครื่องทั่วโลก ในปี 2562

แคนนอน สร้างปรากฏการณ์ไมล์สโตนใหม่ หลังบุกตลาดกล้องมิเรอร์เลส แบบฟูลเฟรม ปั้นผลิตภัณฑ์ไฮไลต์ “Canon EOS RP” (แคนนอน อีโอเอส อาร์พี) สร้างยอดขายโตแรงแซงคู่แข่ง ผงาดขึ้นเป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย หนุนความแข็งแกร่งกล้องตระกูล EOS ทุบสถิติยอดผลิต 100 ล้านเครื่องทั่วโลก

วรินทร์ ตันติพงศ์พาณิช รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เผยว่า “ปี 2562 ถือเป็นปีแห่งความสำเร็จของแบรนด์กล้องแคนนอนในประเทศไทย ที่สามารถทำตลาดสร้างการเติบโตได้อย่างดี โดยแคนนอนสามารถทำยอดขายก้าวขึ้นเป็น “ผู้นำ” และมีส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 36.3% เติบโตสูงถึง 179% จากปี 2561 ในกลุ่มกล้องดิจิตอลถอดเปลี่ยนเลนส์ได้แบบฟูลเฟรม (ที่มา: รายงาน GfK:Growth from Knowledge) พร้อมกันนี้ บริษัทยังฉลองความสำเร็จด้านการผลิตกล้องในตระกูล EOS ครบ 100 ล้านเครื่องทั่วโลก สะท้อนถึงผู้บริโภคที่ให้การสนับสนุน สำหรับกลยุทธ์การทำตลาดที่ส่งผลให้แคนนอนยืนหยัดความเป็นผู้นำตลาดกล้องถ่ายภาพในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งมั่นสร้างสรรค์กล้องที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำหน้าออกสู่ตลาด ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ มองหาสินค้าที่มีคุณภาพการถ่ายภาพระดับมืออาชีพ แต่พกพาง่าย ทำให้เมื่อต้นปี 2562 ที่ผ่านมา แคนนอนส่งสินค้าเรือธง “EOS RP” บุกตลาด เพื่อเติมเต็มความต้องการของตลาดและเดินหน้ากิจกรรมทางการตลาดอย่างเต็มรูปแบบ

ทั้งนี้ กล้องแคนนอน EOS RP เป็นการผสานจุดแข็งของกล้อง DSLR ที่มีอยู่ของแคนนอน และเทคโนโลยีอันล้ำหน้ามากมาย เพื่อออกมาเป็นกล้องถ่ายภาพที่ให้ภาพถ่ายคุณภาพสูง และมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย และเอาใจสาวกแคนนอนอย่างยิ่ง เพราะสามารถใช้งานเลนส์ EF ที่ใช้งานร่วมกับกล้อง DSLR อยู่เดิมได้เต็มรูปแบบ และยังดึงเอาประสิทธิภาพบางอย่างของเลนส์ให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย มีระบบเซ็นเซอร์ Dual Pixel CMOS AF เพื่อความรวดเร็วแม่นยำ ไม่สะดุดในการโฟกัส ตัวกล้องพร้อมใช้งานเพียงเสี้ยววินาทีหลังเปิดกล้อง พร้อมฟังก์ชั่นปรับแสงอัตโนมัติช่วยปรับสมดุลจุดที่สว่างที่สุดและมืดที่สุด เพื่อให้ได้ภาพถ่ายสวยสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น”

วรินทร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ด้วยไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ยังคงชื่นชอบการถ่ายภาพ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเปลี่ยนไป คือมองหากล้องคุณภาพสูง ให้ภาพถ่ายคมชัดสวยงามระดับมืออาชีพ แต่ขนาดต้องกะทัดรัด ใช้งานคล่องตัว และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความสะดวกในการถ่ายภาพมากขึ้น แคนนอนจึงมุ่งมั่นพัฒนากล้องที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเหล่านี้ ซึ่งหลังจากแคนนอน เปิดตัวกล้อง EOS RP ส่งผลให้ได้รับความนิยมในท้องตลาดอย่างรวดเร็ว และเป็นไปตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ซึ่งความตั้งใจจากแคนนอน อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ที่นำอักษร P จากกล้อง Canon P (Populaire) กล้องเรนจ์ไฟน์เดอร์ ที่เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2502 ซึ่งเป็นกล้องที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้น ให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสินค้าโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีมาใช้ในกล้องตระกูล EOS R พร้อมระบบ EOS R system ที่ล้ำหน้า ทำให้ผู้ใช้สามารถการถ่ายภาพได้รวดเร็ว โฟกัสแม่นยำ ให้โทนสีที่สวยงามเป็นธรรมชาติสมจริง ใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ และคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพตามแบบฉบับของแคนนอน ผนวกกับการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้แคนนอน EOS RP เติบโตอย่างน่าพอใจ”

นอกจากนี้ ปี 2562 ยังเป็นปีที่แคนนอนผลิตกล้องในตระกูล EOS ครบ 100 ล้านเครื่องทั่วโลก หลังจากจุดเริ่มต้นผลิตครั้งแรกในปี 2530 โดยตลอดระยะเวลา 32 ปีที่ผ่านมา แคนนอนได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ พร้อมเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อประสิทธิภาพในการถ่ายภาพสูงสุดคำนึงถึงการใช้งานของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

แคนนอนไม่หยุดยั้งในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการถ่ายภาพ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานที่หลากหลายครอบคลุมผู้บริโภคทุกเซ็กเมนต์ ทั้งมือสมัครเล่นไปจนถึงมืออาชีพ ขณะที่การพัฒนากล้องตระกูล EOS R และ EOS RP สามารถครองใจผู้บริโภค และปีนี้สิ่งที่การันตีความสำเร็จให้แคนนอน ซึ่งเป็นไมล์สโตนใหม่ คือการสร้างยอดผลิตสูงสุด 100 ล้านเครื่องทั่วโลก

วรินทร์ ยังเผยถึงแผนการดำเนินงานในปี 2563 เพิ่มเติมอีกว่า “ถึงแม้แนวโน้มตลาดกล้องจะมีแนวโน้มหดตัวลง ความนิยมในกล้องรุ่นที่อยู่ในระดับล่างจะลดน้อยลง ซึ่งถูกแทนที่โดยสมาร์ทโฟน แต่เราคาดว่ากลุ่มผู้ใช้งานที่รักการถ่ายภาพยังคงเหนียวแน่นอยู่ และจะมีการขยับการใช้งานกล้องไปยังรุ่นที่สูงขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในตลาดของกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค และกล้องดิจิตอลแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพื่อยกระดับคุณภาพของภาพถ่ายของตัวเองให้เหนือขึ้นไปอีก สำหรับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในปีหน้านั้น คือการรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่ ให้ยังคงหลงใหลการถ่ายภาพ และแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เรามั่นใจว่า ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่แคนนอนไม่หยุดยั้งที่จะคิดค้นและพัฒนาจากความต้องการของผู้ใช้งานจริง จะสามารถทำให้แคนนอนเติบโตไปในกลุ่มสินค้ากล้องนี้ได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งยังคงมุ่งเน้นกิจกรรมทางการตลาด ที่เน้นให้เกิดสังคมความเป็นเพื่อน เกิดความสนุกสนานในกิจกรรมการถ่ายภาพ และการได้เป็นส่วนหนึ่งของงานระดับมืออาชีพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยเราจะมีความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญเราจะมีบริการใหม่ ๆ จากแคนนอน เพื่อช่วยตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่อีกด้วย” วรินทร์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับภาพรวมตลาดกล้องดิจิตอลถอดเปลี่ยนเลนส์ได้แบบฟูลเฟรมจนถึงเดือนตุลาคม 2562 ในประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 1,860 ล้านบาท และมูลค่าเชิงปริมาณ 26,000 ตัว ซึ่งมีอัตราการเติบโตลดลง 11% เมื่อเทียบกับปี 2561 อย่างไรก็ตาม แคนนอนยังคงมีอัตราการเติบโตที่สวนกระแส โดยสามารถผลักดันยอดขาย ชิงส่วนแบ่งการตลาดให้ขึ้นแท่นครองอันดับ 1 ของสินค้ากลุ่มนี้ โดยในปี 2563 จะยังคงตั้งเป้าหมายให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดในสินค้ากลุ่มนี้ให้เพิ่มขึ้นเป็น 40%

ใส่ความเห็น