Home > On Globalization (Page 20)

Children, Not Soldiers

 เป็นเวลานานมากกว่า 20 ปีแล้ว ที่นานาประเทศได้ให้ความร่วมมือกันในการประณามและต่อต้านการให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในสงครามหรือการต่อสู้ระหว่างกลุ่มหรือเผ่าต่างๆ ที่มีความเห็นไม่ตรงกัน จากการร่วมมือกันในครั้งนี้ ทำให้มีเด็กๆ เป็นพันๆ คนที่ได้รับการช่วยเหลือออกมาจากการถูกบังคับให้เป็นทหารตั้งแต่ยังเด็ก แต่ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ยังคงเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ในทุกมุมโลก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่กลุ่มคนบางกลุ่มได้พยายามลักพาตัวเด็ก หรือฝึกเด็กๆ ที่เป็นลูกๆ หลานๆ ของพวกเขาให้จับอาวุธและกลายเป็นทหารคนหนึ่งของกลุ่มเพื่อต่อสู้กับกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นไม่เหมือนกันเมื่อกลุ่มของตนเองมีจำนวนทหารไม่เพียงพอที่จะต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม ในปี 2557 นี้โลกของเรามีเหตุการณ์ความขัดแย้งและการต่อสู้มากมายไม่ว่าจะเป็นสงครามกลางเมืองซีเรีย สงครามกลางเมืองลิเบีย สงครามกลางเมืองในประเทศอียิปต์ สงครามรอบใหม่ในประเทศอิรัก และการที่ประเทศอิสราเอลโจมตีฉนวนกาซา ปัญหาความขัดแย้งเหล่านี้ทำให้เกิดการต่อสู้ที่รุนแรงมาก และในบางครั้งการต่อสู้ก็กินระยะเวลานาน ทำให้ขาดแคลนจำนวนทหารและมีการฝึกเด็กๆ เป็นจำนวนมากให้เรียนรู้การใช้อาวุธ เพื่อที่จะให้เด็กๆ เหล่านี้กลายเป็นทหารและเข้าร่วมการต่อสู้ในครั้งนี้ โดยเฉพาะที่ประเทศซีเรียที่มีการขัดแย้งกันมานานและมีการพบเห็นจากหลายๆ ฝ่ายว่ามีเด็กๆ เป็นจำนวนมากในประเทศซีเรียที่ถูกนำมาฝึกให้เรียนรู้วิธีการใช้อาวุธในการฆ่าผู้อื่นเป็นเวลานานกว่า 3 ปีแล้ว นักสิทธิมนุษยชนที่ทำงานได้ออกมาพูดให้ฟังว่า เธอมีโอกาสได้พบกับพ่อแม่ของเด็กหลายๆ คนที่ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นทหารเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่ต้องปกป้องกลุ่มของพวกเขาด้วยการลุกขึ้นมาจับอาวุธเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม พ่อแม่ของเด็กๆ เหล่านี้ไม่ได้มีความสุขเลยที่เห็นลูกของตัวเองต้องไปเป็นทหารตั้งแต่ยังเด็ก ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ขอให้นักสิทธิมนุษยชนช่วยให้ลูกๆ ของพวกเขาได้กลับไปเรียนอีกครั้งหนึ่ง เพราะพวกเขาไม่ต้องการให้ลูกเรียนรู้การใช้อาวุธแล้วนำมาฆ่าคน เมื่อมีเด็กเป็นจำนวนมากที่ต้องมาจับอาวุธและกลายเป็นทหาร ทั้งๆ ที่ในวัยนี้พวกเด็กๆ เหล่านี้ควรที่จะสนใจแต่เรื่องเรียน และคิดถึงอนาคตในวันข้างหน้า วัยของพวกเขาควรจะอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องจับดินสอและปากกาแต่ในความเป็นจริงพวกเขากลับต้องมาจับอาวุธและฆ่าคนอื่นๆ ที่ถูกมองว่าเป็นศัตรู เรื่องนี้ทำให้หลายๆ ประเทศเกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะเด็กๆ

Read More

ยิ้มให้ได้…เมื่อภัยมา

 ข่าวคราวว่าด้วยการคาดการณ์เหตุภัยภิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ในด้านหนึ่งได้ส่งผลย้ำเตือนและกระตุ้นสติให้กับสังคมไม่ให้ดำเนินชีวิตท่ามกลางความประมาท แต่ในอีกมิติหนึ่งของสังคมไทยข่าวในลักษณะเช่นนี้ดูจะมีค่าเพียงกระแสให้หยิบยกมาพูดคุย และตื่นตระหนกก่อนที่จะมลายหายไปพร้อมกับสายลมยามบ่ายอย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สังคมไทยได้เผชิญกับปัญหาและวิกฤตการณ์จากทั้งฝีมือมนุษย์และจากธรรมชาติ อยู่ไม่น้อย แต่ทุกครั้งและทุกเหตุการณ์กลับปรากฏการผลิตซ้ำ โดยปราศจากมาตรการป้องกันแก้ไขอย่างจริงจัง ปรากฏการณ์ที่เผชิญอยู่เบื้องหน้า อาจส่งผลให้เกิดคำวิพากษ์วิจารณ์มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสวิจารณ์ต่อกลไกที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยตรง แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าก็คือในฐานะที่มีโอกาสจะเป็นผู้ประสบภัย เราจะเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายนี้อย่างไรกันดี การเตรียมความพร้อมในลักษณะของการซ้อมหนีภัย หรือการจำลองเหตุการณ์ที่มีความจำเป็นต้องอพยพคน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่เราประสบกับเหตุการณ์สึนามิที่ชายฝั่งทะเลอันดามันเมื่อปลายปี 2547 เท่านั้น และแม้เวลาจะล่วงเลยไปเกือบจะ 10 ปีในปัจจุบันก็ยังไม่มีการจัดสรรพื้นที่เพื่อจัดเตรียมสำหรับการรองรับการอพยพผู้ประสบภัยอย่างจริงจัง แต่ลำพังการป้องกันและการเตรียมความพร้อมอย่างเดียวคงไม่เพียงพอสำหรับการหลีกหนีจากเหตุเภทภัยหรอกนะคะ ดังจะเห็นได้จากกรณีดินโคลนถล่มที่เมืองฮิโรชิมา เมื่อไม่นานมานี้ หากเราศึกษาความเป็นไปจากญี่ปุ่นสักหน่อย ก็จะพบว่าญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับพิบัติภัยสูงชาติหนึ่งเขาเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเรื่องเช่นนี้ไว้ค่อนข้างดีทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นการเตรียมตัวอย่างมีระบบในทุกระดับกันเลยละ เพราะสถานที่ราชการของญี่ปุ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียน และศาลาประชาคมของแต่ละพื้นที่ได้รับการออกแบบให้มีความแข็งแรงและอยู่ในชัยภูมิที่พร้อมแปลงสภาพเป็นศูนย์อพยพ ศูนย์พักพิงสำหรับผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดเหตุไม่พึงประสงค์หรือเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งสถานที่เหล่านี้จะมีชุดเครื่องยังชีพทั้งอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นจัดเตรียมไว้ให้กับผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ก่อนที่จะมีการระดมความช่วยเหลือเข้ามาเพิ่มเติมในเวลาต่อมา ถนนสายหลักของญี่ปุ่นหลายสายได้รับการออกแบบให้มีความกว้างและปลอดสายไฟ เพราะถูกกำหนดให้เป็นเส้นทางฉุกเฉินสำหรับการลำเลียงอุปกรณ์ เครื่องมือยังชีพและหน่วยแพทย์ ซึ่งคงไม่มีชาวญี่ปุ่นคนใดกล้าแม้แต่จะคิดที่จะนำพาหนะไปจอดบนเส้นทางสัญจรที่มีความสำคัญโดยเฉพาะในยามฉุกเฉินหรอกนะคะ ขณะเดียวกัน กิจกรรมการฝึกซ้อมอพยพหนีภัย เป็นกิจกรรมสำคัญของสังคมญี่ปุ่น ที่ถือปฏิบัติตั้งแต่ระดับนักเรียนโรงเรียนอนุบาล ไล่เรียงไปจนถึงชั้นมัธยม และติดตามต่อเนื่องไปจนถึงเมื่อเข้าทำงานในหน่วยงานน้อยใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน ขณะที่การเตรียมอุปกรณ์ยังชีพฉุกเฉินเป็นเรื่องราวปกติที่แทบทุกครัวเรือนของญี่ปุ่นจะต้องมีการตระเตรียมให้สมดุลกับจำนวนสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย การเตรียมเครื่องยังชีพของแต่ละครัวเรือนสำหรับกรณีภัยพิบัติฉุกเฉินนี่ล่ะคะ ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการคิดและค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนานวัตกรรมในการผลิตอาหารพร้อมปรุง หรือแม้กระทั่งไม่ต้องปรุงแต่พร้อมบริโภคอย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้ครอบครัวชาวญี่ปุ่นพร้อมเผชิญหน้ากับเหตุภัยพิบัติได้นานกว่า 3-5 วันได้เป็นอย่างดี ยังไม่นับรวมหน่วยงานที่พร้อมจะให้และกระจายข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและแจ้งเตือนอุบัติภัย ที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบ ในฐานะที่เป็นมาตรการป้องกันผลกระทบไม่พึงประสงค์ ที่มีนัยความหมายมากกว่าการติดตามสถานการณ์กันไปแบบการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งย่อมเสี่ยงต่อการตกอยู่ในสภาพ “ไม่ทันการณ์” หรือแม้แต่ “หลังสถานการณ์” ได้อย่างง่ายดายดังที่มีประจักษ์พยานให้ได้เห็น เรื่องที่น่าสนใจก็คือภายใต้นิยามของคำว่า

Read More

อังกฤษผลักดันกฎหมายใหม่ การล่วงละเมิดทางอารมณ์ถือเป็นอาชญากรรม

 คุณผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่คุ้นเคยหรืออาจจะไม่เข้าใจคำว่า “การล่วงละเมิดทางอารมณ์” ว่าหมายถึงอะไร และเกิดขึ้นในสถานการณ์ไหน และเหตุการณ์อย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นการล่วงละเมิดทางอารมณ์ แต่ถ้าหากได้ลองทำความเข้าใจดู จะรู้ได้ว่าเรื่องการล่วงละเมิดทางอารมณ์เป็นเรื่องใกล้ตัว และบางทีคุณอาจจะโดนล่วงละเมิดทางอารมณ์อยู่โดยที่ไม่รู้ตัวเช่นกัน การล่วงละเมิดทางอารมณ์ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Emotional, psychological and mental abuse) มักเกิดขึ้นระหว่างบุคคลสองคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างเช่น เป็นแฟนหรือเป็นสามีภรรยากัน เพราะการล่วงละเมิดทางอารมณ์เกิดจากการที่ผู้ใช้ความรุนแรงต้องการลดความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจของเหยื่อลงเพื่อให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อต้องการที่จะพึ่งพาพวกเขามากขึ้น ผู้ที่ใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการต่างๆ เช่น ข่มขู่ กลั่นแกล้ง วิพากษ์วิจารณ์ในทุกๆ เรื่อง และพยายามแยกเหยื่อให้ออกมาห่างจากครอบครัวและเพื่อนๆ เพื่อที่พวกเขาจะได้ควบคุมเหยื่อได้ง่ายขึ้น องค์กร Living Without Abuse ของประเทศอังกฤษได้อธิบายลักษณะของการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ไว้ดังนี้ 1. ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะรู้สึกแย่ โดยเหยื่อจะคิดว่าตัวเองเป็นคนโง่ ไม่มีค่า และไม่มีประโยชน์อะไรเลยในสังคม 2. ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นพ่อแม่ที่แย่มากและไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้ 3. ผู้ใช้ความรุนแรงจะคอยตอกย้ำให้เหยื่อรู้สึกว่าตัวเองหน้าตาน่าเกลียดหรือรูปร่างอ้วน ไม่น่ามอง 4. ผู้ที่ใช้ความรุนแรงจะคอยบอกเหยื่ออยู่บ่อยๆ ว่า พวกเธออาจจะไม่สบายหรือมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ 5. ผู้ที่ใช้ความรุนแรงจะพยายามที่จะแยกเหยื่อออกจากครอบครัวและเพื่อนๆ โดยอาจจะย้ายไปอยู่ในที่ห่างไกล หรือทำให้ครอบครัวหรือเพื่อนรู้สึกลำบากใจเมื่อพบเจอกันที่บ้านหรือข้างนอก ในขณะเดียวกันผู้ที่ใช้ความรุนแรงจะไม่อนุญาตให้เหยื่อไปทำกิจกรรมใดๆ ที่ไม่มีเขารวมอยู่ด้วย 6. ผู้ที่ใช้ความรุนแรงจะไม่อนุญาตให้เหยื่อออกไปไหนตามลำพัง โดยคอยรับส่งเหยื่อไปทำงานและรับกลับบ้าน ในขณะเดียวกันถ้าเหยื่อออกไปไหนกับใครที่ไม่ใช่ตัวเองก็จะคอยเช็กอยู่ตลอดเวลาว่าเหยื่ออยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่ หรืออาจจะบังคับให้เหยื่อกลับบ้านทันทีหลังเลิกงานโดยกำหนดเวลาที่เหยื่อจะต้องถึงบ้านไว้ ถ้าเหยื่อไม่สามารถกลับถึงบ้านได้ตามเวลาก็อาจจะวิพากษ์วิจารณ์

Read More

จาก EMOJI ถึง Stickers LINE

  การสื่อสารสมัยนี้ก้าวหน้าไปไกลกว่าเมื่อก่อนมากมายเสียเหลือเกินนะคะ จากสมัยที่เรายังเขียนจดหมายสื่อสารบอกความในใจไปถึงคนที่รักและห่วงใย จำได้ว่าเปลืองกระดาษไปหลายแผ่นเลยทีเดียว เพราะกลัวว่าสำนวนและถ้อยความจะไม่ต้องตากินใจเท่ากับที่เรารู้สึก มาสู่ยุคของการส่งเสียงที่ลำเลียงถ้อยคำผ่านไปตามสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งตามบ้าน ก่อนที่โทรศัพท์จะเคลื่อนที่ติดตามตัวเราไปเสียทุกที่ในปัจจุบัน แต่โทรศัพท์ทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีไว้สำหรับส่งเสียงผ่านไปเท่านั้นนะคะ ยังสามารถส่งข้อความ ส่งภาพ รวมทั้งส่งลายเส้นและสติ๊กเกอร์ลวดลายน่ารักให้เป็นตัวแทนความรู้สึกได้อีกด้วย ทำให้ข้อจำกัดว่าด้วยการห้ามใช้เสียงในบางสถานที่ไม่ใช่อุปสรรคในการสื่อสารถึงกันอีกต่อไป แต่อาจจะติดขัดกับข้อกฎหมายและความพยายามในการเข้มงวดกวดขันเรื่องวินัยจราจร และความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ที่กำลังกลายเป็นประเด็นอยู่ในสังคมไทยในขณะนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งในหลายประเทศที่มีมารยาทในการใช้โทรศัพท์ในที่สาธารณะที่น่านิยมอย่างหนึ่ง เพราะเราจะไม่ค่อยเห็นคนญี่ปุ่นถือโทรศัพท์พูดคุยระหว่างเดินทางบนรถไฟ ให้เป็นการรบกวนเพื่อนร่วมเดินทางท่านอื่นๆ แต่ภาพที่เห็นจนชินตากลับเป็นภาพของการใช้โทรศัพท์พิมพ์ข้อความส่งถึงกันเสียมากกว่า วิถีปฏิบัติเช่นว่านี้ ทำให้ภาพที่สื่อแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก หรือ Emotion icon ถูกเรียกใหม่ในสำเนียงแบบญี่ปุ่นในฐานะ emoticon หรือในแบบที่สั้นกว่านั้นว่า EMOJI ที่คุ้นเคยกัน ถูกพัฒนาให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ทำให้บอกกล่าวความรู้สึกระหว่างกันได้เร็วยิ่งขึ้น แต่รูปแบบของการสื่อสารที่มาแรงมากๆ ในช่วง3-5 เดือนที่ผ่านมา คงไม่มีใครเกิน LINE ที่กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของการสื่อสารให้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เพราะ LINE ไม่ได้เป็นเพียง Application บนโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟนเท่านั้น ยังสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC ได้อีกด้วย หลายคนอาจเข้าใจไปว่า LINE เป็นนวัตกรรมจากญี่ปุ่นเพราะชื่อผู้พัฒนาระบบหรือ Apps นี้ขึ้นมา ปรากฏชื่อว่า NAVER.jp ที่จดทะเบียนอยู่ในญี่ปุ่น ซึ่งก็คงจะเป็นข้อเท็จจริงส่วนหนึ่ง หากแต่ในความเป็นจริงควรจะกล่าวว่านี่เป็นการรุกของผู้ประกอบการจากเกาหลีใต้ ที่กำลังส่งแรงสั่นสะเทือนไปทั่วทุกวงการอยู่ในขณะนี้ ในความเป็นไปก่อนการมาถึงของ LINE นั้น NAVER

Read More

ภรรยาท่านนายกฯ

 ความเป็นไปของสังคมการเมืองในประเทศไทยชั่วโมงนี้ เชื่อว่าจุดสนใจคงบ่ายเบนออกไปจากเรื่องของการจัดระเบียบกำลังพลภายใต้กลไกแห่งอำนาจออกไปมากแล้ว หลังจากที่ประเด็นต่างๆ เริ่มคลี่คลายและปรากฏชัดเจนว่าใครเป็นใครในเกมแห่งอำนาจนี้ แต่การปรากฏตัวของสตรีนางหนึ่งในฐานะภริยาท่านผู้นำ อาจกระตุกต่อมความอยากรู้อยากเห็น  ก่อนจะนำไปสู่การถามไถ่ถึงที่มาและบทบาทในช่วงก่อนหน้านี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วงเวลานี้ ทำให้นึกย้อนกลับไปถึงท่วงทำนองของ โนบูโกะ คัง (Nobuko Kan) ภรรยาของ นาโอโตะ คัง (Naoto Kan) อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เพราะตามปกติธรรมดา ผู้คนในแวดวงการเมืองมักเรียกขานภรรยาของท่านผู้นำทั้งหลายในฐานะสตรีหมายเลขหนึ่ง หากแต่เธอผู้นี้ไม่ประสงค์ที่จะถูกเรียกขานในฐานะ สตรีหมายเลขหนึ่งเท่าใดนัก “เรียกฉันว่า ภรรยาของนายกรัฐมนตรี ก็เพียงพอแล้ว” เธอบอกกับสื่อมวลชนในวันแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “อะไรในโลกนี้จะเปลี่ยนไปหรือถ้าคุณเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น” เมื่อปี 2011 โนบูโกะ คัง ได้ชื่อว่าเป็น “หลังบ้าน” ที่มีบทบาทสูงมากคนหนึ่ง ในสังคมการเมืองญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ซึ่งเรื่องนี้ นาโอโตะ คัง คงตระหนักดีและเป็นผู้ยืนยันต่อสาธารณะด้วยว่า ภรรยาของเขา คือผู้สนับสนุนที่ทรงอำนาจและเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงที่วิพากษ์วิจารณ์เขาหนักหน่วงที่สุดด้วย “หากนโยบายที่สามีของฉันนำเสนอ ไม่สามารถสร้างความประทับใจ หรืออธิบายให้ฉันเห็นได้ว่านโยบายที่ว่านี้ดีอย่างไร ก็อย่าไปหวังว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนอื่นจะชื่นชมและตัดสินใจเลือกลงคะแนนให้เลย” นั่นเป็นเหตุให้ คู่สมรสคู่นี้มีวิวาทะเผ็ดร้อนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการร่างและนำเสนอนโยบาย  ขณะเดียวกันด้วยท่าทีที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา และพร้อมจะกระโจนลงไปสู่การปฏิบัติ ด้วยทัศนะทางการเมืองที่แหลมคม ทำให้ผู้คนในวงการเมืองญี่ปุ่นยกให้ โนบูโกะ คัง เป็น

Read More

Rakuten

 โลกในวันนี้ดูเหมือนชาวเราจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลมากขึ้นทุกขณะ แทรกซึมเข้าสู่การรับรู้และมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราในทุกระดับแล้วนะคะ ความตื่นตัวในโลกดิจิตอลที่ว่านี้ ยังปลุกให้ผู้ประกอบการแต่ละรายสามารถเก็บเกี่ยวรายได้เป็นกอบเป็นกำแทบทุกครั้งที่มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ออกวางจำหน่ายในท้องตลาด ขณะที่ภาพการยืนต่อแถวเพื่อให้ได้สิทธิในการเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ใหม่นี้กลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน พัฒนาการที่ก้าวหน้าไปของอุปกรณ์ในโลกดิจิตอลนี้ ถึงขนาดที่มีผู้คาดการณ์กันว่าอีกไม่นานนับจากนี้สื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นกระดาษหนักๆ คงต้องล้มหายจากไป ขณะที่การทำธุรกิจธุรกรรมต่างๆ ในอนาคตก็สามารถกระทำได้บนอุปกรณ์ขนาดพกพาที่ทรงประสิทธิภาพเหล่านี้ ไม่เว้นแม้แต่การ shopping ที่สามารถเลือกหาสินค้า และส่งคำสั่งซื้อขาย จ่ายสตางค์ผ่านระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-คอมเมิร์ซ ได้อย่างไม่ยากเย็น ซึ่งคงทำให้คุณผู้อ่านต้องคิดหาวิธีในการจัดการกับเวลาว่างที่เพิ่มมากขึ้นเหล่านี้ล่ะค่ะว่าจะทำอย่างไรกันดี เรื่องราวความเป็นไปและพัฒนาการของ อี-คอมเมิร์ซ ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับความตื่นตัวในธุรกิจ ดอทคอม ซึ่งกลายเป็นกระแสขยายตัวอย่างกว้างขวางตลอดช่วงทศวรรษ 1990 เรื่อยมา และแผ่วงกว้างครอบคลุมภูมิทัศน์ทางธุรกิจระดับนานาชาติมานานกว่า 2 ทศวรรษ แม้แต่ในบริบทของสังคมธุรกิจญี่ปุ่น ซึ่งได้ชื่อว่ามีลักษณะอนุรักษนิยมนั้น ธุรกิจใหม่ๆ ในโลก Cyber ก็ได้เปิดเผยให้เห็นนักธุรกิจกลุ่มใหม่ๆ ปรากฏกายขึ้นโลดแล่น และก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในเวลาต่อมาด้วย ชื่อของนักธุรกิจหนุ่มที่ก้าวขึ้นมาสู่ความสนใจของสาธารณชนไม่ว่าจะเป็น Hiroe Takafumi ผู้สร้างตำนานการเกิดขึ้นและดับแสงลงอย่างรวดเร็วของ Livedoor ด้วยข้อหาฟอกเงินและกระทำผิดพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ ด้วยการสร้างราคา และตกแต่งตัวเลขทางบัญชี อาจสั่นคลอนความน่าเชื่อถือของนักธุรกิจโลก Cyber รายอื่นๆ ไม่น้อย แต่นั่นอาจเพียงมาตรการลงโทษและขจัด “คนนอกและผู้ท้าทายที่น่ารังเกียจ” ให้พ้นจากแวดวงธุรกิจที่ยังปรับตัวได้ช้าเท่านั้น เพราะในอีกด้านหนึ่งบริบทและจังหวะก้าวของ Hiroshi Mikitani ผู้ก่อตั้งและ CEO

Read More

แม่บ้านชาวอินโดฯ ได้รับการคุ้มครองในซาอุดีอาระเบีย

 อย่างที่เราทราบกันดีว่าประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลาม และผู้หญิงมีสิทธิในสังคมน้อยกว่าผู้ชาย ดังนั้นผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้จึงต้องปฏิบัติตามกฎต่างๆ อย่างเคร่งครัด ยกตัวอย่างเช่นการห้ามไม่ให้ผู้หญิงขับรถ ผู้หญิงไม่สามารถออกไปไหนตอนกลางคืนได้ และต้องแต่งตัวให้มิดชิดและเรียบร้อย สิ่งเดียวที่คนทั่วไปสามารถมองเห็นจากใบหน้าของผู้หญิงได้เมื่ออยู่ในที่สาธารณะคือ ลูกตาของพวกเธอเท่านั้น ในขณะเดียวกันประเทศอินโดนีเซียก็เป็นประเทศที่มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก แม้ว่ากฎระเบียบและการลงโทษจะไม่เคร่งครัดเท่าประเทศซาอุดีอาระเบีย แต่หลักปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามนั้นเหมือนกัน อย่างเช่นว่าผู้หญิงไม่สามารถออกไปข้างนอกกับผู้ชายที่ไม่ใช่คนในครอบครัวได้ เป็นต้น การอยู่อาศัยในประเทศทั้งสองนี้จึงมีความแตกต่างกันไม่มากนัก เป็นที่น่าแปลกใจว่ารายได้หลักๆ ของประเทศอินโดนีเซียมาจากการที่ประชากรชาวอินโดนีเซียออกไปทำงานในต่างประเทศแล้วส่งเงินกลับมาให้ทางบ้านใช้เป็นเงินจำนวนมาก  เมื่อปี 2555 ชาวอินโดนีเซียที่ไปทำงานต่างประเทศได้ส่งเงินกลับบ้านผ่านธนาคารอินโดนีเซีย เป็นจำนวนมากถึง 7,200 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือถ้าคิดเป็นเงินไทยก็มากกว่า 200,000 ล้านบาท อาชีพหนึ่งซึ่งเป็นอาชีพที่คนอินโดนีเซียนิยมไปทำกันมากในต่างประเทศคือ อาชีพแม่บ้าน ปัจจุบันนี้ประเทศอินโดนีเซียมีแรงงานที่ประกอบอาชีพแม่บ้านประมาณ 10.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเขตชนบท และจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาเท่านั้น ถ้าสังเกตดูจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้ๆ เราอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเห็นได้ว่าแม่บ้านที่ทำงานอยู่ในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นคนอินโดฯ ยกตัวอย่างเช่น ในฮ่องกงมีแม่บ้านประมาณ 300,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวอินโดฯ ชาวอินโดนีเซียไม่ได้ทำงานเป็นแม่บ้านเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่พวกเธอยังทำงานเป็นแม่บ้านในหลายๆ ประเทศอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี เป็นต้น การทำงานเป็นแม่บ้านในต่างประเทศ แล้วสามารถส่งเงินกลับมาให้ที่บ้านใช้เป็นจำนวนมาก ฟังแล้วดูเหมือนดีเพราะสามารถหาเงินได้มากพอที่จะเลี้ยงตัวเองและส่งกลับไปให้ครอบครัวใช้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว

Read More

พิษปักเป้า

 ในบรรดาอาหารเลิศรสของญี่ปุ่น เชื่อว่าเมนูปลาปักเป้าจะกลายเป็นเมนูที่ก่อให้เกิดความฉงนสนเท่ห์เมื่อได้รับรู้รับเห็นจากผู้คนจากแดนไกลมากที่สุดเมนูหนึ่งนะคะ เหตุที่เป็นดังนั้นก็คงเป็นเพราะในแต่ละขวบปีจะมีชาวญี่ปุ่นถูกหามส่งโรงพยาบาล เพราะไปรับประทานเนื้อปลาปักเป้าที่มีพิษรุนแรง โดยจำนวนมากที่ได้รับพิษจากปลาปักเป้าจนมีอาการปางตาย แต่ก็มีบางรายไม่ได้โชคดีหรือรอดชีวิตให้มีโอกาสมาลิ้มรสชาติของปลาพิษร้ายชนิดนี้อีกเลย แม้จะมีความเสี่ยงและต้องผจญภัยมากถึงขนาดนี้ แต่ผู้นิยมบริโภคและลิ้มลองของแปลกบางรายกลับมองว่า ความรู้สึกชาๆ ที่ปรากฏขึ้นที่ริมฝีปาก ซึ่งเกิดจากการได้รับพิษของปลาปักเป้า ถือเป็นเสน่ห์ที่ชวนหลงใหลในการลิ้มลองเมนูพิสดารที่ว่านี้ แต่อาการชา ซึ่งเกิดจากสารเทโทรท็อกซินจากปลาปักเป้านี้ อาจทวีความรุนแรง และเพิ่มระดับอาการจากการชาที่ปลายประสาท ไปสู่การเข้าสู่ภาวะที่เป็นอัมพาต และเลยเถิดไปสู่การทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้เลยนะคะ ความรุนแรงและน่าสะพรึงกลัวของพิษจากการบริโภคปลาปักเป้า มีมากถึงกับที่สำนักงานอาหารและยาในสหรัฐอเมริกาเสนอรายงานการวิจัยที่ระบุว่า การบริโภคปลาปักเป้าอาจทำให้เกิดพิษรุนแรงภายใน 4-6 ชั่วโมง โดยเหยื่อซึ่งอยู่ในภาวะที่เป็นอัมพาตทั้งตัว จะยังมีสติและสามารถรับรู้ความทรมานจากพิษอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนที่จะเสียชีวิตในเวลาอีกไม่นานต่อมา ข้อมูลที่มีผลการวิจัยสนับสนุนดังกล่าวนี้ ทำให้เมนูปลาปักเป้า หรือ ฟุกุ (Fugu) ที่ชนชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคนี้ กลายเป็นเมนูอาหารที่ได้รับการกล่าวถึงในฐานะเมนูอาหารที่อันตรายมากที่สุดจานหนึ่งของโลกไปโดยปริยายอีกตำแหน่งหนึ่ง ในความเป็นจริง เนื้อปลาปักเป้าไม่มีมีพิษหรอกนะคะ หากแต่ปลาปักเป้าได้สะสมพิษร้ายไว้ในตับ ซึ่งหากผู้ปรุงปลาปักเป้าไม่มีความชำนาญ พิษจากตับก็จะแผ่ซ่านไปทั่วตัวปลา ตรงนี้ล่ะค่ะคือความอันตรายที่แท้จริง แต่เมนู ฟุกุ ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากปลาปักเป้า หรือ Torafugu ซึ่งคนไทยเรียกขานในนามปลาปักเป้าเสือ นี้ ก็ไม่ใช่เมนูที่จะหารับประทานกันได้ง่ายๆ นะคะ ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะปลาชนิดนี้มีจำนวนน้อยหรือหาได้ยากแต่อย่างใด หากแต่เป็นเพราะในกระบวนการปรุงปลาชนิดนี้ ต้องอาศัยฝีมือและความชำนาญการของพ่อครัวที่มีใบอนุญาตให้ประกอบอาหารจากปลาปักเป้าเท่านั้น ซึ่งทำให้เมนูปลาปักเป้ากลายเป็นเมนูที่มีสนนราคาแพงไปด้วยเช่นกัน กระบวนการเพื่อคัดสรรพ่อครัวให้มาปรุงปลาปักเป้านี้ ต้องผ่านการฝึกและการสอบอย่างเข้มงวด จากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ได้พ่อครัวที่มีความรู้เกี่ยวกับปลาปักเป้า รู้วิธีที่จะชำแหละเพื่อให้ได้เนื้อปลาที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค ซึ่งจะต้องสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยพ่อครัวคนเก่งของเราจะต้องปรุงและทดลองชิมปลาชนิดนี้ด้วย

Read More

ราคาที่ต้องจ่าย…เพื่อความสะอาด

 เหตุการณ์บ้านเมืองในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาดูเหมือนว่า จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาแตกต่างไปตามแต่ประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดของปัจเจกชนแต่ละท่านจะนำพาไป แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ถึงกลับออกอาการชื่นชมการกระทำที่ไม่มีกฎหมายรองรับนี้ว่าเป็นประหนึ่งการล้างบ้านเมืองให้สะอาดและปราศจากคราบไคลเสียที โดยมิพักต้องกล่าวถึง ประเด็นแวดล้อมอื่นๆ หรือค่าแห่งการเสียโอกาส ให้ต้องคำนึงกันนัก นี่อาจเป็นวิถีแบบไทยๆ ที่เปิดให้วงจรแห่งความไม่น่าอภิรมย์นี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ประหนึ่งว่าไม่ได้เรียนรู้อะไรกันเลย แต่เมื่อกล่าวถึงเรื่องความสะอาด เชื่อว่าญี่ปุ่นจะเป็นตัวอย่างแห่งภาพจำและความประทับใจว่าด้วยความสะอาดและเป็นระเบียบที่สร้างให้เกิดเรื่องราวพรั่งพรูออกมาเป็นเรื่องเล่าและบทสนทนา ซึ่งบางครั้งก็เลยล่วงไปสู่การวิเคราะห์ว่าเป็นผลมาจากความมีวินัยและเคารพกฎ ที่อาจหาได้ยากในบางสังคม ขณะเดียวกันบางส่วนก็ประเมินว่าทั้งหมดทั้งปวงเป็นเพราะรากฐานทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อถือศรัทธาตามแบบของชินโต ที่เน้นความบริสุทธิ์สะอาดเป็นต้นทาง แต่ความเป็นไปของแต่ละสังคมก็คงไม่สามารถหลีกหนีหรือพ้นไปจากหลักแห่งอนิจลักษณะไปได้หรอกนะคะ และดูเหมือนว่าความเปลี่ยนแปลงจะเป็นประหนึ่งเพื่อนสนิทของกาลเวลาเสียด้วย และภาพบ้านเมืองที่สะอาดสะอ้านเป็นความประทับใจเมื่อครั้งเก่าของสังคมญี่ปุ่นในอดีต กำลังถูกท้าทายด้วยวิถีและย่างก้าวใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากผลผลิตของสังคมญี่ปุ่นเอง ข่าวคราวความเคลื่อนไหวว่าด้วยความสะอาดชิ้นหนึ่งของสังคมญี่ปุ่นที่น่าสนใจ และก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในช่วงที่ผ่านมาเห็นจะต้องยกให้กับแนวความคิดของการรถไฟญี่ปุ่นภูมิภาคตะวันออก (Japan Railway East: JR East) ที่ประกาศจะใช้เงินมากถึง 80 ล้านเยน หรือหากคิดเป็นเงินบาทไทยก็ประมาณ 30 กว่าล้านบาท สำหรับการปรับปรุงภูมิทัศน์ ตลอดแนวเส้นทางที่รถไฟของ JR East วิ่งผ่าน  หากฟังเพียงเผินๆ และมีรายละเอียดเพียงเท่านี้ก็คงไม่สู้กระไรใช่ไหมคะ เพราะในฐานะวิสาหกิจขนาดใหญ่ การดูแลรักษาพื้นที่ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีและสมควรกระทำอย่างยิ่ง และคงจะเป็นมาตรการที่ได้รับความชื่นชมจากผู้คนที่ได้รับรู้เรื่องราวไม่น้อยเลยทีเดียว หากแต่จำนวนเงินที่ JR East กำลังจะใช้จ่ายในคราวนี้ ดำเนินไปภายใต้มาตรการที่มุ่งหมายเพียงเพื่อจะทำความสะอาดและลบภาพ Graffiti ที่ปรากฏตัวอยู่ตามเสาและแนวกำแพงตลอดแนวเส้นทางที่รถไฟของ JR East วิ่งผ่านนั่นเอง ตามแผนของ JR East นอกจากจะทำความสะอาดและลบภาพ graffiti

Read More

แต่งงานกันไหม?

 ผู้เขียนเชื่อว่าเหตุผลของการแต่งงานหรือไม่แต่งงานของแต่ละท่าน คงเป็นไปอย่างหลากหลาย และมีมิติของความรู้สึกที่มากมาย ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่แต่ละท่านจะเลือกหยิบนำมาอธิบาย แต่สำหรับในญี่ปุ่น ซึ่งเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญและโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ความกลัวและรู้สึกเปลี่ยวเหงาได้ก่อให้เกิดทัศนะใหม่ๆ ว่าด้วยการแต่งงานที่น่าสนใจไม่น้อยเลยค่ะ ท่านผู้อ่านลองนึกและจินตนาการถึงภาพของผู้คนมากมาย ที่ต้องสัญจรด้วยเท้าเป็นเวลานานนับ 10 ชั่วโมงเพื่อกลับบ้านหลังจากที่ระบบขนส่งมวลชนล่มสลาย เพราะแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ซึ่งแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย หากว่าแต่ละคนกลับรู้สึกโดดเดี่ยวอย่างจับใจดูซิคะ ความรู้สึกที่ว่าทุกคนพร้อมที่จะตายลงไปโดยไม่มีใครห่วงหาอาทร สั่นคลอนห้วงอารมณ์ของผู้คนจำนวนมาก และทำให้หลายคนคิดถึงการแต่งงานในฐานะที่อย่างน้อยก็จะได้มีใครสักคนมาร่วมแบ่งปัน ให้ได้ร่วมรับรู้ความรู้สึกและความเป็นไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เรื่องการแต่งงานนี่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เหมือนไปซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ แต่ครั้นจะลองเริ่มต้นสานสัมพันธ์กับใครสักคนก็คงใช้เวลาพอสมควรเลยเหมือนกัน นี่จึงกลายเป็นที่มาของธุรกิจ “จัดการจับคู่แต่งงาน” (arranged marriages) ที่กำลังกลับมาได้รับความนิยมในญี่ปุ่นอีกครั้งในขณะนี้ จริงๆ แล้ว วิถีปฏิบัติว่าด้วย  arranged marriages ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคม male dominant แบบญี่ปุ่นนะคะ เพราะก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 วิถีปฏิบัติเช่นว่านี้นับว่าเป็นเรื่องปกติสามัญ  ก่อนที่ในยุคหลังสงครามวิถีดังกล่าวจะลดระดับความนิยมลงไปเป็นระยะจากผลของค่านิยมแบบตะวันตกและความเป็นอิสระที่เพิ่มมากขึ้นของเพศหญิงทำให้ในทศวรรษ 1990  arranged marriages มีสัดส่วนเหลือเพียงไม่เกินร้อยละ 30 และกลายเป็นสิ่งพ้นสมัยในเวลาต่อมา ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมญี่ปุ่นได้ก่อให้เกิดวิถีใหม่ที่เรียกว่า โกคง (gokon) หรือการนัดบอดแบบหมู่คณะขึ้นมาเป็นช่องทางในการสานสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ โดยฝ่ายหญิงและฝ่ายชายอย่างน้อยฝ่ายละคนอาจรู้จักกันมาก่อน นัดหมายที่จะพาเพื่อนหญิง-ชายของแต่ละฝ่ายในจำนวนที่เท่ากันเพื่อให้ครบคู่มาพบกัน เพื่อแลกเปลี่ยนบทสนทนา ซึ่งอาจนำไปสู่การสานสัมพันธ์ระหว่างคู่ที่จูนคลื่นตรงกันในอนาคต ข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ

Read More