Home > On Globalization (Page 15)

150 ปีโคลัมโบ

 ตลอดทั้งเดือนธันวาคม ต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาที่อุดมไปด้วยกิจกรรมมากมายและหลากหลายมิติให้ได้ร่วมรำลึกและเฉลิมฉลองจริงๆ นะคะ ไม่เว้นแม้แต่ผู้คนในสังคมศรีลังกาโดยเฉพาะชาวกรุงโคลัมโบ ที่มีเหตุให้ได้เฉลิมฉลองด้วยเช่นกัน เพราะในปีนี้ถือเป็นปีที่ 150 ของการก่อตั้ง Colombo Municipal Council ที่นอกจากจะมีมิติของการรำลึกร่องรอยอดีตเมื่อครั้งยังอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษแล้ว โคลัมโบยังถือให้ปีนี้เป็นประหนึ่งหลักไมล์เริ่มต้นสำหรับการพัฒนาที่อุดมด้วยพลวัตไปสู่หมุดหมายใหม่ที่ไกลออกไปข้างหน้า ภายใต้คำขวัญที่ว่า “Colombo marvel of cohesion” ไม่เพียงแต่สะท้อนการยอมรับความหลากหลายที่ดำเนินอยู่ในพหุสังคมแห่งนี้เท่านั้น หากแต่ยังพยายามนำความแตกต่างที่ซุกซ่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ออกมาอำนวยประโยชน์ช่วยผลักดันบริบทใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับสังคมด้วย ภาพตราสัญลักษณ์เฉลิมฉลอง 150 ปีของโคลัมโบ ซึ่งดูเรียบง่ายแฝงไว้ด้วยนัยความหมายที่สังคมศรีลังกามุ่งหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก้าวไปสู่อนาคตครั้งใหม่ที่เต็มไปด้วยโอกาสที่เรืองรองและสันติภาพความสงบสุขของสังคมที่เป็นประเด็นฉุดรั้งความจำเริญของศรีลังกามาอย่างยาวนาน การเฉลิมฉลองที่หน้าอาคารที่ทำการของเมืองโคลัมโบ หรือ Colombo Town Hall ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนับสัปดาห์ในช่วง 9-15 ธันวาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยไม่ให้เกิดเหตุร้ายไม่พึงประสงค์ ควบคู่กับเวทีสันทนาการและการประกาศวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาโคลัมโบไปสู่อนาคต ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมา โคลัมโบเติบโตด้วยอัตราเร่งที่ทำให้หลายฝ่ายต่างเฝ้ามองด้วยสายตาที่ทั้งฉงนฉงายระคนกับการแสวงหาโอกาสในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการที่ว่านี้อย่างไม่ลดละ การเกิดขึ้นของกลุ่มอาคารสูงและโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ ผุดพรายเข้าเบียดแทรกไม่เฉพาะกับพื้นที่รกร้างที่ถูกทิ้งอย่างไร้ประโยชน์ในช่วงก่อนหน้านี้เท่านั้น หากยังรุกคืบเข้าสู่ย่านชุมชนเก่าที่ถูกเรียกขานว่าสลัมเมือง ที่ย่อมต้องมีผลต่อการบริหารจัดการและจัดหาที่อยู่ใหม่ให้กับกลุ่มประชากรเหล่านี้ไปพร้อมกันด้วย การผนึกผสานพัฒนาการครั้งใหม่ดำเนินไปท่ามกลางความพยายามเก็บรักษาและอนุรักษ์ความรุ่งเรืองครั้งเก่าได้อย่างลงตัว ซึ่งสะท้อนหลักคิดในมิติของรากวัฒนธรรมที่ดำเนินสืบเนื่องผ่านการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาได้เป็นอย่างดี ในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาโคลัมโบได้เปิดรับโครงการลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่หลากหลายโครงการ ซึ่งแต่ละโครงการก็ล้วนมีเข็มมุ่งที่จะเป็นสุดยอดแห่งโครงการไม่เฉพาะในบริบทของศรีลังกาเท่านั้น หากแต่ยังวางเป้าให้เป็นที่สุดแห่งโครงการในระดับภูมิภาคเอเชียใต้อีกด้วย แม้ว่าความเป็นไปของโคลัมโบในด้านหนึ่งจะผูกพันกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐบาลศรีลังกาในภาพรวมอย่างยากที่จะแยกออก แต่นั่นก็มิได้หมายความว่าปรากฏการณ์เหล่านี้จะสำเร็จลุล่วงได้หากปราศจากศักยภาพของโคลัมโบและการบริหารจัดการในระดับท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการแบกรับภารกิจสำคัญนี้ ความทะเยอทะยานของนักลงทุนที่ประกอบส่วนกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การจัดวางตำแหน่งของศรีลังกาในระดับภูมิภาคของผู้นำ ส่งผลให้โคลัมโบและศรีลังกาโดยรวมกลายเป็นจุดสนใจในการพัฒนาและคงความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ทิศทางที่กำลังดำเนินไปของโคลัมโบ จึงไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่ท่ามกลางรากฐานที่อุดมด้วยสีสันแห่งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเท่านั้น หากโคลัมโบ กำลังก้าวสู่บริบทใหม่ของการพัฒนาที่พร้อมจะเป็นศูนย์กลางแห่งอนาคตครั้งใหม่ ที่น่าจับตาดูไม่น้อย ฉากแห่งความเรืองรองและมั่งคั่งที่กำลังรอคอยโคลัมโบอยู่เบื้องหน้ากำลังเป็นประหนึ่งความท้าทายครั้งใหม่ว่า

Read More

ปัญหาการบังคับเด็กผู้หญิงแต่งงานในทวีปเอเชีย

 Column: Women in Wonderland คงเคยได้ยินเรื่องเด็กผู้หญิงถูกบังคับให้แต่งงานกับผู้ชายที่มีอายุมากกว่าหรืออาจจะมีอายุพอๆ หรือมากกว่าบิดาของเด็กหญิงด้วยซ้ำ ปัญหานี้เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น อินเดีย เยเมน เอธิโอเปีย บังกลาเทศ ปากีสถาน และอินโดนีเซียเป็นต้น เด็กสาวส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านี้ถูกบังคับให้แต่งงานเมื่อพวกเธออายุยังไม่ถึง 15 ปีเลยด้วยซ้ำ สาเหตุหลักที่พ่อแม่ต้องการให้ลูกสาวของพวกเขาแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยเพราะต้องการประหยัดเงินค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู และยังได้เงินค่าสินสอดเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย ผู้อ่านหลายท่านอาจยังจำข่าวที่เด็กหญิงชาวเยเมน อายุ 8 ขวบถูกบังคับให้แต่งงานกับชายที่อายุมากกว่า 40 ปีและเสียชีวิตในคืนแรกที่แต่งงาน หลังจากมีเพศสัมพันธ์กับเจ้าบ่าว ซึ่งภายหลังจากเสียชีวิต แพทย์ระบุว่าเธอเสียชีวิตเพราะร่างกายบอบช้ำภายในอย่างรุนแรง มีอาการตกเลือดและมดลูกแตก เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 หนำซ้ำคนในท้องถิ่นยังพยายามช่วยกันปิดข่าว หลังจากเรื่องนี้ถูกเปิดเผย นักสิทธิมนุษยชนและนักสิทธิสตรีได้ออกมาเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่จับกุมครอบครัวของเด็กหญิงและเจ้าบ่าวของเธอ เพื่อช่วยยุติพฤติกรรมบังคับให้เด็กสาวอายุน้อยแต่งงานกับชายที่มีอายุมากกว่า แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจับกุมใครมาดำเนินคดีได้ เพราะเป็นความเชื่อของคนเยเมนที่ว่า การให้เด็กสาวแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย จะทำให้พวกเธอเป็นผู้ใหญ่ขึ้น และป้องกันไม่ให้สนใจกับสิ่งยั่วยุขณะที่พวกเธอกำลังเข้าสู่วัยรุ่น  นอกจากนี้ การบังคับเด็กผู้หญิงให้แต่งงานเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนานในประเทศเยเมนสหประชาชาติคาดการณ์ว่ามีเด็กผู้หญิงชาวเยเมนมากกว่า 1 ใน 4 ที่ถูกบังคับให้แต่งงานตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 15 ปี และถึงแม้ว่ากลุ่มสิทธิมนุษยชนจะพยายามกดดันรัฐบาลเยเมนให้ออกกฎหมายให้ผู้หญิงที่แต่งงานได้ต้องมีอายุมากกว่า

Read More

ชะตาชีวิตท่านผู้นำสตรี

 Column: AYUBOWAN ข่าวความเป็นไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสังคมรอบข้างจะให้ความสำคัญกับจังหวะก้าวของ “ผู้นำสตรี” ที่อาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สื่อแสดงให้เห็นอนาคตครั้งใหม่ในเมียนมา หรือแม้กระทั่ง “ผู้นำสตรี” ที่อาจถูกพิจารณาคดีจากผลแห่งนโยบายในอดีต ขณะเดียวกัน ถ้อยความในลักษณะ “คนคำนวณหรือจะสู้ฟ้าลิขิต” ก็อาจวาบแวบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกชะตาชีวิตว่าช่างไม่มีสิ่งใดแน่นอน และอาจกลับดำเป็นขาว เปลี่ยนความสว่างให้กลายเป็นความมืดบอด ได้อย่างง่ายดาย ราวกับการพลิกฝ่ามือของพระเป็นเจ้าที่มีอำนาจเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งความเป็นไปของ Sirimavo Bandaranaike (17 เมษายน 1916-10 ตุลาคม 2000) ก็คงเป็นไปในท่วงทำนองที่ว่านี้ ในช่วงทศวรรษ 1960 ชื่อของ Sirimavo Bandaranaike ถือเป็นประหนึ่งแม่เหล็กที่ดึงดูดความสนใจของผู้คนทั่วโลก เมื่อเธอก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองและก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของศรีลังกาและของโลก เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1960  แม้ว่า Sirimavo Bandaranaike จะเกิดในครอบครัวชนชั้นนำของศรีลังกาและมีความเกี่ยวพันกับการเมืองและความเป็นไปของศรีลังกามาอย่างยาวนาน หากแต่ภายใต้บทบาทสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ในฐานะภริยาท่านนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนจะเพียงพอและเป็นที่พึงใจสำหรับเธอแล้ว แต่พลันที่ Solomon West Ridgeway Dias (S.W.R.D.) Bandaranaike (8 มกราคม 1899-26 กันยายน

Read More

สิทธิในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ในประเทศยูกันดา

 Column: Women in Wonderland ยูกันดาเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา ปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันตก หลังจากมีการโค่นล้มรัฐบาลชุดก่อน และ Yoweri Museveni ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2529  รัฐบาลยูกันดาได้ทำการปฏิรูปการเมือง โดยพยายามส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม ความเป็นประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และการปฏิรูปเศรษฐกิจตามแบบประเทศตะวันตก โดยเน้นเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ยูกันดามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูงพอๆ กับประเทศจีน มีภาคการเกษตรและภาคการค้าบริการเป็นรายได้หลักของประเทศ โดยในส่วนของภาคการเกษตรนั้นถือเป็นภาคที่มีการจ้างแรงงานสูงที่สุด พืชเศรษฐกิจหลักคือมันสำปะหลังและข้าว เพราะชาวยูกันดานิยมบริโภคและมีศักยภาพสูงในการปลูกมันสำปะหลัง  เรื่องการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนนั้น รัฐบาลยูกันดาได้มีการลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) และยังมีการลงนามในอนุสัญญาต่างๆ ระหว่างประเทศในภูมิภาค และข้อตกลงต่างๆ ในประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน อย่างเช่นอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (the Convention on Economic, Social

Read More

DIWALI: เทศกาลแห่งความสว่าง

 Column: AYUBOWAN หลังจากผ่านพ้นวันออกพรรษาช่วงเวลาหนึ่งเดือนก่อนถึงคืนเพ็ญวันลอยกระทง สำหรับประเทศไทยก็คงเต็มไปด้วยงานบุญงานกุศลในนามของการทอดกฐิน ที่มีระดับชั้นให้เรียกขานตามแต่ลำดับขั้นของเจ้าภาพผู้จัดกฐินว่าเป็นคณะหรือบุคคลที่มีสถานะทางสังคมเช่นไร สำหรับศรีลังกา ซึ่งนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท และดำเนินตามรอยทางแห่งพระไตรปิฎก การตั้งกองกฐินหลังวันออกพรรษาก็ถือเป็นกิจกรรมทางศาสนาที่มีนัยความหมายต่อสังคมศรีลังกาไม่น้อยไปกว่าวันสำคัญทางศาสนาวันอื่นๆ แม้ว่าในวันนี้ ศรีลังกาอาจจะไม่มีขบวนแห่กฐินอย่างยิ่งใหญ่ดังที่ปรากฏในประวัติศาสตร์เหมือนเมื่อครั้งอดีตที่รุ่งเรืองของทั้งราชอาณาจักรอนุราธปุระ หรือแม้ในราชอาณาจักรแคนดี้ที่ผ่านเลยไปแล้วก็ตาม กิจกรรมที่ครอบคลุมตลอดทั้งช่วงเวลาหนึ่งเดือน ทำให้แต่ละอารามสงฆ์และชุมชนที่แวดล้อมศรัทธาสามารถเลือกกำหนดวันที่เหมาะสมกันได้เอง ซึ่งหากมองในมิติของความสะดวกก็ต้องถือว่าก้าวหน้าและเป็นการกระจายโอกาสในการทำบุญอยู่ไม่น้อยเช่นกัน แต่อีกฝั่งฟากของสังคมศรีลังกาที่เป็นพหุสังคมที่หลากหลายและมีประชากรชาวฮินดูร่วมอยู่ด้วย ช่วงเดือนพฤศจิกายนถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ในเทศกาล Diwali หรือ Deepavali ที่ต่อเนื่องยาวนานรวมกว่า 5 วันกันเลยทีเดียว และถือเป็นเทศกาลแห่งความสุข ที่สุกสดใสสว่างไสวที่สุดของชาวฮินดูก็ว่าได้ เพราะเทศกาล Diwali หรือ Deepavali ที่ว่านี้เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองชัยชนะของความสว่าง เหนืออนธกาลแห่งความมืดมน ทุกอาคารบ้านเรือนจึงประดับประดาไปด้วยดวงโคม เทียน และตะเกียงน้ำมัน (deepa) เพื่อเป็นตัวแทนแห่งแสงสว่างทางปัญญาเหนืออวิชชาทั้งปวง และยังมีการเฉลิมฉลองด้วยดอกไม้ไฟ ซึ่งทำให้ Diwali หรือ Deepavali เป็นเทศกาลที่เต็มไปด้วยแสง สี เสียง อย่างคึกคัก ต้นทางของเทศกาล Diwali หรือ Deepavali สามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลถึงยุคสมัยแห่งอินเดียโบราณ โดยเทศกาลนี้ถือเป็นงานรื่นเริงฉลองการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ในฤดูร้อน ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ในเดือน Kartika ตามปฏิทินฮินดู ที่จะอยู่ในช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน

Read More

ดื่มเพื่อสุขภาพ!!

 Column: AYUBOWAN บรรยากาศช่วงปลายฝนต้นหนาวหลังวันออกพรรษาคงทำให้ผู้คนในสังคมไทย เตรียมกายเตรียมใจเข้าสู่โหมดแห่งการเฉลิมฉลองหลังงานบุญใหญ่ไม่น้อยเลยนะคะ เพราะนอกจากจะมีงานกฐิน ลอยกระทง และวันคริสต์มาส ปีใหม่ ทยอยมาเข้าคิวรอแล้ว ดูเหมือนพี่ไทยของเราก็พร้อมจะร่วมสนุกได้ในทุกเทศกาลกันเลย ความสนุกสนานบันเทิงเริงใจ ดูจะเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกชาติพันธุ์ศาสนาเลยก็ว่าได้นะคะ เพียงแต่จะดำเนินไปในรูปแบบและด้วยท่วงทำนองสูงต่ำหนักเบาอย่างไรเท่านั้น และดูเหมือนว่าเครื่องดื่มที่มีดีกรีจะเป็นอีกปัจจัยที่ซึมแทรกเป็นส่วนหนึ่งในเกือบทุกวัฒนธรรมก็ว่าได้ ความเป็นไปของเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยดีกรีนี้ หากพิจารณามองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ก็คงพบว่าเครื่องดื่มนี้มีบทบาททางสังคมมาอย่างยาวนานย้อนหลังกลับไปได้ตั้งแต่ยุคหินหรือกว่า 10,000 ปีกันเลยทีเดียว  พัฒนาการของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เริ่มจากการหมัก มาสู่การบ่มและกลั่น กลายเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ความก้าวหน้าในวิทยาการแขนงหนึ่งของมนุษยชาติ และผู้คนในแต่ละสังคมส่วนใหญ่ก็จะอาศัยพึ่งพาวัตถุดิบหรือผลผลิตที่มีอยู่ในพื้นถิ่นนั้นมาเป็นต้นทางในการหมัก บ่ม ให้ได้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใจต้องการ แม้ว่าแรกเริ่มเดิมทีกิจกรรมหมักบ่มเพื่อประกอบเป็นสุราเมรัย อาจจะกำเนิดเกิดขึ้นและเป็นกิจกรรมในครัวเรือน แต่ด้วยเหตุที่สังคมขยายใหญ่และรัฐจำเป็นต้องแสวงหารายได้ กิจกรรมหมักบ่มสุราเมรัยในหลายประเทศจึงกลายเป็นอุตสาหกรรมผูกขาดที่ปิดกั้นและลดทอนคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ล่มสลายไปโดยปริยาย ภายใต้เหตุผลและเงื่อนไขว่าด้วยการดูแลสุขภาพ ควบคุมคุณภาพและจำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์ของประชากร ซึ่งฟังดูน่าขัน ควบคู่กับการรณรงค์ลดละเลิกที่ดำเนินไปอย่างเอิกเกริก ไม่นับรวมถึงกรณีหน่วยงานที่นำเงินภาษีสรรพสามิตจากอุตสาหกรรมสุรา ซึ่งถูกเรียกรวมว่า เงินภาษีบาป มาใช้รณรงค์ในกิจกรรมหลากหลายและกำลังเป็นกรณีวิพากษ์ในความถูกต้องโปร่งใสและเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ สำหรับศรีลังกาซึ่งมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักและมีหลักเกณฑ์ว่าด้วยการงดจำหน่ายสุราทุกชนิดในวันอุโบสถ Poya หรือวันที่พระจันทร์เต็มดวงในแต่ละเดือน รวมถึงวันสำคัญทางศาสนาของศาสนาอื่นๆ ในสังคมไม่ว่าจะเป็นฮินดู อิสลาม คริสต์ แต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำถิ่นของศรีลังกาที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ของประเทศในนาม Arrack กลับมีท่วงทำนองและความเป็นไปที่น่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะแม้ Arrack จะเป็นสุราที่มีการผลิตอยู่ในพื้นที่ถิ่นอื่น ทั้งในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แต่กรรมวิธีและวัตถุดิบตั้งต้นก็แปลกแตกต่างกันออกไป โดยในบางพื้นที่ อาจใช้กากน้ำตาล หรืออ้อย มาบ่มกลั่น ซึ่งก็จะทำให้มีความใกล้เคียงกับเครื่องดื่มแบบ

Read More

“คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว” ในเดนมาร์ก เทรนด์ใหม่มาแรง

 Column: Women in Wonderland ตอนนี้ที่ประเทศเดนมาร์กกำลังมีเทรนด์ใหม่ที่มาแรงมากๆ นั่นคือผู้หญิงจำนวนมากเลือกที่จะเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว คำว่า “คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผู้หญิงที่หย่าขาดกับสามีแล้วต้องเลี้ยงดูลูกๆ คนเดียว แต่คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวในที่นี้หมายถึงผู้หญิงที่ต้องการมีลูกแต่ไม่มีสามี พวกเธอตั้งท้องโดยซื้อสเปิร์มจากธนาคารสเปิร์มที่มีคนบริจาคให้ ตั้งแต่เดนมาร์กอนุญาตให้ผู้หญิงใช้สเปิร์มของผู้บริจาคมาใช้ในทางการแพทย์เพื่อตั้งครรภ์ได้ในปี 2550 เดนมาร์กก็เป็นประเทศที่มีผู้หญิงตั้งท้องจากการขอสเปิร์มจากธนาคารสเปิร์มมากที่สุดในโลก เรียกว่าถ้ามีเด็กทารกเกิดมา 10 คน จะต้องมีอย่างน้อย 1 คนที่เกิดจากการใช้สเปิร์มของผู้บริจาค และผู้หญิงชาวเดนมาร์กส่วนใหญ่มีคนรู้จักและญาติที่ตั้งครรภ์ด้วยวิธีนี้อย่างน้อย 1 คน Cryos International เป็นธนาคารสเปิร์มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้เปิดเผยว่า ครึ่งหนึ่งของผู้หญิงที่เข้ามาใช้บริการเป็นโสด และ 85% จะมีอายุระหว่าง 31– 45 ปี มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า และบริษัทยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริษัทได้คาดการณ์ว่า ใน 8 ปีข้างหน้าผู้หญิงที่มาใช้บริการมากกว่า 70% จะเป็นผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงาน เพราะตอนนี้มีจำนวนผู้หญิงโสดที่สนใจติดต่อขอซื้อสเปิร์มจำนวนมาก จากสถิติดูเหมือนว่าผู้หญิงเดนมาร์กไม่ต้องการมีสามี แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย ผู้หญิงเดนมาร์กส่วนใหญ่ยังคงมีความใฝ่ฝันที่จะแต่งงานและมีครอบครัวเหมือนผู้หญิงทั่วไป  สาเหตุที่พวกเธอตัดสินใจเลือกเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวก็เพราะผู้หญิงเดนมาร์กแต่งงานค่อนข้างช้า ผู้หญิงเดนมาร์กถูกสอนให้สนใจการเรียนมาเป็นอันดับหนึ่ง แล้วค่อยเริ่มต้นใช้ชีวิตครอบครัวหลังจากนั้น จากการสำรวจข้อมูลทางสถิติของประเทศเดนมาร์กพบว่า ชาวเดนมาร์กส่วนใหญ่จะเรียนหนังสือจนถึงอายุ 30 ปี หลังจากนั้นพวกเขาก็จะเริ่มต้นทำงาน

Read More

อนุราธปุระ: ปฐมอาณาจักรแห่งลังกาทวีป

 Column: AYUBOWAN  หลังจากที่ได้กล่าวถึง Mahavamsa หรือมหาวงศ์ ให้ท่านผู้อ่านได้ร่วมเดินทางย้อนประวัติศาสตร์ลังกาทวีปไปก่อนหน้านี้ หากจะไม่กล่าวถึงความเป็นไปแห่งอาณาจักรอนุราธปุระ ซึ่งถือเป็นอาณาจักรแรกๆ บนแผ่นดินลังกานี้เสียเลยก็ดูกระไรอยู่นะคะ อนุราธปุระได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรเริ่มแรกของศรีลังกา ที่สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าปานฑุกาภัย (Pandukabhaya) ในช่วง 377 ปีก่อนคริสตกาล ท่ามกลางเขตอาณาของเจ้าครองแคว้นน้อยใหญ่ที่ต่างพยายามขยายบทบาทอิทธิพลเหนือดินแดน แต่อาณาจักรแห่งอนุราธปุระก็ถือเป็นอาณาจักรที่ทรงพลานุภาพและได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกครองสูงสุดของลังกาทวีปในช่วงนั้น ความรุ่งเรืองของอนุราธปุระดำเนินไปท่ามกลางความจำเริญของพุทธศาสนาอย่างยากจะแยกออกทั้งในมิติของวัฒนธรรม รูปแบบการปกครอง รวมถึงระบบกฎหมาย ซึ่งกรอบโครงความเชื่อและศรัทธาในพุทธศาสนาเช่นว่านี้ มีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบและปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานที่ลังกา ที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ในอำนาจบารมีของกษัตริย์แห่งอนุราธปุระไปโดยปริยาย แต่การดำรงอยู่ของอนุราธปุระไม่ได้ดำเนินอยู่ท่ามกลางสุญญากาศแห่งอำนาจ หากอนุราธปุระต้องเผชิญกับการรุกรานจากอาณาจักรข้างเคียง โดยเฉพาะจากอาณาจักรในอินเดียใต้ ที่พยายามรุกคืบเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งกษัตริย์ของอนุราธปุระสามารถรบพุ่งมีชัยชนะเหนือกองกำลังจากอาณาจักรอินเดียใต้และฟื้นฟูอำนาจเหนือดินแดนได้หลายครั้ง แม้จะต้องดำเนินผ่านห้วงเวลายากลำบากแห่งสงครามกับผู้รุกราน แต่อาณาจักรอนุราธปุระก็สามารถจำเริญและดำรงอยู่ยาวนานนับเนื่องได้กว่า 1,500 ปี (377 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศักราชที่ 1017) ซึ่งห้วงเวลาที่ยาวนานดังกล่าวนี้เปิดโอกาสให้อาณาจักรอนุราธปุระผลิตสร้างและส่งผ่านมรดกหลากหลายประการให้กับสังคมในยุคหลัง ความเป็นไปของอนุราธปุระซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางสังคมเกษตรกรรม ทำให้การก่อสร้างระบบชลประทาน กลายเป็นสิ่งสื่อแสดงให้เห็นความสำเร็จและก้าวหน้าของอาณาจักรโบราณแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยอ่างเก็บน้ำและระบบคลองส่งน้ำที่ช่วยให้พื้นที่แห้งแล้งสามารถทำการเพาะปลูกได้ ส่งผลให้สังคมภายในอนุราธปุระเป็นไปในลักษณะที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงพอควร เพราะนอกจากจะเพาะปลูกข้าวได้ถึงสองครั้งต่อปีแล้ว ยังเพาะปลูกอ้อย งา และข้าวฟ่าง โดยเฉพาะในเขตแห้งแล้ง ไว้สำหรับเป็นแหล่งอาหาร ขณะเดียวกันก็สามารถเพาะปลูกฝ้ายเพื่อรองรับความต้องการเรื่องเครื่องนุ่งห่ม โดยผลผลิตส่วนเกินสามารถส่งออกเป็นสินค้าควบคู่กับอัญมณี ไข่มุก เครื่องเทศ แลกเปลี่ยนกับการนำเข้าเครื่องถ้วยเซรามิก เครื่องหอม ไวน์ และผ้าไหม ที่มาจากทั้งตะวันออกกลางและตะวันออกไกล ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งทำให้อาณาจักรอนุราธปุระสามารถสถาปนาความสำคัญในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างประเทศเชื่อมโยงโลกตะวันออกและตะวันตกได้อย่างไม่ลำบากนัก

Read More

MAHAVAMSA: ตำนานประวัติศาสตร์แห่งลังกาทวีป

 Column: AYUBOWAN เรื่องราวความเป็นไปและเหตุบ้านงานเมืองของแต่ละประเทศ นอกจากจะดำเนินไปท่ามกลางพลวัตแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุดและบ่อยครั้งที่ประวัติการณ์แห่งความเป็นมาจำเริญควบคู่กับเรื่องเล่าและตำนานที่ถือเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ไปในคราวเดียวกันด้วย ต้นทางแห่งประวัติศาสตร์การก่อร่างสร้างประเทศของทั้งชาวสิงหลในศรีลังกา หรือแม้กระทั่งความจำเริญของพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป ก็ดำเนินอยู่ในบริบทที่ไม่ได้แตกต่างจากความข้อนี้มากนัก หากแต่เรื่องเล่าและตำนานความเป็นไปเหล่านี้ได้รับการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างดีให้ผู้คนในยุคหลังได้ศึกษาและสืบค้น ตำนานแห่ง Mahavamsa หรือที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยว่า “มหาวงศ์” ถือเป็นตำนานประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญมากที่สุดฉบับหนึ่งของสังคมศรีลังกา เพราะเป็นการบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่สมัยพุทธกาลไล่เรียงผ่านห้วงเวลาที่ยาวนานมาสู่ยุคของการสร้างบ้านแปงเมืองในอาณาจักรอนุราธปุระ ที่จำเริญอยู่นับตั้งแต่ 377 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศักราช 1017 กล่าวสิริรวมก็ถือว่าเป็นการบันทึกเรื่องราวในช่วงกว่า 1,000 ปีของประวัติศาสตร์ศรีลังกายุคต้นไว้เลยทีเดียว ความสำคัญของมหาวงศ์ ในฐานะที่เป็นอภิมหาลำดับเหตุการณ์ (Great Chronicle) ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในมิติที่เล่าขานความเป็นไปของปรากฏการณ์ในยุคต้นของลังกาทวีป ที่ประกอบส่วนด้วยประเด็นทางการเมืองและการทูตกับอาณาจักรรอบข้าง การแข่งขันช่วงชิงในราชสำนัก หากแต่มหาวงศ์ยังเป็นบันทึกว่าด้วยความจำเริญของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท และถือเป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ที่รจนาขึ้นในภาษาบาลีที่ได้รับการยอมรับว่าสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดฉบับหนึ่งอีกด้วย ต้นทางแห่งมหากาพย์ มหาวงศ์ ที่ยิ่งใหญ่นี้ เกิดขึ้นจากการรจนาของพระมหาเถระมหานามะแห่งอนุราธปุระ (Mahanama of Anuradhapura) เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 ในยุคสมัยของ Dhatusena ซึ่งเป็นกษัตริย์ปกครองอนุราธปุระในช่วงคริสต์ศักราช 455-473 โดยอาศัยข้อมูลทั้งจากพงศาวดาร และตำราต่างๆ ในวัดมหาวิหาร ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มารจนาในรูปแบบคาถา หรือบทกวีที่มีฉันทลักษณ์พรรณนาเหตุการณ์ความเป็นไปกว่า 3,000 โศลก ลำดับของเนื้อหาใจความของ มหาวงศ์ ไล่เรียงตั้งแต่เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเยือนลังกาทวีป ซึ่งความตอนนี้ถูกถ่ายทอดเป็นอรรถคาถาถึง 84

Read More

Four Four Bravo และ 3 ทศวรรษที่สูญหาย ของ Jaffna

Column: AYUBOWAN หากกล่าวถึงหัวเมืองสำคัญที่อุดมด้วยสีสันและประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศรีลังกา เชื่อว่า 1 ในหัวเมืองเหล่านั้นต้องจารึกชื่อของ Jaffna ไว้เป็นส่วนหนึ่งในแผนที่เดินทางของนักสำรวจความเป็นมาและเป็นไปของผืนแผ่นดิน Serendib แห่งนี้ เพราะอดีตกาลของ Jaffna สามารถสืบย้อนหลังกลับไปได้ไกลถึงกว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือเมื่อกว่า 4,000 ปีล่วงมาแล้ว เรียกได้ว่าพบหลักฐานของการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ในคาบสมุทร Jaffna นี้ก่อนที่ตำนานการสร้างบ้านแปงเมืองของศรีลังกาจะเริ่มต้นขึ้นเสียอีก และหอสมุดแห่งเมือง Jaffna ก็คงเป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมหลักฐานข้อมูลทั้งอดีตกาลอันจำเริญ และประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่ขมขื่นไว้ให้ได้ค้นหาอย่างรอบด้าน ความเป็นไปของ Jaffna เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ไม่เฉพาะต่อพัฒนาการในศรีลังกาเท่านั้น หากยังมีรากฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อมโยงไปสู่อินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนบนผืนแผ่นดินใหญ่อย่างยากจะแยกออก โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า ราชอาณาจักร Jaffna หรือ Jaffna Kingdom (1215-1624) เกิดขึ้นจากการถอยร่นและรุกรานเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกองกำลังที่นำโดย Kalinga Magha จากอินเดีย ก่อนที่จะสถาปนาราชวงศ์ Aryacakravarti ที่มีรากฐานยึดโยงกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของชาวทมิฬ และจักรวรรดิโบราณของชาวทมิฬ 3 ราชวงศ์ทั้ง Chola, Chera และ Pandyan รวมถึงศูนย์กลางใน Tamil

Read More