Home > On Globalization (Page 12)

อุปสรรคในการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในประเทศออสเตรเลีย

Column: Women in Wonderland ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว รัฐบาลมีการออกนโยบายและกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้ว ในรายงานของ The Global Gender Gap Report ซึ่งจัดทำโดย World Economic Forum พบว่าในปี 2014 ประเทศออสเตรเลียถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 24 ในเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศจากทั้งหมด 142 ประเทศ ใน The Global Gender Gap Report นี้จัดอันดับแต่ละประเทศในเรื่องการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง โดยวัดจากตัวชี้วัดหลักๆ ด้วยกัน 4 ด้านคือ 1) ผู้หญิงมีโอกาสในการทำงานและเลื่อนตำแหน่งเหมือนกับผู้ชายหรือไม่ 2) ผู้หญิงมีโอกาสเข้ารับการศึกษาในทุกระดับเหมือนกับผู้ชายหรือไม่ 3) อัตราการเกิดของเด็กผู้หญิงและผู้ชายมีจำนวนพอๆ กันหรือไม่ เพราะในบางประเทศจะนิยมมีลูกชายมากกว่าลูกสาว และ 4) ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสในทางการเมืองเท่ากันหรือไม่ โดยเฉพาะจำนวนของผู้หญิงที่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในแต่ละรัฐบาล จากการจัดอันดับนี้จะเห็นได้ว่าประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่พยายามขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง ประเทศออสเตรเลียเองก็เคยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิงเหมือนกัน คือ Julia Gillard

Read More

การข่มขืนในมหาวิทยาลัย

Column: Women in Wonderland การถูกข่มขืนนั้นส่วนใหญ่จะเกิดในสถานที่เปลี่ยวหรือในที่ที่ไม่มีผู้คนผ่านในบริเวณนั้นมากนัก โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนหรือรุ่งเช้า แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าผู้หญิงไม่ได้ไปเดินในที่เปลี่ยวๆ ก็ยังถูกข่มขืนอยู่ดี ยกตัวอย่างเช่นกรณีของเด็กหญิงอายุ 13 ปีที่เดินทางพร้อมผู้ปกครองและถูกข่มขืนบนรถไฟ ที่มีคนอยู่เต็มขบวน หรืออย่างกรณีของคุณครูสาวที่ถูกข่มขืนในห้องพักของตัวเอง กรณีเหล่านี้ย้ำให้เราเห็นว่าทุกวันนี้ผู้หญิงมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของการถูกข่มขืนได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าผู้หญิงจะพยายามหลีกเลี่ยงไปอยู่ในที่ที่ตัวเองมีโอกาสตกเป็นเหยื่อแล้วก็ตาม โดยปกติแล้วในสถานที่ทำงานหรือสถานศึกษามักจะมีคนคอยดูแลรักษาความปลอดภัยของตัวอาคารอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสถานที่ทำงานหรือสถานศึกษาจึงจัดว่ามีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่ในปัจจุบันนี้สถานที่เหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงอีกต่อไปถึงแม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทำงานอยู่ตลอดเวลา อย่างที่ประเทศอเมริกา มีผู้หญิงเป็นจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกข่มขืนในสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย องค์การ Rape, Abuse and Incest National Network หรือที่เรียกอย่างสั้นๆว่า RAINN ซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศอเมริกาเพื่อต่อต้านการใช้ความรุนแรงทางเพศในสังคม ได้ทำการเก็บสถิติของของผู้หญิงที่ถูกข่มระหว่างปี 1995–2013 พบว่า 11.2% ของนักศึกษาที่มีประสบการณ์ถูกลวนลามหรือการใช้กำลังบังคับให้ยินยอมมีเพศสัมพันธ์ด้วย การถูกข่มขืนในมหาวิทยาลัยนี้ไม่ได้มีเพียงผู้หญิงเท่านั้นที่ตกเป็นเหยื่อ แต่นักศึกษาชาย เกย์ กระเทย และเลสเบี้ยนเองก็ตกเป็นเหยื่อของการถูกข่มขืนเช่นกัน จากการเก็บสถิติของการถูกข่มขืนในช่วงเวลาดังกล่าวยังพบอีกว่า นักศึกษาหญิงระดับปริญญาตรีนั้นถูกข่มขืนในบริเวณมหาวิทยาลัยถึง 23.1% และมีผู้ชายที่ถูกข่มขืนถึง 5.4% ในขณะที่นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกนั้น มีนักศึกษาหญิงถูกข่มขืนประมาณ 8.8% และนักศึกษาชายประมาณ 2.2% และมีนักศึกษาทั้งผู้ชายและผู้หญิงประมาณ 5% รายงานว่า พวกเขาถูกตามจากคนโรคจิตเมื่อพวกเขาเริ่มเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย

Read More

ช่องว่างของเงินเดือนระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในอเมริกาและอังกฤษ

  Column: Women in Wonderland บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินประโยคที่ว่า ผู้ชายได้รับเงินเดือนในแต่ละปีมากกว่าเงินที่ผู้หญิงได้รับตลอดทั้งชีวิต หลายๆ คนอาจจะคิดว่า การที่ผู้หญิงได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชายนั้นเป็นเพราะว่า พวกเธอเลือกทำงานที่มีความง่าย ไม่สลับซับซ้อน ทำให้พวกเธอได้รับเงินเดือนที่น้อยกว่า หรืออย่างในต่างประเทศก็มีประชาชนบางส่วนที่เชื่อว่า การที่ผู้หญิงได้รับเงินเดือนน้อยกว่าก็เป็นเพราะพวกเธอทำงานพาร์ทไทม์ ในขณะที่ผู้ชายทำงานเต็มเวลา จึงทำให้ผู้หญิงมีรายได้น้อยกว่าผู้ชาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาเรื่องช่องว่างของเงินเดือนระหว่างผู้ชายและผู้หญิงนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นเลย ช่องว่างของเงินเดือนหรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Gender Pay Gap เป็นปัญหาเรื่องผู้ชายกับผู้หญิงที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน มีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่กลับได้รับเงินเดือนแตกต่างกัน ส่วนจะแตกต่างกันมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นๆ ว่ามีปัญหาช่องว่างของเงินเดือนมากขนาดไหน จริงๆ แล้วปัญหาเรื่องช่องว่างของเงินเดือนนั้นเป็นปัญหาที่มีมายาวนานแล้ว และเป็นปัญหาของทุกประเทศ รวมไปถึงประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นต้น ก็ยังคงต้องหาทางแก้ไขปัญหานี้ ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา American Association of University Women หรือเรียกย่อๆ ว่า AAUW ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่อง Gender Pay Gap ในสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลานาน ได้เปิดเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า  ในปี 2015

Read More

ความหวาดกลัวอิสลาม

 Column: Women in Wonderland  ความหวาดกลัวอิสลาม หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Islamophobia เป็นคำศัพท์ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ที่มีเหตุการณ์การโจมตีตึก World Trade Center และตึก Pentagon ซึ่งเป็นที่ทำการของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือที่คนต่างชาตินิยมเรียกกันว่าเหตุการณ์ 911 คำว่าความหวาดกลัวอิสลามนั้นหมายถึง อคติของผู้คนในสังคมที่มองชาวมุสลิมเหมือนกับปิศาจร้าย และชอบใช้ความรุนแรง ความหวาดกลัวนี้ทำให้เกิดการแบ่งแยกขึ้นในสังคม และทัศนคติด้านลบของผู้คนในสังคมต่อคนมุสลิม และในบางครั้งผู้คนในสังคมบางกลุ่มอาจจะมีการแสดงท่าทีในเชิงลบต่อคนมุสลิมเมื่อมีการพบเจอกันตามสถานที่ต่างๆ เรื่องการแบ่งแยกกลุ่มคนในสังคมไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ 911 เรื่องการแบ่งแยกของผู้คนในสังคมนั้นมีมานานแล้ว อย่างเมื่อก่อนที่มีการแบ่งชนชั้นระหว่างคนดำกับคนขาว เพียงแต่ในช่วงหลังๆ มานี้ โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์ 911 ในสังคมของเราจะเห็นได้ว่ามีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนจากเรื่องของความเชื่อและศาสนา Anja Rudiger หัวหน้าผู้ประสานงานของศูนย์ European Monitoring Centre on Racism and Xenophobia ได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การจะใช้เรื่องสีผิวมาเป็นเหตุผลหรือคุณลักษณะในการแบ่งแยกผู้คนนั้นไม่ได้รับการยอมรับแล้วในปัจจุบัน เพราะเวลานี้ศาสนาและวัฒนธรรมได้กลายมาเป็นเครื่องหมายของการจำแนกผู้คนแทน เราจะเห็นได้ว่าในช่วง 2–3 ปีมานี้ เรื่องความหวาดกลัวอิสลามนั้นทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย

Read More

ผู้หญิงชนพื้นเมืองอเมริกันถูกข่มขืนและไม่ได้รับความเป็นธรรม

  Column: Women in Wonderland กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน หมายถึงกลุ่มคนพื้นเมืองในประเทศอเมริกาที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกามาก่อนที่คนยุโรปจะเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ส่วนใหญ่จะหมายถึงชนเผ่าอินเดียนแดง ซึ่งส่วนใหญ่ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Native American หรือ American Indian ก่อนหน้านี้มีการใช้คำว่า Red Indian ในการพูดถึงชนพื้นเมือง และต่อมายกเลิกใช้คำนี้ไป เพราะ Red Indian ดูเป็นคำที่ไม่สุภาพและแสดงถึงการแบ่งแยกชนชั้น ดังนั้นในการสัมมนานานาชาติของคนอินเดียน ที่จัดขึ้นที่องค์การสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี 1977 คนอินเดียนจึงมีมติที่ประชุมร่วมกันว่าจะใช้คำว่า American Indian หรือ Native American ในการกล่าวถึงกลุ่มชนพื้นเมืองในประเทศอเมริกา กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันจะอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มและอาศัยอยู่ในเขตสงวนอินเดียนแดง เนื่องจากเมื่อวันที่ 31 มกราคม 1876 รัฐบาลอเมริกาประกาศให้ชนพื้นเมืองอเมริกันทุกคนย้ายเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นเขตสงวนอินเดียน ในประเทศอเมริกามีเขตสงวนอินเดียนอยู่ประมาณ 300 เขต และในแต่ละเขตก็จะมีขนาด ภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ในบางพื้นที่คนพื้นเมืองอเมริกันไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้ ในปัจจุบันนี้มีชนพื้นเมืองอเมริกันบางส่วนที่ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองที่ไม่ใช่พื้นที่เขตสงวน เพื่อเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และสามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้เหมือนกับคนอเมริกันทั่วไป ตามสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า

Read More

ยาคุมกำเนิด สาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า

 Column: Women in Wonderland  โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ในช่วงหลังมานี้เราจะได้ยินเกี่ยวกับโรคนี้บ่อยมาก ทุกวันนี้มีคนเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อยๆ บางคนรู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าก็ไปรักษา ในขณะที่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ทำให้คนเหล่านี้ท้ายที่สุดแล้วตัดสินใจฆ่าตัวตาย จากสถิติพบว่าคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า  มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำวิจัยและมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2020 โรคซึมเศร้าจะกลายเป็นโรคอันดับ 2 ของปัญหาสุขภาพของผู้คนทั่วโลกรองจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องมาจากปัญหาเรื่องเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และสังคมที่มีความกดดันมากขึ้น จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคหนึ่งที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เพราะในกรณีที่แย่ที่สุดผู้ป่วยอาจจะฆ่าตัวตายได้ โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความคิด คนที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีความรู้สึกท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่มีความสนุกสนานในการใช้ชีวิต นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึก ฝันร้าย อ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรง รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ใจลอย และคิดเรื่องการตายซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง สาเหตุหลักๆ ที่กระตุ้นให้คนเป็นโรคซึมเศร้าคือ สภาพจิตใจจากสภาวะแวดล้อมที่ต้องเผชิญ เช่น พบเจอกับความเครียดหนักๆ มีปัญหาชีวิต เจ็บป่วยเรื้อรังมานานจนหมดกำลังใจที่จะสู้ ปัญหาการเงิน ต้องย้ายบ้านกะทันหัน มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด และพบกับการสูญเสียในชีวิต และถ้าหากต้องพบเจอกับเหตุการณ์หรืออารมณ์นั้นบ่อยๆ ก็จะเป็นตัวช่วยเร่งให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ ปัจจุบันนี้พบว่า ผู้หญิงจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายถึง 70% และพวกเธอมักจะเริ่มมีอาการของโรคซึมเศร้าเมื่ออายุประมาณ 32

Read More

ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับสถานรับดูแลเด็กเล็กในประเทศอเมริกา

  Column: Women in Wonderland  ช่วงนี้เรียกว่าช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศอเมริกา ทำให้แต่ละพรรคการเมืองต่างก็งัดเอานโยบายต่างๆ ออกมาหาเสียง เพื่อให้ประชาชนสนใจและลงคะแนนเสียงให้ตัวเอง นโยบายหนึ่งที่นางฮิลลารี คลินตัน ได้หยิบยกมาพูดถึงคือนโยบายการแก้ไขปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็ก คนแก่ ผู้พิการ และคนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในตอนกลางวันที่มีราคาในการใช้บริการที่ค่อนข้างสูง และทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายเงินสำหรับใช้บริการเหล่านี้ได้ ที่ประเทศอเมริกาผู้คนส่วนใหญ่จะพบเจอกับปัญหาที่ว่า รายได้ของพวกเขาไม่เพียงพอต่อความต้องการของครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็ก หลังจากคลอดลูกผู้หญิงส่วนใหญ่อาจจะลางานได้  3–6 เดือนในการดูแลลูกหลังคลอดตามกฎหมาย และหลังจากหมดวันลาคลอดแล้วก็จะนำลูกไปฝากไว้ที่สถานรับดูแลเด็กเล็ก (Child Care) ในเวลาที่ตัวเองต้องออกไปทำงาน  ในต่างประเทศสถานรับดูแลเด็กเล็กนั้นสามารถพบเห็นได้เยอะมาก ในมหาวิทยาลัยหรือที่ทำงานบางแห่งจะมีสถานรับดูแลเด็กเล็กอยู่ในที่ทำงานเลย เพื่อให้ผู้หญิงสามารถออกมาทำงานข้างนอกได้สะดวกมากขึ้น ไม่ต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับลูกและยังสามารถไปและกลับจากที่ทำงานพร้อมลูกได้เลย สถานรับเลี้ยงเด็กในต่างประเทศนั้นจะมีค่าใช้จ่ายเป็นชั่วโมงสำหรับผู้ปกครองที่ทำงานพาร์ตไทม์และไม่ได้ทำงานทุกวัน หรือจ่ายเป็นสัปดาห์สำหรับผู้ปกครองที่ทำงานเต็มเวลาทุกวัน  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รายได้ที่เข้ามาในครอบครัวจากทั้งผู้ชายและผู้หญิงยังคงไม่เพียงพอในการส่งลูกไปอยู่ที่สถานรับดูแลเด็กเล็ก ดังนั้นเมื่อรายได้ที่เข้ามาไม่เพียงพอ ผู้หญิงจึงต้องตัดสินใจว่าจะขอลาหยุดงานต่อเพื่อเลี้ยงดูลูกอยู่ที่บ้านหรือจะต้องเอาลูกไปฝากไว้กับพ่อแม่ แล้วตัวเองออกไปทำงาน  ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าในวัฒนธรรมของฝรั่งนั้นไม่เหมือนกับบ้านเรา ที่ต่างประเทศเมื่อเริ่มทำงานแล้ว คนหนุ่มสาวจะแยกตัวออกมาอยู่เอง และจะกลับไปบ้านพ่อแม่ก็ต่อเมื่อถึงเทศกาลคริสต์มาสหรือวันอีสเตอร์เท่านั้น ดังนั้นการที่จะให้เอาลูกไปฝากพ่อแม่เลี้ยงในตอนกลางวันจึงเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่ทำกัน การที่ต้องตัดสินใจว่าจะหยุดทำงานต่อและทำให้ครอบครัวมีรายได้น้อยลงในขณะที่รายจ่ายจะเพิ่มขึ้นจากการที่มีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้นหรือจะต้องเอาลูกไปฝากพ่อแม่เลี้ยงนั้นจึงเป็นการตัดสินใจที่ยากมาก ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ และคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษมีราคาที่สูงเกินไปนั้นเป็นปัญหาที่มีมานานแล้ว และยังคงหาทางแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้ นางฮิลลารี คลินตัน มองเห็นปัญหานี้ และได้คิดที่สานนโยบายนี้ต่อหลังจากที่นโยบายแก้ไขปัญหานี้ไม่เดินหน้าเท่าที่ควรในรัฐบาลชุดนี้ สาเหตุที่นางคลินตันเห็นความสำคัญของปัญหานี้ก็เพราะในปี 2532 นางคลินตันซึ่งในขณะนั้นยังคงทำงานเป็นทนายความและประธานของกองทุนปกป้องเด็ก (Children’s Defense

Read More

การกระทำหรือคำพูดที่อาจเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการโดยไม่รู้ตัว

  Column: Women in Wonderland คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในทุกวันนี้ที่ผู้ที่มีร่างกายผิดปกติ หรือมีความพิการทางร่างกายสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ สามารถเดินทางไปในที่ต่างๆ ได้เหมือนคนทั่วไป ในทุกสถานที่ที่พวกเราไป ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ หรือร้านอาหาร จะเห็นได้ว่ามีทางลาดสำหรับผู้ที่มีร่างกายผิดปกติและต้องใช้รถเข็นในสถานที่เหล่านี้ ดังนั้นการเดินทางไปในที่ต่างๆ สำหรับผู้ที่ร่างกายผิดปกติหรือมีความพิการทางร่างกายจึงไม่ใช่เรื่องยากเหมือนเมื่อก่อน ในต่างประเทศผู้ที่มีร่างกายผิดปกติหรือมีความพิการทางร่างกายนั้น สามารถทำทุกอย่างได้เหมือนคนทั่วไป เช่นว่าพวกเขาสามารถขึ้นรถเมล์พร้อมกับรถเข็นได้เหมือนกับคนทั่วไป หรือแม้แต่จะใช้รถไฟใต้ดิน คนเหล่านี้ก็สามารถใช้รถไฟใต้ดินเดินทางไปทำงานได้เหมือนกับคนทั่วไป เพราะระบบขนส่งในต่างประเทศจะมีการทำทางให้รถเข็นสามารถขึ้นลงได้ ทำให้ผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกาย สามารถเดินทางไปในทุกที่ แม้ว่าในปัจจุบันพวกเราหลายคนอาจจะเห็นผู้ที่มีร่างกายผิดปกติ หรือมีความพิการทางร่างกาย ใช้ชีวิตเหมือนกับคนทั่วไป และเห็นพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเหมือนคนทั่วๆไป  แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่คิดว่าเราควรปฏิบัติต่อคนเหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างจากคนธรรมดา เพราะพวกเขาไม่ได้มีร่างกายที่เหมือนกับพวกเรา และความคิดและการกระทำเหล่านี้เองที่ทำให้ผู้ที่มีร่างกายผิดปกติหรือมีความพิการทางร่างกายรู้สึกว่าพวกเขากำลังได้รับการเลือกปฏิบัติจากผู้คนในสังคม ที่อเมริกา มีเด็กหญิงวัยรุ่นคนหนึ่งที่มีความผิดปกติทางร่างกายและต้องนั่งอยู่บนรถเข็นได้เล่าประสบการณ์ของเธอให้กับนักข่าวฟังว่า อะไรที่ทำให้เธอรู้สึกว่า กำลังถูกเลือกปฏิบัติจากผู้คนกลุ่มหนึ่งที่มองว่าเธอเป็นคนพิการและต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป  เด็กผู้หญิงคนนี้เล่าว่า วันหนึ่งเธอไปที่ร้านหนังสือในห้างสรรพสินค้า ระหว่างที่กำลังเลือกหนังสืออยู่ ก็มีชายสูงอายุคนหนึ่งมองมาที่เธอและยิ้มให้เธออย่างผู้ใหญ่ใจดี ชายสูงอายุคนนี้ทักทายเธอและใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยนเหมือนกำลังพูดกับเด็กอายุ 3 ขวบ หลังจากที่ชายสูงอายุคนนี้ทักทายเธอแล้ว เขาได้พูดกับเธอว่า “เธอทำให้โลกของฉันสดใสขึ้นมาทันที ฉันดีใจมากที่ได้เห็นคนแบบเธอใช้ชีวิตอย่างกล้าหาญด้วยการออกมาข้างนอกเหมือนอย่างคนทั่วไป”   เด็กผู้หญิงคนนี้รู้สึกเสียความรู้สึกกับคำว่า “คนแบบเธอ” ซึ่งในที่นี้ชายสูงอายุหมายถึงคนที่ใช้ชีวิตอยู่บนรถเข็นแบบเธอ เด็กผู้หญิงคนนี้อธิบายความรู้สึกของเธอหลังจากพบสถานการณ์นี้ว่า เธอรู้ว่าสถานการณ์แบบนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นที่ร้านหนังสือ ร้านขายของ ห้างสรรพสินค้า หรือพูดได้ว่าที่สาธารณะทุกที่

Read More

ปรากฏการณ์ KABALI

 Column: AYUBOWAN สันทนาการหลักๆ ของชนชาวศรีลังกานอกจากจะออกมาหย่อนใจในสวนสาธารณะ หรือรวมกลุ่มเล่นกีฬากันอย่างสนุกสนานแล้ว ดูเหมือนว่าโรงภาพยนตร์ ก็เป็นแหล่งสันทนาการใหญ่ที่ดึงดูดผู้ชมได้อย่างหนาแน่น ความเป็นไปของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ศรีลังกา ในด้านหนึ่งก็คงคล้ายและใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียใต้อีกหลากประเทศที่ถูกบดบังไว้ด้วยภาพยนตร์จาก Bollywood ของอินเดียอยู่เป็นด้านหลัก โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของศรีลังกาซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1947 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นจากผลของผู้อำนวยการสร้างจากอินเดียใต้ ที่ทำให้ภาพยนตร์ศรีลังกาในยุคบุกเบิก ดำเนินไปท่ามกลางมิติของเทคนิควิธีการเล่าเรื่อง การถ่ายทำตามขนบแบบภาพยนตร์อินเดียไปโดยปริยาย แม้ว่าภาพยนตร์ศรีลังกาที่ผลิตขึ้นในช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็ผลิตภายใต้สื่อภาษาสิงหล ซึ่งเป็นภาษาหลักและเป็นภาษาของชนหมู่มากของศรีลังกา แต่ภาพยนตร์ภาษาฮินดีจากอินเดียก็ได้รับความสนใจและครองความนิยมในหมู่ผู้ชมได้เสมอ ประเมินในมิติที่ว่านี้ก็คงไม่แตกต่างจากแฟนหนังชาวไทยที่พร้อมจะซื้อบัตรเข้าชมภาพยนตร์จาก Hollywood มากกว่าที่จะสนับสนุนภาพยนตร์ไทยดีๆ สักเรื่อง หรือในความเป็นจริงภาพยนตร์ไทยดีๆ ยังไม่ค่อยมีให้สนับสนุนก็เป็นได้ แต่เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์ภาษาทมิฬจากฐานของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อีกแห่งที่เมือง Kodambakkam ในเขต Chennai รัฐ Tamil Nadu ที่ได้รับการเรียกขานว่าเป็น Kollywood ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่จำกัดเฉพาะในบริบทของเมือง Chennai หรือในและอาณาเขตแว่นแคว้นของรัฐ Tamil Nadu ทางตอนใต้ของอินเดียเท่านั้น หากยังแผ่ข้ามมาสู่ศรีลังกาอีกด้วย ภาพยนตร์ภาษาทมิฬในนาม Kabali กลายเป็นหัวข้อสนทนาที่สร้างความตื่นตาตื่นใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า Kabali สร้างสถิติใหม่เป็นภาพยนตร์อินเดียที่ทำรายได้สูงสุดจากการฉายทั้งในโรงภาพยนตร์ 3,200 แห่งในอินเดียและอีกจำนวนหนึ่งในต่างประเทศในช่วงสัปดาห์แรก ด้วยมูลค่ารวมมากถึง 33 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื้อหาของ

Read More

ไข้เลือดออก

 Column: AYUBOWAN  “อาโรคฺยปรมา ลาภา” ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ เป็นพุทธปรัชญาที่เชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงตระหนักและเข้าใจเป็นอย่างดี ซึ่งในสังคมศรีลังกาที่ถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักก็คงถือคตินี้ไม่แตกต่างกัน หากแต่ช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่ได้รับมรสุมจนเกิดเหตุน้ำท่วมและดินถล่มในหลายพื้นที่ สิ่งที่ติดตามมาก็คือปริมาณน้ำที่ท่วมขังในแต่ละจุดกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำพาโรคไข้เลือดออก หรือ Dengue fever อีกด้วย ภาวะการระบาดของไข้เลือดออกในศรีลังกาโดยปกติจะดำเนินเป็นประหนึ่งวงรอบที่มีการระบาดชุกชุมในช่วงปลายฝนต้นหนาวที่เริ่มมีการระบาดหนาแน่นตั้งแต่เดือนตุลาคมต่อเนื่องมาจนถึงกุมภาพันธ์ โดยมีเดือนธันวาคมและมกราคมเป็นช่วงที่มีการรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่สุด จากสถิติของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขศรีลังการะบุว่า ในช่วงปี 2014 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกสูงมากถึง 47,500 ราย โดยในจำนวนที่ว่านี้เป็นผู้ป่วยในเขตกรุงโคลัมโบมากถึง 15,000 ราย เรียกได้ว่าผู้ป่วยจำนวนกว่า 1 ใน 3 เป็นผู้ป่วยในเขตเมือง ความจริงในเรื่องดังกล่าวนี้อาจแยกพิจารณาได้เป็นสองกรณีคือเขตเมืองเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดกับอีกด้านหนึ่งก็คือผู้คนในเขตเมืองมีโอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาลมากกว่าผู้คนในเขตห่างไกล ทำให้สถิติเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประชากรชาวโคลัมโบ อย่างไรก็ดี การควบคุมโรคไข้เลือดออกของศรีลังกาในช่วงปีถัดมานับว่าประสบผลสำเร็จพอสมควรเพราะในปี 2015 จำนวนผู้ป่วยด้วยไข้ dengue ลดลงเหลือเพียง 30,000 รายหรือลดลงจากปีก่อนหน้ามากกว่าร้อยละ 30 เลยทีเดียว กระบวนการในการติดตามโรคของศรีลังกานับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เพราะนอกจากจะติดตามความคืบหน้าอาการป่วยของผู้ติดเชื้อแต่ละรายผ่านโครงข่ายโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขแล้ว หน่วยงานเทศบาลในพื้นที่ก็ทำงานประสานเพื่อป้องกันการระบาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่เสี่ยงด้วย แต่สำหรับปี 2016 ดูเหมือนว่าสถานการณ์ไข้ Dengue ในศรีลังกาจะกลับเข้าสู่ภาวะที่ต้องวิตกกังวลมากขึ้นเมื่อปรากฏว่าเพียงระยะเวลา 6 เดือนของครึ่งปีแรกก็มีจำนวนผู้ป่วยไข้ Dengue

Read More