สกว.สนับสนุนนักวิจัยจาก ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแบบจำลอง 3 มิติเสมือนจริง ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของโบราณสถานสำคัญในเมืองมรดกโลก สุโขทัย-พระนครศรีอยุธยา หวังสร้างรายได้แก่คนในชุมชน
ผศ. ดร.ภาสกร ปนานนท์ หัวหน้าโครงการ “ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแบบจำลอง 3 มิติ เสมือนจริงของโบราณสถานสำคัญในเมืองมรดกโลก โดยการถ่ายภาพทางอากาศความละเอียดสูง สำหรับกลุ่มโอทอปวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อรองรับตลาดการท่อง เที่ยวแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย” เปิดเผยว่า
แม้จะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาเที่ยวชมมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทยทั้งเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารและนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาสร้างรายได้ให้กับภาคธุรกิจท่องเที่ยวและประเทศ แต่กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวกลับได้รับอานิสงส์ไม่มากนัก เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายผลิตภัณฑ์ของชุมชนในท้องถิ่น หลายพื้นที่ซื้อสินค้าจากที่อื่นมาวางขายอีกทอดหนึ่ง ทำให้ขาดความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวเหล่านั้น
นักวิจัยจาก ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อพัฒนาคุณภาพการออกแบบและผลิตของที่ระลึกด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึกเพื่อจำหน่ายแก่กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชนในระดับครัวเรือน ตลอดจนสะท้อนเอกลักษณ์และคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของสถานที่ท่องเที่ยว
นักวิจัยและคณะได้ร่วมกันสืบค้นข้อมูลของโบราณสถานที่สำคัญในเมืองมรดกโลกและคัดเลือกโบราณสถานสำคัญที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามเป็นที่รู้จักสามารถเป็นตัวแทนหรือแลนด์มาร์คของเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและพระนครศรีอยุธยา รวม 10 แห่ง จากนั้นจึงถ่ายภาพทางอากาศความละเอียดสูงร่วมกับการถ่ายภาพภาคพื้นดินรอบโบราณสถานอย่างละเอียด แล้วสร้างแบบจำลอง 3 มิติต้นแบบให้กับชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนและท้องถิ่น เอสเอ็มอีโอทอป เพื่อให้สามารถนำแบบจำลองเหล่านี้ไปใช้และพัฒนาต่อยอดในการออกแบบและผลิตของที่ระลึกและจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว
นอกจากนี้คณะวิจัยยังได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่มีคุณภาพสูง ทั้งของที่ระลึกที่มีลักษณะเป็นสามมิติที่จับต้องได้และแบบอื่นๆ ให้กับชุมชนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวม 2 ครั้ง ทั้งที่ชุมชนรอบเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร และนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
“งานวิจัยนี้เป็นโครงการต้นแบบสำหรับการผลิตของที่ระลึกด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีคุณภาพสูง
ของที่ระลึกจากแบบจำลอง 3 มิติเสมือนจริงของที่ระลึกด้านการท่องเที่ยวผศ. ดร.ภาสกร ปนานนท์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) Read More