Home > Cover Story (Page 182)

ดัน “แสงโสม-หงส์ทอง” ขยายฐานปลุก “นิวดริงเกอร์”

 แม้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ชูธงเร่งบุกธุรกิจนอนแอลกอฮอล์ แต่รายได้กว่า 160,000 ล้านบาท ยังมาจากกลุ่มธุรกิจเหล้าเกือบ 60% มีแบรนด์เหล้าในเครือมากกว่าร้อยตัว ถือเป็นเจ้าตลาดที่ยึดครองส่วนแบ่งเกือบทั้งหมดในตลาดเหล้าขาวและเหล้าสี โดยเฉพาะตลาดเหล้าสีที่มีการแข่งขันสูงและมีเม็ดเงินสะพัดมากกว่า 60,000 ล้านบาท ค่ายไทยเบฟฯ ฮุบแชร์ไว้ในมือถึง 90% คือ หงส์ทอง 50% เบลนด์ 285 อยู่ที่ 30% แสงโสม 10%   ส่วน “แม่โขง” หายไปจากตลาดนานหลายปี และเพิ่งกลับมาสร้างแบรนด์ มีส่วนแบ่งไม่ถึง 5% ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์ 3-5 ปี ฐาปน สิริวัฒนภักดี ซึ่งรับช่วงต่อบริหารธุรกิจเครื่องดื่มทั้งหมดของครอบครัว ต้องการยกระดับแบรนด์เหล้าสีทั้ง 4 ตัวให้พรีเมียมมากขึ้น และสร้างภาพลักษณ์ชัดเจนมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่า แบ่งกลุ่มเซกเมนต์และขยายฐาน เนื่องจากพฤติกรรมนักดื่มไทยมีรสนิยมสูงขึ้น มีความถี่ในการเลี้ยงสังสรรค์มากขึ้น และสามารถดื่มได้ทุกโอกาส วรรัตย์ จรูญสมิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด

Read More

ตำนานเหล้าไทย “House of Mekhong”

 ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ โรงงานสุราบางยี่ขันแห่งแรก ณ ปากคลองบางยี่ขัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดินเครื่องจักรผลิตเหล้าตั้งแต่ครั้งเริ่มสร้างกรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นถือเป็นสมบัติของนายอากร ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้ผูกขาดผลิตสุราขาวหรือ “เหล้าโรง” ออกจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร           การผลิตดำเนินเรื่อยมาจนถึงยุคประเทศไทยเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส เกิดกรณีพิพาทกัน  หลวงวิจิตรวาทการได้ประพันธ์เพลงปลุกใจคนไทยให้รักชาติและกล้าเข้าสู่สมรภูมิ ชื่อว่า “ข้ามโขงไปสู่แคว้นแดนไทย” และ “โขงสองฝั่งเหมือนฝั่งเดียวกัน” กรมสรรพสามิตจึงตั้งชื่อสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรี ที่ผลิตขึ้นใหม่ในปี 2484 ว่า “แม่โขง” นับตั้งแต่นั้นมา           ต่อมา โรงงานบางยี่ขันเปลี่ยนผ่านสังกัดจากกระทรวงการคลังมาขึ้นอยู่กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเข้าสู่ยุคที่รัฐบาลเปิดให้เอกชนประมูลเช่าโรงงาน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเมื่อปี 2503           ผู้เช่ารายแรกคือ บริษัท สุรามหาคุณ จำกัด โดยจ่ายอัตราค่าเช่าปีละ 41 ล้านบาท และได้รับการต่อสัญญาอีก 10 ปี ตั้งแต่ปี 2513 อัตราค่าเช่าปีละ 55 ล้านบาทบวกส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิอีกร้อยละ 25           สำหรับโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดสัมปทานปี

Read More

TrueMoney Wallet จินตนาการครั้งใหม่ ของทรูฯ

 นับเนื่องเป็นเวลาเกือบ 10 ปี หลังจากที่บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ก่อตั้งขึ้น ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2546 ก่อนที่ “true money (ทรู มันนี่)” จะถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2548 ในฐานะ 1 ใน 5 เครือข่ายธุรกิจหลักตามยุทธศาสตร์ “คอนเวอร์เจนซ์” ของ “ทรูคอร์ปฯ” หากย้อนกลับไปวัตถุประสงค์แรกเริ่มของ “ทรู มันนี่” ก็คือให้บริการเทคโนโลยีด้านธุรกรรมทางการเงินของกลุ่มทรู โดยเฉพาะการรับชำระค่าบริการของบริษัทในกลุ่ม นอกจากเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของทรูคอร์ปฯ ที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยังเป็นการลดต้นทุนให้กับกลุ่ม และเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท โดยเป็นรายได้จากค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่างๆ ช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ทรูมันนี่พยายามขยายบริการใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นยอดผู้ใช้บริการและจำนวนธุรกรรมให้เพิ่มขึ้น ภายใต้บริการหลักคือ “เติม-จ่าย-โอน-ถอน” ผ่านมือถือทรูมูฟได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ผลงานอาจยังไม่ประสบความสำเร็จในมิติของรายได้และยอดธุรกรรมเท่าที่ควรและนั่น นำมาสู่การประกาศปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และบริการใหม่ของทรูมันนี่ ภายใต้ธีม true money : ‘Re-Imagine money’ หรือ “จินตนาการครั้งใหม่เกี่ยวกับเงินยุคดิจิตอล”

Read More

“แม่โขง” ปรับกลยุทธ์ บุกทุกช่องทางแจ้งเกิด

 หลังจากประกาศเปิดตัว “แม่โขง” ภาพลักษณ์ใหม่ เมื่อกลางปีที่แล้ว โดยเน้นขยายตลาดต่างประเทศกลุ่มยุโรปและอเมริกาได้ระยะหนึ่ง ปี 2556 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เตรียมกลยุทธ์ชุดใหญ่ เพื่อหันกลับมาเจาะกลุ่มนักดื่มชาวไทย  โดยเฉพาะความพยายามแจ้งเกิดแบรนด์ “แม่โขง” ในฐานะเหล้าไทยระดับพรีเมียมชนเหล้านอกทุกยี่ห้อ ตามแผนเป็นกลยุทธ์ต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ (Repositioning) ตอบสนองไลฟ์สไตล์ระดับเวิลด์คลาส เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายนักดื่มทั้งหญิงและชายอายุ 25-35 ปี ระดับรายได้กลุ่ม A จากเดิมเป็นกลุ่มลูกค้ากว้างมาก ผู้ชายตั้งแต่วัยหนุ่มไปจนถึงผู้ใหญ่อายุ 50-70 ปี  ไม่จำกัดรายได้ การชูแพ็กเกจจิ้งใหม่ ตั้งแต่รูปแบบขวด ฝา การออกแบบฉลากและใช้ตัวหนังสือภาษาอังกฤษ เพื่อให้แบรนด์สื่อสารกับคนทั่วโลก เพิ่มช่องทางการจำหน่ายในโรงแรมห้าดาว และซูเปอร์มาร์เก็ตระดับไฮเอนด์ เช่น กูร์เมต์มาร์เก็ต วิลล่าซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านดิวตี้ฟรี การเปลี่ยนรูปแบบนำเสนอสู่กลุ่มเป้าหมาย (Representing) ผ่าน “แม่โขง ค็อกเทล” ที่ปัจจุบันมีแล้ว 10 สูตร โปรโมตที่โรงแรมระดับห้าดาว การเปิดแอพพลิเคชั่นแม่โขงค็อกเทล สำหรับไอแพดและไอโฟนตามไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย มีค็อกเทลที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย “Thai

Read More

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา จากทฤษฎีการบินสู่ธุรกิจแสนล้าน

 บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา เสี่ยใหญ่แห่งเครือสหพัฒน์ ชื่นชอบการขับเครื่องบินเป็นชีวิตจิตใจ ขับมานานมากกว่า 20 ปี จนทุกวันนี้ แม้อายุทะลุเพดานตัวเลข 75 เสี่ยยังขับเครื่องบินไปดูงาน พานักธุรกิจเยี่ยมชมสวนอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นสวนอุตสาหกรรมที่ศรีราชา กบินทร์บุรี ลำพูน แม่สอด รวมถึงการเดินทางไปเยี่ยมคู่ค้าในช่วงวันหยุดยาว สะสมชั่วโมงบินนับหลายพันชั่วโมง ทั้งความชอบ ความหลงใหล และประสบการณ์การขี่นกเหล็กบนเวิ้งฟ้า บุณยสิทธิ์เปรียบเทียบ ทุกนาทีไม่ต่างอะไรจากการทำธุรกิจ เพราะทุกช่วงจังหวะต้องรอบคอบ อาศัยมุมมองหลายมิติ ไม่ใช่แค่ 2 มิติ และที่สำคัญ  “พลาดไม่ได้” “การขับเครื่องบินต้องระมัดระวังที่สุด เมื่อเครื่องบินเมื่อขึ้นสู่ท้องฟ้าจะหยุดเหมือนรถยนต์ไม่ได้ ต้องไปให้ถึงที่หมาย การค้าขายทำธุรกิจก็เหมือนกัน ต้องศึกษาทุกอย่าง เพราะถ้าทำแล้วไม่ดีก็คือพัง ถ้าเราขับเครื่องบิน ต้องเตรียมพร้อม ต้องไปให้ทัน ไปถึงที่หมาย การทำการค้าขายต้องทำให้สำเร็จ ถึงปลายทางให้ได้ ไม่ใช่ครึ่งๆกลางๆ ทำไม่ได้ ก็คือ เจ๊ง นี่คือทฤษฎี” บุณยสิทธิ์กล่าวกับ ผู้จัดการ360 ํ และนั่นต้องถือว่า ทฤษฎีการบินแท้ที่จริงเป็นเคล็ดลับสำคัญข้อหนึ่งนอกเหนือจากคำสอนของพ่อที่ทำให้ทุกย่างก้าวของการสร้างอาณาจักรแสนล้านของเครือสหพัฒน์เดินไปอย่างมั่นคง ขยายบริษัทในเครือมากกว่า

Read More

Digital University อีกก้าวของจุฬาฯ ที่ยังไม่ใกล้ “เสาหลักของแผ่นดิน”

 ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยกำลังจะมีอายุครบ 100 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์ปี พ.ศ. 2555-2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งเป้าที่จะเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลก: World Class National University” เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว หนึ่งในพันธกิจสำคัญของจุฬาฯ คือการผลักดันมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็น Digital University อันเป็นยุทธศาสตร์ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารของมหาวิทยาลัยอย่างรอบด้าน ด้วยเหตุนี้ กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา จุฬาฯ ได้จัดให้มีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือในโครงการ “WiFi4CU” ระหว่างจุฬาฯ กับ 4 ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของไทย ได้แก่ เอไอเอส, ดีแทค, ทรู และทีโอที ในการติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายความเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมพื้นที่แนวราบทั้งหมดของจุฬาฯ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 2 ปี “ทุกวันนี้ การเรียนการสอนทุกอย่างใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขับเคลื่อน การวิจัยก็ใช้เครือข่ายนักวิจัยทั่วโลกเข้าด้วยกัน ตอนนี้กิจกรรมมหาวิทยาลัยหลายๆ อย่างได้ขึ้นไปอยู่บนระบบ ICT เกือบหมด เราพยายามขับเคลื่อนเรื่องพวกนี้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ใช้

Read More

สหพัฒน์ปรับยุทธศาสตร์ “เกียร์สโลว์” ฝ่าวิกฤต

 ปี 2556 อาจเป็นปีที่เครือสหพัฒน์ต้องเจอมรสุมเศรษฐกิจลูกใหญ่อีกครั้ง โดยเฉพาะปัญหา “กำลังซื้อ” ที่ประเมินผิดพลาด จากเดิมคาดการณ์ว่าจะพุ่งสูงจากการขึ้นค่าแรง 300 บาท และนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาล บวกกับธุรกิจส่งออกได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินบาทแข็งค่า จนกระทั่งบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ต้องประกาศแผน “เกียร์สโลว์” เป็นแนวนโยบายให้บริษัทในเครือกว่า 300 บริษัท ชะลอการลงทุนโครงการใหม่และรอจังหวะรุกในปีหน้า แน่นอนว่า วิกฤตครั้งนี้ส่งผลโดยตรง ไม่ใช่แค่เป้าหมายยอดขายเติบโตต่ำสุดในรอบหลายสิบปี ไม่เกิน 5% จากปกติอยู่ในระดับ 10-20% ต้องชะลอด้านการส่งออก ปิดโรงงานบางแห่ง แต่ยังกดดันให้บริษัทในเครือสหพัฒน์ต้องรีบยกเครื่องครั้งใหญ่และปรับโครงสร้างผลักดันผู้บริหารรุ่นใหม่เข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง เพื่อรองรับการแข่งขันในสงครามธุรกิจที่รุนแรงขึ้นและมีทุนต่างชาติเข้ามามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่า เครือสหพัฒน์ขยายอาณาจักรครอบคลุมธุรกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกหมวดในชีวิตประจำวันมากกว่า 30,000 รายการ จากกว่า 100 แบรนด์ ตั้งแต่กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องสำอาง เสื้อผ้าตั้งแต่หัวจรดเท้า รองเท้า เครื่องหนัง ทุกเพศทุกวัย การขับเคลื่อนธุรกิจในช่วง 2-3 ปี นอกจากการพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าแล้ว สหพัฒน์ยังพยายามวางเครือข่ายค้าปลีก เพื่อสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าของตัวเอง

Read More

เซเลบ คนดัง แห่ขายตรง ยึดโซเชียลมีเดียกินเงียบ

โซเชียลมีเดียที่มียอดการใช้เติบโตสูงสุด 163%  โดยเฉพาะโปรแกรมแบ่งปันรูปภาพ อินสตาแกรม (Instagram) แอพพลิเคชั่นสุดฮอตในมือถือสมาร์ทโฟน ล่าสุดมียอดผู้ใช้งานทั่วโลกมากกว่า  100 ล้านคนและในประเทศไทยมียอดคนเล่นมากกว่า 10 ล้านคน มียอดการถ่ายรูปอัพโหลดถึงปีละ 70 ล้านภาพ และดาราอย่าง “อั้ม” พัชราภา ไชยเชื้อ กลายเป็นคนไทยที่มียอดฟอลโลว์ทะลุเกิน 1 ล้านฟอลโลว์ ติดอันดับ 1 ในประเทศไทยและติดทอปร้อยระดับโลกด้วยอินสตาแกรมถือเป็นโปรแกรมแบ่งปันรูปภาพ ได้รับการคิดค้นขึ้นมาเมื่อเดือน ตุลาคม  2553 โดยผู้ใช้งานสามารถถ่ายรูปและตกแต่งภาพได้ตามใจต้องการ จากนั้นแบ่งปันผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งช่วงแรกนั้น อินสตาแกรมรองรับการใช้งานบน ไอโฟน ไอแพด และไอพอดทัช ต่อมาในปี 2555 จึงเพิ่มการรองรับกับระบบแอนดรอยด์และปัจจุบันเปิดให้ดาวน์โหลดได้ทางไอทูนส์และกูเกิลเพลย์ต้องถือว่า ระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี ยอดการใช้อินสตาแกรมเติบโตแซงหน้าเฟซบุ๊กและหากคำนวณอัตราเติบโตเฉลี่ยเดือนละ 10 ล้านคน ประมาณกันว่า ยอดผู้ใช้มีสิทธิ์แตะ 200 ล้านคนภายในปีนี้ศักยภาพการสร้างเครือข่ายผู้ติดตามหรือเป็นแฟนคลับที่มีรอยัลตี้สูงชนิดเพิ่มได้ไม่หยุด เฉพาะในไทยสูงถึง 10 ล้านคนและเติบโตต่อเนื่องตามจำนวนประชากรคนรุ่นใหม่

Read More

“บางนา” โตรับ “ผังเมืองใหม่” รายใหญ่-รายเล็ก ร่วมแจมปักหมุด

 “การเติบโตของกรุงเทพฯ อีก 5 ปีข้างหน้าจะมีการขยายตัวไปทางทิศตะวันออกมากกว่าทิศตะวันตก เพราะสนามบินสุวรรณภูมิอยู่ทางตะวันออก ขณะที่ จ.ฉะเชิงเทรา ระยอง และชลบุรี มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง กรุงเทพฯ ตะวันออกจะเชื่อมต่อการเติบโตกับจังหวัดเหล่านี้” เกรียงพล พัฒนรัฐ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม. ให้ข้อมูล ภายหลังที่กรุงเทพฯ ได้ประกาศใช้ “ผังเมืองใหม่” ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร อย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนที่แล้ว อันที่จริง “บางนา” ตั้งแต่สี่แยกบางนาไปจนถึงหลักกิโลเมตรที่ 10 ค่อยๆ เปลี่ยนโฉมหน้าจากพื้นที่ “ชายขอบรอบนอกเมือง” มาสู่ความเป็นเมืองมาเรื่อยๆ นับตั้งแต่มีการสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสอ่อนนุช-แบริ่ง โดยเฉพาะในช่วงหลังจากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเปิดใช้แล้ว ก็ยิ่งได้เห็นคอนโดมิเนียมพาเหรดเปิดโครงการกันมากขึ้น ศักยภาพของย่านบางนา มาจากการเป็นต้นทางของถนนสายหลักที่วิ่งออกสู่ท่าเรือน้ำลึกในภาคตะวันออก และเป็นเส้นทางสู่สนามบินแห่งชาติสุวรรณภูมิ อีกทั้งการเติบโตของผู้คนจากจังหวัดในภาคตะวันออก ทั้งชลบุรี ระยอง รวมถึงการเติบโตของนิคมอุตสาหกรรม และการมีแหล่งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เหตุปัจจัยเหล่านี้ปรุงแต่งให้เกิดความต้องการด้านที่อยู่อาศัยในย่านบางนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของย่านบางนาคือ การขยายระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส บวกกับการเปิดตัวของศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในย่านนี้ อาทิ เซ็นทรัล บางนา, เมกะบางนา และอิเกีย เป็นต้นที่ทำให้ย่านบางนา “ฮอต”

Read More

โฮมชอปปิ้ง จอเดือด “ทีวีไดเร็ค” ระดมแผนบี้คู่แข่ง

 “จุดเด่นของช้อปชาแนลอยู่ที่การจัดรายการสด ผู้บริโภคพูดคุยผ่านทางรายการได้ตลอดเวลา  ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่จะสร้างความตื่นเต้นครั้งใหญ่” ตลาดโฮมชอปปิ้งกลายเป็นสมรภูมิธุรกิจที่ร้อนระอุถึงขั้นจอเดือด ทั้งช่องทางเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียมและกำลังขยายแนวรบสู่ทีวีดิจิตอล ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการภายในปีนี้ โดยประเมินมูลค่าตลาดจะพุ่งพรวดจากปีก่อนอีกเท่าตัวไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท และมีศักยภาพเติบโตต่อเนื่อง ไม่ต่างจากญี่ปุ่นและเกาหลีที่มีการซื้อขายในธุรกิจโฮมชอปปิ้งทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง เม็ดเงินเฉลี่ยมากกว่า 5-6 แสนล้านบาทต่อปี ความหอมหวนของเค้กก้อนใหญ่ ดึงดูดให้ผู้เล่นรายใหญ่และรายใหม่แห่เข้ามาหวังช่วงชิงส่วนแบ่ง  โดยมี 3 ยักษ์ใหญ่ที่ขับเคี่ยวกันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็น “ทีวีไดเร็ค” ในฐานะผู้บุกเบิกตลาดเจ้าแรก “โอช้อปปิ้ง” ของค่ายจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ และน้องใหม่ “ช้อปชาแนล” ของกลุ่มพันธมิตร 3 รายใหญ่ คือ ซูมิโตโมคอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เซ็นทรัล และสหพัฒน์ ซึ่งจะเริ่มดีเดย์ออนแอร์พร้อมๆ กับการส่งดาวเทียม “ไทยคม 6” ขึ้นสู่วงโคจรในเดือนสิงหาคมนี้   แน่นอนว่า “ทีวีไดเร็ค” ในฐานะผู้นำตลาดต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เนื่องจากรูปแบบโฮมชอปปิ้ง การสื่อสารผ่านรายการทีวีมีการพัฒนารูปแบบต่างไปจากเมื่อสิบกว่าปีก่อนค่อนข้างมาก ไม่ใช่แค่การซื้อรายการสาธิตจากต่างประเทศ  แต่มีการบอกเล่าคุณสมบัติและการใช้สินค้าอย่างชัดเจน สร้างความเป็นกันเองกับลูกค้าคนไทย บางค่ายใช้ศิลปินดาราเป็นผู้ดำเนินรายการ

Read More