Home > Cover Story (Page 175)

เปิดสาแหรกจาก “บุญรอด เศรษฐบุตร” ถึง “ภิรมย์ภักดี” ในปัจจุบัน

 ต้นกำเนิดของ “บุญรอด บริวเวอรี่” และ “สิงห์” กลายเป็นเรื่องราวที่ผู้คนให้ความสนใจมากเป็นพิเศษในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อปรากฏข้อความในโลกโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับจิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี หรือ “กฤดากร” ในปัจจุบัน ควบคู่กับความรู้สึกขุ่นข้องหมองใจทั้งสำหรับคนในตระกูลภิรมย์ภักดี และผู้สังเกตการณ์ข้างเวทีอีกจำนวนไม่น้อย หากย้อนกลับไป ตำนานกว่า 80 ปี ของ บุญรอด บริวเวอรี่ เริ่มขึ้นเมื่อ พระยาภิรมย์ภักดี หรือ บุญรอด เศรษฐบุตร บุตรของพระภิรมย์ภักดี (ชม เศรษฐบุตร) กับนางมา เศรษฐบุตร ก่อตั้งบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ขึ้นในปีพุทธศักราช 2476 เป็นโรงเบียร์แห่งแรกในประเทศไทย บนเนื้อที่ 9 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านบางกระบือสามเสน ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 6 แสนบาท และเป็นผู้ให้กำเนิดเบียร์สิงห์  พระยาภิรมย์ภักดีมีภรรยาคนแรกชื่อคุณหญิงละม้ายมีบุตรฝาแฝดคู่หนึ่งและบุตรอีกคนหนึ่งแต่บุตรทั้ง 3 ได้เสียชีวิตลงทั้งหมดตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่อไม่มีบุตร พระยาภิรมย์ภักดีจึงได้รับบุตรของพระประเวศนวขันธ์ (ปลื้ม เศรษฐบุตร) ซึ่งเป็นน้องชาย

Read More

ฤ “สิงห์” จะลำบาก บนวิบากกรรมของการเปลี่ยนแปลง

 ในสถานการณ์สู้รบที่กำลังใกล้จะเห็นดำเห็นแดงของมวลมหาประชาชน ในนาม คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ดูเหมือนว่าเรื่องราวของ “สิงห์” จะกลายเป็นประเด็นร้อนและทอล์คออฟเดอะทาวน์ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เหตุเพราะบทสัมภาษณ์ที่ปรากฏในสื่อสารมวลชนต่างประเทศ ที่ระบุว่า “คนไทยหลายคนยังขาดความรู้เรื่องประชาธิปไตย...โดยเฉพาะคนชนบท” ของ จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี หรือ จิตภัสร์ กฤดากร ในปัจจุบัน ได้สร้างแรงกระเพื่อมอย่างกว้างขวางและอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของครอบครัว “ภิรมย์ภักดี” ไม่น้อย แรงสะท้อนกลับที่พุ่งเข้าใส่ จิตภัสร์ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะจากฐานมวลชนของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ กปปส. เท่านั้น หากแต่ยังมีผลต่อเนื่องจากผู้หลักผู้ใหญ่ภายในครอบครัว “ภิรมย์ภักดี” ที่ต้องรีบออกมาสกัดความเสียหายทางธุรกิจอย่างร้อนรนอีกด้วย สันติ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด บริษัทแม่ของ สิงห์คอร์เปอเรชั่น ถึงกับต้องออกสื่อว่าได้พูดคุยกับจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี บิดาของจิตภัสร์ เกี่ยวกับท่าทีทางการเมือง และยืนยันว่าคำสัมภาษณ์ของจิตภัสร์ เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ “สิงห์” แต่อย่างใด หากประเมินในเชิงธุรกิจ ต้องยอมรับว่าประเด็นดังกล่าวคงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อยอดขายของสิงห์ ทั้งทางบวกและทางลบในขณะปัจจุบันมากนัก แต่ในมุมมองของนักการตลาดที่ต้องการรักษาภาพลักษณ์องค์กร กรณีที่ว่านี้ ย่อมไม่ใช่ประเด็นประชาสัมพันธ์ที่ดีสำหรับองค์กรธุรกิจอย่างแน่นอน “บุญรอดฯ” และ

Read More

KFC ปรับโมเดลธุรกิจ เร่งสปีด “ไดร์ฟทรู”

 แม้เจ้าตลาดเครือข่ายธุรกิจฟาสต์ฟู้ดอย่าง “เคเอฟซี” เพิ่งเริ่มต้นโมเดลการให้บริการรูปแบบ “ ไดร์ฟทรู (Drive Through)” ในประเทศไทย โดยเปิดตัวสาขาแรกบนถนนศรีนครินทร์เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ออกสตาร์ทช้ากว่าคู่แข่ง “แมคโดนัลด์” ที่ปูพรมสาขาไดร์ฟทรูมากกว่า 45 แห่ง และมีสาขาเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง 81 แห่ง แต่การใช้จุดแข็งด้านทำเลและการใช้รูปแบบ “ไดร์ฟทรูสแตนด์อะโลน” หลังจากซุ่มศึกษาและหาที่ดินมากว่า 2 ปี กลายเป็นเกมรุกที่เปิดแนวรบท้าทาย “แมคโดนัลด์” อย่างร้อนแรง  ด้านหนึ่ง ไม่ใช่แค่การดักจับลูกค้าตั้งแต่ต้นทางในย่านชุมชนเหมือนแนวรบสงครามค้าปลีก ที่เจาะทำเลผุดคอมมูนิตี้มอลล์และไลฟ์สไตล์ความรีบเร่งของผู้คนยุคใหม่ ปัญหาเรื่องที่จอดรถโดยพุ่งเป้าทำเลย่านหมู่บ้านขนาดใหญ่และเทรดโซนสำคัญจุดต่างๆ หนีคู่แข่งจำนวนมากมายในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ สามารถขยายเวลาการขายตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งมีช่วง “พีค” ถึง 4 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า กลางวัน เย็น และหลังเที่ยงคืนที่ยังแยกย่อยได้อีก 2 ช่วงคือ ช่วงตี 1-2 จับกลุ่มลูกค้านักท่องราตรีเลิกจากผับ บาร์

Read More

“ฟาร์มกุ้ง โมเดล” ตอกย้ำทฤษฎี “เจ้าตลาด” ของ CPF

 แม้กำไรสุทธิในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 ของ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ (CPF) จะสูงถึง 5,311 ล้านบาท ขณะที่ยอดขายรวมอยู่ที่ 285,886 ล้านบาท แต่ถึงอย่างนั้น “อดิเรก ศรีประทักษ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารแห่ง CPF ออกมายอมรับว่า รายได้ปีนี้ของบริษัทน่าจะไต่ไม่ถึงเป้า 4 แสนล้านบาท  โดยมีสาเหตุหลักมาจากผลกระทบของโรคตายด่วนในกุ้ง หรือ EMS (Early Mortality Syndrome) ซึ่งสร้างผลกระทบรุนแรงต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจกุ้งของ CPF มากกว่าที่บริษัทคาดไว้ ซึ่งส่งผลให้การผลิตกุ้งของ CPF ในปีนี้หายไปเกือบครึ่งคือ จาก 6-7.5 หมื่นตัน เหลือเพียงกว่า 3 หมื่นตัน  ใกล้เคียงกับภาพรวมผลผลิตกุ้งของประเทศปี 2556 ซึ่งลดลงถึง 54% คือจาก 5.4 แสนตัน ในปี 2555

Read More

N-Park ตำนานที่ยังไม่มีบทสรุป

 หากกล่าวถึงบริษัทผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีเรื่องราวเป็นที่โจษขานและหวือหวามากที่สุดในประเทศไทย เชื่อว่าชื่อของ N-PARK หรือ แนเชอรัล พาร์ค คงถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่ต้องกล่าวถึงไปโดยปริยาย เหตุที่เป็นดังนี้ก็เนื่องเพราะหลังจากจัดตั้งบริษัทเมื่อเดือนมิถุนายน 2531 และเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2536 โดยในยุคเริ่มแรกนั้น บริษัทแนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีสไตล์การทำธุรกิจธรรมดาไม่หวือหวา เช่นเดียวกับท่วงทำนองและความเป็นไปของทศพงศ์ จารุทวี ผู้ถือหุ้นใหญ่ในขณะนั้น ที่ออกจะเป็นคนค่อนข้างเก็บตัวและพร้อมจะยืนอยู่หลังฉากมากกว่า ความเป็นไปของบริษัทแนเชอรัล พาร์ค และทศพงษ์ เริ่มมีเรื่องราวและสีสันมากขึ้นเมื่อไปซื้อโครงการ สนามกอล์ฟปัญญารีสอร์ทและปัญญาฮิลล์ ของปัญญา ควรตระกูล สนามกอล์ฟวิลสันของ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน และสันติ ภิรมย์ภักดี ในปี 2538 เป็นเงินเกือบ 8,000 ล้านบาท พร้อมๆ กับเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียม และบ้านเดี่ยวจัดสรรหลายโครงการ  ชื่อของทศพงศ์ เข้าสู่การรับรู้ของผู้คนในวงที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นเจ้าของสนามกอล์ฟที่ไม่เล่นกอล์ฟ แต่เขาซื้อด้วยจิตวิญญาณของนักธุรกิจ ที่หวังว่าจะได้พัฒนาที่ดินรอบๆ สนามกอล์ฟ แต่ความหวังของเขาไม่ทันเริ่มต้นเศรษฐกิจก็พังทลาย ชื่อของเขาดังขึ้นมาวูบเดียวแล้วหายไป ส่วนบริษัทแนเชอรัล พาร์ค ก็เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งศาลด้วยหนี้สินกว่า

Read More

“ทีซีซี” ปูพรม “เอเชียทีค” เปิด “ลิงค์เกจ” ยึดอาเซียน

 “ทีซีซีแลนด์” ใช้เวลาปีกว่าๆ ปลุกปั้น “เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนท์” โครงการไลฟ์สไตล์ริมน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียและกำลังเร่งเดินสายโรดโชว์ไปทั่วโลก เพื่อสร้างแบรนด์ “เอเชียทีค” ในฐานะศูนย์การค้ารูปแบบ “ไลฟ์มิวเซียม” ที่มีจุดขายและจุดต่างจากชอปปิ้งมอลล์ค่ายอื่นๆ   เป้าหมายไม่ใช่แค่การเปิด “ลิงค์เกจ” เชื่อมโครงข่ายธุรกิจริมน้ำเจ้าพระยาตามมาสเตอร์แพลน แต่เจริญ สิริวัฒนภักดี ประกาศวิสัยทัศน์ชัดเจน ต้องการเป็นผู้นำธุรกิจศูนย์การค้าและตลาดเฉพาะทางในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ภายใน 10 ปี มีสาขากระจายอยู่ในทุกประเทศของภูมิภาค การเปิดตัว “เอเชียทีค” สาขาแรกบนที่ดินมากกว่า 70 ไร่ มีหน้ากว้างติดริมแม่น้ำเจ้าพระยายาวกว่า 300 เมตร และพื้นที่ใช้สอยรวมกว่า 80,000 ตารางเมตร จึงพุ่งเป้าสร้างศักยภาพรองรับกลุ่มเป้าหมายระดับนานาชาติ ไม่ใช่คอมมูนิตี้มอลล์จับกลุ่มชุมชนท้องถิ่นเท่านั้น และวางแผนต่อยอด “บิ๊กโปรเจ็กต์” ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกหลายโครงการ ทั้งในกลุ่มโรงแรม คอนโดมิเนียม ค้าปลีก และธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ฐวัฒน์ สมมะโนพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ บริษัท ริเวอร์ไซด์ มาสเตอร์แพลน

Read More

“N-PARK” คืนชีพ ด้วย “ก้าวใหม่” บนสังเวียนอสังหาฯ

 “ใครๆ ก็มองว่า N-PARK เป็นเหมือน “แมวเก้าชีวิต” คือเราล้มแล้วลุกๆ มาวันนี้เรากำลังลุกขึ้นอีกครั้ง” คำกล่าวเปรียบเปรยของ “นคร ลักษณกาญจน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ N-PARK  เอ็มดีวัย 53 ปี ยอมรับว่าที่ผ่านมาเรียกได้ว่า N-PARK “หยุดนิ่ง” ไปนานกว่า 7 ปี เนื่องด้วยปัญหาฟ้องร้องและหนี้สิน NPL ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องในการลงทุนต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุให้ N-PARK ต้องห่างหายไปจากการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อยู่หลายปี หลังการลาออกของ “เสริมสิน สมะลาภา” ในปี 2554 เขาก็ได้รับการชักชวนจาก “ศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์” ประธานกรรมการ N-PARK ให้เข้ามารับหน้าที่แทน ตลอดเวลากว่า 2 ปีที่เข้ามาเป็น “มือปืนรับจ้างบริหาร” ใน N-PARK นครเล่าว่า

Read More

ตลาดไททุ่มงบมหาศาล ยกระดับเป็นฮับอาเซียน

 “ถ้าผมนั่งอยู่เฉยๆ คนอื่นก็จะเข้ามา จึงถือเป็นหน้าที่ของตลาดไทที่จะผลักดันให้เป็นฮับของอาเซียน” คำกล่าวของประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์ ประธานกรรมการ บริษัทไทย แอ๊กโกร เอ๊กซเชนจ์ จำกัด เจ้าของตลาดไท ในงานแถลงข่าวประกาศแผนการลงทุนครั้งใหญ่ ด้วยมูลค่าการลงทุนถึง 2,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบลงทุนสูงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์วงการตลาดพืชผลของไทย  ตลาดไทเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2540 รองรับสินค้าประมาณ15,000 ตันต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตในประเทศ บนพื้นที่  450 ไร่ หรือประมาณ 720,000 ตารางเมตร จำนวนร้านค้า 3,000ร้านและมีผู้ซื้อผู้ขายมากกว่า 100,000 คนเข้ามาทำการค้าขายในแต่ละวัน พร้อมเงินหมุนเวียนมากกว่า500ล้านบาทต่อวัน ตลาดไทจึงเป็นตลาดค้าส่งผักและผลไม้สดที่ใหญ่ที่สุด และเป็นศูนย์กลางในการค้าผักและผลไม้สดของประเทศไทย   ปัจจุบันตลาดไทและตลาดสี่มุมเมือง ซึ่งตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 10กิโลเมตร ถือเป็นตลาดพี่ตลาดน้องที่รองรับการค้าส่งผักและผลไม้สด โดยมีสินค้าเกษตรผ่านเข้าออกมากกว่า 15,000 ตันต่อวัน บ่งบอกถึงศักยภาพและโอกาสที่ดีมากของตลาดไทที่จะเดินหน้าเชิงรุกเพื่อก้าวสู่การเป็นฮับสำหรับการค้าในภาคส่วนนี้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ที่กำลังจะเกิดขึ้น    “กลยุทธ์ของเราคือต้องขยับตัวให้เร็ว และลงทุนให้หนัก โอกาสมีไม่บ่อยนัก ถ้าเราสูญเสียโอกาสนี้เท่ากับเสียการเป็นผู้นำในตลาดอาเซียน ซึ่งทุกวันนี้เราเป็นอยู่แล้ว เรามองไม่เห็นใครในอาเซียนนอกจากเวียดนาม ซึ่งตามมาเป็นอันดับ

Read More

สงคราม “กล่อง” RS-GMM เร่งชิงตลาด Pay TV

 เมื่อราว 30 ปีก่อน “อาร์เอส” และ “แกรมมี่” เคยต้องสู้กันอย่างดุเดือดเพื่อแย่งชิงฐานผู้ฟังในธุรกิจเพลง นับจากนั้นทั้งสองค่ายก็ฟาดฟันทางธุรกิจในฐานะ “Content Provider” ยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย เรื่อยมาแม้กระทั่งถึงยุคที่อุตสาหกรรมสื่อของเมืองไทยก้าวมาถึง “จุดเปลี่ยน” สำคัญ  “อนาคตการแข่งขันของอุตสาหกรรมทีวีจะเปลี่ยนไป วันนี้เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม เป็นเพียงการนิยามด้วยเทคโนโลยี แต่ในมุมมองของผู้บริโภค แยกเพียง 2 ส่วน คือฟรีทีวี และเพย์ทีวี ขณะที่กลุ่มผู้ชมคือกลุ่มเดียวกัน อยู่ที่ใครจะสร้างคอนเทนต์และดึงความสนใจของผู้ชมได้” คำกล่าวของผู้บริหารแห่ง “ค่ายเพลงเบอร์สอง” ของเมืองไทย สอดรับกับแนวทางของ “ค่ายเพลงเบอร์หนึ่ง” ที่มองว่า ในช่วงแรกวงการทีวีดาวเทียม คือการให้บริการช่องรับชมฟรี หรือ Free to Air แต่ก้าวต่อไปของวงการนี้คือการให้บริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก หรือ Pay TV ซึ่งถือเป็นภาคต่อของตลาดทีวีดาวเทียมนับจากนี้ไป ความพยายามเข้าสู่ธุรกิจเพย์ทีวีของ RS เริ่มต้นจากการส่งกล่องรับสัญญาณ “ซันบ็อกซ์” เข้าสู่ตลาดเมื่อปีที่แล้ว เพื่อรองรับคอนเทนต์ “ลาลีกา” ก่อนที่จะถึงฤดูกาลฟุตบอลโลก 2014 ที่จะเริ่มเตะจริงในเดือน

Read More

“อิคาโน่” ปักธง “เมกาซิตี้” สร้าง “ฮับ” รุกสี่มุมเมือง

 หลังจากปักหมุดแรกผุดศูนย์การค้า “เมกาบางนา” มูลค่าลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท เนื้อที่กว่า 250 ไร่ พื้นที่ 400,000 ตารางเมตร กลายเป็นศูนย์การค้าแนวราบระดับภูมิภาคแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2555 ล่าสุด “อิคาโน่ กรุ๊ป” เดินหน้าแผนขยายบิ๊กโปรเจ็กต์ต่อเนื่อง โครงการ “เมกาซิตี้” เนื้อที่อีก 150ไร่ เพื่อใช้จุดยุทธศาสตร์ “บางนา” สร้าง “ฮับ” และรุกเครือข่ายสาขาใหม่ยึดสี่มุมเมืองของกรุงเทพฯ  แน่นอนว่าศักยภาพของทำเลย่านบางนาไม่ใช่แค่ที่ตั้งชุมชนมากกว่า 3 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางระดับบน มีกำลังซื้อและมีแนวโน้มการขยายตัวของผู้คนระดับนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ไม่อยากอุดอู้อยู่ในบ้านหรือคอนโดมิเนียมในเมือง แต่เลือกที่จะซื้อบ้านหลังใหญ่ในทำเลที่เดินทางเข้าออกเมืองได้สะดวก  ตามผังเมืองใหม่ที่กำหนดให้โซนบางนาเป็นพื้นที่ศูนย์พาณิชยกรรม การเติบโตของกรุงเทพฯ ช่วง 5 ปีข้างหน้าจึงมีแนวโน้มขยายตัวไปทางทิศตะวันออกจากหลายปัจจัย การมีสนามบินสุวรรณภูมิ มีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสอ่อนนุช-แบริ่ง และจะขยายจากแบริ่งไปสถานีสำโรง รวมถึงกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยังต้องการพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) สาย LRT สุวรรณภูมิ-บางนา เชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ระยะทาง 18 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี

Read More