Home > Cover Story (Page 165)

ชีวิตสำเร็จรูป ตลาดเส้นแข่งเดือด

           “ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี คนจะหันมาทานบะหมี่เพิ่มขึ้น” เป็นคำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นว่าบะหมี่สำเร็จรูปสามารถเป็นตัวชี้วัดภาพรวมภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้ จากสินค้าหาซื้อง่าย กินง่าย  มีให้เลือกหลายรสชาติ สะดวกในการกิน และที่สำคัญ ราคาถูก จึงทำให้ตลาดบะหมี่สำเร็จรูปเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้น ในปีนี้มีการคาดว่าตลาดบะหมี่สำเร็จรูปจะเติบโตในภาพรวมได้เพียง 5% ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี จากปกติจะเติบโตในอัตราไม่ต่ำกว่า 10% ในขณะที่คนไทยกินบะหมี่โดยมีอัตราเฉลี่ยการบริโภคอยู่ที่ 45 ซองต่อคนต่อปี ในขณะที่การเปิดเผยข้อมูลของสมาคมบะหมี่สำเร็จรูปโลกในญี่ปุ่นได้ระบุว่า จีนถือเป็นประเทศที่มีคนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากที่สุด ตามมาด้วยอินโดนีเซีย อันดับ 2 และญี่ปุ่น อันดับ 3 ในขณะที่ไทยอยู่ในอันดับ 8 และเมื่อเทียบกันเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน จะเห็นว่าอินโดนีเซียนำมาเป็นอันดับหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ในฐานะชาติที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากสุดในอาเซียน ตามมาด้วยเวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา และสิงคโปร์          ผลสำรวจนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลายเป็นอาหารที่คนทั่วโลกขาดไม่ได้ไปแล้ว และคาดว่ายอดขายจะพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 

Read More

อุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ นักย่อยสาร จากยากเป็นง่าย

 ผู้จัดการ 360  ํ นัดหมายกับผู้บริหาร Right Man บริเวณชั้น 2 ของนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นห้องสมุดที่ทำให้เห็นถึงการจัดสรรพื้นที่อย่างชวนให้นั่งอ่านหนังสือได้นานๆ โดยไม่รู้สึกเบื่อ ผลงานชิ้นเอกของไร้ท์แมน ก่อนเริ่มพูดคุยกัน MD ไร้ท์แมนทำให้เราแปลกใจเมื่อผู้บริหารระดับสูงมายืนปรับมุมของแสงไฟที่ติดเพดาน เพื่อเพิ่มความสว่างให้บริเวณที่ใช้พูดคุย อุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ กรรมการผู้จัดการ บ.ไร้ท์แมน จำกัด ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่ทำให้ไร้ท์แมนกลายเป็นผู้บุกเบิกการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างพิพิธภัณฑ์ จนกลายเป็นรูปแบบการพัฒนาพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ที่เรียกว่า พิพิธภัณฑ์มีชีวิต “Trend ใหม่ของกระแสโลก การเรียนรู้ของคนในยุคสมัยใหม่ ทุกคนสามารถหาข้อมูลได้ง่ายทั้งจากคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เราจะนำเสนอแต่ตัวหนังสืออย่างเดียวคงจะไม่ได้แล้ว” ผู้บริหารไร้ท์แมนอธิบายถึงแนวความคิดด้านเทคโนโลยี ทั้งการนำเสนอข้อมูลในเชิงลึก และรูปแบบการนำเสนอจะต้องมีความน่าสนใจ สร้างจุดขาย เพิ่มแรงดึงดูดที่จะทำให้เกิดเป็นศูนย์การเรียนรู้  ศูนย์การเรียนรู้ในระดับโลกที่พัฒนานำหน้าประเทศไทยไปค่อนข้างเยอะ ทำให้ผู้นำไร้ท์แมน ต้องหยิบเอาเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Interactive รวมทั้งมัลติมีเดียอื่นๆ มาสอดแทรกทำให้เนื้อหาเชิงวิชาการไม่เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ  “เราดูแลตั้งแต่ต้นน้ำกระทั่งปลายน้ำ ลูกค้าที่เข้ามาหาเราจะมีแค่ Conceptual หรือ Contents” อุปถัมป์ อธิบายเหตุผลที่ต้องดูแลโปรเจกต์พิพิธภัณฑ์หรือศูนย์การเรียนรู้แม้จะส่งงานด้านโครงสร้างไปแล้ว บรรดาศูนย์การเรียนรู้หรือมิวเซียมจะได้รับความนิยมในช่วงแรกๆ หลังจากเปิดไปไม่นาน ภายใน 6 เดือน

Read More

Right Man to Right Job อนาคตศูนย์การเรียนรู้ในไทย?

 พัฒนาการศูนย์การเรียนรู้ในไทยช่วง 10 ปีหลังท่ามกลางการขับเคลื่อนของสังคมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี ที่เครื่องมือสื่อสารอย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแท็บเล็ตกลายเป็นอวัยวะลำดับที่ 33 ของใครหลายคน ซึ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นทำได้ง่ายแทบจะทุกที่ ทุกเวลา แต่จะมีสักกี่คนที่อ่านข้อมูลเหล่านั้นตั้งแต่อักษรตัวแรกจนตัวสุดท้ายของบรรทัด  ย้อนหลังไปราว 10 ปี ประเทศไทยมีการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้หรือพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ซึ่งทำให้บรรยากาศในการเดินเข้าไปยังพิพิธภัณฑ์เปลี่ยนไปจากความทรงจำเดิมที่เคยมีในวัยเด็ก จากที่ต้องไปยืนอ่านข้อมูล หรือฟังเจ้าหน้าที่บรรยายอย่างเดียว คงต้องปรับเปลี่ยนตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เมื่อเทคนิคหรือ Multimedia ต่างๆ ถูกนำมาใช้ในการศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ทั้งเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและสร้างบรรยากาศใหม่ๆ ในการเรียนรู้  TK Park และนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ คือตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด นับเป็นศูนย์การเรียนรู้แนวใหม่ที่ผสมผสาน ความเป็นพิพิธภัณฑ์ทั้งแนวเก่าแนวใหม่ ได้อย่างลงตัวและเป็นผลงานชิ้นโบแดงของ Right Man ไร้ท์แมน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2533 และดำเนินธุรกิจโดยเป็นผู้ให้บริการอุตสาหกรรม MICE อย่างครบวงจรให้บริการออกแบบ สร้างสรรค์งานทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 4 สาขาบริการ กลุ่มงาน Events ที่รับผิดชอบงานเปิดตัวสินค้า งานประชุมสัมมนา  กลุ่มงาน Exhibitions งาน Expo งานนิทรรศการ กลุ่มงาน Interiors ออกแบบตกแต่งภายในสำหรับองค์กรธุรกิจต่างๆ  กลุ่มงาน

Read More

พิพิธภัณฑ์เหรียญ ทุกการเดินทางมีเรื่องราว

 เมื่อเดือนที่แล้ว (สิงหาคม) มีข่าวเหรียญ 10 บาท ที่ผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2533 เพียง 100 เหรียญ ซึ่งอยู่ที่กรมธนารักษ์จำนวน 60 เหรียญ ส่วนอีก 40 เหรียญนั้นได้มีการแจกให้กับผู้ร่วมการประชุม Mint Directors Conference (MDC) ครั้งที่ 16 ที่ประเทศอังกฤษ โดยมีคนไทยได้รับแจกเหรียญ 10 บาท ปี พ.ศ. 2533 จำนวน 20 คน และมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีเหรียญ 10 บาท ปี พ.ศ. 2533 จำนวนหนึ่งอยู่ในตลาดของนักสะสม  ขณะเดียวกันข่าวนี้อาจปลุกจิตวิญญาณของนักล่าสมบัติที่มีอยู่ในตัวของใครอีกหลายคน เมื่อมีนักล่าสมบัติชาวอังกฤษค้นพบเหรียญโบราณ 3 เพนนีของอังกฤษ ซึ่งเป็นเหรียญที่หายาก ผลิตในปี ค.ศ. 1652 ที่ถูกพบเจอบริเวณทุ่งนาของเกษตรกรรายหนึ่ง และถูกนำไปเปิดประมูลในราคาสูงถึง 1.6

Read More

แผนขยายเมือง “แมกโนเลีย” ผุดสมรภูมิลักชัวรี่โลเกชั่น

 การจับมือร่วมทุนกับกลุ่มสยามพิวรรธน์ผุดอภิมหาโครงการ “ไอคอนสยาม (ICONSIAM)” มูลค่าการลงทุนกว่า 50,000 ล้านบาท ทั้งเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และทิพาภรณ์ เจียรวนนท์ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น วางเป้าหมายไม่ใช่แค่ "ท็อปไฟว์” ในตลาดคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ แต่ขยายแนวคิดไปไกลในฐานะผู้สร้างเมือง โครงการมิกส์ยูสระดับซูเปอร์ไฮเอนด์   ด้านหนึ่ง แมกโนเลียฯ พยายามขยายสงครามโลเกชั่นจากใจกลางเมืองย่านสุขุมวิทสู่จุดยุทธศาสตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเทรนด์เดียวกับมหานครทั่วโลก เพราะข้อจำกัดเรื่องการหาพื้นที่ที่เหมาะสม ราคาที่ดินที่สูงลิบลิ่ว โดยมีโครงการแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์ ณ ไอคอนสยาม เป็นหมุดตัวแรกในการบุกเบิกทำเลใหม่ๆ  อีกด้านหนึ่ง ทิพาภรณ์ เจียรวนนท์ เปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบเดิมๆ ผุดคอนโดมิเนียมแล้วขาย สู่บทบาทนักลงทุนโครงการที่แสวงหาองค์ประกอบและจุดขายการตลาดแบบ 360 องศา ซึ่งกลายเป็นแนวโน้มใหม่ที่มาแรงในวงการอสังหาริมทรัพย์ ธนวันต์ ชัยวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น

Read More

เจริญ “กินรวบ” พระราม 4 รุกอาณาจักรเขตซีบีดี

 แผนการขยายอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” เดินหน้าขั้นต่อไปอย่างสวยหรู เมื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ประกาศข้อสรุปให้สิทธิ์กลุ่มบริษัทในเครือทีซีซีกรุ๊ป ได้แก่ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) เข้าพัฒนาที่ดินบริเวณที่ดินโรงเรียนเตรียมทหารเดิม เนื้อที่กว่า 90 ไร่ หัวมุมถนนพระรามสี่ตัดกับถนนวิทยุ  ภายใต้ร่างข้อบัญญัติฉบับใหม่ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เรื่องการกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทบริเวณสวนเบญจกิติและบริเวณโดยรอบ ในท้องที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย และแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ที่ออกมาเมื่อปี 2547 โดยยกเลิกการควบคุมความสูงบริเวณโดยรอบสวนเบญจกิติ ทำให้ที่ดินโรงเรียนเตรียมทหารเดิมได้รับประโยชน์ด้วย คือ สามารถสร้างอาคารได้ไม่จำกัดความสูง จากเดิมให้สร้างได้ไม่เกิน 45 เมตร หรือสูงประมาณ 15 ชั้น อย่างไรก็ตาม  ต้องถือว่าการประมูลที่ดินผืนดังกล่าวหลังจากโครงการสวนลุมไนท์บาซาร์หมดสัญญาเช่าพื้นที่ ต้องใช้เวลายาวนานหลายปีกว่าจะเจรจายุติปัญหากับผู้เช่ารายเก่า ผู้ค้าในตลาดนัดสวนลุมไนท์บาซาร์ และเปิดประมูลพิจารณาจากผู้ยื่นเสนอโครงการ 21 ราย จนผ่านถึงรอบสุดท้าย 4 บริษัท คือ กลุ่มยูนิเวนเจอร์

Read More

สงครามแลนด์มาร์ค “เดอะมอลล์-เซ็นทรัล” ชิงทำเลใหม่

 แม้ “ศุภลักษณ์ อัมพุช” หมายมั่นปลุกปั้นโครงการยักษ์ “The Em District” ผนึก 3 ศูนย์การค้าระดับเวิลด์คลาส คือ ดิ เอ็มโพเรียม, ดิ เอ็มควอเทียร์ และ ดิ เอ็มสเฟียร์ เพื่อสร้างย่านการค้าในทำเลที่ดีที่สุดใจกลางสุขุมวิท โดยวางเป็นหมุดที่ 2 ในฐานะ “Midtown” ของกรุงเทพฯ ต่อเนื่องจากหมุดตัวแรก “สยามพารากอน” ย่านสยามสแควร์ ในฐานะ “Downtown” แต่การก้าวรุกบุกย่านบางนา หรือ “Uptown” ชายขอบเมืองหลวง ทำเลใหม่ที่กำลังสร้างความน่าตื่นเต้นในวงการ สะท้อนให้เห็นถึงสงครามสร้างแลนด์มาร์คบนทำเลทองแห่งใหม่ๆ ของเหล่ายักษ์ค้าปลีก ไม่ว่าจะเป็นเดอะมอลล์กรุ๊ป กลุ่มเซ็นทรัล หรือแม้กระทั่ง “สยามพิวรรธน์” ที่จับมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดตัวอาณาจักร “ไอคอนสยาม” ริมฝั่งเจ้าพระยาอย่างน่าตื่นเต้น ต้องถือว่าเดอะมอลล์กรุ๊ปประกาศตัวแบบเต็มสูบ หลังซุ่มเงียบปล่อยให้คู่แข่งปูพรมสาขารอบด้าน โดยศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานกรรมการ บริษัท เดอะมอลล์

Read More

ตลาดน้ำอัดลมสีแข่งเดือด แฟนต้า ตอกย้ำเบอร์หนึ่ง

 ตลาดน้ำอัดลม ตลาดเครื่องดื่มที่สร้างกระแสความคึกคัก จากบรรดาค่ายๆ ที่เข็นเคมเปญ ออกมาสร้างสีสันให้กับตลาดอย่างต่อเนื่อง  จากมูลค่าตลาดรวมน้ำอัดลม 46,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นตลาดน้ำดำ 35,000 ล้านบาท ตามด้วยตลาดน้ำอัดลมสี 11,000 ล้านบาท และถึงแม้ว่า ตลาดน้ำดำจะมีฐานการตลาดที่ใหญ่กว่า แต่โดยภาพรวม ทั้งสองตลาดมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเติบโตในอัตราที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากความต้องการของผู้บริโภคเดิม รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคใหม่ๆ ที่เข้ามา โดยเฉพาะในตลาดของน้ำสีที่ถือเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูง   คอสตาส เดลิอาลิส ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) ผู้ทำตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลมโค้ก เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีแรก 2557 ส่วนแบ่งการตลาดน้ำอัดลมรวมสิ้นสุดเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทฯ มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 58% เพิ่มขึ้นจาก 55% ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตอกย้ำความเป็นเบอร์หนึ่ง ของตลาดน้ำอัดลม  ส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาการทำแคมเปญการตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อน ที่น้ำอัดลมขายดิบขายดี และรวมถึงการออกเคมเปญจากการแข่งขันฟุตบอลโลกช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดเพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำของน้ำอัดลมสี แฟนต้าได้สร้างความคึกคักให้วงการตลาดน้ำอัดลมสี ด้วยการเปิดเคมเปญใหญ่แห่งปีซึ่งเป็นอีกแผนงานในครึ่งปีหลัง เพื่อกระตุ้นยอดขาย

Read More

เศรษฐา ทวีสิน ภารกิจใหม่สู่ทศวรรษที่ 4

 เศรษฐา ทวีสิน เปิดจุดสตาร์ทครั้งใหม่ หลังผ่านยุคทองที่มีปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจ กระแสเมกะโปรเจกต์ “รถไฟความเร็วสูง” ที่ปลุกกำลังซื้อท่วมท้น ความสำเร็จจากการสร้างแบรนด์จนติดอันดับ 1 ในตลาด และคอนเนกชั่นแข็งแกร่งทางการเมือง โดยใช้เวลากว่า 6 เดือน Reset, Remodel และ Reorganize บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ทั้งแนวคิดและบุคลากร เพื่อย่างก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 4 ภายใต้ภารกิจใหญ่ “การเติบโตอย่างยั่งยืนและทำกำไรสูงสุด” ไม่ใช่การสร้างยอดขายสูงสุดแบบเดิมๆ ซึ่งแสนสิริทุบสถิติในวงการตั้งแต่ปี 2555 อยู่ที่ 42,593 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2554 เกือบ 2 เท่า และปี 2556 ทำนิวไฮในรอบ 30 ปี ปั่นยอดขายพุ่งพรวด 46,000 ล้านบาท  แต่หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ยอดรายได้และอัตรากำไรกลับสวนทางกับ “นิวไฮ”  เพราะยอดขายมูลค่ามหาศาลสร้างยอดรับรู้รายได้เพียง 29,000 ล้านบาท

Read More

พิพิธบางลำพู ประวัติศาสตร์รื่นรมย์ของชุมชน

 บางลำพู ชุมชนที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์เรื่องราวทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ก่อให้เกิดความแตกต่างในวิถีชีวิตของผู้คนในย่านบางลำพู มนต์เสน่ห์ที่แอบแฝงอยู่ตามตรอกซอกซอย หรือร้านรวงริมถนนในรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ที่นับวันจะค่อยๆ ทยอยเลือนหายไปตามกาลเวลา หรือไม่ก็ปรับเปลี่ยนจากรุ่นสู่รุ่น ทว่าการย้อนรอยแห่งอดีตที่หาดูได้ยาก กลับถูกรวบรวมและจัดแสดงไว้ในที่แห่งนี้ พิพิธบางลำพู การปรับใช้สถานที่เก่าซึ่งเคยถูกทิ้งร้างนานกว่าสิบปี กรมธนารักษ์จับเอาอาคารเก่าที่เคยเป็นโรงพิมพ์คุรุสภา ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช มาปัดฝุ่นและแต่งแต้มให้เป็นสถานที่ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา ตั้งแต่ภารกิจหลักทั้ง 5 ด้านของกรมธนารักษ์ และเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านบางลำพู “กรมธนารักษ์ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคารโรงพิมพ์คุรุสภา ซึ่งเป็นโรงพิมพ์คุรุสภาและเป็นสถานที่ฝึกสอนช่างพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทย มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานอาคารจากกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2543 เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ และศูนย์การเรียนรู้เชิงการศึกษาวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งถือเป็นภารกิจหนึ่งของกรมธนารักษ์” นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าว “กรุณาถอดรองเท้าก่อนเข้าชม” พื้นไม้ขัดมันจนขึ้นเงาของพิพิธบางลำพู ให้ความรู้สึกเหมือนเราไปเยี่ยมชมห้องสมุดโรงเรียนสมัยยังเป็นเด็กน้อยก็ไม่ปาน  อาคารแบบบาวเฮาส์ หรือ International Style รูปทรงตัว L ที่ตั้งอยู่ริมถนนพระสุเมรุ แบ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนบริเวณชั้น 1 ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องตามประวัติศาสตร์ อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 82 พรรษามหาราชินี  เจ้าหน้าที่พิพิธบางลำพูในชุดราชปะแตน ชุดที่ถือกำเนิดในสยามประเทศในปี

Read More