Home > Cover Story (Page 164)

ท่า(ที)ใหม่ของสีหนุวิลล์ ตลาดใหม่ของ AEC

 ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือน้ำลึกของประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจแหลมฉบัง ซึ่งใช้เป็นท่าเทียบเรือในการขนส่งสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จนกลายเป็นต้นแบบให้กับท่าเรือสีหนุวิลล์ ท่าเรือน้ำลึกทางทะเลเพียงแห่งเดียวของประเทศกัมพูชา กัมปงโสม ชื่อเดิมของสีหนุวิลล์ ซึ่งมีความหมายว่า เมืองที่ติดน้ำ กระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น สีหนุวิลล์ หรือกรุงพระสีหนุ เมื่อมีการยกสถานะขึ้นเป็นจังหวัดในปี ค.ศ.2008 และเพื่อเทิดพระเกียรติแด่เจ้านโรดมสีหนุ ซึ่งพระองค์เคยใช้ชีวิตในช่วงทรงพระเยาว์ที่เมืองนี้ ด้วยความที่สีหนุวิลล์เป็นเมืองชายทะเลที่ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศกัมพูชา รัฐบาลจึงต้องการจะพัฒนาให้สีหนุวิลล์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ นอกจากแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรมอย่างเสียมราฐ กระทั่งความวุ่นวายภายในประเทศทำให้โครงการต้องชะงักไป กระทั่งสถานการณ์สงบ รัฐจึงเร่งจัดทำแผนแม่บทแบ่งเขตต่างๆ ในสีหนุวิลล์ เพื่อพัฒนาเมืองทั้งการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การค้า และการขนส่ง  ท่าเรือสีหนุวิลล์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งมี Lou Kim Chhun ดำรงตำแหน่ง Chairman & CEO รับหน้าที่คุมพังงาของท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้ ด้วยระดับน้ำชายฝั่งที่มีความลึกตั้งแต่ระดับ 8.5 เมตร ถึง 13 เมตร ซึ่งสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าและเรือเดินสมุทรได้ถึง 4 ลำพร้อมกัน ท่าเรือสีหนุวิลล์แห่งนี้จึงกลายเป็นความหวังทางธุรกิจและเป้าหมายหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา ความต้องการที่จะให้ท่าเรือแห่งนี้เป็นมากกว่าฮับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมากกว่าการเป็นตัวสำรองในน่านน้ำทะเลอ่าวไทย รัฐบาลกัมพูชาพัฒนาท่าเรือเพื่อใช้ในการรองรับเรือบรรทุกสินค้าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 สำหรับเฟสแรก

Read More

Southern Coastal Corridor เส้นทางติดปีกสีหนุวิลล์

 หลังจากทำพิธีด่านศุลกากรและประทับตรวจลงตรา ลงบนหนังสือเดินทางที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ก้าวแรกที่เหยียบผืนดินจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา เมืองที่ใครๆ มองว่า เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยบ่อนกาสิโนสำหรับนักเสี่ยงโชค  วิถีชีวิตผู้คนของทั้งสองประเทศบริเวณจุดผ่านแดนถาวรที่เราสามารถเห็นได้จนชินตา ไม่ว่าจะการเดินทางไปมาหาสู่กันเสมือนญาติมิตร หรือสัมมาอาชีพที่เน้นหนักไปทางค้าขาย จึงทำให้เราเห็นแรงงานเขมรหรือแรงงานไทยเข็นรถบรรทุกสินค้าข้ามแดนกันไปมาตลอดเวลากระทั่งด่านปิด ซึ่งรถเข็นเหล่านั้นบรรจุสินค้าอุปโภคบริโภค ผัก ผลไม้จากฝั่งไทยซึ่งดูจะได้รับความนิยมในหมู่ชาวกัมพูชา  เสียงตะโกนสั่งงานลูกจ้างของเถ้าแก่มีทั้งภาษาพื้นถิ่นอย่างเขมร ขณะเดียวกันก็ได้ยินเสียงเอื้อนเอ่ยภาษาไทยในบางช่วงเวลา ประชาชนทั้งสองจังหวัดชายแดนบางส่วนสามารถสื่อสารได้ 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาเขมร หากชาวเกาะกงพูดภาษาไทยได้ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลก นั่นเพราะ ไทยและเขมรมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-5 กระทั่งสยามได้ลงนามในอนุสัญญาฝรั่งเศสสยาม เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1904 ซึ่งทำให้ไทยต้องเสียเกาะกง หรือ ปัจจันตคีรีเขตร์ ในสมัยนั้นให้แก่กัมพูชา ซึ่งถูกปกครองด้วยประเทศฝรั่งเศส ซึ่งชาวสยามที่อยู่บนเกาะกงบางส่วนไม่ได้ย้ายกลับมายังแผ่นดินเกิด จึงมีชื่อเรียกเฉพาะ ผู้ที่สืบเชื้อสายไทยที่อาศัยอยู่ในเกาะกงว่า “ไทย-เกาะกง”  สองข้างทางบริเวณทางเข้าเกาะกง บนถนนสาย 48 ส่วนหนึ่งของเส้นทาง R10 (Southern Coastal Corridor) วิถีชีวิตที่ค่อนข้างจะแปลกตาสำหรับชาวสยามอย่างเรา คือ บรรดาพ่อค้าแม่ขายที่กำลังลำเลียงผลไม้ที่ขนข้ามมาจากฝั่งไทย จัดวางบนรถตู้ซึ่งภายในรถถูกปรับแต่งโดยการนำเบาะโดยสารรถออกเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับบรรทุกสินค้าอย่างพืชผักผลไม้ หรืออะไรก็ตามที่สามารถขนใส่ภายในรถตู้ได้ ส่วนเหตุผลที่พ่อค้าแม่ค้าชาวเขมรนิยมใช้รถตู้มากกว่าจะเป็นรถกระบะอย่างบ้านเรา

Read More

โจทย์ใหญ่ ลอว์สัน เมื่อคนไทยติดสไตล์ “เซเว่นฯ”

 ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สาขาแรกในประเทศไทยเปิดตัวเมื่อปี 2532 เริ่มต้นหมุดตัวแรกหัวมุมถนนพัฒนพงศ์ ก่อนขยายเข้าปั๊มน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศ จนถึงล่าสุดเจาะเข้าสู่ทุกชุมชนมากกว่า 7,800 สาขา และตั้งเป้าขยายครบ 10,000 สาขาในปี 2561 กลายเป็นคอนวีเนียนสโตร์ที่ฝังรากลึกกับลูกค้าคนไทยนานกว่า 25 ปี  ที่สำคัญ สร้างพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งนั่นคือโจทย์ข้อใหญ่ที่คู่แข่ง ทั้ง “แฟมิลี่มาร์ท” และ “ลอว์สัน 108” ของเครือสหพัฒนฯ ยอมรับว่า “ยากที่สุด” อย่างที่ เวทิต โชควัฒนา กรรมการรองผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ ผู้จัดการ 360 ํ ว่า คนไทยติดสไตล์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มากเกินไป  ก่อนหน้านี้ เครือสหพัฒนฯ พยายามปลุกปั้นร้านสะดวกซื้อ “108 ช็อป” โดยหวังให้เป็นมินิเอาท์เล็ตกระจายสินค้าในเครือและดึงชุมชน ผู้ประกอบการรายกลางรายย่อยหรือเอสเอ็มอี สร้างพลังต่อรองกับกลุ่มซูเปอร์สโตร์ต่างชาติที่สยายปีกทั่วทุกมุมเมือง แต่ไม่สามารถแข่งขันเจ้าตลาด ต้องปรับตัว

Read More

“แม็กซ์แวลู” เร่งสปีด เปิดศึกชิงส่วนแบ่ง “ท็อปส์”

 “อิออนกรุ๊ป” ซุ่มเงียบเดินหน้ารุกตลาดซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งปูพรมสาขามินิซูเปอร์มาร์เก็ต “แม็กซ์แวลู ทันใจ” ปรับโฉมซูเปอร์มาร์เก็ตจาก “จัสโก้” เป็น “แม็กซ์แวลู” และผุดสาขาใหม่ในทำเลที่มีศักยภาพ ภายใต้ยุทธศาสตร์การเจาะชุมชนใหม่ เขตเมืองใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาในไลฟ์สไตล์มอลล์ระดับพรีเมียมย่านชานเมือง หัวเมืองในต่างจังหวัด รวมถึงการทุ่มทุนเปิดสาขาสแตนด์อะโลนที่มีแม็กเน็ตแปลกใหม่ ตามเป้าหมายการเป็นผู้นำตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตภายในปี 2558  ต้องถือว่า อิออนกรุ๊ป มีความพยายามที่จะลงทุนในประเทศไทย แม้เจอวิกฤตหลายรอบโดยถือเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ของญี่ปุ่นและติดอันดับท็อปของโลก เข้ามาบุกเบิกธุรกิจศูนย์การค้า “สยามจัสโก้” ในไทยเมื่อปี 2527 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต้องเลิกกิจการศูนย์การค้า เหลือเพียงซูเปอร์มาร์เก็ต “จัสโก้” และเจอวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” อีกรอบ ต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการหลายปีจนขอออกจากแผนได้เมื่อปี 2550 เปลี่ยนชื่อจากบริษัท สยามจัสโก้ จำกัด เป็นบริษัท อิออน ไทยแลนด์ จำกัด โดยมีบริษัท อิออน ญี่ปุ่น (บริษัทแม่) และบริษัท อิออน สหรัฐอเมริกา ถือหุ้น 49%  จากปี 2550-2557 เป็นช่วงที่

Read More

โลตัสเจาะ New Trend ขยายแนวรบไล่บี้คู่แข่ง

 การทุ่มเม็ดเงินกว่า 1,000 ล้านบาท ปรับโฉมสาขาบางใหญ่ เปิดตัวศูนย์การค้า “พลัส มอลล์ บางใหญ่” ถือเป็นจุดเปลี่ยนและการยกเครื่องกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของค่ายเทสโก้ โลตัส โดยเฉพาะการพุ่งเป้าสร้างโมเดลสาขาที่มีจุดขายหลากหลายมากขึ้นอย่างชัดเจน ไม่เน้นแค่ “สินค้าราคาถูก” แต่เพิ่มไลฟ์สไตล์ตามเทรนด์ใหม่ๆ ของกลุ่มลูกค้าและเทรนด์การเติบโตของธุรกิจค้าปลีกที่ย้ายเซกเมนต์จาก “ไฮเปอร์มาร์เก็ต” สู่ “ไลฟ์สไตล์มอลล์” และ “คอนวีเนียนสโตร์” มากขึ้น  ที่สำคัญ ไฮเปอร์มาร์เก็ตกลายเป็นธุรกิจค้าปลีก “ดาวน์เทรนด์” ซึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมการเดินทางของผู้คนและกระแสการชอปปิ้งออนไลน์ แม้มูลค่าตัวเลขยังไม่สูงมาก แต่ขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้ความถี่ในการเดินทางไปจับจ่ายสินค้าลดต่ำลง ข้อมูลจากสมาคมผู้ค้าปลีกไทยระบุว่า ปี 2556 ธุรกิจค้าปลีกมีการขยายสาขามากกว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ โดยคอนวีเนียนสโตร์เป็นเซกเมนต์ที่เติบโตสูงสุด 12% และเป็นตัวผลักดันตลาดค้าปลีกในปี 2557 ขยายตัวได้ 6-7% จากมูลค่า 2.3-2.4 ล้านล้านบาท  เปรียบเทียบกับกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือซูเปอร์เซ็นเตอร์เมื่อปีก่อนขยายตัวเพียง 7% ห้างสรรพสินค้าเติบโต 7.5% สเปเชียลตี้สโตร์เติบโต 11.5% ซูเปอร์มาร์เก็ตขยายตัว 8% ส่วนช่วงครึ่งแรกของปี 2557 กลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต

Read More

ศรีลังกา บนจุดตัดของความมั่งคั่ง

 สำหรับผู้คนที่เคยผ่านตาภาพยนตร์เรื่อง Grand Hotel Budapest ซึ่งนำเสนอความเป็นไปของโรงแรมในท้องถิ่นห่างไกลในนครสมมุติบนเทือกเขา Alpine ที่เต็มด้วยเรื่องราวและผู้คนที่ดำเนินผ่านช่วงเวลาแห่งความสุข-ทุกข์ ท่ามกลางวัฏจักรของความรื่นรมย์และตกต่ำ ภาพของโรงแรม Grand Hotel ซึ่งหลบซ่อนอยู่ในเมือง Nuwara Eliya บนเขตทิวเขาและไร่ชาของศรีลังกาอาจให้ความรู้สึกที่ไม่ต่างกัน ความเป็นไปของ Grand Hotel Nuwara Eliya จากเดิมที่เป็นเรือนพักตากอากาศของข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำศรีลังกา ก่อนจะเปลี่ยนสถานะมาสู่การเป็นโรงแรมในปี 1891 หรือเมื่อ 123 ปีที่แล้ว เพื่อรองรับผู้สัญจรผ่านทางและนักธุรกิจชาจากต่างแดน สะท้อนความมั่งคั่งและอดีตที่รุ่งเรืองของสถานที่แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุที่เป็นพื้นที่ในเทือกเขาสูงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 16 องศาตลอดทั้งปี และเป็นแหล่งเพาะปลูกและผลิตชาที่กว้างใหญ่ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของศรีลังกา ทำให้ Nuwara Eliya เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างพลวัตทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง รูปทรงของอาคารในแบบ Elizabethan ได้รับการบูรณะให้กลับฟื้นคืนมีชีวิตชีวา เป็นลมหายใจใหม่ที่พราวเสน่ห์และดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากมายหลั่งไหลเข้ามาเสพและเก็บรับห้วงยามแห่งความสุนทรีย์ ควบคู่กับการศึกษา เรียนรู้มิติในเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติ ขณะเดียวกันวิถีที่ดำเนินไปใน Grand Hotel Nuwara Eliya ก็มีความน่าสนใจไม่แตกต่างจากภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูหรูหราอลังการ หากแต่ลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในที่แห่งนี้ กลับเต็มไปด้วยความละเอียดประณีตในการหลอมรวมและการดูแลจิตวิญญาณของผู้คนได้อย่างลงตัว ผลของการเป็นไร่และแหล่งผลิตชาที่กว้างใหญ่ ทำให้ในอดีตที่ผ่านมามีการนำชาวทมิฬจากถิ่นอื่นเข้ามาเป็นแรงงานในไร่ชาในพื้นที่

Read More

String of Pearls ไข่มุกบนจานหยกมังกร

 ข่าวการเยือนประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นปรากฏการณ์ในแบบพิธีทางการทูตทั่วไปแล้ว การเดินทางเยือนดังกล่าว ยังเป็นกรณีที่บ่งชี้ถึงทิศทางและเข็มมุ่งแห่งวิสัยทัศน์ที่จีนกำหนดเป็นแนวนโยบายสำหรับอนาคตใหม่นี้ด้วย แม้ว่านักวิเคราะห์และผู้สันทัดกรณีจำนวนไม่น้อยจะให้ความสนใจและเฝ้ามองการพบกันของ Xi Jinping ผู้นำจีนและ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย ในฐานะที่ต่างเป็นมหาอำนาจขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย แต่นัยความหมายของการเยือนมัลดีฟส์และศรีลังกา ก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากความมุ่งหมายของจีนในการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมืองในระดับนานาชาติ ผ่านกรอบโครงความคิดว่าด้วย 21st Century Maritime Silk Route ดูจะเอื้อประโยชน์และจุดประกายความคิดที่สอดรับกับสถานการณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในศรีลังกาอย่างเด่นชัด เพราะหลังจากที่ Mahinda Rajapaksa สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศด้วยการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้สำเร็จในปี 2009 และกำลังเดินหน้าสู่การเลือกตั้งเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2010 ได้ประกาศแนวทางในการพัฒนาศรีลังกาให้ฟื้นคืนจากบาดแผลของประวัติศาสตร์สู่อนาคตใหม่ ภายใต้แนวนโยบายที่ได้รับการเรียกขานว่า Mahinda Chintana ด้วย “จินตภาพแห่งมหินทะ” ดังกล่าวนี้ ประกอบส่วนไปด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาและสร้างให้ศรีลังกาเป็น Regional 5 Hub หรือศูนย์กลางของกิจกรรม 5 ประการของภูมิภาค ไล่เรียงตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร ศูนย์กลางของการเดินอากาศ ศูนย์กลางของความรู้ ศูนย์กลางด้านพลังงาน

Read More

ศรีลังกา เวทีประลองกำลังครั้งใหม่จีน-ญี่ปุ่น

 ขณะที่สังคมไทยกำลังให้น้ำหนักกับการคืนความสุขให้กับประชาชน และวาทกรรมบนแท่น Podium อีกฟากหนึ่งในมหาสมุทรอินเดีย ประเทศเล็กๆ ที่มีจำนวนประชากรประมาณ 22 ล้านคน กำลังให้การต้อนรับผู้นำระดับสูงของชาติมหาอำนาจสำคัญ 2 รายในเวลาไล่เรียงกัน การเดินทางเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของ Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน ติดตามมาด้วยการเยือนของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน ได้สะท้อนภาพที่น่าสนใจในกลเกมยุทธศาสตร์และการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงถึงความมุ่งหมายของศรีลังกาที่จะสร้างแรงบันดาลใจและความรุ่งเรืองครั้งใหม่ผ่านโครงการ Colombo Port City ซึ่งจะเป็นประหนึ่งจุดเชื่อมต่อที่สำคัญสำหรับการเดินทางใน 21st Century Maritime Silk Route ที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ อภิมหาโครงการลงทุนขนาด 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐนี้ ถือเอาโอกาสการเดินทางเยือนศรีลังกาของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นปฐมฤกษ์ในการเริ่มต้นก่อสร้างโครงการเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา และกลายเป็นหมุดหมายที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเริ่มต้นปลุกพลังทางเศรษฐกิจของศรีลังกาให้กลับมาคึกคักอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน Colombo Port City จึงเป็นประหนึ่งไฮไลต์ของการเยือนศรีลังกาโดยผู้นำจีนในครั้งนี้ และกำลังจะเป็นการพลิกเปลี่ยนภูมิทัศน์ของศรีลังกาไปตลอดกาล โครงการที่ประกอบส่วนไปด้วยอาคารสำนักงาน กลุ่มโรงแรม อพาร์ตเมนต์

Read More

รีเฟรชแบรนด์ “ยำยำ” ความสุขจากความอร่อย

 อาจจะเรียกได้ว่าเป็นบะหมี่สำเร็จรูปเจ้าแรกของไทย บะหมี่สำเร็จรูป ยำยำหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ Ajinomoto Corp ที่ได้ผลิตครั้งแรกในปี 2514 และได้เติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 40 ปี พร้อมการแตกโปรดักส์ไลน์ เส้นบะหมี่รสชาติ ต่างๆ อาทิ ยำยำรสหมูสับ ยำยำผัดขี้เมา ยำยำรสต้มยำ รสสุกี้ และรวมถึงยำยำในรูปคัพ   แม้ที่ผ่านมา ยำยำ จะมีการปรับปรุงรสชาติและรูปโฉมซอง เพื่อให้ถูกใจผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา และล่าสุด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา “ยำยำ”  รีเฟรชแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบทศวรรษ โดยปรับโลโก้และแพ็กเกจใหม่ที่ใหญ่ขึ้น พร้อมชูคอนเซ็ปต์ ส่งความสุขที่มาจากความอร่อย โดยเพิ่มรอยยิ้มเข้าไปในโลโก้ เพื่อสื่อถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของยำยำในการส่งความสุขจากความอร่อยสู่ผู้บริโภค สดใส มีชีวิตชีวา และทันสมัยมากขึ้น เป็นจุดเน้นของรูปโฉมภาพลักษณ์ใหม่ของ ยำยำจัมโบ้ ชึ่งเป็น Sub-brand หลักของยำยำ ที่มีจุดเด่นเรื่องปริมาณเต็มอิ่มเต็มความอร่อย โดยการปรับโลโก้และแพ็กเกจ พร้อมออกแคมเปญยำยำจัมโบ้ ความสุขคำโต เพื่อสื่อถึงภาพรวมของแบรนด์ว่า “ยำยำจัมโบ้” ให้ความสุขที่ใหญ่กว่ารวมทั้งทำการตลาดแบบครบวงจรควบคู่ไปกับแคมเปญ “ยำยำจัมโบ้ ความสุขคำโต” (More for

Read More

อายิโนะโมะโต๊ะ เส้นทางความอร่อย

 เมื่อกล่าวถึงอายิโนะโมะโต๊ะ ผู้คนอาจจะนึกถึงผงชูรส ตัวช่วยให้รสชาติอาหารมีความอร่อย และถือเป็นส่วนประกอบสำคัญเพื่อเรียกความมั่นใจในการปรุงอาหารก็ว่าได้ ในขณะที่มีสินค้าไม่กี่ชนิดในประเทศไทยที่จะสามารถทำให้ชื่อยี่ห้อสินค้า กลายเป็นชื่อเรียกของผลิตภัณฑ์ เช่น ผงซักฟอก ถูกเรียกว่าแฟ้บ หรือผ้าอนามัย ถูกเรียกว่า โกเต๊ก “อายิโนะโมะโต๊ะ” ก็เป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ได้กลายมาเป็นสามัญนามที่หมายความถึงผงชูรสไปแล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริง โลกของอายิโน๊ะโมโต๊ะ หาใช่มีแค่ผงชูรสเท่านั้น แต่ทว่า ภายใต้คำว่า อายิโนะโมะโต๊ะ ที่เติบโตใหญ่จากรากฐานดั้งเดิมของผู้ผลิตผงชูรส ที่ใช้กลไกทางเทคโนโลยีทางเคมี ผลิตกรดอะมิโน และสามารถสังเคราะห์สารที่ช่วยให้เกิดในรสชาติในอาหาร และได้บัญญัติศัพท์ เรียกว่า “อูมามิ” (Umami หมายถึงรสชาติอร่อย) Ajinomoto หรือจดทะเบียนในประเทศไทยว่า อายิโนะโมะโต๊ะ เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น คำว่า “อะจิโนะโมะโตะ” มีความหมายในภาษาอังกฤษคือ “Essence of Taste” หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “แก่นแท้ของรสชาติ” ซึ่งบริษัทได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์ผงชูรส บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตชูโอเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ความเป็นไปของ อะจิโนะโมะโตะ เริ่มต้นจากการที่ ซูซูกิ ซาบุโระซุเกะ (Suzuki Saburosuke) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ทำสัญญาการใช้สิทธิ์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผงชูรสจากศาสตราจารย์อิเคดะ คิคุนาเอะ

Read More