Home > Cover Story (Page 163)

เยือนเสียมเรียบ เมืองน่าเที่ยวแห่งเอเชีย (1) ผ่านด่านปอยเปต

AEC Leisure ผลสำรวจเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเอเชียประจำปี 2557 ของนิตยสารทราเวล แอนด์ เลเชอร์  (Travel & Leisure) นิตยสารด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสหรัฐอเมริกา พบว่า กรุงเทพฯ ซึ่งเคยครองแชมป์ อันดับ 1 เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเอเชียมาหลายสมัย กลับเสียแชมป์ให้กับเกียวโตของญี่ปุ่น ที่ขึ้นมานั่งแท่นอับดับ 1 แทน โดยมี “เสียมเรียบ” เมืองท่องเที่ยวของกัมพูชา ขยับขึ้นมาอยู่อันดับ 2 จากอันดับ 4 ในปีก่อน ส่งผลให้กรุงเทพฯ แชมป์เก่าตกไปอยู่อันดับ 3           โดย 5 อันดับเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเอเชีย ปี 2557 ตามผลสำรวจของนิตยสารดังกล่าวมีดังนี้ อันดับที่หนึ่งได้แก่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ตามมาด้วยอันดับที่ 2 เมืองเสียมเรียบ กัมพูชา อันดับ 3 แชมป์เก่า

Read More

โยธิน บุญดีเจริญ ความท้าทายครั้งใหม่

 บริษัทแกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) ชื่อนี้อาจจะฟังดูไม่คุ้นหูเท่าไหร่นักในวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อบริษัทนี้ถูกก่อตั้งมาเพียงแค่ 5 ปี แต่หากเอ่ยถึง โยธิน บุญดีเจริญ คงจะทำให้นึกถึงผลงานที่ผ่านมาอย่างโครงการเมืองทองนิเวศน์ 1 หรืออาคารซีพีทาวเวอร์ สีลม กว่า 45 ปี ในวงการอสังหาริมทรัพย์ทำให้โยธินสั่งสมประสบการณ์ไว้มากมาย กระทั่งโยธินได้ก่อตั้งบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ ในปี พ.ศ. 2552 และได้พัฒนาโครงการอสังหาฯ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากย้อนเวลากลับไปดูความเป็นมาของโยธินและจีแลนด์แล้ว ถือว่าไม่ธรรมดา โยธิน บุญดีเจริญ คลุกคลีอยู่ในวงการอสังหาฯ ตั้งแต่เรียนจบจากฮ่องกงกลับมาในปี พ.ศ. 2513 และได้รับมอบหมายจากมงคล กาญจนพาสน์ ให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาที่ดินของกลุ่มเมืองทอง คือโครงการเมืองทองนิเทศน์ 1 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมบึงสีกัน จำนวนกว่า 800 ไร่ นับเป็นโครงการแรกที่เข้ามาร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาที่ดินโดยกลุ่มเมืองทอง ที่ประกอบด้วย 5 ตระกูลใหญ่ คือ กลุ่มกาญจนพาสน์

Read More

ศึกชิงแลนด์มาร์ก AEC GLAND ปั้น Super Tower สู้

 ภาพจำของถนนรัชดาภิเษกของใครหลายคนคงจะไม่พ้นการเป็นแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีสำหรับคนกลางคืน แต่การเปลี่ยนผ่านของช่วงเวลาและการเติบโตทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของย่านถนนพระราม 9-ถนนรัชดาภิเษก จากการเป็นเพียงแหล่งบันเทิงยามค่ำคืนไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า การลงทุน และแหล่งชอปปิ้งตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ พื้นที่ดินที่ว่างเปล่า แลนด์แบงก์ที่นักพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มองเห็นช่องทางในการทำกำไรจากที่ดินเหล่านี้ เมื่ออุปสงค์มากกว่าอุปทานส่งผลให้มูลค่าของที่ดินบริเวณดังกล่าวมีราคามากกว่าทองคำหลายเท่าตัว ที่ดูจะได้เปรียบมากกว่าใครคงหนีไม่พ้นกลุ่มนักพัฒนาธุรกิจอสังหาฯ ที่มีแลนด์แบงก์อยู่ในมือ และซุ่มพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจอย่างเงียบๆ ที่พร้อมเขย่าพอร์ตและเปลี่ยนหน้าธุรกิจจากถนนของแหล่งบันเทิงยามค่ำ  เมื่อราวกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมาท่ามกลางสถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังการทำรัฐประหาร บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือจีแลนด์ ที่ก่อตั้งได้เพียงแค่ 5 ปี กลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่น่าจับตามองมาก ที่นอกจากจะลงมาเล่นเกมเศรษฐีนักพัฒนาที่ดิน อย่างที่หลายๆ แบรนด์ดังขยันสร้างแลนด์มาร์กกันเป็นว่าเล่น ด้วยการเปิดตัวโครงการสุดท้ายในเดอะแกรนด์พระรามเก้า คือ เดอะ ซุปเปอร์ ทาวเวอร์ (The Super Tower) ที่มีความสูงถึง 615 เมตร ประกอบไปด้วยตึกสูง 125 ชั้น และยังประกาศกร้าวที่จะเป็นแลนด์มาร์ก ที่ไม่ใช่เพียงเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่มองไปถึงการเป็นแลนด์มาร์กของอาเซียน และหวังให้กลายเป็นฮับแห่งใหม่ทางธุรกิจของประเทศและ AEC  จีแลนด์ปักธงรบลงบนพื้นที่ 1.2 ล้านตารางเมตร บนถนนพระราม

Read More

พม่าย้อนรอยไทย เปิดมหากาพย์เพย์ทีวี

 การเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรระหว่างบริษัท ชเวตันลวิน มีเดีย จำกัด (Shwe Than Lwin Media) ผู้บริหารธุรกิจสื่อโทรทัศน์รายใหญ่ในพม่ากับบริษัท ตี๋ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด มุมหนึ่งเป็นการช่วงชิงโอกาสรุกตลาดของนักธุรกิจไทยในอุตสาหกรรมสื่อพม่าที่กำลังก้าวผ่านจากยุคปิดกั้นข่าวสาร แต่อีกมุมหนึ่งสะท้อนภาพการแข่งขันอย่างดุเดือดในสมรภูมิธุรกิจในพม่า ทั้งทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียม ทั้งระบบฟรีทูแอร์ (Free-to-Air) และเพย์ทีวี (Pay TV) ผู้สันทัดกรณีที่เข้ามาฝังรากในตลาดทีวีของประเทศพม่าสะท้อนสถานการณ์การแข่งขันไม่ต่างอะไรกับตลาดเพย์ทีวีของไทยเมื่อ 20 ปีก่อนและมีคู่แข่งรายใหญ่ห้ำหั่นกันเพียง 2 ค่าย โดยมีประชากร 50 กว่าล้านคน เป็นกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคข่าวสารอย่างหิวกระหาย หลังจากทางการควบคุมข่าวสารมานานหลายสิบปี  ปัจจุบัน ช่องโทรทัศน์ในพม่ามี 4 สถานีหลัก เป็นของทางการ 2 ค่ายและเอกชน 2 ค่าย โดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางโทรทัศน์เริ่มครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 กว่าปีก่อน  ช่องแรกเป็นช่องของรัฐบาลพม่า “MRTV” ออกอากาศครั้งแรกในเดือนเมษายน 2523 เน้นข่าวสารของรัฐบาล ทั้งภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่าของพม่า ก่อนที่จะย้ายสถานีหลักไปยังกรุงเนปิดอว์ในปี 2550

Read More

เกมใหม่ “สามารถ” ธุรกิจโต 1,000%

 การเปลี่ยนผ่านจากยุคอนาล็อกสู่ดิจิตอลกลายเป็นจุดเปลี่ยนผ่านของหลายๆ ธุรกิจ โดยเฉพาะ “สามารถคอร์ปอเรชั่น” ที่ทุ่มกลยุทธ์การตลาดชุดใหญ่ เพื่อรุกตลาดกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล หรือ “Set Top Box (STB)” และเสาสัญญาณดิจิตอลทีวี ในฐานะเจ้าตลาดเสาอากาศทีวีคู่สังคมไทยยาวนานเกือบ 60 ปี โดยเฉพาะเกมนี้มีเม็ดเงินให้ช่วงชิงมากกว่า 30,000 ล้านบาทเป็นเดิมพันก้อนใหญ่ แม้ดูเหมือนว่า “สามารถคอร์ปอเรชั่น” จะรุกตลาดกล่อง Set Top Box ภายใต้แบรนด์ “SAMART ENGINEERING” ช้ากว่าบริษัทอื่น เพราะในตลาดมีกล่องของคู่แข่งจำนวนมาก เกิดสงครามกล่องแย่งชิงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั่วประเทศตั้งแต่ 2 ปีก่อน สมรภูมิล่าสุดยังมีบริษัทที่เข้าร่วมโครงการคูปองทีวีจิตอลมากกว่า 40 เจ้า เป็นรายใหญ่มากกว่า 10 เจ้า อย่างล็อกซเล่ย์ที่จับมือทำโปรโมชั่นกับจีเอ็มเอ็มแซด, กลุ่มแพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น, ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น, ซิงเกอร์, ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น และเอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น  แต่วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท

Read More

ตี๋ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ บุกอาณาจักรใหม่ “เออีซี”

 การกลับมารุกตลาดผู้ผลิตสื่อและผลิตรายการครบวงจร (Content Provider) สำหรับสื่อทุกแขนง ทุกช่องทาง ที่เรียกว่า “Through-the-line Services” ในนามบริษัท ตี๋ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด กับบริษัทสื่อยักษ์ใหญ่ในพม่า “ชเวตันลวิน มีเดีย” กลายเป็น “จิ๊กซอว์” ชิ้นสำคัญที่จะสานต่อแผนการสร้างอาณาจักรธุรกิจครั้งใหม่ในตลาดอาเซียน  ที่สำคัญ เป้าหมายของสมชาย ชีวสุทธานนท์ หรือฉายา “ตี๋ แม็ทชิ่ง” ไม่ได้จำกัดเพียง “ธุรกิจสื่อ” หลังจากซุ่มโปรเจกต์ใหญ่อยู่นานหลายปี เพื่อต่อยอดรุกธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคที่คาดว่าจะสร้างรายได้มูลค่ามหาศาล  เป็นการตกผลึกหลังจากสรุปบทเรียนหลายๆ ครั้งตลอดชีวิตการทำงาน ตั้งแต่เปิดบริษัทโฆษณา เปิดบริษัทโปรดักชั่นเฮ้าส์ กับช่างภาพเพื่อนสนิท “ฐนิสสพงศ์ ศศินมานพ” และสร้างผลงานที่มีชื่อเสียงมามากมาย สไตล์แหวกแนว คิดนอกกรอบ กล้าทำ โดนใจผู้บริโภค จนกระทั่ง “แม็ทชิ่งสตูดิโอ” กลายเป็นโปรดักส์ชั่นเฮาส์ชั้นนำ จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ มี “บีบีทีวี โปรดัคชัน” ในเครือบริษัท กรุงเทพวิทยุและโทรทัศน์ หรือช่อง 7 เข้าถือหุ้น ปี

Read More

บทใหม่ของ “สิงห์”

 ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มสิงห์พยายามที่จะปรับโครงสร้างธุรกิจจากเดิมในนาม บุญรอด บริเวอรี่ ให้เป็น สิงห์ คอร์ปอเรชั่น เพื่อหวังตอกย้ำแบรนด์สิงห์ ให้เด่นชัดขึ้นโดยเฉพาะในห้วงยามที่ธุรกิจกลุ่มแอลกอฮอล์มีการแข่งขันดุเดือด แต่ดูเหมือนว่าความพยายามดังกล่าวจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นส่วนหนึ่ง ที่ยังต้องอาศัยกลไกและปัจจัยสำหรับค้ำยันและสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรทางธุรกิจ ที่นับวันจะมีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น การดึงบริษัท เบน แอนด์ คัมปะนี จำกัด (Bain & company) ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจที่ปรึกษาและการจัดการธุรกิจระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา เข้ามาเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ เมื่อไม่นานมานี้ จึงเป็นอีกความพยายามหนึ่งของสิงห์ ที่จะปรับโครงสร้าง วางกลยุทธ์ และสร้างสายสัมพันธ์ (คอนเนกชั่น) กับพันธมิตรทางธุรกิจ ขับเคลื่อนกลุ่มสิงห์สู่เวทีโลก  ประเด็นที่ว่านี้ ถือเป็นการปรับโครงสร้างทางธุรกิจครั้งใหญ่รอบที่ 3 ภายในระยะเวลา 84 ปีของสิงห์ อีกทั้งยังมีการตั้งธรรมนูญครอบครัวเป็นครั้งแรก เพื่อให้ทายาทตระกูล “ภิรมย์ภักดี” เข้ามาดูแลธุรกิจร่วมกันและแบ่งผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน โครงสร้างธุรกิจใหม่ล่าสุดของสิงห์ ได้จัดแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย 1. กลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2. กลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ หรือนอน-แอลกอฮอล์ 3. กลุ่มบรรจุภัณฑ์ 4. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์

Read More

ไฟน์ ฟู้ด แนวรบใหม่ของสิงห์

 ธุรกิจอาหารเป็นอีกหนึ่งในธุรกิจที่สันติ ภิรมย์ภักดี บอสใหญ่ของสิงห์กำหนดเป็นนโยบายไว้ ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มสิงห์เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจอาหาร โดยประเดิมเปิดร้าน EST 33 เมื่อหลายปีก่อน และประสบผลสำเร็จ จนมีถึง 3 สาขาในปัจจุบัน การรุกคืบของสิงห์ในสมรภูมิธุรกิจอาหารครั้งใหม่เริ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ สิงห์เปิดตัวบริษัท ไฟน์ ฟู้ด แคปปิตอล จำกัด ในฐานะที่เป็นบริษัทในเครือบุญรอด บริวเวอร์รี่ เมื่อตุลาคม 2555 หรือเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นธุรกิจอาหารทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้การบริหารของธีระ วงศ์พัฒนาสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟน์ ฟู้ด แคปปิตอล จำกัด ภายใต้ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจอาหาร ได้เริ่มเดินเครื่องเสริมทัพเป็นจักรกลให้กับบริษัท ด้วยการประเดิมเปิดร้านอาหาร ชื่อ “ร้าน พาคาต้า” จำนวนสองสาขา โดยสาขาแรกในไทยที่ถนนข้าวสาร เมื่อเดือนธันวาคม 2555 ด้วยคอนเซ็ปต์ร้านที่นำเสนอเป็นแบบ Fast Fusion

Read More

เมื่อสิงห์เน้นเครื่องดื่มสุขภาพ

 การเดินทางของ สิงห์ ในฐานะแบรนด์สินค้าและองค์กรธุรกิจที่มีอายุยืนยาวมากว่า 80 ปี หากเปรียบเป็นชีวิตของมนุษย์คนหนึ่ง ก็ต้องถือว่าอยู่ในช่วงวัยที่ต้องบำรุงรักษาสุขภาพอย่างยิ่ง "สิงห์" ในวันนี้ได้ก้าวสู่ยุคที่ 4 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของธุรกิจตระกูล “ภิรมย์ภักดี” ซึ่งปรากฏภาพการ Diversify ไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในกลุ่มทายาทรุ่นเหลนของ “พระยาภิรมย์ภักดี” ตกเป็นของสองหนุ่มพี่น้อง “ภูริต” (ชื่อเดิม สันต์) และ “ปิติ” บุตรชายของ “สันติ” ที่เข้ามารับช่วงต่องานสำคัญ และกำลังเข้าสู่ช่วงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ ปิติ ภิรมย์ภักดี รับช่วงในการบริหารกลุ่มแอลกอฮอลล์ ภูริต ทายาทคนโตของตระกูล “ภิรมย์ภักดี” ถูกวางตัวให้ดูแลธุรกิจนอน-แอลกอฮอล์ พร้อมกับตั้งหน่วยงาน Business Innovation Center หรือ BIC ซึ่งเป็นหน่วยงานทำหน้าที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด และเป็นจุดเริ่มของการเปิดตลาดเชิงรุกธุรกิจนอน-แอลกอฮอล์ของบุญรอด ซึ่งปัจจุบันสินค้าในกลุ่มนอน-แอลกอฮอล์ของสิงห์จะมีโซดา น้ำดื่มสิงห์ เครื่องดื่มสุขภาพ บีอิ้ง นำแร่เพอร์ร่า ชาเขียวโมชิ สาหร่ายมาชิตะ และล่าสุดน้องใหม่ เครื่องดื่ม เกลือแร่ ซันโว ภายใต้สถานการณ์ที่ตลาดแอลกอฮอล์ในไทยมีการชะลอตัว เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

Read More

NEDA: เพื่อนบ้านมั่นคง เมืองไทยมั่งคั่ง

 พุทธศักราช 2558 ปีที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC มุ่งให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้มีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดี กินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เหลืออีก 9 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา  สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆ มีความเข้มแข็ง เพราะการศึกษานับเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาในด้านอื่นๆ  สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization-NEDA) ขึ้นตรงต่อกระทรวงการคลัง มีภารกิจในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยและเพื่อนบ้าน  บทบาทของ NEDA ดูเหมือนจะสอดคล้องต่อความมุ่งหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยล่าสุดไทยให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน

Read More