Home > Cover Story (Page 154)

เที่ยวเมืองคำม่วน ให้ม่วนซื่นรับ AEC

  อากาศร้อนแทบจะทะลุปรอทขนาดนี้ หลายคนอาจจะหงุดหงิดจนทำให้ความรื่นรมย์ในชีวิตขาดหายไปชั่วขณะ “ผู้จัดการ 360 ํ” ขอถือโอกาสนี้ พาผู้อ่านไป “ม่วนซื่น” กันที่ “คำม่วน” แขวงที่อยู่กึ่งกลางประเทศ สปป.ลาว เพื่อดับความร้อนและเพิ่มความเย็นให้กับหัวใจกันดีกว่า แต่ก่อนจะข้ามไปยัง “แขวงคำม่วน” เราตั้งต้นที่จังหวัดที่อยู่ติดกับแขวงคำม่วน มีเพียงลำน้ำโขงกั้นกลาง และเป็นจังหวัดที่ดัชนีชี้วัดความสุขของผู้คนในเมืองติดอันดับหนึ่งของประเทศไทย อย่างจังหวัดนครพนมกันก่อน รับรองว่าม่วนซื่นไม่แพ้กัน เพราะเขาว่ากันว่า “มาอีสานต้องสนุก” นครพนมตั้งอยู่ทางภาคอีสานของเมืองไทย อยู่ตรงข้ามกับแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว เป็นเมืองที่เงียบสงบ ไม่เร่งรีบ และความที่เป็นเมืองชายแดนติดกับ สปป.ลาว เพราะฉะนั้นจึงมีการผสมผสานทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีความเป็นอยู่ ระหว่างไทย ลาว รวมถึงเวียดนาม และฉายภาพออกมาให้เราสัมผัสได้ ทั้งวัดวาอาราม อาหารการกิน และประเพณี โปรแกรมที่เรียกว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับการมาเยือนนครพนมคือ “นมัสการพระธาตุพนม” พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองและเป็นพระธาตุประจำตัวผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระธาตุพนมเป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตามตำนานกล่าวว่า องค์พระธาตุสร้างในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร ซึ่งอาณาจักรศรีโคตรบูรนี้ครอบคลุมไปถึงแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว ด้วยเช่นกัน พระธาตุพนมไม่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนมเท่านั้น ยังเป็นที่เคารพของชาวไทยภาคอื่นๆ และชาวลาวอีกด้วย ว่ากันว่า ถ้าใครได้มานมัสการพระธาตุครบ 7 ครั้ง

Read More

ศึกโซลาร์รูฟท็อป กลยุทธ์ใหม่ปลุกอสังหาฯ

 การเดินหน้าโครงการนำร่องระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร หรือ “โซลาร์รูฟท็อปเสรี” ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยวางแผนอนุมัติให้ชาวบ้านกว่า 1 ล้านครัวเรือน สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง ด้านหนึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของนโยบายรัฐและปฏิบัติการที่เห็นเป็นรูปธรรม อีกด้านหนึ่งกำลังเปิดเกมใหม่ในการแข่งขัน โดยเฉพาะการประกาศรุกธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์แบบเต็มตัวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อย่าง “เสนาดีเวลลอปเม้นท์” กลายเป็นเจ้าแรกในตลาดที่เปิดขายบ้านติดโซลาร์รูฟท็อป ที่ผ่านมา ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เน้นการเกาะกระแสสิ่งแวดล้อมไปที่รูปแบบบ้าน เช่น “ศุภาลัย” ออกแบบบ้านเพื่ออนุรักษ์พลังงาน  มีบานหน้าต่างขนาดใหญ่ รับแสงธรรมชาติ และรับลมพัดผ่าน ใช้กระจกอนุรักษ์พลังงาน สุขภัณฑ์รุ่นประหยัดน้ำ และหลอดประหยัดพลังงาน  ส่วน “แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์” ชูคอนเซ็ปต์ “LPN Green” ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้หลอดไฟแอลอีดี จัดสรรพื้นที่จอดรถแบบพิเศษสำหรับรถยนต์ประเภทอีโคคาร์ สร้างสวนขนาดใหญ่กว่า 4 ไร่ นำน้ำทิ้งจากการใช้งานของชุมชนมาบำบัดจนได้มาตรฐานเพื่อนำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ และลดการพึ่งพาเครื่องปรับอากาศ ออกแบบโครงการให้ระบายอากาศด้วยระบบธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งโครงการกรีนคาแนล (Green Canal) ของบริษัทโมเดิร์นกรีนกรุ๊ป (Modern Green Group) ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกาศตัวว่าเป็นโครงการที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้ารองรับสาธารณูปโภคส่วนกลาง ไม่ใช่ “โซลาร์รูฟท็อป”

Read More

เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ ดันบิ๊กไอเดีย “Solar City”

  เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ มองบทเรียนครั้งสำคัญจากมหาอุทกภัย ปี 2554 ที่กินระยะเวลายาวนานมากกว่า  6  เดือน ความสูญเสียที่ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน และประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท จนเป็นภัยพิบัติติดอันดับโลก  เกิดเป็น “แรงผลัก” ที่พลิกเปลี่ยนแนวคิดการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเครือเสนากรุ๊ป ไม่ใช่แค่การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อสนองความต้องการกลุ่มลูกค้าแบบเดิมๆ แต่ทุกโครงการหลังจากนั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการประหยัดพลังงาน เพื่อลดการกอบโกยจากธรรมชาติให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะแนวคิดที่จะทำให้ “บ้านทุกหลัง” ของเสนากรุ๊ปเป็นอีกจุดเริ่มต้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างประเทศไทยเป็น “Solar City” อย่างที่หลายๆ ประเทศกำลังเดินหน้าให้เกิดขึ้นจริง “เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ทำให้เราเห็นภาพผลกระทบและอันตรายจากภัยธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ มันเป็นไปได้ขนาดนั้น และสร้างความเสียหายมากมายเหลือเกิน บริษัทจึงเริ่มศึกษาเรื่องพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง” เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ผู้จัดการ360 ํ” โปรเจกต์แรกจากแรงผลักเริ่มต้นขึ้นทันที ในฐานะผู้บริหารเสนากรุ๊ป ใช้เวลาศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกือบ 3 ปี วิจัยการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Read More

ถอดสูตรธุรกิจ “เสนากรุ๊ป” “แตกไลน์-พลิกเกม” สู้วิกฤต

  ระยะเวลามากกว่า 10 ปีที่เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ เข้ามารับไม้ต่อจาก “ธีรวัฒน์” ในฐานะเจนเนอเรชั่นที่ 2 พร้อมๆ กับโจทย์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะบทเรียนจากวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ปี 2540 และระเบิดเศรษฐกิจอีกหลายลูก ซึ่งกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มักได้รับผลกระทบอย่างหนัก การปรับเปลี่ยนและขยายไลน์กลายเป็นสิ่งที่เสนากรุ๊ปนำมาพลิกสถานการณ์หนีรอดได้ทุกครั้ง ซึ่งรวมถึงการรุกธุรกิจพลังงานกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ “บี.กริม.พาวเวอร์” ครั้งล่าสุดด้วย   “เสนากรุ๊ป” ไม่ใช่บริษัทเล็กๆ ในวงการ แม้ครอบครัว “ธัญลักษณ์ภาคย์” เริ่มจากกิจการร้านขายลอดช่องย่านตลาดเก่าบางรัก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ซึ่งธีรวัฒน์มักยืนยันเช่นนั้นเสมอ กระทั่งเข้ามาจับธุรกิจโรงงานไม้ปาร์เกต์ จำหน่ายและติดตั้งวัสดุก่อสร้าง    แต่วันหนึ่ง เมื่อธุรกิจสร้างบ้านจัดสรรเฟื่องฟูมาก คนติดตั้งวัสดุก่อสร้างเริ่มมองเห็นอนาคตที่ใหญ่กว่ารออยู่ข้างหน้า  ปี 2536 ธีรวัฒน์ก่อตั้งบริษัท กรุงเทพเคหะกรุ๊ป เดินหน้ารุกธุรกิจบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และอาคารพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการเสนาวิลล่า หลังจากนั้นอีก 3 ปี เริ่มดำเนินการโครงการบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ โครงการวิลล่า รามอินทรา และเสนา แกรนด์โฮม จนกระทั่งปี

Read More

ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ที่อยู่รอบตัวเรา

 “ถ้าจะกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอยู่รอบตัวและผูกพันกับชีวิตคนเราตลอดเวลา เราได้สัมผัสและเกี่ยวข้องตั้งแต่ ตื่นนอน จับแปรงสีฟันจนถึงปิดไฟเข้านอนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งของอุปโภคบริโภคล้วนมีส่วนเกี่ยวพันกับวิถีชิวิตของเราในแต่ละวันอย่างปฏิเสธไม่ได้" ถ้าเอ่ยถึงพลังงาน หรือปิโตรเคมี บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ในขณะที่ความเป็นจริงกลับเป็นสิ่งที่ได้สัมผัสทุกวัน และมีความเชื่อมโยงย้อนไปตั้งแต่การขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม คือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติส่งต่อไปยังกระบวนการกลั่นคือโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คือการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มาจากปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น เอทิลีน โพรพิลีน เบนซีน เป็นต้น และถือเป็นจุดเริ่มต้นของวัตถุดิบ ก่อนจะถูกแปรรูปสู่ขั้นกลางจนถึงขั้นปลายได้แก่ กลุ่มพลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสินค้าอุตสาหกรรมต่อเนื่องสู่ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับมนุษย์  สารเคมีที่สำคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโอเลฟินส์ ได้แก่ เอทิลีน โพรพิลีน ฯลฯ อีกกลุ่มคือ อะโรเมติกส์ ได้แก่ เบนซิน โทลูอินและไซลีน กลุ่มโอเลฟินส์ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชนิดต่างๆ เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (พีวีซี) พอลิเอทิลีน (พีอี) นอกจากนั้นยังใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีอีกหลายชนิด เช่น ลิเนียร์แอลกอฮอล์ ซึ่งใช้ผลิตผงซักฟอก กลุ่มอะโรเมติกส์ใช้เป็นตัวทำละลายและใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีอื่นๆ นี่คือจุดเริ่มต้นของวัตถุดิบก่อนจะถูกแปรรูปสู่ขั้นกลางจนถึงขั้นปลาย ได้แก่ กลุ่มพลาสติก

Read More

Bioplastic Hub เข็มมุ่งธุรกิจสีเขียวของ PTTGC

 นอกเหนือจากการวางแผนลงทุนเพื่อขยายฐานทางธุรกิจไปยังต่างแดนแล้ว เข็มมุ่งและเป้าหมายของ PTTGC ในระยะถัดไปจากนี้ ยังอุดมด้วยวิสัยทัศน์ที่ท้าทายในการก้าวสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าประสงค์ที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตพลาสติกชีวภาพ หรือ Bioplastic Hub ในภูมิภาคอาเซียน เข็มมุ่งทางธุรกิจที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงและข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน และมีสถานะเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมไปโดยปริยาย  ขณะเดียวกัน หากประเมินจากความได้เปรียบด้านทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทยก็มีศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากปริมาณการผลิต มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งพืชเกษตรทั้งสองถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตพลาสติกชีวภาพ ความมุ่งหมายของ PTTGC ที่จะเป็น Bioplastic Hub ของอาเซียน จึงอาจไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยจากความเป็นจริงนัก  ทั้งนี้ พลาสติกชีวภาพมีการพัฒนาอย่างมากในประเทศที่มีบทบาทในเศรษฐกิจโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ในขณะที่ผู้บริโภคให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ความต้องการพลาสติกชีวภาพก็เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 1 ล้านตันต่อปี เป็น 3 ล้านตันต่อปี ซึ่งผลจากความตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากให้ความสนใจขยายธุรกิจมาสู่ธุรกิจสีเขียว (green business) มากขึ้น  ซึ่งในจำนวนนี้มีองค์กรธุรกิจด้านพลังงานอย่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รวมอยู่ด้วย โดย

Read More

PTTGC ขยายฐาน รุกลงทุนต่างแดน

 ภายใต้ vision การเป็นผู้นำทางด้านเคมีภัณฑ์ เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ล่าสุด บริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) PTTGC เตรียมแผนลงทุนในต่างประเทศ เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวในตลาดต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับแผนการเติบโตของบริษัทฯ ทั้งในด้านการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจปิโตรเคมีของพีทีที โกลบอล เคมิคอล ซึ่งเป็นทั้งการขยายฐานการผลิตและการตลาด PTTGC เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) PTTCH กับบริษัท อะโรเมติกส์ และการกลั่น จำกัด (มหาชน) PTTAR เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม2554 เพื่อก้าวขึ้นเป็นแกนนำของกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ (Chemical Flagship) ของ ปตท. ภายใต้ Core uplift project ที่ประกอบไปด้วย operational excellence, Marketing excellence, Synergy excellence และ

Read More

กฎ กติกา มารยาท ข้อพึงปฏิบัติก่อนออกไปปั่น

 เหตุการณ์ที่นักปั่นชาวชิลีผู้กำลังสร้างสถิติโลก ด้วยการเดินทาง 5 ทวีปในเวลา 5 ปี กลับต้องหยุดสถิติลงและเสียชีวิตในประเทศไทย อีกทั้งยังมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับนักปั่นจักรยานไทยอีกหลายราย ภาพเหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการที่ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตผู้ร่วมทาง การไม่เคารพกฎหมายจราจร รวมถึงความประมาทขณะขับขี่รถยนต์  ในแต่ละปีประเทศไทยมีสถิติคดีอุบัติเหตุจราจรทางบกสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นเหตุเกี่ยวกับจักรยาน 300-400 คดี ยังไม่นับรวมอุบัติเหตุที่ไม่เป็นคดี กรณีดังกล่าวส่งผลให้บรรดานักปั่นออกมารวมตัวเรียกร้องให้ภาครัฐกำหนดมาตรการและบทลงโทษอย่างจริงจัง ล่าสุดนักปั่นจักรยานกลุ่มต่างๆ จัดกิจกรรมรณรงค์ในชื่อ “เมา+ขับ=ฆาตกร” นับเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่หวังว่าจะช่วยเรียกสติผู้ขับขี่รถยนต์และลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดี การจะลดอุบัติเหตุบนท้องถนนไทยคงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ขับขี่รถทุกประเภท ในห้วงเวลาที่กระแสจักรยานยังคงวิ่งวนอยู่ในสังคมไทย คนไทยควรต้องเริ่มที่จะเรียนรู้กฎข้อบังคับเกี่ยวกับจักรยานเช่นเดียวกัน  พ.ร.บ.จราจรทางบก ปี พ.ศ. 2522 มีข้อกำหนดในเรื่องจักรยานว่า  1. ขี่ในทางที่จัดไว้ให้ ตามมาตรา 79 ในกรณีที่ถนนมีเส้นทางจักรยานจัดเอาไว้ให้ผู้ขี่จักรยานต้องใช้ช่องทางดังกล่าวอย่างเคร่งครัด 2. กรณีถนนที่ไม่ใช่เส้นทางจักรยาน ตามกฎหมายระบุว่า ให้รถจักรยานใช้ช่องทางทางด้านไหล่ทางเป็นสำคัญ ตามระเบียบในมาตรา 80 และรถจักรยานที่ขี่ต้องจัดให้มีสิ่งของจำเป็นดังนี้ - กระดิ่งที่สามารถส่งสัญญาณเตือนได้ในระยะ 30 เมตร - เครื่องห้ามล้อหรือเบรกที่ใช้งานได้  - ต้องมีโคมไฟติดหน้ารถ 1 ดวง และส่องสว่างในระยะ 15 เมตร ติดตั้งในระดับต่ำกว่าสายตาผู้ขับขี่รถยนต์  -

Read More

อานิสงส์กระแสจักรยาน ธุรกิจเกี่ยวเนื่องแห่ “บูม” ตาม

 การตื่นตัวของกระแสจักรยานในไทยเป็นที่น่าสนใจไม่น้อย เมื่อตลาดจักรยานที่มีมูลค่าการตลาดสูงถึง 6,500 ล้านบาท การหมุนของเฟืองชิ้นนี้ส่งผลให้ฟันเฟืองชิ้นถัดมาทำงานอย่างอัตโนมัติ การเพิ่มจำนวนของนักปั่นในไทยไม่เพียงแต่ส่งผลให้ตลาดจักรยานโตเท่านั้น แต่ได้นำพาตลาดที่มีความเกี่ยวเนื่องกับจักรยานโตควบคู่กันไป แม้จักรยานจะเป็นเพียงพาหนะสองล้อแต่ส่วนประกอบของจักรยานไม่ว่าจะเป็นเฟรมรถ แฮนด์จับ เบาะนั่ง บันได ล้อ ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์แต่งหล่อสวยสำหรับจักรยานคู่ใจทั้งนั้น นักปั่นบางกลุ่มมักนิยมที่จะเลือกส่วนประกอบที่ดีหรือที่ตรงกับความต้องการ จึงประกอบมาเป็นจักรยานที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากจะเริ่มต้นที่เฟรมจักรยาน ราคานั้นแตกต่างกันไปตามลักษณะ ทั้งเฟรมอะลูมิเนียม เฟรมอะลูมิเนียม ตะเกียบคาร์บอน เฟรมคาร์บอน ตะเกียบคาร์บอน ราคามีตั้งแต่หลักพันถึงหลักหมื่น ซึ่งข้อดีของอุปกรณ์ก็แตกต่างกันไป หากนักปั่นมีความต้องการสูงในเรื่องรายละเอียดจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการเลือกเฟ้นอุปกรณ์พอสมควร ซึ่งนั่นอาจหมายถึงค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน นอกเหนือไปจากอุปกรณ์แต่งเสริมความเท่ให้สองล้อคู่ใจแล้ว เครื่องแต่งกายสำหรับนักปั่นเองก็เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งเสื้อกางเกงที่มากไปด้วยคุณสมบัติสำหรับการออกกำลังกายแล้ว อุปกรณ์เซฟตี้ถือเป็นสิ่งของจำเป็นต้องมีทุกครั้งเมื่อมีการปั่นจักรยานหรือจะออกทริป ทั้งถุงมือ หมวก แว่นตา แน่นอนว่าแม้จะไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอย่างหลังก็ยังสามารถออกไปปั่นจักรยานได้  เมื่อเลนจักรยานในกรุงเทพฯ ไม่เพียงพอต่อการปั่น หลายคนจึงเลือกที่จะออกไปทริปต่างจังหวัดเพื่อหาอากาศที่บริสุทธิ์และง่ายต่อการขี่จักรยาน กิจกรรมที่มีให้เลือกมากมายทั้งที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศจัดขึ้น และบรรดานักปั่นร่วมกลุ่มกันจัดเอง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือธุรกิจจัดจำหน่ายแรคติดท้ายรถสำหรับบรรทุกจักรยาน นักปั่นบางคนชอบออกไปปั่นแบบส่วนตัวหรือกลุ่มเล็กหลังเลิกงานซึ่งทำให้แรคติดรถยนต์เป็นที่นิยมอยู่ช่วงหนึ่ง ในระยะหลังเมื่อมีกิจกรรมมากขึ้น บรรดาธุรกิจรถตู้ รถทัวร์สบโอกาสในการขยายช่องทางธุรกิจเปิดบริการรับบรรทุกจักรยานสำหรับการออกทริปท่องเที่ยว ซึ่งราคาค่าบริการขึ้นอยู่กับประเภทรถที่เลือก ปริมาณรถที่สามารถบรรทุกได้ รวมถึงจุดหมายปลายทาง  นอกจากธุรกิจแรคติดรถยนต์ บริการขนส่งจักรยาน ยังมีธุรกิจอีกประเภทที่นับว่าเป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ดี ซึ่งเหมาะสำหรับจักรยานแบบพับ ธุรกิจกระเป๋าจักรยานอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับจักรยาน กระเป๋าใส่จักรยานมีหลากหลายแบบ ทั้งสำหรับใส่จักรยานพับ แบบที่สามารถใส่จักรยานเสือภูเขาได้แต่จำเป็นต้องถอดล้อใดล้อหนึ่งออก หรือทั้งสองล้อ

Read More

เลนจักรยาน VS วินัยจราจร ไก่กับไข่ในสังคมจักรยานไทย

  อากาศดีท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส ปัจจัยแวดล้อมที่เหล่านักปั่นปรารถนาและใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจนำจักรยานสองล้อคู่ใจออกไปปั่นแต่ละครั้ง บนเลนจักรยานระยะทางสั้นๆ ที่ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในเวลานี้ เมื่อนักปั่นหัวใจสีเขียวไม่มีเส้นทางให้เลือกมากนัก จำนวนนักปั่นในไทยปัจจุบันอยู่ที่ 2.2 ล้านคน และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งนี้แต่ละคนมีวัตถุประสงค์ในการขับขี่พาหนะสองล้อต่างกัน ทั้งเพื่อออกกำลังกาย การท่องเที่ยว การแข่งขัน และการเดินทางในชีวิตประจำวัน ซึ่งกลุ่มหลังนี่เองที่ยังมีจำนวนน้อยอยู่ นั่นอาจจะเพราะสภาพอากาศของไทยไม่เอื้ออำนวยนัก อีกทั้งเลนจักรยานในกรุงเทพฯ ก็กำลังรอการพัฒนาอย่างจีรัง  กระนั้นคำถามที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้คือ ประเทศไทยพร้อมแค่ไหนที่จะเปิดกว้างหากสังคมจักรยานที่ใครหลายคนต้องการจะเกิดขึ้นจริง และเราจะออกแบบสังคมจักรยานนี้ให้เป็นอย่างที่วาดหวังได้หรือไม่ กรุงเทพฯ มีเลนจักรยานอยู่หลายจุดแต่ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล อีกทั้งยังเป็นเส้นทางระยะสั้นๆ อย่างเลนจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์มีระยะทางรวมเพียง 8 กิโลเมตร แต่กลับสั่งสมปัญหาเอาไว้มากมาย ตั้งแต่การไม่มีเสาหลักกั้นเลนที่ชัดเจน การจอดรถทับและกีดขวางจนผู้ใช้จักรยานไม่สามารถปั่นไปบนเส้นทางนั้นได้อย่างเต็มที่ การแก้ปัญหาตามแบบวิสัยของไทยจึงเกิดขึ้น เมื่อการรณรงค์ขอความร่วมมือต่อเรื่องดังกล่าวไม่เป็นผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วย การห้ามหยุดหรือจอดตลอดเวลาบนถนนที่มีเส้นทางจักรยานทั้ง 12 เส้นทางในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2557 กระแสความนิยมจักรยานในไทยทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจ จะเห็นได้จากกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพาหนะสองล้อที่มีทุกเดือน เช่นเดียวกับรัฐบาลที่สนับสนุนให้หน่วยงานภายใต้การปกครองออกไปดูงานยังต่างประเทศ เพื่อหวังให้มีแบบอย่างอันจะนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศ และผลจากการดูงานในแต่ละครั้งมักตามมาด้วยอภิมหาโปรเจกต์ โดยผู้รับผลประโยชน์ปลายทางคือประชาชน Land Mark ริมแม่น้ำเจ้าพระยา คือโครงการใหม่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล ซึ่งเดิมทีนั้นเป็นโครงการถนนเลียบริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ล่าสุดได้ปรับมาเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างเลนจักรยาน โดยมีกระทรวงมหาดไทยและ กทม. รับลูกดูแลโครงการนี้ต่อ ภายใต้งบประมาณเบื้องต้นราว 14,000

Read More