Home > Cover Story (Page 152)

พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ เกราะคุ้มครองคนทำงานสร้างสรรค์

  แม้ประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มาแล้วหนึ่งฉบับ ซึ่งประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2537 แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนใช้สื่ออินเทอร์เน็ตมากขึ้น ฤกษ์งามยามดี 4 สิงหาคม 2558 จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการบังคับใช้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้จะสอดคล้องกับนโยบายดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองผู้สร้างสรรค์งานทุกประเภทที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต อีกทั้งยังต้องสอดคล้องกับการใช้สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฉบับแรกไม่ได้ระบุบทลงโทษที่ชัดเจน สำหรับการกระทำความผิดฐานละเมิดทางอินเทอร์เน็ต แต่ถูกกำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ฉบับที่ 2 ชัดเจน นอกจากนี้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ ยังเปิดช่องให้เจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริงสามารถบังคับให้ผู้ที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ยุติการละเมิด ซ้ำยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนที่อยากผลิตนวัตกรรมหรือผลงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น  ทางด้าน สุเมธ สมคะเน ประธานสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย มองว่า “พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ฉบับที่ 2 มีความเป็นธรรมต่อเจ้าของผลงานมากขึ้น อีกทั้งยังคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่ได้มุ่งจะใช้งานลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ซึ่งการมีบทลงโทษที่ค่อนข้างหนักจะช่วยให้ผู้ใช้งานระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น”  ทั้งนี้สุเมธยังสนับสนุนหากประชาชนหรือผู้มีอาชีพสื่อมวลชนจะช่วยกันประชาสัมพันธ์เนื้อหาของ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ภายใต้นิยามที่มีความถูกต้องของรัฐบาล   แน่นอนว่า

Read More

จากเศรษฐกิจดิจิตอล สู่ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ฤาเป็นได้เพียงความพยายาม

  ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังชะลอตัว เห็นได้จากประมาณการตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจากหลายสำนัก ที่บอกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไม่สามารถเติบโตไปได้เท่าที่ควร แน่นอนว่าการคาดการณ์ดังกล่าวไม่อาจเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้มากนัก ในห้วงเวลานี้คงไม่ต้องเอ่ยถึงสถานการณ์การส่งออก ที่อาจเรียกได้ว่าจวนเจียนที่จะอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน รอคอยปาฏิหาริย์ที่จะสามารถพยุงให้ธุรกิจไม่สะดุดล้มไปเสียก่อน หรืออีกความหวังหนึ่งในการกอบกู้เศรษฐกิจคือ นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ที่อาจเป็นเสมือนพระเอกขี่ม้าขาวเข้ามาในเวลาที่ถูก และจังหวะที่เหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่านโยบายอันทันสมัยจะเหมาะกับผู้ใช้งานรุ่นเก่าได้หรือไม่ นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลเกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งบุคคลที่รับผิดชอบการขับเคลื่อนนโยบายนี้คือหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวเกิดจากการผลักดันของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งเคยประมาณการมูลค่าธุรกิจไอซีที ปี 2556 มีมูลค่าถึง 1.2 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) แบ่งเป็นธุรกิจ Telecommunications (ประกอบด้วยโทรศัพท์พื้นฐาน-เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต-กิจการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต) จำนวน 5 แสนล้านบาท ธุรกิจ Broadcasting จำนวน 1 แสนล้านบาท ธุรกิจ IT (Information Technology) จำนวน 1 แสนล้านบาท ธุรกิจ Digital Contents จำนวน 5 หมื่นล้านบาท

Read More

“แมคโดนัลด์” เปิดศึกรอบใหม่ บุกช่องทาง “อีซี่ออเดอร์”

 ในตลาดฟาสต์ฟู้ดมูลค่ากว่า 34,000 ล้านบาท นอกจากสงครามไก่ทอดแล้ว ต้องถือว่า “เบอร์เกอร์” แข่งขันรุนแรงไม่แพ้กัน และทุกค่ายล้วนยักษ์ใหญ่อินเตอร์แบรนด์ ทั้งเจ้าตลาดอย่าง “แมคโดนัลด์” “เบอร์เกอร์คิง” ของไมเนอร์กรุ๊ป “มอสเบอร์เกอร์” จากกลุ่มทุนญี่ปุ่น หรือล่าสุด “เทดดี้ส์ บิ๊กเกอร์” ที่บินตรงจากฮาวาย สหรัฐอเมริกา และยังมีผู้เล่นหน้าใหม่เตรียมกระโดดเข้าสู่สมรภูมิต่อเนื่อง เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินที่มีโอกาสเติบโตมากกว่า 6,000 ล้านบาท แม้ “แมคโดนัลด์” ยังสามารถยึดกุมส่วนแบ่งสูงสุดมากกว่า 85% ไว้อย่างเหนียวแน่น แต่คู่แข่งพยายามหยิบยกจุดขาย “เบอร์เกอร์ระดับพรีเมียม” เพื่อเจาะลูกค้าที่มีกำลังซื้อ คนรุ่นใหม่ และอัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเข้ามาทดลองชิมรสชาติแปลกใหม่ ทำให้เจ้าตลาดต้องเร่งหากลยุทธ์และขยายช่องทางจับลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพชรัตน์ อุทัยสาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท แมคไทย จำกัด ผู้บริหารร้านแมคโดนัลด์ เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ360 ํ” ว่า การมีคู่แข่งมากขึ้นจะทำให้ตลาดขยายตัว แต่อีกมุมหนึ่ง การแข่งขันรุนแรงมาก รวมถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป  ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทวางแผนและกลยุทธ์การทำตลาดหลัก 5

Read More

สงครามยักษ์ฟาสต์ฟู้ด จาก “ป๊อปอายส์” ถึง “เท็กซัสชิคเก้น”

  สมรภูมิฟาสต์ฟู้ดร้อนฉ่าขึ้นทันควัน เมื่อแบรนด์ไก่ทอดยักษ์ใหญ่ระดับท็อปทรีของโลก “เท็กซัสชิคเก้น (Texas Chicken)” ประกาศจับมือกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บุกตลาดเมืองไทยตามนโยบายบริษัทแม่ที่กำลังรุกขยายแนวรบสู่อาเซียนและเอเชีย โดยเตรียมกลยุทธ์เปิดสงครามแย่งชิงส่วนแบ่ง 2 คู่แข่งเจ้าตลาด “เคเอฟซี” และ “แมคโดนัลด์” มูลค่าเม็ดเงินมากกว่า 30,000 ล้านบาท  ตามแผนเบื้องต้น ปตท. ในฐานะมาสเตอร์แฟรนไชส์ จะนำร่องร้านเท็กซัสชิคเก้น  2 สาขาแรกในศูนย์การค้าใจกลางเมือง ช่วงปลายปี 2558 หลังจากนั้น เดินหน้าผุดร้านไม่ต่ำกว่า 70 สาขา ภายในระยะเวลา 5-10 ปี ในห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ และสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน เมื่อแบรนด์ติดตลาด ปตท. จะเปิดขายแฟรนไชส์ “เท็กซัสชิคเก้น” เพื่อปูพรมสาขาใหม่ๆ ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  ทั้งนี้ เท็กซัสชิคเก้น ถือเป็นแบรนด์ไก่ทอดเก่าแก่ โดย George W. Church

Read More

NDB และ AIIB สองพลังขับเคลื่อน “พญามังกร”?

 ข่าวสารว่าด้วยความเป็นไปของสังคมไทยในช่วงเดือนกรกฎาคมดูเหมือนจะให้น้ำหนักกับปัจจัยทางเศรษฐกิจมากขึ้นทุกขณะ และมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคณะรัฐมนตรีอยู่เป็นระยะ ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาสที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น ขณะที่ในระบบเศรษฐกิจภาพใหญ่ในระดับนานาชาติ ความเป็นไปในช่วงเดือนกรกฎาคมที่กำลังจะผ่านไปนี้ กลับปรากฏแรงกระเพื่อมที่ส่งผลต่อดุลยอำนาจของโลกมากพอสมควร และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลกอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้มาก่อน ต้องยอมรับว่า การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 7 (7th BRICS Summit) ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ในช่วงระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม อาจจะถูกบดบังด้วยข่าวการทรุดตัวลงของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จีน จนทำให้นักวิเคราะห์และผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อยต่างหวั่นวิตกว่าเศรษฐกิจจีนอาจกำลังเผชิญกับภาวะฟองสบู่แตก หากแต่ผลของการประชุมและการผสานเสียงของกลุ่มผู้นำประเทศทั้ง 5 ในกรอบความร่วมมือของ BRICS กลับดังกังวานและเริ่มปรากฏรูปธรรมชัดเจนด้วยการเปิดสำนักงานของ NDB (New Development Bank) ในนครเซี่ยงไฮ้ ของจีนเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา และกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นจักรกลในการท้าทายขั้วอำนาจในระบบเศรษฐกิจการเงินของโลกรายเดิม ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)  แม้สถาบันการเงินแห่งใหม่นี้ จะมีโครงสร้างการถือหุ้นและสิทธิในการออกเสียงระหว่าง 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง ที่ร้อยละ 20 อย่างเท่าเทียมกัน หากแต่ภายใต้การจัดตั้งกองทุนเงินสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉิน

Read More

เมื่อสาวมิสทิน สู่โลกดิจิตอล

  จากประโยคอมตะ นิ้ง…หน่อง “มิสทินมาแล้วค่ะ” ที่ดังฮิต เมื่อ 20 ปีก่อน และส่งต่อมาถึงปัจจุบัน ด้วยฝีมือ ของ ดร. อมรเทพ ดีโรจนวงศ์ ผู้พ่อ ก่อนที่จะส่งผ่านมายังซีอีโอหนุ่มไฟแรง ดนัย ดีโรจนวงศ์ ที่เข้ามาสานงานต่อ และสร้างความแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้มิสทินยุคใหม่ ที่มีความทันสมัยขึ้น    ล่าสุด เมื่อสองแบรนด์ยักษ์วงการธุรกิจชั้นแนวหน้าของประเทศไทย มิสทิน เครือข่ายเครื่องสำอางขายตรงอันดับหนึ่งของไทย จับมือกับ ทรูมูฟ เอช ผู้นำเครือข่ายเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ร่วมสร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกของวงการธุรกิจความงามและเทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้โครงการ "TRUE BEAUTY an unilimieted performance”       เป็นการผนึกกำลังที่อลังการไม่น้อย นับเป็นก้าวแรกและก้าวต่อไปของสองธุรกิจนี้ และถือว่าเป็นการปรับตัวและตอบรับเทคโนโลยีของธุรกิจขายตรง ธุรกิจความงาม อย่างมิสทิน ขณะที่ TRUE เองก็จะได้ฐานลูกค้า 1 ล้านราย หันมาใช้ซิมมิสทิน และได้รับส่วนแบ่งการตลาดของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น

Read More

อีโคเวสท์จับมือซาทาเรม โหนนโยบายรัฐ ผุดโรงไฟฟ้าขยะ

 ขยะมูลฝอยที่สะสมตกค้างอยู่ในหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ส่งผลกระทบตามมาในหลายด้าน ทั้งมลภาวะทางอากาศ ปิดกั้นช่องทางระบายน้ำ ซึ่งทำให้น้ำท่วมแทบจะทันทีที่ฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน กระทั่งรัฐบาลต้องประกาศให้การจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติ โดยหวังให้หลายฝ่ายร่วมมือในการหาหนทางแก้ปัญหาที่จีรังยั่งยืน แน่นอนว่าเมื่อภาครัฐมีนโยบาย ผู้ตอบสนองไม่ได้มีแค่หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลเท่านั้น หากแต่ภาคเอกชนที่พอจะมองเห็นช่องทางในการสร้างผลกำไรสายธุรกิจพลังงาน ต่างเข้าร่วมโหนกระแสนี้ด้วยการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ทั้งกลุ่ม SAMART และล่าสุด อีโค เวสท์ และซาทาเรม จับมือกันเดินเข้าสู่ธุรกิจนี้เช่นกัน บริษัท อีโค เวสท์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด ที่มี ธีรศักดิ์ สุวรรณยศ นั่งแท่นประธานกรรมการ ด้วยประสบการณ์ด้านการเงินและการวิเคราะห์โครงสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ ร่วมทุนกับ บริษัท ซาทาเรม (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทสัญชาติสวิส ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการบริหารจัดการของเสีย และการบริหารจัดการด้านพลังงานทางเลือก เทงบประมาณ 2.1 พันล้านบาท ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะโดยประเดิมที่แรก ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ถือได้ว่าอีโค เวสท์เป็นบริษัทแรกที่มีการร่วมทุนกับเจ้าของเทคโนโลยีอย่างซาทาเรม โดยมีสัดส่วนการถือครองหุ้น 75% และซาทาเรม ถือหุ้น 25%  ทั้งนี้โรงไฟฟ้าขยะท่าโรงช้างจะใช้เทคโนโลยีระบบตะกรับเคลื่อนที่ (Mechanical Moving

Read More

“ขยะ” วาระแห่งชาติ จากมูลฝอยสู่พลังงานทดแทน

  เหตุการณ์น้ำท่วมขังบนพื้นผิวถนนหลังจากฝนตกได้ไม่นาน แม้จะเป็นเรื่องที่เห็นจนชินตาและคาดเดาได้ง่าย รวมไปถึงต้นสายปลายเหตุที่รับรู้โดยทั่วกันว่ามาจากการสะสมของปริมาณขยะมูลฝอยบริเวณท่อระบายน้ำ แต่ดูเหมือนว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนเสียที อีกทั้งระบบการกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานและขาดประสิทธิภาพ จึงเป็นการซ้ำเติมปัญหามลพิษให้รุนแรงมากขึ้น ดังที่ปรากฏให้เห็นมาแล้วจากการเกิดเพลิงไหม้บ่อขยะหลายแห่ง  จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อรัฐบาลผู้ชอบแก้ไขออกประกาศให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำโรดแมป เพื่อจัดการปัญหาขยะและของเสียอันตรายที่สั่งสมเป็นจำนวนมาก โดยทิศทางของรัฐบาลคือการแปรรูปขยะมาเป็นพลังงาน โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจำนวน 53 โรงทั่วประเทศ แน่นอนว่าปัญหาในพื้นที่กรุงเทพมหานครน่าจะอยู่ภายใต้การดูแลของ กทม. หากแต่การหนีปัญหาด้วยการย้ายขึ้นไปอยู่บนดอยเพื่อที่จะไม่ต้องพบกับปัญหาน้ำท่วมขัง หรือการเชิญชวนให้ช่วยกันภาวนาให้ฝนตกเพื่อแก้ไขวิกฤตน้ำแล้ง ซึ่งปัญหาเหมือนจะรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา และนั่นไม่ใช่ทางออกที่ฉลาดนัก องค์กรความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่นหรือไจก้า ประมาณการว่าประเทศไทยผลิตขยะเฉลี่ย 13,000 ตันต่อวัน หรือประชากรหนึ่งคน ผลิตขยะประมาณ 1.2 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่ง กทม. สามารถจัดเก็บขยะได้ประมาณ 9,000 ตันต่อวัน ซึ่งส่วนที่เหลือเป็นขยะตกค้างตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ทั้งนี้สำนักสิ่งแวดล้อมจึงแก้ปัญหาการลักลอบทิ้งขยะบริเวณดังกล่าวโดยการจัดทำเป็นสวนหากพบว่าบริเวณนั้นมีการทิ้งขยะ  แนวทางดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากแต่การแก้ปัญหาขยะที่กำลังล้นเมืองอยู่ในขณะนี้นั้น หนทางที่อาจเรียกได้ว่าจีรังยั่งยืนคือการสร้างวินัยของคนไทย ให้รู้จักและเข้าใจแยกแยะขยะได้ ซึ่งจะนำไปสู่การคัดแยกก่อนทิ้งอย่างถูกต้อง ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี นั่นเพราะญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาวิกฤตขยะเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งญี่ปุ่นประกาศให้ปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติไม่ต่างจากไทย  หากแต่การที่รัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำ “คู่มือการอยู่อาศัย” ที่อธิบายถึงลักษณะของขยะแต่ละชิ้น และแยกแยะอย่างละเอียด ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ทั้งนี้ญี่ปุ่นแบ่งประเภทของขยะดังนี้ ขยะเผาได้ เป็นวัสดุที่เผาไฟได้ ขนาดไม่ใหญ่เกินไป ขยะเหล่านี้จะถูกนำไปเผาในเตาเผาขยะและนำพลังงานความร้อนมาผลิตกระแสไฟฟ้าส่งขายให้การไฟฟ้า ขยะเผาไม่ได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากแก้ว ยาง

Read More

จาก “เมกา” สู่ “เวสต์เกต” “อิเกีย” ลุยสูตรสำเร็จ

 “อิเกีย” ตัดสินใจล้มแผนทุ่มทุนผุดสาขา 2 ในโครงการ “เมกาบางใหญ่” หันมาเช่าพื้นที่บิ๊กโปรเจ็กต์ “เซ็นทรัลพลาซาเวสต์เกต” ซึ่งค่ายซีพีเอ็นประกาศจะเป็น “ซูเปอร์รีจินัลมอลล์” แห่งเซาท์อีสต์เอเชีย ในเนื้อที่ 100 ไร่ พื้นที่มากกว่า 500,000 ตารางเมตร พลิกกลยุทธ์เปลี่ยนจาก “คู่แข่ง” ฝั่งตรงข้าม เป็น “พันธมิตร” และ “แม็กเน็ต” ชิ้นสำคัญที่เสริมจุดขายซีพีเอ็นอย่างแข็งแกร่ง มีการวิเคราะห์กันว่า สาเหตุสำคัญอาจเกิดจากอิคาโน่กรุ๊ป บริษัทแม่ของอิเกียและสยามฟิวเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ ในฐานะพันธมิตรร่วมทุนโครงการเมกาบางนา ที่ใช้เม็ดเงินมากกว่า 12,000 ล้านบาท ไม่สามารถกว้านซื้อที่ดินผืนใหญ่ แม้พยายามไล่เก็บที่ดินหลายแปลงแล้วก็ตาม จากเดิมตั้งเป้าผุดโครงการ “เมกาบางใหญ่” บริเวณหัวมุมทางแยกต่างระดับบางใหญ่ เพื่อเปิดอิเกียสโตร์ สาขา 2 และพัฒนาโครงการศูนย์การค้าครบวงจร “เมกาบางใหญ่” รูปแบบเดียวกับเมกาบางนา มีทั้งห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ร้านอาหารและร้านค้านับร้อย เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ซึ่งต้องการเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 250 ไร่  ส่วนโครงการเมการังสิต ตามแผนปักหมุดอยู่บริเวณจุดตัดมอเตอร์เวย์กับถนนรังสิต-นครนายก คาดว่าจะสามารถหาที่ดินแปลงใหญ่ขนาด

Read More

“เจริญ” เปิดศึกระลอกใหม่ ไล่บี้เป้าหมายยึดตลาดรีเทล

 เจริญ สิริวัฒนภักดี ประกาศวิสัยทัศน์ชัดเจนตั้งแต่เปิดตัวบิ๊กโปรเจ็กต์ “เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนท์” ต้องการเป็นผู้นำธุรกิจศูนย์การค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ภายใน 10 ปี โดยเร่งสร้างและขยายแบรนด์ค้าปลีกในอาณาจักร เพื่อผุดสาขาทั้งในไทยและบุกทุกประเทศของภูมิภาค แต่ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เจริญต้องปรับกระบวนทัพหลายรอบและดูเหมือนว่า ปี 2558 จะเป็นก้าวย่างสำคัญในการเปิดศึกค้าปลีกระลอกใหม่อย่างเต็มรูปแบบ   จากเดิม “ทีซีซีแลนด์” ที่มีวัลลภา และโสมพัฒน์ ไตรโสรัส เป็นผู้กุมบังเหียนหลักและแบ่งแยกทีมดูแลแบรนด์ค้าปลีกแต่ละแบรนด์ เจริญสั่งปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กลุ่มรีเทล โดยจัดตั้งบริษัทลูก ทีซีซีแลนด์ แอสเสท เวิลด์ รวมการบริหารงานกลุ่มค้าปลีกทุกแบรนด์และอยู่ภายใต้นโยบายการบริหารของทีซีซีแลนด์  ประกอบด้วย 1. เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนท์  2. เกตเวย์ เอกมัย 3. เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ 4. พันธุ์ทิพย์  ซึ่งล่าสุดมี 3 สาขาที่ประตูน้ำ งามวงศ์วาน และบางกะปิ 5.

Read More