Home > Cover Story (Page 146)

ปตท. เปิดศึกครบสูตร “พีที” เร่งเครื่องทิ้ง “บางจาก”

 การบุกธุรกิจนอนออยล์อย่างจริงจังของ ปตท. ในช่วงหลายปีจนรั้งตำแหน่งผู้นำแซงคู่แข่ง กลายเป็นบทพิสูจน์ทั้งในแง่รายได้ กำไร และความอยู่รอด ท่ามกลางสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงต่อเนื่อง ล่าสุด ปตท. เดินหน้าผลักดันสัดส่วนรายได้จากธุรกิจนอนออยล์เทียบกับธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน ไม่ใช่  50:50 แต่จะเพิ่มเป็น 60:40 ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า  ตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จากงบลงทุนหน่วยธุรกิจน้ำมันระยะ 5 ปี (ปี  2559-2563) ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท จะใช้ขยายและปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน 8,000 ล้านบาท ธุรกิจค้าปลีก 2,000 ล้านบาท ธุรกิจก๊าซหุงต้ม (LPG) 2,500 ล้านบาท ที่เหลือ 7,500 ล้านบาท ใช้ในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ลงทุนคลังน้ำมันและระบบท่อต่างๆ  ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจเสริมในสถานีบริการน้ำมันไม่ใช่น้ำมัน หรือนอนออยล์ (non-oil) ซึ่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกน้ำมันจะเน้นแผนขยายแฟรนไชส์ร้านคาเฟ่อเมซอนเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 1,400 สาขา

Read More

“เชลล์-เอสโซ่” รุกนอนออยล์ พลิกฟื้นทวงส่วนแบ่งตลาด

 บริษัทน้ำมันต่างชาติ ทั้ง “เชลล์” และ “เอสโซ่” ประกาศบุกธุรกิจกลุ่มนอนออยล์ (Non-oil) ครั้งใหญ่ หลังหยุดการรุกตลาดมานานเกือบสิบปี โดยเตรียมเงินลงทุนก้อนใหญ่และแผนระดมพันธมิตร เพิ่มแม็กเน็ตชิ้นใหม่ ที่สำคัญชูจุดขายบริการระดับพรีเมียม เพื่อสร้างจุดต่างและช่วงชิงแชร์จากปั๊มน้ำมันสัญชาติไทย 2 ยักษ์ใหญ่ อย่าง ปตท. และบางจาก ทั้งนี้ หากไล่เรียงอันดับในตลาดค้าปลีกน้ำมันสำเร็จรูปกลุ่มท็อปไฟว์ อันดับ 1 ได้แก่ ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 38% ทิ้งห่างอันดับ 2 และ 3 ซึ่งวิ่งคู่คี่กันระหว่างบางจากและเอสโซ่ ส่วนแบ่งใกล้เคียงกันประมาณ 10-11% ตามด้วยค่ายเชลล์อยู่ที่ 9% และคาลเท็กซ์ 7.2% ขณะที่ถ้าวัดจำนวนสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ล่าสุดอยู่ที่ 1,600 แห่ง รวมปั๊ม ปตท.-เจ็ท บางจากอยู่ที่ 1,000 แห่ง เอสโซ่ 530 แห่ง เชลล์ 500

Read More

ยูกิ ขุมกำลังใหม่ของสิงห์ กับธุรกิจนอนแอลกอฮอลล์

  ท่วงทำนองการก้าวเดินบนเส้นทางสายธุรกิจของ สิงห์ คอร์เปอเรชั่น ดูเหมือนจะดำเนินไปในทิศทางที่ไม่แตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ มากนัก เมื่อยังต้องฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์เพื่อผลักดันให้ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ติดอันดับต้นๆ ของความต้องการของผู้บริโภค เพื่อหวังมาร์เก็ตแชร์ของตลาดให้ได้มากที่สุด หากแต่เมื่อมองย้อนไปเมื่อปลายปี 2557 การขยับตัวของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างสิงห์ที่ดูเหมือนเป็นการปรับกลยุทธ์ที่ชัดเจนขึ้น เมื่อธุรกิจนอนแอลกอฮอลล์ถูกให้ความสำคัญและเป็นหมากตัวสำคัญในเกมการแข่งขันของสิงห์มากขึ้น ประกอบกับหมุดหมายในเรื่องของรายได้ที่ต้องการสูงขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ “สิงห์ ปาร์ค” จับมือกับผู้ผลิตชาเขียวจากญี่ปุ่นอย่าง “มารุเซ็น ที เจแปน” ปั้นแบรนด์ชาเขียวแบบมัทฉะ ที่จะเน้นการส่งออกต่างประเทศมากกว่าการทำตลาดในประเทศ ถัดมาคือการร่วมมือกันระหว่าง บริษัท วราฟู๊ดส์ ในเครือสิงห์ คอร์เปอเรชั่น และบริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล ซึ่งตั้งบริษัทร่วมทุนในชื่อบริษัท DVS 2014 จำกัด โดยจะเน้นไปที่ธุรกิจกาแฟและยังขยายไปสู่รีเทลมากขึ้น และล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไปหมาดๆ แม้ว่าจะเปิดบริษัทร่วมทุนกันไปตั้งแต่ต้นปีแล้วก็ตามระหว่าง บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น บริษัท เฮสโก ฟู้ด อินดัสทรี และบริษัท ซังโกะ เซกะ ผู้ผลิตและจำหน่ายขนม Sambe (เซมเบ้) ขนมอบกรอบที่มียอดขายอันดับ 1

Read More

ขวบปีแรกของสิงห์-มารุเซ็น ผลผลิตใหม่จากยอดชา

 ระยะเวลาหนึ่งปีที่สิงห์-มารุเซ็น เปิดตัวและก่อตั้งโรงงานสำหรับผลิตชาเขียวญี่ปุ่น แม้ว่าในเวลานั้นผู้บริหารอย่างพงษ์รัตน์ เหลืองธำรงเจริญ จะไม่สามารถให้รายละเอียดที่เกี่ยวกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้มากนัก หากแต่ในห้วงเวลานี้สิงห์คงจะสามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำมากขึ้นเมื่อ สิงห์-มารุเซ็น พร้อมที่จะส่งผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “ความภาคภูมิใจจากดินแดนเชียงราย” ออกสู่ตลาดเสียที ซึ่งความภูมิใจนั้นน่าจะมาจากการเพาะปลูกและผลิตชาเขียวญี่ปุ่นนอกประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกบนที่ดินของ สิงห์ ปาร์ค เชียงราย การเติบโตของสิงห์-มารุเซ็น ดูเหมือนจะส่งผลให้ผู้บริหารมือใหม่อย่าง พงษ์รัตน์ เหลืองธำรงเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มารุเซ็น ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด แสดงวิสัยทัศน์ได้ชัดเจนขึ้น พร้อมทั้งเปิดเผยถึงเป้าหมายของบริษัทว่าจะมีการเริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์ชาเขียวไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งตลาดหลักจะอยู่ที่ภูมิภาคอาเซียน แต่ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมารุเซ็น ที เจแปน จะทำการตลาดเอง รวมไปถึงแนวทางการทำตลาดของชาเขียวมารุเซ็น จะเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายหลัก 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกคือ ธุรกิจ B2B ประกอบด้วยกลุ่มโฮเรก้า (HoReCa) โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร และธุรกิจรับจัดเลี้ยง ซึ่งในกลุ่มนี้จะส่งผลิตภัณฑ์ชาเขียวมัทฉะ หรือชาเขียวชนิดผง (Matcha) สำหรับกลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้บริโภคทั่วไป B2C ซึ่งจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางค้าปลีก เช่น ท็อป

Read More

ส่องสมรภูมิค้าปลีกไทย ขุมทรัพย์หรือกับดักธุรกิจ

 ศักราชใหม่ปี 2559 ได้เริ่มขึ้นแล้ว และถ้อยวลีที่ว่า “ยุ่งเหยิงเหมือนลิงแก้แห” กำลังปรากฏภาพให้เห็นประจักษ์ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ และกำลังส่งผลกระทบแผ่ซ่านไปทั่วทั้งองคาพยพของสังคม  เพราะไม่เพียงแต่จะมีประเด็นให้ต้องขบคิดในเชิงสังคมการเมืองที่ดูเหมือนจะหาทางออกและจัดวางหนทางไปสู่การปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมชัดเจนได้อย่างยากลำบากแล้ว ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ยาวนานก็ยังไม่ปรากฏสัญญาณเชิงบวกให้ได้ขานรับกันมากนัก กรณีดังกล่าวนี้ส่งผลต่อบรรยากาศและสังคมจิตวิทยาอย่างกว้างขวางและกำลังขยายไปสู่ภาวะชะลอตัวในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายอย่างต่อเนื่องไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ธุรกิจค้าปลีกไทยที่เคยมีอัตราการเติบโตแข็งแกร่งได้รับการระบุว่าเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นประหนึ่งดัชนีบ่งชี้และสะท้อนทิศทางของเศรษฐกิจว่าดำเนินไปในทิศทางใด กำลังเผยให้เห็นข้อเท็จจริงและแนวโน้มความเชื่อมั่นที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคตอย่างยากจะปฏิเสธ ความมุ่งหมายของภาคธุรกิจเอกชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการของรัฐในช่วงไตรมาสที่ 4 ดูเหมือนจะไม่ได้ประโยชน์โพดผลตามที่คาดหวังเท่าใดนัก เพราะการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจจากมาตรการของรัฐกว่าจะเริ่มปรากฏผลก็ต้องรอไปอีกอย่างน้อย 3-6 เดือนข้างหน้า และมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถประคับประคองสถานการณ์ใดๆ ไว้ได้ ความตกต่ำลงของราคาพืชผลทางการเกษตรประกอบกับภาวะหนี้ครัวเรือน อาจทำให้ผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างได้รับผลกระทบในมิติของกำลังซื้อ ในขณะที่ลูกค้ากลุ่มกลาง-บน ซึ่งแม้จะมีกำลังซื้อล้นเกินแต่ก็เป็นเพียงกลุ่มประชากรบนยอดพีระมิด ที่ไม่ได้หนุนนำพลวัตในระบบเศรษฐกิจมากนัก ความเป็นไปในธุรกิจค้าปลีกท่ามกลางภาวะที่ขาดปัจจัยบวกหรือตัวแปรที่จะมากระตุ้นธุรกิจอุตสาหกรรมให้กลับมาเติบโตเช่นในอดีต ได้รับการเติมเต็มด้วยมาตรการระยะสั้น จากกระทรวงการคลังที่เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณามาตรการภาษีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2558 จำนวน 1 มาตรการ  มาตรการที่ว่านี้คือการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในระหว่างวันที่ 25-31 ธันวาคม 2558 จากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบตาม ม.86/4 แห่ง ป.รัษฎากร แต่ไม่รวมถึงการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลไกภาครัฐพยายามส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการระยะสั้น เพราะก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการสำหรับวันที่

Read More

2559 จุดเปลี่ยนค้าปลีกไทย จุดจบไฮเปอร์มาร์เก็ต?

 ความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจไทยในช่วงปลายปี 2558 ต่อเนื่องสู่ศักราชใหม่ปี 2559 นอกจากจะปกคลุมด้วยเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเชื่อว่าอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมในระยะถัดจากนี้ไม่น้อยแล้ว ธุรกิจค้าปลีกไทยก็คงเป็นอีกสมรภูมิหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวน่าสนใจติดตามและกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่จุดเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้ความเป็นไปของธุรกิจที่เคยเชื่อกันว่าเป็นจักรกลสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวยิ่งขึ้นนี้ถึงคราเสื่อมมนตร์เลยทีเดียว เพราะหากประเมินจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2556 ซึ่งธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่งมีมูลค่ารวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท และมีสัดส่วนเป็นอันดับ 2 หรือร้อยละ 13.4 รองจากภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 38.1 และมีการจ้างงานมากเป็นอันดับ 3 รองจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรม หรือมีจำนวนแรงงานกว่า 4 ล้านราย จากการจ้างงานของคนไทยอยู่ที่ 38 ล้านคนแล้ว ภาวะเศรษฐกิจไทยและธุรกิจค้าปลีกของไทยในช่วงเวลานับจากนี้อาจเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงขาลงหรือพ้นจากยุครุ่งเรืองไปแล้ว แม้ว่าก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์และคาดการณ์จำนวนไม่น้อยจะเชื่อว่าสถานการณ์โดยรอบจะเอื้อให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสามารถเติบโตต่อเนื่องและขยายตัวในอัตราเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 7-8 ต่อปี หากแต่สถานการณ์ที่ปรากฏขึ้นอยู่จริงเบื้องหน้ากลับพบว่า ธุรกิจค้าปลีกโดยรวมในปี 2558 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 3.2 จากเดิมที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยละ 5 ตลอดช่วงเวลาจากปี 2553-2557  เหตุปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกเดินทางมาถึงจุดที่ตีบตันในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัวส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่อยู่ในระดับกลางและล่างซึ่งถือเป็นฐานผู้บริโภคหลักของธุรกิจนี้ สำนักวิจัยและคาดการณ์ทางเศรษฐกิจจำนวนไม่น้อยต่างประเมินทิศทางของธุรกิจค้าปลีกไทยในช่วงปี 2559 ว่าจะเติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อยและอาจชะลอตัวต่ำกว่าปีก่อนหน้าด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นประหนึ่งสัญญาณเตือนภัย ที่ดูจะมีความจริงจังและมีน้ำหนักมากกว่าการโหมประโคมข่าวผลงานไร้ราคาที่พยายามอวดอ้างกันเสียอีก ฐานลูกค้าระดับ กลาง-ล่าง ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการอุ้มชูธุรกิจค้าปลีกไทยให้จำเริญเติบโตมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกำลังถูกข้อเท็จจริงจากสภาพเศรษฐกิจกัดกร่อนและทำลายให้อ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในภาวะที่ด้อยหรือไม่มีกำลังซื้อ จากผลของปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ประชากรในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำทำให้รายได้ลดลงอีกด้วย ธุรกิจค้าปลีกในกลุ่มซูเปอร์สโตร์

Read More

คลื่นความถี่ไม่มีพรมแดน

 ข่าวการประมูลคลื่นความถี่ในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ คงต้องถือเป็นข่าวใหญ่ประจำปี ซึ่งอาจจะมีผลต่อเนื่องไปสู่การปรับภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมของไทยในอนาคตไม่น้อย แต่สำหรับศรีลังกาประเทศที่มีประชากรประมาณ 21 ล้านคนบนพื้นที่ 6.56 หมื่นตารางกิโลเมตรแห่งนี้ ประเด็นว่าด้วยเทคโนโลยี 2G หรือ 3G ดูจะเป็นสิ่งที่โพ้นไปจากความสนใจในการสนทนามานานแล้ว โดยศรีลังกานับเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ที่ได้รับบริการจากระบบ 4G-LTE มาตั้งแต่เมื่อปี 2012-2013 แล้ว ตัวเลขที่น่าสนใจจากการสำรวจในช่วงปีที่ผ่านมาก็คือ ศรีลังกามีจำนวนคู่สายของโทรศัพท์ติดตั้งตามบ้าน (fixed landline) อยู่เพียง 2.6 ล้านเลขหมาย ซึ่งถือเป็นความเข้มข้น (teledensity) ในสัดส่วน 13: 100 หลังคาเรือนซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน้อยมาก หากแต่จำนวนหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของศรีลังกากลับมีมากถึง 22 ล้านเลขหมาย ซึ่งทำให้สัดส่วนของประชากรต่อจำนวนผู้ใช้บริการมีสัดส่วนเป็น 100:107 ซึ่งสะท้อนภาพการเติบโตของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของศรีลังกาได้เป็นอย่างดี ความเป็นไปของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือในศรีลังกาในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนการแข่งขันของผู้ประกอบการระดับภูมิภาคที่มีนัยความหมายกว้างไกลชวนให้สนใจติดตาม เพราะด้วยขนาดของตลาดที่ดูเหมือนจะจำกัดอยู่ด้วยประชากร 20 ล้านคนนี้ กลับปรากฏว่าสมรภูมิโทรศัพท์มือถือของศรีลังกากลายเป็นสนามแข่งขันที่มีผู้สนใจเข้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง Sri Lanka Telecom ซึ่งมีสถานะวิสาหกิจของรัฐและเป็นผู้ดูแลโครงข่ายโทรคมนาคมหลักของประเทศ เป็นผู้ให้บริการที่ครอบคลุมทั้ง fixed line และโทรศัพท์เคลื่อนที่ในนาม Mobitel ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายแรกๆ ของศรีลังกา มาตั้งแต่เมื่อปี

Read More

คอมมูนิตี้มอลล์ สมรภูมิของผู้เล่นใหม่

 ขณะที่บรรดายักษ์ค้าปลีกกำลังพุ่งเป้าสร้างอาณาจักร “มิกซ์ยูส” เงินทุนหลายหมื่นล้าน ดูเหมือนว่าตลาดคอมมูนิตี้มอลล์ หรือศูนย์การค้าชุมชนยังเป็นสมรภูมิของผู้เล่นหน้าใหม่ที่เข้ามาทดสอบฝีมืออย่างต่อเนื่อง จนถือเป็นกลุ่มค้าปลีกที่มีอัตราขยายตัวสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดมีพื้นที่รวมทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากกว่า 1.1 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปี 2550 เกือบ 4 เท่าตัว ปี 2559 ยังคาดอีกว่าจะมีผู้ประกอบการต่อคิวเปิดโครงการใหม่นับสิบราย ไม่รวมกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่พยายามขยายไลน์ผูกขาดธุรกิจรีเทลทุกเซกเมนต์ อย่าง “ทีซีซีแลนด์” ของ เจริญ สิริวัฒนภักดี หลังปรับกระบวนทัพหลายรอบ และวางแผนลงทุนระยะ 5 ปีข้างหน้า  ทุ่มเม็ดเงินมากกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อสยายปีกธุรกิจรีเทลในเครือ  ทั้ง “เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์” ที่เดิมเริ่มต้นจากคอมมูนิตี้มอลล์ และขยายสู่โครงการมิกซ์ยูสเจาะทำเลเมืองท่องเที่ยว ปรับโฉมศูนย์การค้าอีก 3 แบรนด์ ได้แก่ ศูนย์การค้าเกตเวย์ ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ และศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ขณะที่เปิดตัว “บ็อกซ์ สเปซ” เพื่อรุกตลาดคอมมูนิตี้มอลล์อย่างจริงจัง สำหรับแบรนด์ บ๊อกซ์

Read More

สงคราม “มิกซ์ยูส” 6 ยักษ์ชิงฮับค้าปลีก

 เร็วๆ นี้ อิคาโน่กรุ๊ปและกลุ่มผู้ร่วมทุน “เมกาบางนา” จะออกมาเปิดเผยรายละเอียดและความคืบหน้าของโครงการ “เมกาซิตี้” ที่จะขยายเพิ่มอีก 150 ไร่ หลังซุ่มเงียบนานนับปี เช่นเดียวกับเหล่ายักษ์ค้าปลีกที่เร่งผลักดันบิ๊กโปรเจกต์ ซึ่งจะพลิกโฉมสมรภูมิค้าปลีกไทยแนวใหม่สู่โครงการมิกซ์ยูส รูปแบบ “เมือง” เพื่อช่วงชิงการเป็น “ฮับ” อย่างดุเดือด ประเมินกันว่า ปี 2559 จำนวนพื้นที่ค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นอีก 300,000 ตารางเมตร และปี 2560 จะเพิ่มขึ้นอีก 500,000  ตร.ม. เนื่องจากมีทั้งความต้องการพื้นที่ค้าปลีกของแบรนด์ต่างชาติและโครงการมิกซ์ยูสเริ่มเปิดตัว ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัย เกิดชุมชนใหม่ รวมถึงกลุ่มชาวต่างชาติที่จะหลั่งไหลเข้ามาหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมชุดใหญ่ของรัฐบาล ก่อนหน้านี้ คริสเตียน โอลอฟสัน ประธานกรรมการบริหารและผู้จัดการศูนย์การค้าเมกาบางนา บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด เคยให้รายละเอียดของ “เมกาซิตี้” ว่าเป็นโครงการมิกซ์ยูส เพื่อปลุกทำเล “ดาวน์ทาวน์” ใหม่ย่านชานเมืองและสร้าง “ฮับ” ให้ทุกคนใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างครบวงจร ทั้งอยู่อาศัย ทำงาน

Read More

แผนปลุกแลนด์มาร์ครังสิต แจ้งเกิด “ฟิวเจอร์ซิตี้”

 พิมพ์ผกา หวั่งหลี ใช้เวลา 20 ปี ปลุกปั้นที่ดินผืนใหญ่ 600 ไร่ มรดกตกทอดจากย่าทองพูล หวั่งหลี จนกลายเป็นแลนด์มาร์คย่านรังสิต ปรับกลยุทธ์และฝ่าวิกฤตหลายรอบ ล่าสุดเปิดโครงการ Zpell @ Futurepark  ปรับภาพลักษณ์ใหม่ ไม่ใช่แค่ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ตอนเหนือ แต่เป็นศูนย์การค้าที่ทันสมัยของกลุ่มลูกค้าทุกไลฟ์สไตล์ และกำลังเร่งต่อจิ๊กซอว์แจ้งเกิดอาณาจักร “ฟิวเจอร์ซิตี้ (Future City)” เต็มรูปแบบ หลังประกาศแนวคิดนี้มานานกว่า 10 ปี  จาก “ห้างกลางทุ่งนา” เมื่อครั้งอดีต ที่ใครๆ มักกระทบกระเทียบว่า “จะเปิดร้านไปขายให้ควายที่ไหน” แต่ ณ วันนี้ ย่านรังสิตหรือพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนเหนือต่อเนื่องกับจังหวัดปทุมธานีกลายเป็นทำเลทอง แหล่งชุมชนหนาแน่น เฉพาะพื้นที่คลอง 1-6 จากข้อมูลของบริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายทั้งหมด 67 โครงการ แยกเป็นโครงการบ้านจัดสรร

Read More