Home > Cover Story (Page 143)

บทเรียนจาก “มาเก๊า” สู่ “ไทย” ปลุกธุรกิจท่องเที่ยว ล้างภาพเมืองกาสิโน

  แม้ “มาเก๊า” สามารถใช้จุดขายความเป็น “นครแห่งกาสิโน” สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า  26,300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 920,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้มาจากธุรกิจเกมการพนันถึง 80% หรือมากกว่า 700,000 ล้านบาท จนเกิดแรงดึงดูดให้หลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย เกิดแนวคิดเปิดบ่อนกาสิโนเสรี แต่จุดขาย “เมืองกาสิโน” กลับเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของรัฐบาลมาเก๊า โดยเฉพาะการสร้างจุดขายใหม่ เพื่อผลักดันธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตอย่างยั่งยืน   ล่าสุด รัฐบาลมาเก๊าเตรียมประกาศแผนแม่บทพลิกโฉมธุรกิจการท่องเที่ยวครั้งใหญ่ เพื่อเปลี่ยนแปลง (Transform) ภาคธุรกิจท่องเที่ยวให้มาเก๊าเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการพักผ่อนของโลก (World Center Tourism and Leisure) และเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก (World Class Destination) ภายในปี 2020 หรือปี 2563 โดยเร่งเดินสายบุกตลาดเป้าหมายทั่วโลก  เคธี่ ยง หัวหน้าส่วนการสื่อสารภายนอก การท่องเที่ยวมาเก๊า เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวมาเก๊าเข้ามาจัดการประชุมในกรุงเทพฯ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในไทยและสร้างการรับรู้แบรนด์ “มาเก๊า” ที่หลากหลายมากขึ้น

Read More

สหพัฒน์ ลุยสถาบันยุทธศาสตร์ ปั้น “ทายาทธุรกิจ” แก้ปัญหา “คน”

  ตระกูล “โชควัฒนา” กลายเป็นหนึ่งใน 21 คนไทยที่ถูกกระแสข่าวเชื่อมโยงเป็นลูกค้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมายและการลงทุนในปานามา “มอสแซค ฟอนเซกา” จากเอกสาร “ปานามาเปเปอร์” ซึ่งบอกกล่าวการฟอกเงินกว่า 11.5 ล้านฉบับ กลุ่มลูกค้ามีทั้งผู้นำและอดีตผู้นำประเทศ นักธุรกิจ กลุ่มเศรษฐี คนดังในวงการบันเทิงและกีฬา  ล่าสุด บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในเครือสหพัฒน์ออกมาปฏิเสธและยืนยันหนักแน่นไม่มีเอี่ยวแน่นอน คำถามเกิดขึ้นทันที พร้อมๆ กับการไล่ตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน ทั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ต้องยอมรับว่า เครือสหพัฒน์ชูภาพลักษณ์ความเป็นองค์กรธุรกิจแห่งความซื่อสัตย์มาตลอด ผู้บริหารประกาศเจตนารมณ์กับสื่อทุกครั้งว่าจะไม่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอบายมุข และที่น่าสนใจก็คือ เครือสหพัฒน์เพิ่งจัดตั้ง “สถาบันยุทธศาสตร์ธุรกิจเชิงบวก (Institute of Strategic and Appreciative Business) หรือ I-SAB” โดยหมายมั่นปั้นให้เป็นสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีทั้งคุณภาพและคุณธรรมตามแนวทางของผู้ก่อตั้งอย่าง ดร. เทียม โชควัฒนา ซึ่งมีปรัชญาคุณธรรมถึง 100

Read More

วิกฤตกำลังซื้อ “สหพัฒน์” เร่งเกมรุกสู้

  เศรษฐกิจไทยยังไม่พ้นวิกฤต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคตกต่อเนื่องต่ำสุดในรอบ 5 เดือน และล่าสุดคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับเป้าหมายการส่งออกของไทยปี 2559 จากเดิมจะขยายตัว 2% เหลือ 0-2% ผลพวงพิษเศรษฐกิจโลกหดตัว การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำและปัญหาภัยแล้ง ที่สำคัญปัญหาหนี้ครัวเรือนยังพุ่งสูง กำลังซื้อลดวูบ ทั้งหมดบีบให้กลุ่มธุรกิจรีบหนีตาย ไม่เว้นแม้กระทั่ง “สหพัฒน์” ยักษ์ใหญ่กลุ่มคอนซูเมอร์ที่เร่งเกมรุกสู้วิกฤตอย่างเข้มข้นตั้งแต่ต้นปี แม้ลึกๆ แล้ว บุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ยังเชื่อมั่นการทำงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เชื่อมั่นว่าคนไทยยังมีกำลังซื้อและมีปัญหาเพียงแค่ “ขาดความมั่นใจ” ต่อสถานการณ์ต่างๆ ในประเทศ จึงไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย  แต่อีกด้านหนึ่ง หลายภาคส่วนยังยืนยันถึง “วิกฤตกำลังซื้อ” ซึ่งทำให้สหพัฒน์เตรียมงบสูงกว่าปีก่อนเกือบเท่าตัว เพื่ออัดแผนกระตุ้นตลาดต่อเนื่องตลอดปี  ทั้งนี้ ข้อมูลจากบริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ระบุผลสำรวจการจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจากกลุ่มตัวอย่าง 4,000 ครัวเรือนทั่วประเทศไทย

Read More

บันทึกรัตนโกสินทร์ ๒๓๔ “เจริญกรุง-เจริญนคร” ความเปลี่ยนแปลงในนามของความเจริญ

  ความเป็นไปของเขตบ้านย่านเมืองของกรุงเทพมหานครในห้วงยามที่กำลังจะเข้าสู่วาระแห่งการเฉลิมฉลอง 234 ปีของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ดูเหมือนจะไม่มีย่านใดส่งผ่านและสะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงได้ครึกโครมและเป็นประเด็นให้ต้องพิจารณาดั่งเช่นกรณีที่เกิดขึ้นบนถนนเจริญกรุงและถนนเจริญนคร สองเส้นทางสัญจรทางบกที่ทอดตัวยาวเป็นคู่ขนานกันและที่ขนาบข้างอยู่คนละฝั่งฟากของแม่น้ำเจ้าพระยา สายน้ำที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ของประเทศด้วย จากจุดเริ่มต้นในฐานะถนนที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบยุโรปสายแรกของสยามประเทศ ที่เริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2404 หรือเมื่อกว่า 150 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้สอดรับกับความทันสมัยและเป็นที่เชิดหน้าชูตาว่าสยามก็มีความเจริญทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ โดยถนนสายใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นรวมระยะทางกว่า 8.5 กิโลเมตรในครั้งนั้น ได้รับการเรียกขานว่า New Road ก่อนที่จะได้รับพระราชทานนาม “เจริญกรุง” ในเวลาต่อมา ความแออัดคับคั่งและการขยายตัวของชุมชนเมืองได้ส่งให้ตลอดเส้นทางของถนนเจริญกรุงอุดมด้วยเรื่องราวและสีสันหลากหลายให้ได้ร่วมพิจารณาและศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในบทบันทึกประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมแห่งนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยเหตุแห่งการมาถึงของถนนสายใหม่ ไล่เรียงมาสู่แนวเส้นทางของรถรางรอบเมืองในอดีต ได้ช่วยปรับแต่งและต่อเติมพัฒนาการของเขตบ้านย่านเมืองบนถนนเจริญกรุงให้ได้ก่อรูปและตกผลึกขึ้นอย่างช้าๆ เป็นผลกระทบที่ผู้คนในชุมชนต่างค่อยๆ ปรับตัวเพื่อก้าวย่างสู่บริบทใหม่ หากแต่การมาถึงของความเจริญก้าวหน้าครั้งใหม่ในนามของโครงข่ายการคมนาคมระบบรางที่กำลังแทรกตัวขึ้นมาในรูปแบบของรถไฟฟ้าใต้ดิน กำลังส่งผลในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของเจริญกรุงด้วยอัตราเร่งอย่างที่ผู้คนในชุมชนไม่เคยเผชิญมาก่อน ขณะที่วิถีชีวิตและความเป็นไปในมิติของวัฒนธรรมกำลังจะถูกฉีกกระชากให้เหลือแต่ซากอดีตให้ได้จดจำและกล่าวถึง การล่มสลายและผุพังลงของชุมชนเก่าเป็นภาพสะท้อนที่วิ่งสวนทางกับภาพประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาที่ดินครั้งใหม่ที่มีจำนวนไม่น้อยและผุดพรายขึ้นเข้ามาเบียดแทรกและแทนที่ ช่วยถมช่องว่างของการพัฒนาและความเจริญทันสมัยของเขตนี้ไปโดยปริยาย “เจริญกรุง” อาจให้ภาพของการเป็นย่านการค้าที่รุ่งเรืองและดำเนินไปท่ามกลางพลวัตทางธุรกิจที่หล่อเลี้ยงองคาพยพเศรษฐกิจไทยมาตั้งแต่อดีต และกำลังเดินหน้าเข้าสู่บริบทใหม่ของการพัฒนาพื้นที่โดยในช่วงปลายปีที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ได้ร่วมกันนำเสนอ โครงการสร้างสรรค์เจริญกรุง (Co—Create Charoenkrung) ด้วย วัตถุประสงค์ของโครงการที่ว่านี้ ได้รับการระบุว่า เป็นไปเพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ในย่านเจริญกรุง ซึ่งเคยเป็นย่านที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมในอดีต ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ต้นแบบของความเจริญทางธุรกิจสร้างสรรค์ ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการทางกายภาพ จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม

Read More

ไอคอนสยามขยายพื้นที่ 5 ไร่ ปล่อยภาพฝันในอนาคต

 เป็นเวลา 4 ปีแล้วที่ 3 พันธมิตรภาคเอกชนอย่างสยามพิวรรธน์ ร่วมกับ MQDC แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกาศร่วมทุนในอภิมหาโปรเจกต์มูลค่าโครงการกว่า 5 หมื่นล้านบาท จนถึงวันนี้แม้ว่าโครงการริมน้ำเจ้าพระยาในชื่อ “ไอคอนสยาม” จะดำเนินการก่อสร้างไปได้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์  หากแต่ในห้วงเวลานี้ดูเหมือนผู้บริหารโครงการยังมีความพยายามที่จะสร้างกระแสเพื่อสร้างพื้นที่บนหน้าข่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อผลประโยชน์ทางด้านแหล่งเงินทุน เพิ่มความมั่นใจต่อคู่ค้าที่ให้ความสนใจในโครงการ หรือผู้บริโภคที่กำลังมองหาอาคารที่พักอาศัยในระดับไฮเอนด์ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 คืออีกครั้งที่ไอคอนสยาม ซึ่งนิยามตัวเองว่าเป็น “อภิมหาโครงการเมืองแห่งการใช้ชีวิตสู่โลกอนาคต” เปิดเผยข้อมูลครั้งสำคัญของโครงการที่จะเกิดขึ้นบนพื้นที่ขนาด 750,000 ตารางเมตร  โดยองค์ประกอบหลักได้แก่ ศูนย์การค้า 2 อาคาร คือ ไอคอนสยาม (Main Retail & Entertainment) พื้นที่ 500,000 ตารางเมตร และไอคอนลักซ์ (Luxury Wing) พื้นที่ 25,000 ตารางเมตร

Read More

เปิดตัวมือบริหาร บวรพงศ์ “แม้ไม่ใหญ่ แต่งานนี้พี่ไม่ได้มาเล่นๆ”

  ท่ามกลางร้านรวงที่เต็มไปด้วยของเล่น ของสะสม และโมเดลคารัคเตอร์การ์ตูนชื่อดัง ทั้งจากฝั่งตะวันตก และฝั่งเอเชีย แม้มองดูภายนอกการทำงานท่ามกลางเหล่าการ์ตูนฮีโร่นั้น จะชวนให้รู้สึกถึงความเป็นเด็ก หรือให้อารมณ์สนุกอยู่ตลอดเวลา  หากแต่บุคคลที่อยู่เบื้องหลังการบริหารจัดการพื้นที่บนห้างสรรพสินค้าอย่างเมก้า พลาซ่า สะพานเหล็กแห่งนี้ กลับดูน่าสนใจและยิ่งรู้สึกว่าผู้บริหารคนนี้ไม่ธรรมดา เมื่ออายุอานามของวัลลภ กมลวิศิษฎ์ ที่ผ่านฝนผ่านหนาวมาเพียง 27  ปีเท่านั้น  แต่ความฉาดฉานในการแสดงออกเมื่อครั้งแถลงข่าวให้ข้อมูลทางธุรกิจกับสื่อต่างๆ บ่งบอกถึงประสบการณ์และความคิดที่อาจถูกส่งต่อมาจากฝั่งฟากของตระกูลกมลวิศิษฎ์ และเชื่อมประสานกับตระกูลวีรบวรพงศ์ ซึ่งทำให้วัลลภดูจะก้าวหน้ากว่าคนรุ่นราวคราวเดียวกัน  วัลลภ กมลวิศิษฎ์ บุตรชายของประดิษฐ์ และจรูญลักษณ์ กมลวิศิษฎ์ หลานชายของชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หลังแต่งงานกับพัชรวดี วีรบวรพงศ์ บุตรของวรวิทย์ และพัชรา วีรบวรพงศ์ ทำให้วัลลภเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานธุรกิจของตระกูลวีรบวรพงศ์มากขึ้น ทั้งนี้วรวิทย์ วีรบวรพงศ์พ่อตาของวัลลภ เจ้าของธุรกิจแก๊สแอลพีจีและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มูลค่ากว่า 1.16 หมื่นล้านบาท ทั้งโบ๊เบ๊ ทาวเวอร์ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ศูนย์การค้าพาลาเดียม ประตูน้ำ และศูนย์การค้าเมก้า พลาซ่า สะพานเหล็ก ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้การบริหารของวีรบวรพงศ์ทั้งสิ้น วรวิทย์ วีรบวรพงศ์ส่งต่อการบริหารงานให้บุตรสาวและลูกเขย ซึ่งทำให้วัลลภนั่งแท่นรองกรรมการผู้จัดการบริษัท พรหมมหาราช

Read More

แอลจี หวังพึ่งท่องเที่ยว ดันโฮเทลทีวีเพิ่มยอดขาย

 แม้ว่าบนตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อแอลจีจะเป็นที่ยอมรับ และมักถูกบรรจุอยู่ในตัวเลือกแรกๆ เสมอ หากแต่ในห้วงเวลานี้บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด มองเห็นโอกาสจากการเติบโตของธุรกิจโรงแรมที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แอลจีจึงสบช่องพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบรับความต้องการและรุกตลาดโฮเทลทีวีเป็นครั้งแรก การบุกตลาดทีวีสำหรับโรงแรมในครั้งนี้จะดำเนินไปในลักษณะบีทูบี (Business to Business) ซึ่งเป็นการเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจ เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมในตลาดจอดิจิตอลเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ยังปฏิวัติทีวีสำหรับโรงแรมด้วยความคมชัดระดับ Ultra HD  มร. จีเจ จาง หัวหน้าบริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์อินฟอร์เมชั่น ดิสเพลย์ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “แอลจีพัฒนานวัตกรรมล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ 2559 แอลจีจะมุ่งเน้นการทำตลาดบีทูบี เนื่องจากตลาดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทยมีทิศทางดีขึ้น ซึ่งมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 9-10 เปอร์เซ็นต์ทุกปี ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ตลาดทีวีสำหรับโรงแรมเติบโตได้เป็นอย่างดี เพราะธุรกิจการท่องเที่ยวไทยเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย”  นอกจากนี้แอลจียังร่วมมือกับ System Integrators หรือพาร์ตเนอร์สร้างสรรค์คอนเทนต์เพื่อให้แต่ละโรงแรมนำเสนอข้อมูลของตัวเองแก่ผู้เข้าพัก ทั้งนี้แอลจีฟอร์มทีมขึ้นมาในชื่อ “โฮเทลทีวี” เพื่อรุกตลาดโรงแรมโดยเฉพาะ วิญญู กล่อมเกล้า ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์อินฟอร์เมชั่น ดิสเพลย์ บริษัทแอลจี

Read More

จากแผงค้าบนสะพานเหล็ก สู่เซลล์บล็อกในเมก้า พลาซ่า

  หลังจากรัฐบาลมีนโยบายคืนพื้นที่สาธารณะให้แก่ส่วนรวม และภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างสนองนโยบายด้วยความรวดเร็วเข้ากับยุค 4G เราจึงได้เห็นการปรับภูมิทัศน์ตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ทั้งเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดีขึ้น และเพื่อจำกัดกลุ่มอิทธิพลที่มีเส้นสายโยงใยอยู่ทั่วทุกมุมเมือง ทัศนียภาพของสายน้ำในคลองโอ่งอ่างที่ถูกบดบังด้วยแผ่นสังกะสีที่บรรดาร้านรวงย่านสะพานเหล็กใช้กันแดด กันฝน กินเวลามายาวนานกว่า 40 ปี ระยะเวลาล่วงเลยมากระทั่งปัจจุบันย่านสะพานเหล็กจึงเป็นสถานที่ที่รู้จักกันดีว่า เป็นแหล่งที่รวบรวมสินค้าของเล่น และของสะสม เกม มากที่สุด เดิมที กทม. ได้จัดให้มีจุดผ่อนผันกับผู้ค้าย่านคลองถมให้เข้ามาขายสินค้าในบริเวณด้านข้างคลองโอ่งอ่างได้ กระทั่งมีบริษัทเข้ามาประมูลเพื่อขอสัมปทานและจัดสรรพื้นที่ให้กับ กทม. เป็นเวลา 10 ปี จนมีการบุกรุกสร้างโครงเหล็กขึ้นมาคร่อมคลองโอ่งอ่าง ทำให้มีผู้ค้าเข้ามาตั้งร้านจำนวนมากขึ้น จนกลายเป็นสะพานเหล็กที่เห็นอยู่กระทั่งปัจจุบัน และหลังจากบริษัทที่ได้รับสัมปทานหมดสัญญาลง แต่ผู้ค้าในเวลานั้นกลับไม่ย้ายออก จึงเกิดการฟ้องร้องกันขึ้นระหว่าง กทม. และผู้ค้า แม้ว่า กทม. จะชนะคดีแต่ผู้ค้าก็ยังดื้อดึงที่จะอยู่แบบผิดกฏหมาย พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ อธิบาย แม้จะสร้างความแปลกใจให้กับผู้ค้าที่แทบจะลงหลักปักฐานค้าขายในย่านสะพานเหล็กมาหลายสิบปี กลายเป็นผู้บุกรุกในเวลาไม่นาน แต่ที่น่าหนักใจไปกว่านั้น คือการต้องย้ายที่ทำกินภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แม้จะมีความพยายามยื่นเรื่องเพื่อขอผ่อนผันระยะเวลาการย้ายออก และเพื่อยืดเวลาในการหาสถานที่ตั้งร้านใหม่ เพราะสถานที่ที่ภาครัฐจัดเตรียมไว้รองรับ เช่น บริเวณหลังห้างพาต้าปิ่นเกล้า สายใต้เก่า ตลิ่งชัน เอสซีพลาซ่า ไม่มีอะไรสามารถการันตีได้ว่าสถานที่ใหม่เหล่านี้จะเป็นที่รู้จัก หรือสะดวกต่อการเดินทางของลูกค้าขาประจำ ความนิยมในย่านสะพานเหล็ก ความคุ้นชินของบรรดาผู้ค้า

Read More

“ทีซีซีแลนด์” เร่งปักหมุด นับถอยหลังยึดอาเซียน

 “ทีซีซีแลนด์” ก้าวสู่ยุทธศาสตร์ขั้นที่ 2 ตามแผนขยายเครือข่ายสร้าง “ลิงค์เกจ” ยึดตลาดอาเซียน หลังจากเมื่อ 4 ปีก่อน เจริญ สิริวัฒนภักดี เปิดตัว “เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนท์” คอมมูนิตี้มอลล์ตัวแรกของกลุ่มและโครงการไลฟ์สไตล์ริมน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ต้องการเป็นผู้นำธุรกิจศูนย์การค้าและตลาดเฉพาะทางในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) มีสาขากระจายอยู่ในทุกประเทศของภูมิภาค  ล่าสุด อาณาจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มศูนย์การค้า หรือ Retail Developer ซึ่งปรับโครงสร้างแยกเป็น 2 บริษัท ด้านหนึ่งให้บริษัท ทีซีซีแลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด ที่มีโสมพัฒน์ ไตรโสรัส นั่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารกุมบังเหียนหลัก เดินหน้าปักหมุดศูนย์การค้า 5 แบรนด์หลัก ประกอบด้วย เอเชียทีค เกตเวย์ เซ็นเตอร์พอยท์ พันธุ์ทิพย์ และบ๊อกซ์สเปซ กระจายตามจุดหลักๆ ของประเทศ  อีกด้านหนึ่งมีบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) ซึ่งปณต สิริวัฒนภักดี นั่งแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหารลุยนโยบายพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบ

Read More

“ไทยเบฟ” เขย่าพอร์ตสินค้า ไล่บี้ “นอนแอลฯ” ปูพรม AEC

 ฐาปน สิริวัฒนภักดี เร่งผลักดันอาณาจักรธุรกิจ “ไทยเบฟ” ตามแผน Vision 2020 ผ่านมาเกือบครึ่งทาง โดยเฉพาะการรุกกระจายสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (นอนแอลกอฮอล์) ทุกแบรนด์ในเครือเข้าสู่ทุกประเทศในเขตเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะเข้มข้นเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2559 หลังจากลุยสร้างฐานตลาดเครื่องดื่มในประเทศไทยไว้อย่างแข็งแกร่ง แบรนด์หลักๆ ได้แก่ กลุ่มชาพร้อมดื่มโออิชิ เครื่องดื่มน้ำอัดลมเอส เครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์ และมีแบรนด์จากกลุ่มเอฟแอนด์เอ็น (F&N) ที่จะเข้ามารุกตลาดไทยและประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นมและเครื่องดื่มสุขภาพแมกโนเลีย และเครื่องดื่มเกลือแร่ ฮันเดรด พลัส (100PLUS) โดยมีบริษัท ไทยดริ้งค์ จำกัด เป็นผู้ดูแลด้านนโยบายและกำหนดเป้าหมายให้สินค้าทั้ง 5 แบรนด์ก้าวเป็นผู้นำติดอันดับ 1 ใน 2 ของตลาดแต่ละประเทศ ทั้งนี้ ฐาปนในฐานะกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประกาศแผน Vision 2020 กำหนดโรดแมพ 5 กลยุทธ์หลัก

Read More