จากการสำรวจทั่วโลกเกี่ยวกับ “ทัศนคติของผู้บริโภคต่อโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ” ของ BuzzCity พบว่าร้อยละ 69 ของคนไทยที่ใช้โทรศัพท์มือถือมองว่าโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ
มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและกำลังก้าวขึ้นมาเป็นช่องทางโฆษณาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดใน
การเข้าถึงนักช้อปชาวไทย แม้คนไทยจะมีการตระหนักรู้ถึงโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือสูง แต่ทัศนคติที่
เกิดขึ้นต่อโฆษณาในรูปแบบนี้ก็มีทั้งด้านบวกและด้านลบถึงร้อยละ 52 และ 69 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ร้อยละ 19 ของผู้ถูกสัมภาษณ์ยังกล่าวว่าพวกเขาซื้อสินค้าโดยใช้โฆษณาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อเดือนละครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 14 กล่าวว่าพวกเขาดูโฆษณาเพื่อตัดสินใจซื้อทุกวันหรือทุก สัปดาห์ ส่วนอีกร้อยละ 26 กล่าวว่าโฆษณาเป็นสิ่งที่ให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี
ทัศนคติจากผู้ใช้โทรศัพท์มือถือชาวไทยส่วนนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากการสำรวจทั่วโลกของ BuzzCity
เท่านั้น ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกร้อยละ 77 กล่าวว่า ตนใช้โฆษณาในการตัดสินใจซื้อสินค้า และมีคนถึง
ร้อยละ 60 ที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อโฆษณาเหล่านี้ ในขณะที่ผู้คนอีกร้อยละ 59 มีทัศนคติเชิงลบต่อโฆษณา
ขณะที่ผู้บริโภคทั่วโลกคาดหวังต่อโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือสูง แต่คนไทยกลับมองต่างออกไป โดยร้อยละ 32 กล่าวว่าตนเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ บ่อยเกินไป อีกร้อยละ 34 มองว่าโฆษณามีจำนวนมากเกินไป ส่วนอีกร้อยละ 24 กล่าวว่าโฆษณาที่พบเห็นไม่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับพวกเขาเลย
ดร. เคเอฟ ไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง BuzzCity ระบุว่า “ความรู้สึกที่ผสมปนเป
กันทั้งด้านลบและบวกของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยที่ทำให้พวกเขาคาดหวังสูงว่าโฆษณาจะต้องเชื่อมโยงกับผู้บริโภค” “หากจะมีปัจจัยภายนอกที่เป็นภัยคุกคามต่อโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือก็คงจะเป็นความต้องการที่แตกต่างกันของผู้บริโภคและนักโฆษณา นักโฆษณาไม่สามารถใช้ช่องทางดิจิตอลเพียงช่องทางเดียวในการโฆษณาได้ แต่ต้องบรูณาการดิจิตัลกับอุปกรณ์ต่างๆ”
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า ผู้ทำโฆษณาไม่ควรเพียงแค่วัดความสำเร็จในการทำโฆษณา แต่ต้องพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคต่อบริการของพวกเขาด้วย นักโฆษณาต้องมองไกลไปถึงสื่อรูปแบบวิดีโอและอื่นๆ ในการส่งสารมากกว่าเพียงการโฆษณาบนแบนเนอร์ “นักโฆษณาจำเป็นต้องบูรณาการช่องทางดิจิตอลและแผนการในการเข้าถึงตลาด” ดร. เคเอฟ ไล กล่าวทิ้งท้าย
การศึกษา “ทัศนคติของผู้บริโภคต่อการโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ” ของ BuzzCity สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 5,400 คน ใน 25ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย โดยดำเนินการสำรวจตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2557