วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Home > ไม่มีหมวดหมู่ > iTech 360° > อะไรคือเทคโนโลยี Cloud Computing

อะไรคือเทคโนโลยี Cloud Computing

 

คุณผู้อ่านอาจเคยได้ ยินคำว่า Cloud Computing กันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่รู้รายละเอียด วันนี้ผมจะพาคุณผู้อ่านมารู้จักกับ Cloud Computing กันครับว่าคืออะไร ทำงานอย่างไร และมีที่มาที่ไปอย่างไร

Cloud Computing หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นหลักการที่ได้ต่อยอดมาจากเทคโนโลยีด้าน Virtuali-zation หรือการสร้าง CPU (Central Processing Unit) เทียม เป็นการจำลองตัว CPU เล็กๆ ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ ได้ใช้งานตามต้องการ

หลักการทำงานที่เข้าใจง่ายๆ ของ Cloud Computing คือเอาทุกอย่างโยนเข้าไปที่เซ็นเตอร์ส่วนกลาง ซึ่งพื้นที่เซ็นเตอร์ส่วนกลางนี้ที่เราเปรียบได้เหมือนเมฆ (ซึ่งทำให้เป็นที่มาของคำว่า Cloud) เพราะฉะนั้นต่อไปเราไม่ต้องมีคอมพิวเตอร์ราคาแพงๆ Spec แรงๆ ไว้ที่บ้าน แค่มีคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป RAM ไม่ต้องสูงมาก เวลาต้องการคำนวณหรือ ประมวลผลอะไรสูงๆ เราก็จะโยนไปฝากไว้ที่เซ็นเตอร์ส่วนกลาง ในเซ็นเตอร์ส่วนกลางนี้จะมี CPU จำนวนมากไว้คอยบริการ พวกนี้ถูกบริหารจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวเองได้ให้เหมาะกับสภาพการใช้งาน หมายความว่างานไหนต้องการพลังประมวลผลเยอะๆ ก็จะแบ่งทรัพยากรมาจำลอง CPU ให้เยอะๆ งานไหนใช้การประมวลผลน้อยๆ ก็แบ่งทรัพยากรมาให้พอแค่รันโปรแกรมได้โดยไม่ติดขัดก็จะประหยัดทรัพยากรในการประมวลผลลงไปได้

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นก็อาจจะคล้ายๆ พวกร้าน Internet Cafe ที่ไม่มี Hard Disk ที่เครื่องลูกข่าย (Client) เลย เพราะข้อมูลทั้งหมดเราจะโยนไปอยู่ที่ Server ส่วนกลางหมด เวลาจะอัพโหลดเกม อัพโหลดโปรแกรมก็ลงที่ Server ส่วน กลางเครื่องเดียว แล้วก็แชร์การใช้งานไปยังเครื่องลูกข่ายทั้งหมดแทน เพราะฉะนั้นถ้าในกรณีที่เป็นแค่การใช้งานระดับพื้นฐาน ที่ไม่มีการดึงข้อมูลจาก Hard Disk หนักๆ ตลอดเวลา Server เครื่องเดียวก็รองรับ Client ได้เป็นสิบเครื่องแล้ว ประหยัดค่า Hard Disk ไปได้อีกมาก มาย แถมยังควบคุมการใช้งานซอฟต์แวร์และไฟล์ต่างๆ ได้สะดวกกว่า

อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การใช้ Cloud Computing ในระบบ Government Cloud Service ของประเทศไทยที่เราสามารถ เอาไปใช้ประโยชน์ในเว็บไซต์ ที่มีคนเข้าเป็นจำนวนมากๆ แต่เข้าชมเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น เว็บไซต์ของ กองสลาก หรือเว็บไซต์ประกาศผลสอบ โดยเว็บไซต์ นี้ในช่วงเวลาที่คนเข้าเยอะๆ จะต้องการพลังประมวลผลมากแต่เป็นเพียงช่วงสั้นๆ ระบบก็จะแบ่งทรัพยากรมาจำลอง CPU ให้เยอะๆ โดยแบ่งมาจาก เว็บไซต์อื่นๆ ที่ใช้การประมวลผลน้อยในช่วงเวลานั้น เราก็จะไม่จำเป็นต้องไปตั้งServer เครื่องยักษ์ที่กองสลากหรือกระทรวง ศึกษาธิการ แต่ก็สามารถประมวลผลได้อย่างราบรื่น

ข้อดีอีกข้อของ Cloud Computing ก็คือความสะดวกสบายในการใช้งาน หมายความว่าผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมทุกๆ โปรแกรม ขอเพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตก็ใช้ได้ เช่น เราอยากดูหนังใน youtube เราไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม ดู youtube เลย เมื่อก่อนต้องดาวน์โหลดไฟล์มาแล้วก็ต้องไปหาซอฟต์แวร์มาติดตั้งในเครื่องอีกซึ่งเสียเวลามาก การใช้ Cloud Computing จะมาแก้ปัญหาจุดนี้ได้

จริงๆ แล้ว ถ้าเรามองย้อนกลับไป เทคโนโลยีด้านการประมวลผล สลับไปมา ระหว่างโยนกลับสู่ส่วนกลาง (Central Processing) กับโยนออกจากส่วนกลางไปกระจายการประมวลผลให้เป็นแบบอิสระ (Distributed Processing) เช่น

ในยุคแรกเริ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มี ราคาแพงการประมวลผลก็เป็นแบบ Central Processing ที่เรียกกันสมัยนั้นว่า Mainframe เป็น CPU ตัวใหญ่ๆ ตั้งไว้ที่ส่วนกลาง มีห้องให้อยู่อย่างดี มีแอร์เปิดให้ และต่อออกไปแบ่งกันใช้ได้หลายคน ทำได้ หลายๆ งานพร้อมกัน

ต่อมาคนก็อยากอิสระ อยากมีใช้เป็นของตัวเอง ใช้งานส่วนตัว จึงกลายมาเป็นยุคบูมของ Personal Computer ที่ได้รับความนิยม เอามาตั้งไว้บนโต๊ะทำงาน หรือที่เราเรียกว่า Desktop ใช้งานเครื่องของใครเครื่องของมันเป็นอิสระ ไม่ต้องโยนกลับไปที่ส่วนกลาง

ในปัจจุบันก็กำลังจะย้อนกลับไปสู่การประมวลผลแบบ Central Processing อีกครั้ง ในรูปแบบ Cloud Computing

โดยเอาทุกอย่างโยนไปไว้ที่เซ็นเตอร์ส่วนกลาง ประมวลผลที่เซ็นเตอร์ส่วนกลางและ ส่งแค่ผลลัพธ์ไปแสดงผลที่ปลายทางเท่านั้น

จริงๆ แล้วข้อดีของ Cloud Com-puting อีกอย่างหนึ่งก็คือสามารถให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ตลอดเวลา หมายความว่าสมมุติถ้าระบบของเรามีขนาดใหญ่ขึ้นและคนใช้งาน Server เยอะ เครื่อง Server เครื่องเดียวไม่พอจะประมวลผล ต้องใช้หลายๆ เครื่องช่วยกันประมวลผล เราก็อาจจะกระจายเครื่องไปไว้หลายที่ ดังนั้น หากบางเครื่องหรือบางพื้นที่มีปัญหาเครื่องอื่นๆ ก็อาจทำงานทดแทนกันได้

ยกตัวอย่างเช่นเมื่อปีที่แล้วตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในญี่ปุ่น (2011 Great East Japan Earthquake) ห้องแล็บสมัยที่ผมเรียนปริญญาเอกที่ญี่ปุ่น ได้มีการเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ในห้องแล็บเพราะคิดว่าเป็นที่ปลอดภัย และคาดไม่ถึง ว่าจะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงขนาดนั้น ทันทีที่เกิดแผ่นดินไหวข้อมูลเว็บไซต์ของห้องแล็บไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้หลังจากนั้น Professor ของผม ก็ได้ใช้หลักการ Cloud Computing โดยการกระจายเครื่องไปไว้หลายๆ ที่ ดังนั้นหากบางเครื่องหรือบางพื้นที่มีปัญหา เครื่องอื่นๆ ก็จะสามารถทำงานทดแทนกันได้ เพราะสามารถดึงข้อมูลและการประมวลของที่อื่นมาประมวลผลแทนกันได้

แต่นั่นคือทฤษฎีครับ พอเอาเข้าจริง ในทางปฏิบัติ Cloud Computing ก็ไม่ได้ ราบรื่นไปหมดครับ ลองมองไปที่ระบบ Instagram ที่แม้ว่าจะใช้ระบบ Cloud Computing ของ Amazon Elastic Compute Cloud (Amazon EC2) แต่พอเกิดพายุพัดถล่มรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา ระบบ Instagram ก็ล่มไปนานหลายชั่วโมง ทันทีที่ระบบ Instagram ล่ม ผมเห็นท่านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ Kristie Kenney ยัง Twitter บอกว่า Instagram ท่านใช้ไม่ได้เลย แต่อย่างว่าครับ เราก็ต้อง เรียนรู้กันไป ถ้าไม่เกิดปัญหาเราก็ไม่ได้เรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหา เราก็จะไม่สามารถพัฒนาไปอย่างยั่งยืนได้

ครั้งหน้าผมจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาแชร์กับคุณผู้อ่านอีก รับรองครับว่า เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวพวกเราอีกต่อไป