Home > 2014 > มีนาคม (Page 2)

Be Prepared! จงเตรียมพร้อม!

 ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งเข้าใจผิด คิดว่าผู้เขียนกำลังจะชวนท่านทั้งหลายไปเคลื่อนไหวอะไรนะคะ เพียงแต่บรรยากาศหลังจากชื่นมื่นระรื่นระเริงนับตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา เชื่อว่าหลายท่านคงต้องใช้เวลาในการปรับตัว กว่าจะนำพาความรู้สึกต่างๆ ในช่วงเทศกาลวันหยุดให้กลับมาเป็นปกติ ก่อนจะเดินหน้าสู่การทำงานอีกครั้ง หรืออาจมีบางท่านเตรียมตัววางแผนที่จะไปพักผ่อนยาวๆ อีกครั้ง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นานนับจากนี้แล้วก็ได้ ขณะที่ผู้ที่มีเยาวชนในการดูแล คงต้องเตรียมความพร้อมให้บุตรหลานสำหรับการเริ่มต้นภาคเรียนใหม่ที่กำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา และหลายท่านอาจเป็นกังวลอยู่กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบุตรหลาน โดยเฉพาะที่กำลังขยับชั้นเรียนจากประถมเข้าสู่มัธยม หรือจากมัธยมไปสู่ขั้นอุดมศึกษา สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนสังเกตเห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือการรณรงค์ส่งเสริมการขายของในห้างสรรพสินค้าน้อยใหญ่ของเมืองไทยช่วงถัดจากนี้ มักจะอยู่ในธีมว่าด้วย สนุกหรรษารับลมร้อน มหาสงกรานต์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภาคบันเทิง ก่อนที่จะย้อนกลับมาเข้าสู่ธีมต้อนรับการเปิดภาคเรียน หรือ back to school กันอย่างเอิกเกริก แต่เด็กญี่ปุ่นซึ่งจะกลับเข้าโรงเรียนในช่วงต้นเดือนเมษายนที่กำลังจะมาถึงนี้ มีบรรยากาศการเตรียมตัวก่อนการเปิดภาคเรียนที่ดูจะแตกต่างกับความเป็นไปในบ้านเรา เพราะสังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมแห่งการเตรียมตัว และมักจะเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้ากันเป็นปี หรือหากจะเป็นการส่งเสริมการขายทั่วไป ก็มักจะมีการเตรียมตัวกันเป็นฤดูกาล หรืออย่างน้อยก็ 2 เดือนขึ้นไป ตัวอย่างง่ายๆ หนึ่ง ก็คือตั้งแต่ผ่านพ้นการเฉลิมฉลองปีใหม่ ห้างสรรพสินค้าและร้านรวงต่างๆ ก็จะเริ่มประดับและวางสินค้าอันเกี่ยวเนื่องกับวันวาเลนไทน์กันแล้ว และเมื่อถึงวันวาเลนไทน์จริงๆ สินค้าที่วางขายกลับเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน เครื่องแบบและกระเป๋านักเรียนที่จะต้องใช้ในเดือนเมษายน ปรากฏการณ์เช่นว่านี้ หากหนุ่มสาวคนไหนที่อยู่ในญี่ปุ่น คิดจะหวังน้ำบ่อหน้าในช่วงใกล้ๆ ประมาณว่ารอให้นัดได้ก่อนแล้วค่อยเลือกซื้อของขวัญช่วงใกล้ๆ วัน อาจต้องรอไปถึงปีหน้าเลยก็ได้นะคะ เพราะเมื่อถึงวันแห่งความรักจริงๆ สินค้าก็อาจจะพอมีอยู่บ้าง แต่ก็จะน้อย และมักจะกลายเป็นสินค้าเกรดสอง เกรดสาม ซึ่งสะท้อนมาตรฐานของผู้ซื้อไปในตัว เรื่องชุดนักเรียน และอุปกรณ์การศึกษาของญี่ปุ่นก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน คือ ถ้าเตรียมตัวมาไม่ดี และหวังจะไปซื้อหาในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนเปิดเรียนเหมือนที่บ้านเราคุ้นเคย

Read More

มหากาพย์สงครามชาเขียวหน้าต่อไป กับศึกหน้าร้อนปีนี้ของ “โออิชิ-อิชิตัน”

 ต้องเรียกเป็น “มหากาพย์สงครามชาเขียว” ระหว่างโออิชิและอิชิตัน ที่ขับเคี่ยวกันในตลาดชาเขียวมานานกว่า 3 ปี นับตั้งแต่อิชิตันถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือน ก.ย. 2553 ในนามบริษัท ‘ไม่ตัน’ แม้ในช่วงแรก ตันจะยัง “กั๊ก” ไม่กระโดดลงเล่นในสนามชาเขียว โดยส่งเครื่องดื่มสมุนไพร “ดับเบิ้ลดริงก์” ออกมาสู่ตลาดก่อน แต่หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อการผลิตพร้อม ตันก็เปิดตัวชาเขียวพร้อมดื่ม “อิชิตัน” ลงสู่ตลาด ชนกับแบรนด์โออิชิที่เขาสร้างขึ้นแล้วขายให้กับไทยเบฟฯ   นับตั้งแต่นั้นสงครามชาเขียวก็ค่อยๆ ระอุขึ้น โดยเริ่มจาก “โปรโมชั่น” ลด-แลก-แจก-แถม ซึ่งอิชิตันทำครบทุกกระบวนท่า โดยที่เจ้าตลาดอย่างโออิชิ ก็ไม่ยอมเสียท่าด้วยการห้ำหั่นราคาลงมาสู้  กระทั่งราว 3 ปีก่อน สงครามหวยชาเขียวก็เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง ด้วยแคมเปญ “อิชิตัน ลุ้นโชค ฟรี!! ขับทั้งบ้าน หน้าบานรับทอง” ลุ้นรับรางวัลใหญ่คือ รถ 4 คัน นิสสัน มาร์ช, ซูซูกิ แครี่, ยามาฮา

Read More

“ทีซีซีแลนด์” ลุยโรดแมพฝ่าวิกฤต รีโนเวต-ขยายพอร์ตล็อตใหญ่

 แม้กลุ่มทีซีซีแลนด์ต้องปรับกระบวนยุทธ์ครั้งใหญ่ หลังเจอผลกระทบจากวิกฤตการเมืองเล่นงานธุรกิจโรงแรมอย่างหนักหน่วง แค่ 4 เดือน สูญรายได้ไปแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ทายาทรุ่น 2 ของเจริญ สิริวัฒนภักดี อย่างวัลลภา ไตรโสรัส ถือเป็นช่วงจังหวะสำคัญในการรีโนเวตและขยายพอร์ตล็อตใหญ่ตามแผนโรดแมพที่จะเปิดแนวรุกอย่างเข้มข้นตั้งแต่ปี 2557 โดยปักธงเป้าหมายใหญ่ การสร้างศูนย์กลางการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค “ The District of Thailand” เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ รองรับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปีหน้า  การประกาศเบรกแผนขยายโครงการ “เอเชียทีค 2” บริเวณถนนเจริญนคร เนื้อที่ 29 ไร่ จากเดิมที่หมายมั่นจะปั้นเป็นบิ๊กโปรเจ็กต์เชื่อมการท่องเที่ยว 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยากับ “เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์” ฝั่งถนนเจริญกรุง ซึ่งตามแผนเดิมจะประกอบด้วยโครงการไลฟ์สไตล์มอลล์ โรงแรมขนาดใหญ่ และโรงภาพยนตร์ โดยมีกระเช้าลอยฟ้าเชื่อมต่อถึงกัน  ด้านหนึ่งถือเป็นการพับแผนครั้งใหญ่จนถูกมองว่า ปีนี้ ทีซีซีแลนด์พ่ายพิษการเมืองจนต้องตัดงบลงทุนเหลือน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านๆ มา  แต่อีกด้านหนึ่ง ทั้งวัลลภาและสามี คือ โสมพัฒน์

Read More

ไทยเบฟฯ ดัน “โออิชิ” เป็นเรือธง สู่ Top 5 ผู้นำธุรกิจอาหารเครื่องดื่มเอเชีย

 หลังจากที่ “ไทยเบฟเวอเรจ” ได้บรรลุดีลซื้อกิจการอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของสิงคโปร์ “เฟรเซอร์แอนด์นีฟ” หรือ “F&N” เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ดูเหมือนกลุ่มบริษัทในเครือไทยเบฟฯ ที่ถูกหมายตาว่าจะเป็น “เรือธง” นำร่องในการทดสอบศักยภาพและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของพันธมิตรรายใหม่อย่าง F&N ก่อนใคร คงหนีไม่พ้น “โออิชิ กรุ๊ป” ซึ่งก็สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนของกลุ่มโออิชิในปีนี้ ที่จะมุ่งเน้นการ “ผนึกกำลัง (synergy)” กับบริษัทในเครือมากขึ้น เพื่อสยายปีกสู่ตลาดต่างประเทศ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทีมผู้บริหารระดับสูงชุดใหม่ของกลุ่มโออิชิเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในงานแถลงผลประกอบการปี 2556 พร้อมกับแถลงแผนธุรกิจปี 2557 นำทีมโดย “มารุต บูรณะเศรษฐกุล” ลูกหม้อของไทยเบฟฯ ซึ่งเข้ามานั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แทน “แมทธิว กิจโอธาน” ที่ย้ายไปเป็นผู้บริหารในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป ตั้งแต่กลางปีที่แล้ว นอกจากโออิชิกรุ๊ป ยังมีการปรับโครงสร้างและเปลี่ยนตัว “ขุนพล” ของทุกกลุ่มธุรกิจในเครือไทยเบฟฯ ซึ่งเรียกว่าเป็นการปรับขนานใหญ่ ว่ากันว่า เพื่อรองรับกับเป้าหมายใหญ่ของ “ฐาปน

Read More

“อิชิตัน” เปิดแคมเปญอิชิตัน ลุ้นรหัสรวยเปรี้ยง ภาค 3

หลังประสบความสำเร็จในการทำตลาดชาพร้อมดื่มจนสามารถก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 42% ของทั้ง 12 เดือนในปีที่ผ่านมา บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กลับมาอีกครั้งกับซัมเมอร์แคมเปญแห่งปี “อิชิตัน ลุ้นรหัสรวยเปรี้ยง ภาค 3” ชูไฮไลท์แจกล้านทุกวัน ลุ้นรถปอร์เช่ทุกเดือน พร้อมเพิ่มโชคชั้นที่ 3 รวม 12,043 รางวัลมากเป็นประวัติการณ์ จัดงานเปิดตัวยิ่งใหญ่ โดยมีดาราสุดเซ็กซี่ อุ้ม-ลักขณา วัธนวงส์ศิริ มาร่วมลุ้นรางวัล ณ เซ็นทรัล คอร์ท ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

Read More

กีฬาสี…ญี่ปุ่น

 ท่านผู้อ่านรู้สึก เหมือนผู้เขียนบ้างไหมคะว่า การจะหยิบจับเสื้อผ้าอาภรณ์มาใส่ในแต่ละวัน ในช่วงที่ผ่านมาดูจะลำบากและอึดอัดคับข้องกันเหลือเกิน เนื่องเพราะไม่ต้องการให้ถูกจับไปอยู่ฝั่งฟากของความขัดแย้งในมหกรรมกีฬาสีระดับชาติที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 3-4 ปี เรื่องราวของการแบ่งสีในสังคมไทย ไม่ได้จำกัดขอบเขตการรับรู้อยู่เฉพาะในบ้านเมืองเราเท่านั้น หากยังแพร่กว้างออกไปสู่การรับรู้ของต่างชาติ บางแห่งถึงกับออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการให้หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อบางสี หากจะเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย Travel Advisory ดังกล่าว คงบ่งบอกนัยบางอย่างให้สังคมไทยบ้างไม่มากก็น้อย ในทางกลับกัน เรื่อง “สี” สำหรับสังคมญี่ปุ่นนั้น หากจะคิดถึงในเชิง “สัญญะ” ก็คงจะไม่พ้นสีขาวและสีแดง ซึ่งเป็นสีธงชาติของญี่ปุ่นนั่นเอง “สี” เช่นที่ว่า ก็เป็นอุดมคติของสังคมไทย ที่ต้องการเห็นคนไทยสำนึกในสีของธงชาติไทยร่วมกัน แต่สิ่งเหล่านี้กลับเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องเรียกร้องกันอย่างหนาหูเพิ่มขึ้น เหมือนกับว่าความสำนึกดังกล่าวไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่  หากจะมองประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอยู่ที่ ความสำนึกในเรื่องดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นท่ามกลางการกล่าวอ้าง หรือเกิดขึ้นจากการรณรงค์ร้องขอกันเป็นห้วงๆ เพราะการปลูกฝังในเรื่องของความเป็นหมู่คณะ หรือการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคมญี่ปุ่น เป็นดอกผลของรูปการณ์จิตสำนึก จากการฟันฝ่าความทุกข์ยากของชาติ และเรียนรู้พัฒนาจากสิ่งเหล่านั้นร่วมกันอยู่เสมอ แม้ว่าโศกนาฏกรรม และความเห็นแก่ตัวในสังคมญี่ปุ่น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เหมือนกับทุกๆ สังคมในโลก แต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (socialization) ของญี่ปุ่น ซึ่งปลูกฝัง “สิทธิ” และ “หน้าที่” อย่างชัดเจน แทบทุกระดับในสังคมญี่ปุ่น โดยเฉพาะการเน้นการมีส่วนร่วม และการทำงานเป็นหมู่คณะ ขณะที่ ยังคงเคารพ “สิทธิ” ความเป็นปัจเจก

Read More

MONO Shop การพัฒนา SMEs แบบญี่ปุ่น

 หากกล่าวถึงต้นแบบการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกขานอย่างติดปากว่า SMEs ที่ประสบความสำเร็จ เชื่อว่าคงไม่มีประเทศใดจะเป็นตัวอย่างได้ดีไปกว่าญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและได้ถ่ายทอดเทคนิควิธีและองค์ความรู้ในการบริหารจัดการให้กับอีกหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยให้จำเริญรอยตามด้วย สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พัฒนาการของ SMEs ในแบบญี่ปุ่นได้รับความสนใจเป็นเพราะ SMEs ญี่ปุ่นกลายเป็นกลไกสำคัญที่รองรับและเติมเต็มจักรกลทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นให้เคลื่อนที่ไปอย่างมีพลวัต และรังสรรค์ประโยชน์ในทุกระนาบของกระบวนการผลิต และขยายผลต่อเนื่องกับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่น ที่ถูกนำมาปรับใช้เป็น OTOP หรือหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยด้วย ล่าสุด สภาหอการค้าญี่ปุ่น (Shokokai: โชโคไก) ได้พัฒนาความคิดต่อยอดพัฒนาการดังกล่าวด้วยการหนุนนำผู้ประกอบการ SMEs ให้รุกออกสู่ตลาดต่างประเทศ ด้วยการเปิดตัว MONO Shop เพื่อพัฒนาช่องทางการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น จัดจำหน่ายของดีจาก 47 จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น ทั้งอาหาร เครื่องใช้ เครื่องเขียน อุปกรณ์ตกแต่ง และอีกมากมายกว่า 800 ชนิด บนพื้นที่ชั้น 5 โซนเอเทรียม ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โมโน ช็อป (MONO SHOP) เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยสภาหอการค้าญี่ปุ่น โดยได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจากร้านต้นแบบจากประเภทร้านค้าที่เรียกว่า Antenna Shop ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งร้าน Antenna

Read More

นิทรรศการฟรีดา กาห์โล และดิเอโก ริเบรา

นักแสดงสาวเม็กซิกันที่รู้จักคือซัลมา อาเยค (Salma Hayek) รู้จักเพราะเธอแสดงภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด สาวร่างเล็กที่อวบอัด ใบหน้าคมเข้ม พูดภาษาอังกฤษสำเนียงแปร่งๆ ชาวฝรั่งเศสรู้จักเธอดีเพราะเธอเป็นภรรยาของฟรองซัวส์-อองรี ปิโนลต์ (François-Henri Pinault) ประธานกลุ่ม PPR ที่เปลี่ยนชื่อเป็น Kering ทำธุรกิจสินค้าหรู สาวเม็กซิกันอีกคนหนึ่งที่ฝรั่งเศสรู้จักดีคือ มาเรีย เฟลิกซ์ (Maria Felix) เพราะเธอเป็นนักแสดงเช่นกัน ข้ามน้ำข้ามทะเลมาสั่งทำเครื่องประดับที่ห้างการ์ทีเอร์ (Cartier) เป็นสร้อยคอจระเข้สองตัวเกาะเกี่ยวกัน และสร้อยงูที่พันรอบลำคอ นับเป็นสาวที่มีรสนิยม “ดุ” ครั้งหนึ่งเห็นซัลมา อาเยคแสดงเป็นสาวที่มีคิ้วติดกัน มีหนวดนิดหน่อย นั่นเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นชื่อฟรีดา กาห์โล (Frida Kahlo) จิตรกรชาวเม็กซิกัน บ้านของน้องสะใภ้ในอัลซาส (Alsace) มีภาพเขียนผู้หญิงคนหนึ่ง นั่นก็เป็นครั้งแรกที่รู้จักชื่อดิเอโก ริเบรา (Diego Rivera)  และแล้วในฤดูใบไม้ร่วง 2013 เห็นนิทรรศการ Frida Kahlo et Diego Rivera, l’art

Read More

หงษ์ทองแตกไลน์ รุกตลาดโจ๊ก

 ขณะที่สังคมไทยยังถกแถลงเรื่องความเป็นไปของเกษตรกรชาวนาไทย และปมปัญหาของกระบวนการรับจำนำข้าวตามนโยบายของรัฐบาลกันอย่างหาบทสรุปที่ลงตัวสำหรับทุกฝ่ายไม่ได้ ผู้ประกอบการค้าข้าวอย่างกลุ่มเจียเม้ง ซึ่งมีแบรนด์ “หงษ์ทอง” เป็นธงนำกลับเดินเครื่องธุรกิจรุกไปข้างหน้าด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ในมือ โดยล่าสุด “โจ๊กหงษ์ทองพลัส” กลายเป็นสินค้าในไลน์ใหม่ที่ถูกนำเสนอออกสู่ตลาด ภายใต้โจทย์และแนวความคิดที่ว่าทำอย่างไรที่จะใช้ข้าวซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักให้เกิดประโยชน์และมีมูลค่าเพิ่มให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะนำไปสู่ “โจ๊กหงษ์ทองพลัส” โดยเน้นเป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กอนุบาล อายุ 3-6 ขวบเป็นหลัก ตอบโจทย์ที่ว่าเด็กควรได้ทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ทุกวัน หรืออาจมุ่งเน้นกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความเร่งรีบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Health & Convenient” นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลุ่มเจียเม้งขยายบริบททางธุรกิจให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์จากข้าว เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา กลุ่มเจียเม้งพยายามเติมเต็มและสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ข้าวอยู่เป็นระยะ ทั้งในรูปของการขยายแบรนด์ให้มีความหลากหลาย หรือแม้กระทั่งการรุกเข้าไปในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง กว่า 70 ปีที่กลุ่มเจียเม้งพัฒนาจากการเป็นผู้ประกอบการโรงสีข้าวมาสู่ธุรกิจส่งออกข้าวไปต่างประเทศ ด้วยการส่งออกข้าวหอมมะลิโดยใช้ชื่อตราสินค้าว่า “GOLDEN PHOENIX” หรือในภาษาจีนเรียกว่า Kim Hong หรือที่รู้จักกันในไทยว่า “ข้าวหงษ์ทอง” ซึ่งเป็นผู้นำของข้าวหอมมะลิ และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในตลาดต่างประเทศ    ผลิตภัณฑ์ข้าวหงษ์ทองแยกตามแบรนด์และชนิดข้าว ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ตราหงษ์ทอง ข้าวหอมปทุม หรือข้าวหอมผสมตราหงษ์ทิพย์ ข้าวขาวตราหงษ์ไทย ข้าวสุขภาพ ข้าวกล้อง ตราหงษ์ทองไลฟ์ ในขณะที่สินค้าหลักของข้าวหงษ์ทอง คือ

Read More

“เอสบี” จัดเต็ม แผน “คอนเซ็ปต์” สู้พิษการเมือง

 ฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 กลุ่มเอสบี เฟอร์นิเจอร์ ต้องพลิกกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ออกแบรนด์ “คอนเซ็ปต์ (Koncept)” มาฝ่าวิกฤตและกลายเป็นแบรนด์กู้สถานการณ์ธุรกิจหลายครั้ง ล่าสุด ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่ร้อนระอุนานหลายเดือนและยังไม่ยุติสิ้นสุด กลุ่มเอสบีฯ ประกาศยุทธศาสตร์ใช้ “คอนเซ็ปต์เฟอร์นิเจอร์” เป็นหัวหอกรุกตลาดเฟอร์นิเจอร์ มูลค่ากว่า 90,000 ล้านบาท เพื่อสู้พิษการเมืองอีกครั้ง แม้ในช่วงปลายปี 2556 จนถึง 2 เดือนแรกของปี 2557 ภาพรวมยอดขายยังไม่ได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากยอดโอนบ้านและคอนโดมิเนียมยังมีจำนวนมาก รวมถึงกลุ่มเอสบีฯ มีออเดอร์เฟอร์นิเจอร์ในกลุ่มลูกค้าโครงการคอนโดมิเนียมมากกว่า 5,000-6,000 ยูนิต ไม่ว่าจะเป็น “ดีคอนโด” ของกลุ่มแสนสิริ โครงการริทึ่ม (Rhythm) และดิ แอดเดรส (The Address) ของกลุ่มเอพี รวมทั้งเปิดตัวเฟอร์นิเจอร์ “คอนเซ็ปต์ ฟอร์ คอนโด” สำหรับพื้นที่ห้องขนาด 22 ตารางเมตร รองรับกลุ่มลูกค้า แอล.พี.เอ็น. โดยตรง  แต่ในระยะยาว

Read More