Home > violence

ความรุนแรงในโรงเรียน การกลั่นแกล้งไม่ใช่เรื่องปกติ

การวิวาทกันของนักศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษากลายเป็นภาพจำของปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวัยเรียน ไม่ว่ามูลเหตุของความขัดแย้งจะมาจากอะไรก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวดูเบาบางไปเลยเมื่อเทียบกับปัญหาความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในยุคดิจิทัล ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนดูเหมือนกำลังขยายวงกว้างและไร้ซึ่งการใส่ใจอย่างจริงจัง เพราะสิ่งที่น่ากังวลที่สุดในห้วงยามนี้คือ กลุ่มเด็กที่มีการใช้ความรุนแรง หรือเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง มีอายุน้อยลงหรืออยู่ในช่วงปฐมวัย หลายสิบปีก่อนการกลั่นแกล้งกันระหว่างเด็กนักเรียนเห็นจะมีเพียงการนำชื่อบิดามารดาของอีกฝ่ายมาล้อเลียนกันเท่านั้น ซึ่งการกระทำนั้นแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่สมควร ทว่าก็เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย และจบลงในเวลาสั้นๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของมนุษย์ การกลั่นแกล้งกันภายในรั้วโรงเรียนกลับทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก ผลสำรวจเมื่อปี 2560 พบว่าการกลั่นแกล้งภายในโรงเรียนของไทยอยู่ในอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น โดยมีอันดับ 3 คือประเทศอังกฤษ และตัวเลขของเด็กที่ถูกรังแกในสถานศึกษาปีละประมาณ 600,000 คนหรือคิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนทั้งหมด ภาพข่าวต่างๆ ที่ปรากฏบนสื่อในหลายช่องทางนำมาซึ่งคำถามที่ว่า สาเหตุที่แท้จริงของการใช้ความรุนแรง การกลั่นแกล้งกันในกลุ่มเด็กคืออะไร ความใสบริสุทธิ์ของผ้าขาวที่ควรจะซึมซับเอาสรรพวิทยาความรู้ที่ถูกถ่ายทอดจากผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นดั่งเรือจ้าง กลับกลายเป็นผ้าขาวที่ซ่อนงำหลุมดำที่ปกคลุมจิตใจจนอาจจะส่งผลต่ออนาคตของเด็กทั้งฝ่ายที่เป็นผู้ถูกกระทำและฝ่ายที่กระทำ นักวิชาการการศึกษา นักจิตวิทยาเด็ก ต่างให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกรังแกหรือกลั่นแกล้งในรั้วโรงเรียนนั้น คือเด็กที่มีความแตกต่างของลักษณะภายนอก เช่น สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ หรือเด็กที่มีพัฒนาการช้า ความแตกต่างทางเพศสภาพของเด็กที่ไม่ตรงกับเพศที่ถือกำเนิด ความแตกต่างทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมและศาสนา ในขณะที่เด็กที่เป็นฝ่ายรังแก มักเป็นเด็กที่มีปูมหลังทางครอบครัวที่เคยใช้ความรุนแรง หรือการมองว่าการทำร้ายกันไม่ว่าจะทางกายหรือทางวาจาไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มักจะถูกรังแก หรือเด็กที่เป็นผู้รังแก ล้วนแล้วแต่จะเกิดบาดแผลขึ้นภายในจิตใจและส่งผลต่ออารมณ์ด้วยกันทั้งสิ้น หากจะพินิจพิเคราะห์กันอย่างถี่ถ้วนถึงมูลเหตุปัจจัยที่ทำให้เด็กสักคนรับบทเป็นเด็กที่ชอบแกล้งผู้อื่น ต้องยอมรับว่าพื้นฐานของครอบครัวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเด็กจะซึมซับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นรอบตัว และด้วยวัยวุฒิที่ยังไม่สามารถแยกแยะเรื่องที่สมควรและไม่สมควรได้ จึงส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่ผิด คิดว่าสิ่งที่พบเจอในสังคมของตนเองนั้นเป็นเรื่องที่ใครก็สามารถทำได้ ไม่ใช่เพียงแต่ครอบครัวเท่านั้นที่มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเด็ก ทว่าการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวของสังคมไทยก็เช่นกัน

Read More

เหยื่อคนที่ 100 สร้างความตื่นตัวให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

Column: Women in wonderland ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาที่ไม่มีรัฐบาลไหนประสบความสำเร็จในการแก้ไข ทุกวันนี้มีผู้หญิงจำนวนมากที่ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากสามี อดีตสามี หรือสมาชิกในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัวไม่เหมือนปัญหาอื่นๆ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสังคม ทุกชนชั้น และทุกศาสนา ดังนั้น แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วผู้หญิงก็ยังคงประสบกับความรุนแรงในครอบครัวเหมือนกัน องค์กร Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE) ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติความรุนแรงในครอบครัว ในปี 2016 ว่า ผู้หญิงประมาณ 43,600 คนต่อปีจากทั่วโลกถูกฆาตกรรมโดยคนในครอบครัว 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วโลกเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจจากคนในครอบครัวอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต และมีเพียง 11% เท่านั้นที่มีการดำเนินคดีและแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ คำว่า “การฆาตกรรมผู้หญิง” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Femicide ในที่นี้หมายถึงการฆาตกรรมที่ผู้ชายฆ่าผู้หญิงหรือเด็กหญิง เพราะพวกเธอเป็นผู้หญิง การฆาตกรรมนี้มักจะเกิดที่บ้าน ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากความรุนแรงในครอบครัว OSCE ยังได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการฆาตกรรมหญิงว่า เกิดขึ้นในทุกประเทศ ที่เกิดมากคือ ประเทศรัสเซีย เอลซัลวาดอร์

Read More

ความรุนแรงในประเทศซิมบับเว

Column: Women in Wonderland ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กนั้นเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายประเทศกำลังเผชิญ หลายครั้งมักจะได้ยินว่ารัฐบาลหลายประเทศออกกฎหมายเพื่อลดปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก แน่นอนว่ากฎหมายเหล่านี้บางประเทศก็ประสบความสำเร็จในการยุติปัญหาการใช้ความรุนแรง และปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ที่ใช้ความรุนแรงได้สำเร็จ แต่ในบางประเทศกฎหมายเหล่านี้ก็ไม่ช่วยให้จำนวนผู้หญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงลดลงเลย ซิมบับเวเป็นประเทศหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ด้านเศรษฐกิจนั้นซิมบับเวเป็นประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลกกว่า 2,000,000% ส่งผลให้ซิมบับเวมีอัตราคนว่างงานสูงกว่า 80% และยังมีวิกฤตด้านอาหารอีกด้วย การที่ซิมบับเวมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจทำให้ประชาชนต้องเผชิญกับปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกด้วย โดยเฉพาะปัญหาเรื่องสุขภาพ อัตราการติดเชื้อเอดส์สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก หรือผู้ใหญ่ 1 ใน 10 คนที่อาศัยอยู่ในประเทศซิมบับเวจะติดเชื้อเอดส์ และมีชาวซิมบับเวถึงประมาณ 30,000 คนที่เสียชีวิตในแต่ละปีจากการติดเชื้อเอดส์ การติดเชื้อเอดส์มีอัตราสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกนั้นเป็นปัญหาหนึ่งที่ซิมบับเวกำลังเผชิญ ในขณะเดียวกันอีกปัญหาที่เกิดขึ้นและไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ก็คือการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง ประเทศซิมบับเวมีผู้หญิงที่อายุระหว่าง 15–49 ปี มากกว่า 1 ใน 3 ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางร่างกายครั้งหนึ่งในชีวิตจากสามี และมีผู้หญิงประมาณ 1 ใน 4 ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศตั้งแต่อายุ 15 ปี ไม่ได้มีเพียงผู้หญิงเท่านั้นที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง แม้แต่เด็กเองก็ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงมากเช่นกัน มีเด็กถึงประมาณ 34% ที่ถูกบังคับให้แต่งงาน การที่เศรษฐกิจของซิมบับเวนั้นแย่มากๆ ประชาชนอดมื้อกินมื้อ

Read More