Home > vaccine covid (Page 2)

เซ็นทรัลเดินหน้าฉีดวัคซีนช่วยชาติ เร่งสร้างความมั่นใจให้คนไทย ประเดิมเซ็นทรัลลาดพร้าวเป็นที่แรก

เซ็นทรัลพัฒนา เดินหน้าฉีดวัคซีนช่วยชาติ เร่งสร้างความมั่นใจให้คนไทย ร่วมใจฉีดวัคซีน เปิดหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในศูนย์การค้าเป็นแห่งแรกในกรุงเทพฯ ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซา, เซ็นทรัลเฟสติวัล, เซ็นทรัล ภูเก็ต และ เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่เอาท์เล็ตแห่งแรกของไทย เตรียมสนับสนุนพื้นที่รวมกว่า 17,500 ตร.ม. ในกว่า 8 สาขาทั่วประเทศ และคิดเป็นมูลค่าพื้นที่เช่ากว่า 300 ล้านบาท เพื่อเป็นหน่วยบริการฉีดวัคซีน โดยในวันนี้เป็นวันแรกของการ เปิดหน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เซ็นทรัลลาดพร้าว-โรงพยาบาลรามาธิบดี-โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในกรุงเทพฯ และ 1 ในสถานที่ฉีดวัคซีนที่ได้รับการคัดเลือกจากกรุงเทพมหานคร, คณะกรรมการควบคุมโรค กรุงเทพมหานคร และ หอการค้าไทย ตามแผนโรดแมปที่ภาคเอกชนของทีมสนับสนุนการกระจายและการฉีดวัคซีน นำโดยกลุ่มเซ็นทรัล เซ็นทรัลพัฒนา และเซ็นทรัลรีเทล จับมือ พันธมิตรชั้นนำ อาทิ AIS, และเซ็นทารา

Read More

จาก “ทัวร์วัคซีน” ถึง “ย้ายประเทศ” ภาพสะท้อนความตกต่ำสังคมไทย?

กระแสข่าวว่าด้วยการเสนอจัดการท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศเพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด COVID-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งนอกจากจะเป็นความพยายามของผู้ประกอบการในการดิ้นรนและปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจโดยอาศัยจังหวะโอกาสและช่องว่างว่าด้วยการจัดสรรวัคซีนที่ดำเนินอยู่ในต่างประเทศแล้ว ในอีกมิติหนึ่งได้สะท้อนความล้มเหลวของการจัดหาและจัดสรรวัคซีนในประเทศไทยอย่างชัดเจน ซึ่งกำลังกลายเป็นประเด็นที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการบริหารจัดการของกลไกรัฐอย่างหนักหน่วง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ “วัคซีน COVID-19” ได้รับการประเมินว่าเป็นทางรอดสำคัญสำหรับผู้คนจำนวนมากทั่วโลก ความล่าช้าหรือการเข้าถึงการฉีดวัคซีนที่ยากในบางประเทศ จึงทำให้มีหลายคนมองหาลู่ทางในการฉีดวัคซีนนอกเหนือจากที่มีอยู่ในประเทศ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับความต้องการของบางประเทศ ที่ต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและวัคซีน COVID-19 ที่มีอยู่ในประเทศ ในฐานะที่เป็นดีลที่สมประโยชน์ (win-win) ทั้งสองฝ่าย กรณีการกระตุ้นการท่องเที่ยวควบคู่กับการฉีดวัคซีนที่ชัดเจนที่สุดกรณีหนึ่ง ดูจะเป็นยุทธศาสตร์ของ มัลดีฟส์ ที่ริเริ่มการฉีดวัคซีน COVID-19 ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มมุ่งฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ภายใต้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “3V” ประกอบไปด้วย Visit (มาเยือน) - Vaccination (ฉีดวัคซีน) - Vacation (พักผ่อน) ซึ่งจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวกลับเข้ามาในมัลดีฟส์ ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แนวความคิดที่จะนำวัคซีนมาฉีดให้ผู้มาเยือนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวนี้ ดำเนินไปหลังจากที่มัลดีฟส์ฉีดวัคซีนให้ประชากรในประเทศไปแล้วประมาณ 300,000 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 55 ของประชากรทั้งประเทศ โดยวัคซีนส่วนใหญ่ที่มัลดีฟส์ได้รับเป็นการจัดสรรจากโครงการ COVAX หรือวัคซีนกองกลางที่หลายประเทศนำมาบริจาคไว้แจกจ่ายให้ประเทศที่ขาดศักยภาพในการแย่งชิงวัคซีน COVID-19

Read More

วัคซีนต้านโควิด-โรงพยาบาลสนาม ความหวัง ความพร้อม และการจัดการของรัฐไทย

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งถือเป็นระลอก 3 และมีการกระจายตัวในหลายกลุ่มคลัสเตอร์ เฉพาะระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน พบผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 17,000 ราย (ข้อมูลวันที่ 1-17 เมษายน 2564) ระลอกคลื่นแห่งหายนะในครั้งนี้ก่อให้เกิดคำถามอันนำมาซึ่งความขัดแย้งหลายประเด็นในสังคม การถามหาจิตสำนึกรับผิดชอบที่มีต่อสังคมส่วนรวม ไม่ว่าจะในแวดวงใดก็ตามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อประชาชนบางส่วนยังไร้การตระหนักรู้ เมินเฉยต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ จนในที่สุดกลายเป็นต้นเหตุของการกระจายตัวของเชื้อไวรัสในระลอกสามที่ดูจะทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ สังคมยังคงตั้งคำถามไปยังภาครัฐถึงเรื่องการสั่งซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 และความพร้อมของโรงพยาบาลสนามในหลายพื้นที่ เพื่อรองรับกรณีที่จำนวนผู้ติดเชื้อมีจำนวนสูงขึ้น แน่นอนว่าโรงพยาบาลสนามนั้นมีไว้สำหรับรองรับผู้ติดเชื้อที่อาการไม่หนักหรือไม่มีอาการ และพร้อมจะส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยังโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่มีรูปแบบการรักษาที่ได้มาตรฐาน คำถามต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในโลกโซเชียล ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดการสื่อสารที่ครบถ้วนจากภาครัฐเอง อีกส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความพยายามบิดเบือนข้อมูลอันมีผลประโยชน์แอบแฝงจากฝ่ายไม่หวังดี เมื่อขาดข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนบวกกับตาชั่งที่มีบรรทัดฐานไม่เท่ากันของแต่ละคน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนไทยจะเกิดความขัดแย้งภายใต้สถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ทั้งที่ห้วงยามนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เรียกหาความสามัคคีให้ก่อตัวขึ้นได้ในหมู่มวลประชาชน ความจริงที่ว่า วัคซีนด้านโควิด-19 คือความหวังอันเรืองรองที่จะพลิกฟื้นวิกฤตครั้งนี้ และเป็นอาวุธสำคัญของมนุษยชาติให้เอาชนะเชื้อไวรัสได้ ประเด็นสำคัญของวัคซีนจึงเป็นเรื่องที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงมีการสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 ได้เพียงแค่ 2 ล้านโดส จากบริษัทซิโนแวค และจากแอสตราเซเนกาอีก 117,600 โดส เท่านั้น อีกคำถามที่ตามมาคือ การสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนผูกขาดอยู่แต่กับภาครัฐเท่านั้นใช่หรือไม่ เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้บริษัทเอกชนที่มีศักยภาพจัดหาเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เมื่อวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอันนำไปสู่การเปิดประเทศในที่สุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอบข้อสงสัยของคำถามดังกล่าวหลังจบการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน

Read More

หวังพึ่งปาฏิหาริย์วัคซีน ปลุกอสังหาริมทรัพย์ฟื้น

การมาถึงของวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดูกำลังจะเป็นประหนึ่งยาวิเศษและแก้วสารพัดนึกที่ปลุกให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายกลับมามีความหวังหลังจากที่ตกอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรค แม้ว่าการนำเข้าวัคซีนดังกล่าวจะทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีการนำเข้าวัคซีนเชิงพาณิชย์จากจีน หลังจากที่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้รับวัคซีนด้วยวิธีอื่นๆ ไปก่อนหน้าแล้วก็ตาม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นับเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มี Multiplier Effect สูงมาก ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้อทาวน์เฮาส์เท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสี ปูนซีเมนต์ เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องครัว ซึ่งการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจและน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปกว้างขวางยิ่งขึ้น หากแต่ในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ ลดลงร้อยละ 2 มาอยู่ที่ 197 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาส ขณะที่แนวโน้มราคาและอุปทาน มีทิศทางลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก โดยกำลังซื้อจากผู้บริโภคต่างชาติที่หายไปนาน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวช้าลงจากที่คาดไว้ช่วงครึ่งหลังปีนี้ โดยล่าสุด พบว่า COVID-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และจะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ด้านดัชนีอุปทานก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการหันมาเร่งระบายสต็อกคงค้างและชะลอการเปิดโครงการใหม่ ขณะที่ความต้องการซื้อก็ถูกดูดซับไปจำนวนมากจากสงครามราคาที่รุนแรงช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าสงครามราคาอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัว หากแต่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างตรงจุดและความชัดเจนของการฉีดวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งการฟื้นตัว ส่วนมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

Read More