Home > transportation

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนต้นทุนต่ำ?

คนไทยประสบปัญหาการจราจรติดขัด เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตก ไม่ว่าปริมาณน้ำฝนจะมีเพียงเล็กน้อย หรือฝนตามฤดูกาล หรือการปรับปรุงพื้นผิวการจราจร การก่อสร้างโครงการขนส่งมวลชนระบบราง เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลทางกายภาพที่ส่งผลให้การจราจรในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มหานครที่หลายคนใฝ่ฝันจะเดินทางเข้ามาแสวงหาความศิวิไลซ์ ประสบกับปัญหาการจราจรติดขัดอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง นั่นยังไม่นับรวมเหตุจากการใช้รถใช้ถนนที่ขาดระเบียบวินัย โดยมุ่งที่จะสร้างความสะดวกสบายของตัวเองเป็นหลัก จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อทุกครั้งที่หลายสำนักมีการจัดอันดับ เมืองที่ “รถติด” ที่สุดในโลก เมืองหลวงของไทยมักติดโผเป็นอันดับต้นๆ เสมอ โดยเฉพาะการจัดอันดับของ BBC ในปี 2017 ที่ปรากฏชื่อ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่รถติดเป็นอันดับ 1 ผลการจัดอันดับถือเป็นภาพสะท้อนชั้นดีถึงวิธีการแก้ปัญหาการจราจรที่ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะรัฐบาลยุคใด สมัยใดก็ตาม หากจะมองหาต้นเหตุของปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้ มีด้วยกันหลายสาเหตุ ประการแรกคือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งมีหลากหลายเหตุผลที่คนไทยจำนวนหนึ่งตัดสินใจซื้อรถยนต์ ทั้งจากนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลก่อนหน้า การซื้อรถเพื่อใช้งาน หรือเพราะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ระบบขนส่งมวลชนของไทยที่ด้อยทั้งคุณภาพ บริการ และเหนืออื่นใด คือความปลอดภัย ที่หาได้ยากจากบริการรถสาธารณะ ประการที่สองคือ นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของภาครัฐ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าภาพรวมตลาดรถยนต์ในปี 2561 น่าจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 2-5 เมื่อเทียบกับปี 2560 ซึ่งยอดขายน่าจะได้มากกว่า 880,000 ถึง 900,000 คัน แม้ว่าเหตุผลของผู้ที่ตัดสินใจซื้อรถคันใหม่อาจมาจากการถือครองรถยนต์ในโครงการรถคันแรก

Read More

รถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว

 มารุเบนิ คอร์ปอเรชั่น และโตชิบา คอร์ปอเรชั่น ประกาศเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง เส้นทางเดินรถ เตาปูน–บางใหญ่ (สถานีคลองบางไผ่) อย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 6 สิงหาคม 2559 หลังจากที่กลุ่มกิจการร่วมค้า มารุเบนิ และโตชิบา (MTJV) ได้เซ็นสัญญาเป็นผู้จัดหาขบวนรถไฟฟ้าและระบบซ่อมบำรุงให้แก่โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ตั้งแต่ปี 2556  โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA) ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากสถาบันการเงินของประเทศญี่ปุ่น ในการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงซึ่งมีระยะทาง 23 กิโลเมตร เชื่อมการเดินทางระหว่างชาวกรุงเทพมหานครและชาวนนทบุรี เพื่อลดปัญหาการจราจรระหว่าง 2 เมืองใหญ่ให้เกิดความคล่องตัวและยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มกิจการร่วมค้า มารุเบนิ และโตชิบา ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดหาขบวนรถไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบจ่ายไฟฟ้า และระบบติดต่อสื่อสาร รวมถึงระบบซ่อมบำรุงให้แก่โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นระยะเวลา 10 ปี ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท อีสต์ เจแปน เรลเวย์ จำกัด (JR East)  ขบวนรถไฟฟ้าได้รับการผลิตโดย บริษัท เจแปน ทรานสปอร์ต

Read More

100 ปี “สถานีรถไฟกรุงเทพ” สุดสายปลายทางของหัวลำโพง?

  ในห้วงยามที่ไทยกำลังเร่งพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานภายในปี ค.ศ. 2020 โดยเน้นไปที่กระทรวงคมนาคม ที่มุ่งหวังให้เกิดศักยภาพด้านการคมนาคมภายในประเทศ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างเส้นทางโลจิสติกเพื่อเชื่อมประสานไทยกับประเทศอื่นๆ ด้วยเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีเป้าประสงค์จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้โครงการที่นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกระทรวงคมนาคมและสร้างให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศได้ในระดับหนึ่ง คือโครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า ถนนทางหลวง ถนนทางหลวงชนบท  นโยบายต่างๆ ที่ประกาศออกมาดูเหมือนว่าการให้น้ำหนักของรัฐบาลแต่ละชุดที่เข้ามาบริหารประเทศจะมุ่งเน้นไปที่การขนส่งระบบราง ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และคาดหวังให้ประชาชนสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายค่าครองชีพในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งคงเป็นไปได้ยากเมื่อในบางพื้นที่การขนส่งระบบรางไม่มีจุดที่สามารถเชื่อมต่อกับการขนส่งมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนจำต้องใช้บริการรถรับจ้างเอกชน นำมาซึ่งภาระค่าครองชีพที่มากขึ้น กระนั้นการพัฒนาที่กำลังเกิดขึ้นทำให้คาดหวังถึงผลสำเร็จที่จะตามมาในไม่ช้าไม่นาน ซึ่งหากกำหนดการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต เสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดในปี พ.ศ. 2560 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะย้ายการเดินรถจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางบางซื่อ ทั้งนี้มีการคาดการณ์เบื้องต้นว่าภายในปี พ.ศ. 2563 จะใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นชุมทางรถไฟหลักแทนสถานีรถไฟกรุงเทพ ซึ่งจะทำให้สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีที่มีรถไฟ 4 ระบบ ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และรถไฟใต้ดิน  ซึ่งจะทำให้สถานีรถไฟกรุงเทพมีขบวนรถไฟที่วิ่งเข้ามาน้อยลงไปประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ โดยจะเหลือเฉพาะรถไฟดีเซลท่องเที่ยว และรถไฟที่มาจากชานเมืองอย่างรถไฟสายใต้จากแม่กลอง-นครปฐม ทั้งนี้ในปัจจุบันสถานีรถไฟกรุงเทพรองรับรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน ทั้งจากรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายใต้  และแม้ว่าปัจจุบันสถานีรถไฟกรุงเทพจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร หรือรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยายใหม่ก็ตาม หากแต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือ

Read More

ยุทธศาสตร์รถไฟ: สร้างรางเพื่อสร้างเมือง

 ความพยายามของประเทศไทยที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ว่าด้วยเรื่องการคมนาคมขนส่งให้ก้าวหน้าและสามารถรองรับกับการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ประสานกับบทบาทของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ระบุว่าการพัฒนาระบบรางของไทยมีความจำเป็น และกำลังศึกษารูปแบบที่เหมาะสมจากหลากหลายประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นแน่นอนว่าต้องมีญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในตัวแบบของการพัฒนาด้วย ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ แม้พัฒนาการของระบบรถไฟในประเทศยุโรปอีกหลายชาติจะมีความก้าวหน้าอย่างมาก และมีการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม โดยเฉพาะในกรณีของเยอรมนีที่บริหารโดย Deusche Bahn: DB หรือในกรณีของอังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งต่างเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและพร้อมจะส่งออกวิทยาการเหล่านี้ ไม่นับรวมจีนที่หมายมั่นปั้นมือที่จะเบียดแทรกเข้าสู่ตลาดนี้ด้วยเช่นกัน แต่ภายใต้การจำเริญเติบโตของเมืองในสังคมการผลิตแบบเอเชีย ที่มีความใกล้เคียงกันระหว่างไทยและญี่ปุ่น บางทีประสบการณ์จากญี่ปุ่นอาจให้คำตอบที่ใกล้เคียงกับความต้องการของสังคมไทยในห้วงยามนี้  พัฒนาการของโครงข่ายการคมนาคม ด้วยระบบรางในประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะจำเริญเติบโตจากผลของระดับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ซึ่งผลักดันให้ญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกิจการรถไฟอยู่ในระดับที่ก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกแล้ว กิจการรถไฟในญี่ปุ่นยังเป็นกรณีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับชาติอย่างยากจะแยกออก  ระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ส่งผลให้กิจการรถไฟในญี่ปุ่น ก้าวข้ามบริบทของการเป็นเพียงบริการสาธารณะที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนสำหรับการเดินทางในประเทศไปอีกขั้น เมื่อนวัตกรรมที่เป็นผลผลิตจากระบบรถไฟของญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็น MagLev (Magnetic levitation) หรือรถไฟความเร็วสูง (Bullet Train: Shinkansen) กำลังแปลงสภาพเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามหาศาลอีกชนิดหนึ่ง ที่พร้อมรุกเข้าสู่การรับรู้ของผู้คนในทุกภูมิภาคโดยเฉพาะการสร้างโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองทั่วอาเซียนในอนาคต ยุทธศาสตร์การพัฒนาของรถไฟความเร็วสูง หรือ Shinkansen ของญี่ปุ่นอาจให้ภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจและเป็นที่กล่าวถึง โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่ว่าการเดินทางระหว่างเมืองใหญ่สำคัญของญี่ปุ่นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีราคาย่อมเยากว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน แต่พัฒนาการที่ว่านี้คงเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากการวางโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง  ความเป็นมาของกิจการรถไฟในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 1872 เมื่อเส้นทางการเดินรถไฟสายแรกระหว่าง Shinbashi ซึ่งเป็นทั้งย่านธุรกิจและคลังสินค้าขนาดใหญ่ในกรุงโตเกียวกับเมืองท่า Yokohama เปิดให้บริการ โดยมีพิธีเปิดอย่างเอิกเกริกที่สถานีต้นทางทั้งสองแห่ง  ตลอดเส้นทางที่รถไฟสาย

Read More