ม้าเร็ว คนเร็ว จดหมาย ย้อนยุค 140 ปี ไปรษณีย์ไทย
การสื่อสารยุคสมัยใหม่ที่มีหลากหลายรูปแบบ การพูดคุยทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ การส่งข้อความผ่านไลน์ ผ่าน Messenger ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทวิตเตอร์ สไกป์ ทำให้การเขียนจดหมายกลายเป็นช่องทางที่ล่าช้า ยกเว้นในพื้นที่ห่างไกลที่สื่อสารสมัยใหม่ยังเข้าไปไม่ถึง หากย้อนรูปแบบการสื่อสารในประเทศไทยสมัยก่อน หลังการสร้างเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการค้า มีทั้งการส่งข่าวผ่านกลุ่มพ่อค้า ใช้ม้าเร็ว ตั้งคนเร็วไว้ตามเมืองสำคัญ กระทั่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สนพระทัยการเขียนจดหมายโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ และทรงใช้การไปรษณีย์ติดต่อกับประมุข ติดต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกประเทศ ปี 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช หัวหมื่นมหาดเล็กเวรสิทธิ์ ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายคำแนะนำให้เปิดบริการไปรษณีย์ในประเทศไทย ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบและทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงมีประสบการณ์ เกี่ยวกับการจัดส่งหนังสือพิมพ์รายวัน “ข่าวราชการ” ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์ วันที่ 4 สิงหาคม 2426 มีการประกาศเปิดรับฝากส่งจดหมายหรือหนังสือ เป็นการทดลองในเขตพระนครและธนบุรี มีที่ทำการ ณ ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองโอ่งอ่าง ซึ่งปัจจุบันถูกรื้อและสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานพุทธ เรียกว่า “ไปรษณียาคาร” ปี 2428 รัฐบาลได้ตรากฎหมายด้านการไปรษณีย์ฉบับแรก “พระราชบัญญัติการไปรษณีย์ไทย จุลศักราช 1248” เพื่อเป็นระเบียบข้อบังคับให้ประชาชนผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติ วันที่
Read More