ไทยแลนด์แดนขยะ 4.0 การจัดการที่พร่องสำนึก?!
เหตุการณ์ที่สะเทือนใจคนรักสัตว์ รักทะเล ไม่น้อย เมื่อวาฬนำร่องคลีบสั้นที่เกยตื้นบริเวณคลองนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา เสียชีวิตลงอย่างน่าเศร้าสลดก่อนวันทะเลโลก (8 มิ.ย.) เพียงไม่กี่วัน การชันสูตรจากสัตวแพทย์ทำให้สังคมทั้งในไทยและต่างชาติประจักษ์ชัดถึงหลักฐานสำคัญที่ฉายภาพพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่เรียกตัวเองว่า “มนุษย์” ได้ละเลย เพิกเฉย และขาดการตระหนักถึงผลกระทบจากการกระทำอันปราศจากจิตสำนึกที่ดี ที่ควรต้องมีต่อสังคมส่วนรวมมากแค่ไหน ถุงพลาสติกที่อยู่ในกระเพาะของวาฬตัวดังกล่าวที่มีมากถึง 80 ใบ และมีน้ำหนักรวม 8 กิโลกรัม คือคำตอบต่อเรื่องการจัดการปัญหาขยะของสังคมไทย ที่นับวันจะทวีความรุนแรงของปัญหานี้มากขึ้น แม้ว่าสาเหตุหนึ่งจะมาจากการที่ขยะพลาสติกไม่ได้ถูกกำจัดและได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง และเหนืออื่นใดคือ “ความมักง่าย” ของผู้คนในสังคม ผู้ล่าที่อยู่ในอันดับสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร แน่นอนว่าวาฬนำร่องตัวนี้ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตในทะเลตัวแรกที่ได้รับผลกระทบจากขยะทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เคยเปิดเผยรายงานว่า มีสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 คือ 1. กลุ่มเต่าทะเล 669 ตัว แบ่งเป็น เกยตื้น (มีชีวิต) 334 ตัว ซากเกยตื้น 335 ตัว
Read More