Home > NEDA

NEDA กับเส้นทางที่ไม่เคยง่าย เชื่อมเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน

การค้าชายแดน เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค แต่ในบางครั้งปัญหาและอุปสรรคจากจุดผ่านแดน หรือประตูหน้าด่านที่เป็นช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งความล่าช้าในการขนส่งจากการที่รถขนส่งสินค้ากระจุกตัว เพราะความคับแคบของจุดผ่านแดน ซึ่งจะส่งผลเสียในวงกว้าง สินค้าส่งออกที่สำคัญจากจังหวัดสระแก้ว สู่ประเทศกัมพูชา ได้แก่ รถยนต์ รถเพื่อการเกษตร อะไหล่ และสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าที่ไทยนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มันสำปะหลัง เศษเหล็ก แม้ว่าไทยจะมีการเพาะปลูกมันสำปะหลังอยู่ในหลายพื้นที่ แต่ปริมาณยังไม่เพียงพอต่อการผลิต ทำให้ไทยจำเป็นต้องนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยสภาพพื้นที่ทางการเกษตรมีความคล้ายคลึงกัน จึงทำให้กัมพูชาสามารถเพาะปลูกและให้ผลผลิตมันสำปะหลังในปริมาณมาก ข้อมูลการค้าชายแดนไทยกับกัมพูชาด้านจังหวัดสระแก้วในเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 7,629.09 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 220.95 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลง 2,874.39 ล้านบาท หากดูตัวเลขมูลค่าการค้าของทั้งปี 2566 (มกราคม-ธันวาคม 2566) มีมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 102,451.17 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 29,075.60 ล้านบาท ด้วยมูลค่าการค้าต่อปีที่สูงกว่าหนึ่งแสนบาท หากเกิดความล่าช้า หรือเสียหายย่อมส่งผลต่อตัวเลขส่งออกของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทย แม้ว่าการค้าชายแดนจากจังหวัดสระแก้วจะเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมก็ตาม ปัญหาความแออัดและความไม่สะดวกสบายของการเข้าออกจุดผ่านแดนระหว่างสองประเทศ หน่วยงานที่มักจะเข้ามาแก้ปัญหาและร่วมพัฒนาคือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน

Read More

ครม.อนุมัติโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเมืองย่างกุ้ง

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 อนุมัติให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) สำหรับโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเมืองย่างกุ้ง (เขต North Okkalapa และเขต North Dagon) ในรูปแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน วงเงิน 1,458.248 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินจากเงินงบประมาณและเงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นไปตามยุทธศาสตร์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และยังเป็นการสนับสนุนการผลิต สินค้าและบริการของผู้ประกอบการไทย ซึ่งเป็นผลจากเงื่อนไขเงินกู้ที่ได้กำหนดให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าสัญญา อีกทั้งช่วยดึงดูดนักลงทุนชาวไทยให้เข้าไปลงทุนในเมียนมา โดยใช้บริการรับเหมาก่อสร้างและวิศวกรควบคุมงานจากประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินโครงการด้วย

Read More

นครพนมฝันไกล จากเมืองซอยตัน สู่ฮับโลจิสติกส์

ย้อนกลับไปก่อนที่จะมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 จังหวัดนครพนมมักจะถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นเมืองซอยตัน และหลังจากปี พ.ศ. 2554 ที่มีการเปิดใช้สะพาน คำว่า “เมืองซอยตัน” ถูกลบออกไปจากพจนานุกรมของนครพนมทันที แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งในแง่มุมทางเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว รวมไปถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลายเป็นที่จับตามองจากบรรดานักลงทุนทั้งในและนอกพื้นที่ ในฐานะที่วันนี้นครพนมกลายเป็นเมืองหน้าด่านที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว และเวียดนามได้ด้วยระยะทางที่สั้นที่สุด เมื่อเทียบกับ จ.มุกดาหาร หรือ จ.หนองคาย แม้ว่าก่อนหน้าหลายฝ่ายจะเคยกังวลว่า สถานการณ์ของจังหวัดนครพนมหลังจากเปิดใช้สะพานมิตรภาพ 3 ทิศทางจะเป็นอย่างไร จะเหมือนหรือแตกต่างจากจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดหนองคายหรือไม่ ที่เมื่อครั้งก่อนจะมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทั้งแห่งที่ 1 และ 2 นักเก็งกำไร นักลงทุนต่างคาดหวังถึงผลลัพธ์เอาไว้มากมาย หากแต่ผลที่ได้การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น หากวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตกับนครพนม คล้ายเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เมืองแห่งพระธาตุศักดิ์สิทธิ์แตกต่างจาก 2 จังหวัดข้างต้น ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะตัวแปรสำคัญอย่างมหาวิทยาลัยนครพนม และสนามบิน ซึ่งเป็นเสมือนศักยภาพขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการถูกเลือกให้นครพนมเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขอันเป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้นครพนมโดดเด่นขึ้น การเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนครพนม โดยเฉพาะในมิติของการเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่สำคัญตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เห็นได้จากตัวเลขสถิตินับตั้งแต่การเปิดใช้สะพาน มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดนครพนมจากที่เคยซบเซากลับขยายตัวสูงขึ้น โดยมูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดนครพนมในปี

Read More