Home > Korean Wave

จัดเต็ม “กงยู” ปลุกกำลังซื้อ ดันทุบสถิติ Top Spender 78 ล้าน

หากย้อนกลับไปในปี 2540 วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้อย่างมาก ทางการต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลายเป็นแรงผลักดันให้เกาหลีต้องปรับตัวหันมาเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างจริงจัง ทั้งเพลง ละคร ภาพยนตร์ เกมออนไลน์ และวัฒนธรรมทุกรูปแบบ เพราะรัฐบาลเกาหลีเริ่มเล็งเห็นว่า วัฒนธรรมประจำชาติมีมูลค่าทำเงินได้ มีการประกาศนโยบายเสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานทางวัฒนธรรมตั้งแต่ปี 2543 เกิดองค์การมหาชน ศูนย์วิจัยทางวัฒนธรรม สถาบันการศึกษาเทคโนโลยีทางวัฒนธรรม ขยายศูนย์วัฒนธรรมและศิลปะทั่วประเทศ ปี 2544 กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวประกาศปีแห่งการท่องเที่ยวเกาหลี จัดเทศกาลกีฬา เทศกาลดนตรี เทศกาลอาหาร เทศกาลแฟชั่น เทศกาลการละเล่นต่างๆ จนเกิดกระแสและที่เติบโตโดดเด่น คือ วงการเพลง ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ทำให้รัฐบาลเกาหลีมองเห็นช่องทางขยายอุตสาหกรรมบันเทิง โดยเฉพาะการส่งออกละครโทรทัศน์เรื่อง แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง สามารถทำรายได้จากลิขสิทธิ์ถึง 103.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการก่อตั้งสถาบัน The Korea Creative Content Agency (KOCCA) เพื่อบริหารจัดการและพัฒนาธุรกิจด้านวัฒนธรรมเกาหลีอย่างครบวงจรในทุกสื่อบันเทิง กว่า 27 ปี Korean Wave

Read More

Korean Wave แรงส์ เน็ตฟลิกซ์อัดคอนเทนต์ ยอดพุ่ง 6 เท่า

แม้สงครามสตรีมมิ่งแข่งขันด้านราคารุนแรง แต่ “คอนเทนต์” คือตัวชี้ขาดสำคัญ ไม่ว่า Netflix, Disney+, Amazon, HBO Go, viu, iQIYI และ Apple TV+ ซึ่งซีรีส์และภาพยนตร์เกาหลีเป็นหนึ่งจุดขายที่สามารถขยายฐานสมาชิกในตลาดบ้านเราตามกระแส Korean Wave หรือ Hallyu ที่โด่งดังทั่วโลกแถมยาวนานและเหนียวแน่น เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริการายงานกำไรในไตรมาส 2 ปี 2566 สูงกว่าคาดการณ์ หลังใช้มาตรการห้ามแชร์รหัสบัญชีบริการสตรีมมิ่งโดยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 3.29 ดอลลาร์ และรายได้อยู่ที่ 8.19 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สำหรับจำนวนสมาชิกที่จ่ายค่าบริการสตรีมมิ่งทั่วโลก เพิ่มขึ้น 5.9 ล้านราย หรือประมาณ 8% และคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 3/2566 จะอยู่ที่ 8.5

Read More

สงครามค้าปลีก “วันไพร์ส” แบรนด์เกาหลีเร่งแซงญี่ปุ่น

สงครามค้าปลีกกลุ่ม “One Price Store” แข่งขันกันดุเดือด แม้ “ไดโซะ (Daiso)” ต้นตำรับร้านร้อยเยนจากญี่ปุ่น ในฐานะผู้บุกเบิกตลาดไทยเป็นเจ้าแรกเมื่อ 15 ปีก่อน ยังสามารถยึดตำแหน่งผู้นำในเซกเมนต์นี้ แต่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้เล่นหน้าใหม่แห่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่ง โดยเฉพาะแบรนด์สไตล์เกาหลี ที่เริ่มรุกขยายฐานเจาะกลุ่มแฟนคลับวัยรุ่นตามกระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่ยังร้อนแรงต่อเนื่อง แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบกัน วัฒนธรรมญี่ปุ่นสอดแทรกเข้าสู่ประเทศไทยมายาวนานกว่าวัฒนธรรมเกาหลี สีสันอาจดูคล้ายกัน แต่กระแสความแรงต่างกัน กระแสเกาหลี (Korean Wave) หรือ “Hallyu” ซึ่งเป็นศัพท์ที่นักหนังสือพิมพ์ชาวจีนบัญญัติขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1990 หมายถึงกระแสความเย็นของความนิยมเกาหลีที่ค่อยๆ คืบคลานมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถือเป็นปรากฏการณ์เหนือความคาดหมายของนักวิชาการหรือบรรดาสื่อมวลชน เพราะเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมข้ามชาติที่ข้ามพ้นอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมของชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา กระแสนี้ก่อตัวมากว่าสิบปีและยังมีแนวโน้มมาแรง เป็นความนิยมชมชอบทางวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลี (Korean Pop Culture) ที่มาจากภาพยนตร์ เพลงป๊อป และดารานักร้องเกาหลี จนสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศเกาหลีใต้เป็นเงินมากกว่า 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านการส่งออกวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทย กระแสเกาหลีเริ่มต้นช่วงปี 2544 จากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง My Sassy Girl

Read More