เศรษฐกิจโลกทรุด ต้นเหตุส่งออกไทยติดลบ?
ดูเหมือนว่าฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยยากที่จะเข็นขึ้นเสียแล้ว เมื่อการวาดหวังว่าห้วงเวลาสุดท้ายของปี สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยอาจจะกระเตื้องขึ้นบ้าง จะเห็นได้จากบรรยากาศสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เวลานี้ที่คลื่นลมสงบ นั่นเพราะทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่าการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีอาจไม่ใช่หนทางที่ดี และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่างพยายามหาทางออกที่เหมาะสม การเว้นวรรคจากการห้ำหั่นกันของสองชาติมหาอำนาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศดีขึ้นเท่าใดนัก เมื่อหลายประเทศกำลังประสบกับสภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ หลายประเทศต้องออกมาตรการและนโยบายด้านการเงินและการคลัง โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นชีพจรให้เครื่องจักรเศรษฐกิจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อลองพิจารณาชาติมหาอำนาจอย่างจีนที่มีอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าเป้าประสงค์ของรัฐบาลจีน นั่นเพราะปัจจัยทั้งภายในประเทศที่ทำให้ทางการจีนต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง ทว่า คงไม่ใช่แค่ประชากรในประเทศจีนเท่านั้นที่จะต้องติดตามว่ามาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลจีนนำออกมาใช้จะเพียงพอให้เศรษฐกิจจีนหลุดพ้นจากภาวะชะงักงันได้หรือไม่ เมื่อยังมีความเสี่ยงภาคการเงินจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งนั่นทำให้จีนต้องระวังที่จะใช้นโยบายทางการเงินมากพอสมควร ขณะที่ไทยเองยังต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีน นั่นเพราะจีนถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และไทยพึ่งพาเศรษฐกิจโลกในสัดส่วนที่สูง ทำให้การส่งออกเชิงดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ติดลบ 2.0 เปอร์เซ็นต์ แต่ในรูปเงินบาทหดตัวติดลบ 2.43 เปอร์เซ็นต์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาคาดการณ์ว่าในไตรมาส 4/2562 ทางการจีนน่าจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายการคลัง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีนในไตรมาส 4/2562 น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.0 และทั้งปี 2562 เศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อย่างไรก็ดี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มอ่อนแรงลง และในปี 2563 จะชะลอตัวต่ำลงกว่าในปีนี้ โดยอาจขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 6 ซึ่ง IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเหลือ 5.8 แล้วในปีหน้า โดยความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อและประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายแบบขยายตัวของทางการจีนที่น่าจะมีจำกัดมากขึ้นจะเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป แม้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
Read More