Home > election

ไร้สัญญาณบวก! เศรษฐกิจไทยรอขยับหลังเลือกตั้ง

ภายใต้เงื่อนไขว่าด้วยกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 ที่กำลังขยับใกล้เข้ามาทุกขณะ แต่ดูเหมือนว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันดำเนินไปอย่างไร้ปัจจัยบวก เพื่อมาเกื้อหนุนพลวัตให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง มิหนำซ้ำศักยภาพและแนวคิดว่าด้วยการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ก็ดูจะตีบแคบลงจนหัวหน้าคณะ คสช. ถึงกับต้องเอ่ยปากให้ประชาชนพึ่งพาตนเองและปรับตัวรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่นี้เองด้วย แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกสินค้าและบริการที่เติบโตต่อเนื่อง โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีการขยายตัวดีด้วยแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือ กำลังซื้อภาคครัวเรือนมีการปรับตัวอย่างเชื่องช้า ซึ่งเป็นผลมาจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และปัญหาเชิงโครงสร้างในตลาดแรงงาน ความกังวลใจว่าด้วยทิศทางเศรษฐกิจไทยภายหลังการเลือกตั้ง นอกจากจะอยู่ที่รูปร่างหน้าตาของคณะรัฐบาลว่าจะมีการจัดตั้งภายใต้พรรคการเมืองใดเป็นแกนนำ และจะมีเสถียรภาพในการนำพานโยบายทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ก้าวหน้าไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องติดตามผลการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดมีขึ้นแล้ว บรรยากาศระหว่างการเลือกตั้งที่กำลังดำเนินอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันอาจช่วยกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการเมืองไทยในระยะสั้น ปรับตัวดีขึ้นบ้าง และช่วยให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมกราคม 2562 ซึ่งสำรวจโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะถัดจากนี้ ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกและข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านๆ มา ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าในระหว่างที่มีการรณรงค์หาเลือกตั้ง จะมีเม็ดเงินสะพัดและสร้างความคึกคักให้เกิดขึ้นทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 3-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งปริมาณเม็ดเงินที่หมุนเวียนเข้าสู่ระบบเหล่านี้ จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 แต่นั่นก็เป็นเพียงการคาดการณ์ที่มีข้อสงวนในเงื่อนไขและเหตุปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีกมากมาย ประเด็นที่น่าสนใจติดตามนอกเหนือจากสภาพการเมืองไทยหลังจากทราบผลการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลว่าจะมีเสถียรภาพอย่างไรแล้ว ยังมีปัจจัยว่าด้วยเศรษฐกิจระดับมหภาคและสถานการณ์การค้าโลก ที่ดำเนินผ่านคู่ขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่กำลังกดทับให้เศรษฐกิจการค้าโลกมีแนวโน้มที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับข้อมูลขององค์กรการค้าโลก WTO ที่ระบุว่าสถานการณ์การค้าโลกในห้วงปัจจุบันตกต่ำหนักที่สุดในรอบ 9 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากความตึงเครียดของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ขณะที่การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (BREXIT) ก็กลายเป็นปัจจัยลบที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจระดับโลก ท่ามกลางปัจจัยลบทางเศรษฐกิจโลกที่ดำเนินอยู่รอบด้าน ค่าเงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

Read More

มาเลือกตั้งกันเถอะ

 Column: AYUBOWAN ขณะที่ความเป็นไปในแวดวงการเมืองไทยยังมีสภาพประหนึ่งติดบ่วงให้ต้องละล้าละลังและชะงักงันไม่สามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างตั้งใจ ภายใต้คำถามว่าจำเป็นต้องปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ และจะปฏิรูปสิ่งใด อย่างไรให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ซึ่งดูเหมือนว่ากำหนดการเลือกตั้งที่ผู้คนในสังคมจำนวนหนึ่งรอคอยจะไม่ได้ถูกบรรจุในปฏิทินไปอีกนานทีเดียว แต่สำหรับสังคมศรีลังกา ซึ่งเพิ่งผ่านการเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้นำในตำแหน่งประธานาธิบดีตามระบอบประชาธิปไตยครั้งใหญ่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา พวกเขากำลังเดินหน้าเข้าสู่คูหาเลือกตั้งอีกครั้งเพื่อลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 225 ที่นั่งมาทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติ ไม่ได้หมายความว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาศรีลังกา เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนที่ไม่ได้มีสภานิติบัญญัตินะคะ หากแต่ไมตรีพละ สิริเสนา (Maithripala Sirisena) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดมีการเลือกตั้งก่อนกำหนดครบวาระ โดยจะเลือกตั้งกันในวันที่ 17 สิงหาคม 2558 นี้ มูลเหตุที่ทำให้ศรีลังกามีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่เร็วขึ้นกว่ากำหนดถึงกว่า 10 เดือน โดยการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดคือเมื่อเมษายน 2010 และมีวาระ 6 ปีก็คือ คำมั่นสัญญาว่าด้วยการปฏิรูปทางการเมืองของไมตรีพละ สิริเสนา เมื่อต้นปี 2015 หลังจากครองชัยชนะในการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งสามารถโค่น Mahinda Rajapaksa ให้ต้องพ้นจากตำแหน่งไปท่ามกลางความแปลกใจของผู้สังเกตการณ์แต่ละกลุ่ม การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของไมตรีพละ สิริเสนา หลังการเลือกตั้งประชาธิปไตยเมื่อเดือนมกราคม 2015 ติดตามมาด้วยคำมั่นสัญญาและแผนปฏิรูป 100 วัน เพื่อแก้ไขข้อกำหนดบางประการในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะวาระและอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี ที่ก่อนหน้านี้

Read More

โอ้… กรุงเทพฯ ๒๐๑๓ รัตนโกสินทร์ศก ๐๒๓๑

ความสำคัญของกรุงเทพมหานคร หากจะเปรียบในเชิงกายวิภาค ก็คงไม่ต่างจากการเป็นหัวใจที่พร้อมจะสูบและฉีดอณูของเม็ดโลหิตให้ไหลเวียนไปทั่วร่าง แต่ดูเหมือนว่าสุขภาพของหัวใจดวงนี้ กำลังพอกพูนด้วยปัญหา และกำลังรอคอยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งอาจหนักหนาถึงขั้นต้องผ่าตัดครั้งใหญ่ก็คงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ขณะที่ข้อเท็จจริงในชีวิตทางการเมืองของกรุงเทพมหานคร แพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญนั้นไม่เคยมี ประชากรชาวกรุงเทพมหานครทุกคนต่างหากที่กำลังจะชี้วัดความเป็นไปของกรุงเทพฯ ไม่ใช่ผู้อาสาที่รับสมอ้างว่าเป็นแพทย์ เพราะสุขภาพของกรุงเทพมหานคร ย่อมเกิดจากสุขอนามัยพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขอนามัยทางปัญญา ซึ่งจะสะท้อนออกมาเป็นแนวความคิดของคนกรุงเทพฯ เอง มีผู้เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ไม่มีเจ้าของ เพราะคนกรุงเทพฯ ไม่ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมกับพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างแท้จริง ลักษณะของ sense of belonging ที่ควรจะทำให้คนกรุงเทพฯ มีสำนึกความรับผิดชอบ และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการดูแลรักษากรุงเทพฯ กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากขึ้นเป็นลำดับ บทบาทของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ในอนาคต ควรเป็นไปในฐานะของผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการให้คนกรุงเทพฯ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะเท่านั้น หากหมายถึงการอำนวยความสะดวก ให้คนกรุงเทพฯ สามารถมีส่วนร่วมพัฒนา เพื่อวางรากฐานและปรับปรุงโครงสร้าง สำหรับการกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะด้วย นอกจากนี้ การอำนวยประโยชน์และการผลิตสร้างสำนึกการมีส่วนร่วม ให้เกิดกับคนกรุงเทพฯ ทั้งมวล มิได้หมายถึงการลดช่องว่าง ด้วยการทำให้คุณภาพและมาตรฐานในการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครตกต่ำลง ในลักษณะ “เสื่อมทรามอย่างเท่าเทียม” หากแต่จะต้องเกิดจากการพัฒนา และยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ ให้เจริญก้าวหน้า และมีโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่และทรัพยากรอย่างเท่าเทียม ซึ่งจะเป็นบันไดหนุนนำไปสู่พัฒนาการของการสร้างประชาสังคม ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนในการถกแถลง และร่วมกำหนดทิศทางของกรุงเทพฯ อย่างจริงจัง และเป็นการพัฒนากรุงเทพฯ ไปสู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน อย่างแท้จริงในอนาคต 

Read More