“แมลงกินได้” แหล่งโปรตีนชั้นยอด เทรนด์อาหารแห่งอนาคต
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานความปลอดภัยอาหารสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้ออกแถลงการณ์ขึ้นทะเบียนให้ “ตั๊กแตน” เป็นอาหารชนิดใหม่ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคของมนุษย์ นั่นทำให้ตั๊กแตนกลายเป็นอาหารของชาวโลกอย่างเป็นทางการ ต่อจากหนอนนกแบบแห้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไปก่อนหน้านี้แล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีจิ้งหรีดทองแดงลายหรือจิ้งหรีดขาวรอต่อคิวขึ้นทะเบียนเป็นรายต่อไป ในรายงานของอีซีระบุไว้ด้วยว่าการจำหน่ายตั๊กแตนในตลาดของสหภาพยุโรปนั้นจะเป็นในรูปแบบของอาหารแห้ง อาหารแช่แข็ง ขนมขบเคี้ยว หรือเครื่องปรุงรสแบบผง โดยผลิตภัณฑ์ทุกประเภทต้องนำขาและปีกของตั๊กแตนออกให้หมดเสียก่อน การบริโภคแมลงไม่ใช่เรื่องใหม่ของไทย เราคุ้นชินกับการบริโภคแมลงนานาชนิดมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งหรีด หนอนรถด่วน แมงดา หรือดักแด้ไหม ทั้งในฐานะอาหารพื้นถิ่นตามแต่ละภาค หรือในยุคที่ตั๊กแตนปาทังก้าทอดร้อนๆ เหยาะซอส โรยพริกไทยเป็นของกินเล่นแสนเพลิน จนกระทั่งปัจจุบันที่แมลงทอดหรือแมลงอบกรอบถูกบรรจุถุงวางขายอยู่ตามร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าต่างๆ มากมาย แต่สำหรับโลกตะวันตกการบริโภคแมลงเริ่มเป็นที่นิยมช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในฐานะเป็นแหล่งโปรตีนของอาหารแห่งอนาคต องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ระบุว่า ภายในปี 2050 ประชากรโลกจะมีจำนวนมากถึง 9.7 พันล้านคน และอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกทั้งหมด ณ เวลานั้นจะต้องเพิ่มขึ้นทวีคูณ ซึ่งนั่นหมายถึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก ทำฟาร์มปศุสัตว์ หรือเพิ่มพื้นที่การทำประมง เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหาร ในขณะที่จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นทำให้พื้นที่กลับถูกนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัยมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้เกิดความกังวลว่าในอนาคตโลกจะไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการของมนุษย์ การแสวงหาแหล่งอาหารทดแทนเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะขาดแคลนอาหารที่อาจจะเกิดขึ้นจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่กำลังถูกพูดถึงในวงกว้าง ซึ่งนั่นทำให้ “แมลงกินได้”
Read More