ข่าวการเดินทางเพื่อเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นให้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนของไทยในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่ง ถือเป็นความพยายามที่ไม่สิ้นสุดของรัฐบาลไทยที่จะผลักดันโครงการลงทุนและกระตุ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทยให้ดำเนินไปตามถ้อยแถลงว่าด้วยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแล้ว
แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าจะไม่สอดรับกับคำเอ่ยอ้างและวาทกรรมว่าด้วยความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติ และในบางกรณีอาจดำเนินสวนทางไปในทิศทางตรงข้ามก็ตาม
ความพยายามที่จะสถาปนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาผ่านปาฐกถาในงานสัมมนา “Thailand towards Asian Hub” ถือเป็นข้อเน้นย้ำถึงมายาคติที่บีบอัดเป็นมิติมุมมองของทั้งผู้นำระดับสูงในรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่จ่อมจมอยู่กับวาทกรรมและความเชื่อว่าด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของไทยแบบดั้งเดิม โดยละเลยบริบทของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
ขณะที่การเน้นย้ำประเด็นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ดูจะเป็นการเน้นย้ำที่ไม่ต่างจากแผ่นเสียงที่ตกร่อง เพราะนอกจากจะยังไม่มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมใหม่ๆ ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบของพัฒนาการเชิงนโยบายในสองเรื่องนี้อย่างจริงจังเลย
ประเด็นว่าด้วย EEC หรือการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่ดำเนินไปภายใต้ความคาดหวังว่าจะช่วยเปลี่ยนผ่านภาคการผลิตของไทย และเป็นโครงการที่จะต้องมีการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวมกว่า 4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญถึงความเป็นไปได้ของโครงการนี้ว่าจะแสวงหาเม็ดเงินและนักลงทุนจากที่ใดเข้ามาเติมเต็มความฝันครั้งใหม่ของรัฐบาลไทยนี้
“หากขาดนักลงทุนจากญี่ปุ่น EEC คงพัฒนาไม่สำเร็จ จึงได้เชิญประธาน JETRO มาเป็นที่ปรึกษาเพื่อติดต่อกับนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งหวังว่าไทย-ญี่ปุ่นจะร่วมมือทางการค้าและลงทุนได้เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการนำแนวคิดร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ของกลุ่มประเทศ CLMVT เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ขยายไปยังกลุ่มต่างๆ ด้วย” สมคิดระบุในตอนหนึ่งของปาฐกถา
การอ้างถึงความพยายามเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาเข้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทั้งกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม หากเป็นในอดีตก็คงดำเนินไปในลักษณะที่ไทยเป็นศูนย์กลางที่จะหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคมไปสู่มิตรประเทศเหล่านี้ หากแต่ในปัจจุบันความพยายามผนวกรวมยุทธศาสตร์ CLMVT กลับกลายเป็นเพียงการขอมีส่วนร่วมให้เกิดความน่าสนใจในมิติของการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้พยายามที่จะนำเสนอ หรือหากกล่าวอย่างชัดเจน
Asia-Africa Growth Corridor (AAGC)Eastern Economic Corridor (EEC)One Belt One Road (OBOR)Thailand towards Asian Hubสถานการณ์เศรษฐกิจไทย Read More