Home > depression

ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าผู้ชาย

Column: Women in Wonderland โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาการอาจคล้ายคนที่มีอาการเศร้าหรือเสียใจทั่วไป เพียงแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นรุนแรงและเกิดขึ้นยาวนานกว่า โดยที่เจ้าตัวหรือคนรอบข้างอาจไม่ทันสังเกตเห็น ปัญหาหลักคือ ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะรู้ก็ขั้นรุนแรงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว โรคซึมเศร้าไม่มีสาเหตุแน่ชัด คาดการณ์ว่าน่าจะมีสาเหตุจากจิตใจ สภาพสังคม ปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว การงาน การเงิน หรือเผชิญกับความล้มเหลว ความสูญเสียในชีวิตอย่างรุนแรง และความผิดปกติด้านชีววิทยาคือ ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ที่สารเคมีบางตัวลดน้อยลงไปทำให้เสียสมดุลและเกิดความบกพร่องในการทำงานร่วมกัน ปัญหาเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า แม้ว่าโรคซึมเศร้าจะเป็นโรคทางจิตเวช แต่ผู้ที่ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นคนบ้า เพียงมีอาการป่วยทางอารมณ์ ซึ่งต้องได้รับการรักษา หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง หรือสุดท้ายฆ่าตัวตายได้ โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยที่สุด ดังนั้น จัดว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะทุกวันนี้มีข่าวฆ่าตัวตายบ่อยครั้งเพราะเป็นโรคซึมเศร้า และโรคนี้ก็เกิดกับคนในทุกช่วงอายุ และทุกอาชีพ ปัจจุบันมีคนป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า มี 300 ล้านคน ที่เป็นโรคซึมเศร้าจากทั่วโลก และในกรณีที่แย่ที่สุดคือ ฆ่าตัวตาย ในแต่ละปีมีคนฆ่าตัวตายประมาณ 800,000 คนต่อปี และสาเหตุหลักๆ การตายของคนช่วงอายุ 15 – 29 ปี

Read More

ยาคุมกำเนิด สาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า

 Column: Women in Wonderland  โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ในช่วงหลังมานี้เราจะได้ยินเกี่ยวกับโรคนี้บ่อยมาก ทุกวันนี้มีคนเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อยๆ บางคนรู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าก็ไปรักษา ในขณะที่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ทำให้คนเหล่านี้ท้ายที่สุดแล้วตัดสินใจฆ่าตัวตาย จากสถิติพบว่าคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า  มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำวิจัยและมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2020 โรคซึมเศร้าจะกลายเป็นโรคอันดับ 2 ของปัญหาสุขภาพของผู้คนทั่วโลกรองจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องมาจากปัญหาเรื่องเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และสังคมที่มีความกดดันมากขึ้น จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคหนึ่งที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เพราะในกรณีที่แย่ที่สุดผู้ป่วยอาจจะฆ่าตัวตายได้ โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความคิด คนที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีความรู้สึกท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่มีความสนุกสนานในการใช้ชีวิต นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึก ฝันร้าย อ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรง รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ใจลอย และคิดเรื่องการตายซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง สาเหตุหลักๆ ที่กระตุ้นให้คนเป็นโรคซึมเศร้าคือ สภาพจิตใจจากสภาวะแวดล้อมที่ต้องเผชิญ เช่น พบเจอกับความเครียดหนักๆ มีปัญหาชีวิต เจ็บป่วยเรื้อรังมานานจนหมดกำลังใจที่จะสู้ ปัญหาการเงิน ต้องย้ายบ้านกะทันหัน มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด และพบกับการสูญเสียในชีวิต และถ้าหากต้องพบเจอกับเหตุการณ์หรืออารมณ์นั้นบ่อยๆ ก็จะเป็นตัวช่วยเร่งให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ ปัจจุบันนี้พบว่า ผู้หญิงจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายถึง 70% และพวกเธอมักจะเริ่มมีอาการของโรคซึมเศร้าเมื่ออายุประมาณ 32

Read More

ใช้อาหารบำบัดโรคซึมเศร้า

 Column: well-being เป็นเวลานับพันปีมาแล้วที่การแพทย์แผนตะวันออกและนักธรรมชาติบำบัด แนะนำให้คนไข้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อช่วยรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ Eva Selhub, MD, อาจารย์ผู้บรรยายประจำคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยอมรับว่า ปัจจุบันวงการวิทยาศาสตร์ตะวันตกได้หันมาให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน สถาบันวิจัยจำนวนมากพากันระบุว่า อาหารที่บริโภคล้วนส่งผลต่อสุขภาพสมองและสุขภาพจิตของเราทั้งสิ้น วงการจึงหันมามุ่งเน้นงานวิจัยและการบำบัดรักษาสุขภาพจิตด้วยอาหารกันขนานใหญ่ จนเกิดเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า “nutritional psychiatry” Felice Jacka, PhD, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยดีกิน ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า “ตลอดสิบปีที่ผ่านมา ผลการวิจัยได้เน้นย้ำให้เราตระหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า สุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพร่างกายโดยรวมที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้” ลดอาหารหวาน ช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าได้  Drew Ramsey, MD, ผู้ช่วยศาสตราจารย์คลินิกด้านสุขภาพจิตแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐฯ และผู้เขียนร่วมหนังสือ The Happiness Diet อธิบายว่า สมองของเรานั้นเหมือนอวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นจากอาหารที่เราบริโภคเป็นหลัก “อารมณ์ต่างๆ มีจุดเริ่มต้นเชิงชีววิทยาจากการที่เซลล์ประสาทสองเซลล์มากระทบกัน และเซลล์ประสาทเหล่านี้ก็สร้างขึ้นจากสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั่นเอง” เขาเพิ่มเติมต่อไปว่า ร่างกายไม่สามารถสร้างสารสื่อประสาท “เซโรโทนิน” ที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ได้ หากขาดธาตุเหล็กและทริปโตแฟน และไม่สามารถสร้างไขมัน myelin ที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนหุ้มเซลล์สมองได้ ถ้าร่างกายขาดวิตามินบี 12 ที่พบมากในอาหารทะเล เนื้อวัว

Read More