Home > CPHI South East Asia 2024

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ เปิดฉากงานยิ่งใหญ่แห่งปี ‘ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024’

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ เปิดฉากงานยิ่งใหญ่แห่งปี ‘ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024’ ยกระดับอุตสาหกรรมยาไทยสู่ ฮับสุขภาพและการแพทย์อาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ เปิดฉากงานสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาคอาเซียนภายใต้การจัดงาน สัปดาห์สุขภาพและการแพทย์ ซึ่งมีการจัดงาน “ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024” (CPHI South East Asia 2024) งานแสดงสินค้าเทคโนโลยี นวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมยาแห่งเอเชีย จัดร่วม 2 งานใหญ่ ‘Medlab Asia & Asia Health’ พร้อมระเบิดศักยภาพผู้ผลิตยาไทยสู่ฮับอุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ ระดมทัพผู้ผลิตกว่า 400 แบรนด์ จาก 50 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุม 10 กลุ่มธุรกิจ ส่องเทรนด์นวัตกรรม ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้จาก 60 หัวข้อสัมมนา จับคู่การค้า สร้างโอกาสธุรกิจ ผลักดันความมั่นคงทางยา ดันอุตฯ

Read More

4 ทศวรรษ ชุมชนเภสัชกรรม บนความมุ่งมั่นของ สุรชัย เรืองสุขศิลป์

ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อชีวิต และทุกชีวิตยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ยา นั่นทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ขาด “ยา” ไม่ได้ นี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมยา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาที่มีมูลค่าสูงหลายแสนล้านบาท ด้วยขนาดของตลาดยาในไทยทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติ มีบริษัทผู้ผลิตยาไทยเพียงไม่กี่ราย และหนึ่งในนั้นคือ บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด ที่อยู่ในธุรกิจยามานานกว่า 4 ทศวรรษ “กว่า 4 ทศวรรษ ที่บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด ดำเนินกิจการภายใต้ปณิธานและความตั้งใจอันแรงกล้าที่จะผลิตยาที่ดี มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยมีโอกาสได้ใช้ยาคุณภาพในราคาที่เหมาะสมยุติธรรม ลดการสูญเสียดุลการค้าจากการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็เป็นการพัฒนาทักษะความสามารถของเภสัชกรไทยให้มีศักยภาพมากขึ้นทั้งคุณภาพ และการบริการที่เหนือกว่า ด้วยราคายุติธรรม” ภก. สุรชัย เรืองสุขศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) กล่าว นอกจากปณิธานที่เป็นสิ่งขับเคลื่อนสำคัญของชุมชนเภสัชกรรมแล้ว การวางเป้าหมายด้านรายได้เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ ภก. สุรชัย ตั้งเป้าไว้สูงถึง 1,000 ล้านบาท “เราตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2668 โดยมีอัตราการเติบโตปีละ 15 เปอร์เซ็นต์

Read More

โอกาสของอุตสาหกรรมยา ในมุมมองผู้ประกอบการไทย

มูลค่าของอุตสาหกรรมยาในไทยที่สูงถึง 2 แสนล้านบาท ทว่ายาที่อยู่ในตลาดกลับเป็นยาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 60% อีก 40% เป็นยาจากผู้ประกอบการไทย หรือประมาณ 50,000 ล้านบาทของมูลค่าตลาด ด้วยสัดส่วนนี้ทำให้เห็นว่าตลาดยาในไทยมีผู้เล่นจากต่างชาติถือครองสัดส่วนมากกว่า แม้ว่าผู้ประกอบการยาไทยจะมีศักยภาพไม่แตกต่างกันก็ตาม จากตัวเลขดังกล่าวทำให้มีความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะเพิ่มสัดส่วนยาจากผู้ประกอบการไทยในตลาดมากขึ้น แม้ว่าจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวัตถุดิบและสารตั้งต้นในการผลิตยาที่ไทยจำเป็นต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มีวัตถุดิบที่ผู้ประกอบการยาไทยสามารถผลิตเองได้มีเพียง 20 รายการ ด้วยปัจจัยข้างต้นทำให้ราคายาในไทยมีราคาแพง เมื่อเทียบกับค่าแรง ค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ผลิตยาไทยอย่าง ภก. ประพล ฐานะโชติพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีแมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) หรือ ที แมน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยากว่า 50 ปี “สถานการณ์ตลาดยาไทย ที่ผู้ประกอบการไทยไม่ได้ถือครองสัดส่วนตลาดยาเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่สามารถผลิตวัตถุดิบและสารตั้งต้นในประเทศไทยได้ หากจะเทียบกับจีนและอินเดีย ซึ่งมีความพร้อม รวมถึงศักยภาพมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่เรานำเข้าวัตถุดิบจากสองประเทศนี้ ยาแผนปัจจุบันถ้าเราจะรุกตลาดต่างประเทศ ยังคงเป็นเรื่องยาก

Read More