Plantable Bangkok ภารกิจค้นหาสุดยอด “นักปลูกผัก”
ทั้งปัญหาสารเคมีปนเปื้อนบวกกับกรุงเทพมหานครมีขนาดพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ เฉลี่ยเพียง 7.7 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าคำแนะนำขององค์อนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน กลายเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการสร้างพื้นที่สีเขียวกินได้ Plantable Bangkok ปลุกระดมสร้าง “นักปลูกผัก” ทั่วเมือง ทั้งนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC-CEUS) เจ้าของโปรเจกต์ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า แนวทางการพัฒนาเมืองในอดีต เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองใหญ่ที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนพื้นที่สีเขียวสาธารณะ ตลอดจนการรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมทำให้เมืองสูญเสียความสามารถในการผลิตอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะทั้งทางกายและจิตใจของคนเมือง สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ ช่วงเกิดสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด คนกรุงเทพฯ เจอปัญหาขาดแคลนอาหาร ทั้งที่การปลูกผักสวนครัวในรั้วบ้านเป็นเรื่องที่ทำได้เองไม่ยากนัก เวลาเดียวกัน แม้มีผู้ประกอบการร้านอาหารมากมาย แต่ใช่ว่าทุกคนสามารถจับจ่ายได้ทุกวันและส่วนใหญ่มีราคาสูงมากกว่าผักผลไม้ตามตลาดสดทั่วไป ที่สำคัญ การเลือกซื้อผักปลอดสาร 100% ยังเป็นเรื่องยากในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ร้านอาหารกลุ่มเกษตรอินทรีย์หลายแบรนด์สามารถเจาะตลาดกลุ่มคนกำลังซื้อสูง มีการออกเมนูหลากหลายรูปแบบ และทำยอดขายได้มากมาย อย่าง OHKAJHU (โอ้กะจู๋) Salad Factory (สลัด แฟคตอรี่) Jones’
Read More