Home > ALIPAY

เซ็นทรัล รีเทล ยกระดับนวัตกรรมค้าปลีก รับเทรนด์นักท่องเที่ยว ใช้ Alipay+ จับจ่ายมากขึ้น 2 เท่า

บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ประกาศความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ผ่านการร่วมมือกับ Alipay+ (อาลีเพย์พลัส) โซลูชันการชำระเงินข้ามพรมแดน และการตลาดดิจิทัล ที่ดำเนินการโดย Ant International (แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล) ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนยังคงเป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงที่สุดของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเครือของเซ็นทรัล รีเทล จำนวนการทำธุรกรรมผ่านพาร์ทเนอร์อื่น ๆ ของ Alipay+ นั้นก็เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2567 โดยลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงที่สุดที่มาจากประเทศ ฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ มีการชำระเงินผ่าน AlipayHK, Touch ‘n Go eWallet, GCash และ

Read More

Alipay+ ขยายฐานร้านค้าทั่วโลกแตะ 90 ล้านแห่งในปี 2024 ด้วยซัมเมอร์แคมเปญ ตอบรับกระแสคนไปเที่ยวฟุตบอลยูโร

Alipay+ (อาลีเพย์พลัส) โซลูชันการชำระเงินข้ามพรมแดน และการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ดำเนินการโดย Ant International (แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล) เดินหน้ารุกตลาดโลกด้วยแคมเปญฤดูร้อนสุดยิ่งใหญ่ ที่เริ่มขึ้นพร้อมกับงานฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (UEFA EURO 2024) พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายการฟื้นตัวเต็มรูปแบบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในสิ้นปีนี้ Alipay+ เป็นพันธมิตรด้านการชำระเงินอย่างเป็นทางการของ UEFA EURO 2024™ ซึ่งเชื่อมต่อกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) และแอปธนาคารชั้นนำ รวมถึงพันธมิตรในยุโรปอย่าง Bluecode และ Tinaba กับร้านค้ากว่า 400,000 แห่งทั่วยุโรป โดยในช่วง EURO 2024 ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน ถึง 14 กรกฎาคม: • ร้านค้าที่รับชำระเงินผ่าน Alipay+ ในยุโรป มียอดธุรกรรมของนักท่องเที่ยวที่จ่ายผ่านพันธมิตร e-wallet ของ Alipay+ เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งพันธมิตรหลายรายเป็นผู้นำด้านการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในเอเชีย นอกจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวที่จ่ายด้วยแอปธนาคารในประเทศของตนเองผ่าน

Read More

อาลีเพย์พลัส ต่อยอดความร่วมมือกับ ททท. สนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ ผ่านนวัตกรรมดิจิทัล

อาลีเพย์พลัส (Alipay+) ประกาศขยายความร่วมมือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดตัวโปรแกรมสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว ตอบรับกระแสความสนใจการท่องเที่ยวเมืองไทยของนักเดินทางทั่วโลก ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายอันดับต้น ๆ ที่นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางมา โดยข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงานว่า จากเดือนมกราคม - เมษายน ปี 2567 มีนักท่องเที่ยวชาวจีนแผ่นดินใหญ่เดินทางมาเยือนประเทศไทยแล้วกว่า 2,351,909  คน สอดคล้องกับข้อมูลจากอาลีเพย์พลัส ที่รายงานสถิติจำนวนครั้งของการใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลหรือ e-wallet ในเครือข่ายของอาลีเพย์พลัส จากช่วงเทศกาลวันแรงงานที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 161% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยยอดการเติบโตดังกล่าวยังสูงกว่าช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของโควิดในปี 2562 อีกด้วย ล่าสุดอาลีเพย์พลัส (Alipay+) ผู้ให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนบนมือถือ และผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลโซลูชั่น ภายใต้ “แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล” ประกาศขยายความร่วมมือกับทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ผ่านการเปิดตัวโปรแกรมสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่าง Alipay+ D-hub และบัตรดิจิทัล  Amazing Thailand e-Card นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้

Read More

เคทีซี x แอนท์ กรุ๊ป เปิดตัว ‘อาลีเพย์พลัส’ ยกระดับร้านค้าไทยรับชำระเงินข้ามชาติ

เคทีซี x แอนท์ กรุ๊ป เปิดตัว ‘อาลีเพย์พลัส’ ยกระดับร้านค้าไทยรับชำระเงินข้ามชาติ รองรับนักท่องเที่ยวจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้และฮ่องกง "เคทีซี" ต่อยอดบริการรับชำระเงิน จับมือกับ "แอนท์ กรุ๊ป" เจ้าของและผู้ให้บริการอาลีเพย์ (Alipay) เปิดตัว ‘อาลีเพย์พลัส’ (Alipay+) นวัตกรรมการชำระเงินดิจิทัลระหว่างประเทศบนระบบรับชำระเงินของเคทีซี เพื่อต่อยอดธุรกิจร้านค้าในไทย รองรับการใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยวเอเชียที่เดินทางมาประเทศไทย ผ่าน 3 พันธมิตรโมบายล์วอลเล็ตใหม่ ได้แก่ อาลีเพย์ ฮ่องกง (AlipayHK) / ทัชแอนด์โก (Touch ‘n Go) และคาเคาเพย์ (KakaoPay) ตั้งเป้าธุรกิจร้านค้ารับชำระของเคทีซีปีนี้โต 20% แตะ 100,000 ล้านบาท เนาวรัตน์ กีรติเกษมสุข ผู้บริหารสูงสุด สายงานบริหารร้านค้าสมาชิก “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

Read More

แบงกิ้งเอเย่นต์-โมบายแบงกิ้ง จุดเปลี่ยนผ่านการเงินไทย?

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินไทย กำลังดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะก้าวไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด การทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านอุปกรณ์สื่อสารมือถือ การปรับลดจำนวนสาขา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่าย และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหารการบริการที่ดำเนินมาในช่วงก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่น่าสนใจจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่าผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ธนาคารพาณิชย์ มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมลดลงเป็นครั้งแรกในไตรมาสนี้ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ11. 2 จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงกิ้ง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีกำไรสุทธิ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวขึ้นในอัตราร้อยละ 15.9 จากรายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงเป็นหลัก การแข่งขันกันของธนาคารพาณิชย์ด้วยการเปิดศึกยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมดิจิทัลบนมือถือ ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อสิ้นไตรมาส 2 ปี 2561 มีผู้ใช้บริการโอนเงินทางอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งสูงถึง 224 ล้านรายการ หรือคิดเป็น 90% ของยอดการโอนเงินของลูกค้า ขณะที่อัตราการโอนเงินผ่านสาขามีเพียง 170,000 รายการ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากนำมาเปรียบเทียบกัน การมาถึงของเทคโนโลยี ในด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ และกำลังจะเป็นแรงผลักสำคัญต่อการพิจารณาปรับลดต้นทุนและการบริหารจัดการในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงและยึดกุมฐานลูกค้าในยุคสังคมไร้เงินสดให้มาทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านมือถือที่กำลังทวีความเข้มข้น และกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่มีความดุเดือดยิ่งขึ้น เพราะธุรกรรมดิจิทัลเหล่านี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถติดตามพฤติกรรมต่อยอดบริการ และสร้างรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันพนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทลดลงหลังจากที่ธุรกรรมจำนวนมากถูกปรับย้ายไปสู่แพลตฟอร์มมือถือ กลายเป็นกลุ่มคนที่กำลังได้รับผลกระทบจาก disruptive technology

Read More

จาก OBOR สู่ ALIPAY การรุกคืบที่เป็นรูปธรรมจากจีน

ข่าวว่าด้วยสังคมไร้เงินสดในจีน ที่จุดพลุกระตุ้นความสนใจจากความสำเร็จของ ALIPAY ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบชำระเงินออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือชั้นนำของโลก และเป็นบริษัทในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซจากประเทศจีน ในด้านหนึ่งดูจะได้รับการประเมินอย่างจำกัดในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดใหม่ที่เอื้ออำนวยความสะดวกในเชิงพาณิชย์ให้ดำเนินไปอย่างคล่องตัว แต่หากพิจารณาภายใต้กรอบโครงความเป็นไปทางยุทธศาสตร์ระดับมหภาคของจีน ทั้งในมิติของการประกาศนโยบายเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ The Silk Road Economic Belt and the 21st-century Maritime Silk Road รวมถึงความพยายามของจีนที่จะผลักดันให้เงินสกุลหยวนเป็นที่ยอมรับและมีบทบาทมากขึ้นในเศรษฐกิจการเมืองระดับนานาชาติ ผ่านการจัดตั้งธนาคาร Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) จังหวะก้าวของ ALIPAY ในการรุกคืบสร้างสังคมไร้เงินสดก็เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมในเชิงรูปธรรมให้กับยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ของจีนอย่างไม่อาจมองข้ามได้ การเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมไร้เงินสด ภายใต้การนำของ ALIPAY ไม่ได้มีผลในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจอี-คอมเมิร์ซอย่างจำกัดเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริงกลไกของสิ่งที่เกิดขึ้นนี้กำลังเป็นประหนึ่งการนำไปสู่การเกิดขึ้นของเงินสกุลใหม่ที่สามารถไหลบ่าและเคลื่อนย้ายสถานที่ไปได้อย่างเสรี ที่อยู่เหนือระเบียบข้อกำหนดไปไกล ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินที่มีมากถึงกว่า 600 ล้านครั้งในประเทศจีน ดำเนินไปอย่างมีอัตราเร่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะในช่วงระยะเวลาเพียง 2-3 ปีที่ผ่านมายอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3.4 เท่า จากระดับ 177 ล้านครั้งในปี 2014 มาสู่ระดับกว่า

Read More