วิถีแห่งลุ่มน้ำโขง แสงแดด สายหมอก และยาเส้น
ก่อนจะถึง AEC ระยะทางเกือบหนึ่งพันกิโลเมตรที่แม่น้ำโขงไหลผ่านพรมแดนไทย-ลาว จากสามเหลี่ยมทองคำ จ.เชียงราย สู่สามเหลี่ยมมรกต จ.อุบลราชธานี นอกจากจะทำหน้าที่ขีดกั้นเส้นแบ่งพรมแดนแล้ว ยังหล่อเลี้ยงและหล่อหลอมผสานความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมของผู้คนทั้งสองฝั่งมาช้านาน ในช่วงฤดูหนาว อากาศที่เย็นยะเยือกอาจจะทำให้ใครหลายคนไม่ยอมลุกขึ้นจากเตียงนอนอันอบอุ่น แต่เกษตรกรชาวไร่ยาสูบบ้านปากมาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ที่อาศัยตลิ่งริมน้ำโขงเป็นที่เพาะปลูกมานานนับร้อยปี อาจจะใช้ชีวิตแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง “ช่วงนี้จะได้นอนก็แค่วันละ2-3 ชั่วโมง บางวันก็ไม่ได้นอน เพราะยา (ใบยาสูบ) จะสุกเกินไป เดี๋ยวซอยไม่ทัน” ตุ้ม สาวชาวนาที่มาเป็นสะใภ้ชาวไร่ยาสูบได้ 16 ปี เล่าให้ฟังถึงวิถีประจำวันชาวไร่ยา ฤดูการเก็บเกี่ยวใบยาสูบจะเริ่มช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่แดดลงจัด ชาวไร่ยาจะเริ่มเก็บใบยาที่แก่และโดนแดดเต็มที่ ตอนประมาณบ่ายสามโมงถึงสี่โมงเย็น ขึ้นอยู่กับจำนวนใบยา จากนั้นจะนำมาบ่มด้วยผ้ายางไว้สักสองสามวันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิถีชีวิตของชาวไร่ยาสูบขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก หากแดดไม่ดี แม้ใบยาจะแก่ก็ยังไม่สามารถเก็บได้ ก่อนหน้านี้สอง-สามอาทิตย์ เกิดฝนหลงฤดู ทำให้กระบวนการเก็บใบยาของชาวไร่ที่นี่ต้องชะงักไป ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ เพราะจะทำให้ใบยาเสียหาย กระบวนการเก็บเกี่ยวใบยาเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อบ่มใบยาจนได้ที่แล้ว พวกเขาจะเริ่มงานเวลาประมาณ 02.00 น ต้องฝ่าความหนาวและไอหมอก มานั่งซอยใบยาที่บ่มได้ที่ ให้เป็นเส้นๆ ก่อนที่จะนำไปตากบน “แตะยา” ซึ่งเป็นไม้ไผ่สานขัดแตะ กว้างประมาณ 80
Read More