Home > Retail (Page 10)

“คิงเพาเวอร์” ปลุกดาวน์ทาวน์ ต่อ “จิ๊กซอว์” ขยายฐานแข่งห้าง

“กรณีการแข่งขันประมูลดิวตี้ฟรีในท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและเป็นเหตุผลที่ทำให้คิงเพาเวอร์ต้องหาพื้นที่สร้างธุรกิจ เพราะเจอคู่แข่งยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น” 24 ปีก่อน กลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ของ “วิชัย รักศรีอักษร” หรือนามสกุลใหม่ “ศรีวัฒนประภา” เริ่มธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากร (ดิวตี้ฟรี) ในประเทศไทย โดยร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดดิวตี้ฟรีช็อปแห่งแรกย่านเพลินจิตก่อนที่จะได้รับสัมปทานจากท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) เป็นผู้ประกอบการร้านดิวตี้ช็อปในท่าอากาศยานดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต และหาดใหญ่ ตั้งแต่ปี 2536จากวันนั้นถึงวันนี้  แม้คิงเพาเวอร์ยังสามารถผูกขาดการบริหารพื้นที่ในท่าอากาศยานทั้ง 4 แห่ง และคว้าสัมปทานในสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะเวลา 10 ปี จนถึงปี 2559  แต่วิชัยไม่คิดจะเป็น “เสือนอนกิน” ได้ตลอดกาล และเริ่มรุกขยายธุรกิจค้าปลีกย่านใจกลางเมือง หรือ “ดาวน์ทาวน์คอมเพล็กซ์” เพื่อสร้างอาณาจักรธุรกิจของตัวเอง ขยายกลุ่มลูกค้าใหม่เป็นนักช้อปทั่วไป ไม่ใช่แค่กลุ่มนักเดินทางและไม่ผูกติดกับคำว่า “สัมปทาน” เพียงอย่างเดียวแต่โครงการดาวน์ทาวน์คอมเพล็กซ์ที่เปิดตัวยิ่งใหญ่เมื่อปี 2549 กลับยังเดินเตาะแตะในแง่การสื่อสารวงกว้างกับกลุ่มลูกค้าคนไทย  โดยมากกว่า 80% ยังเข้าใจว่า “คิงเพาเวอร์” เป็นร้านจำหน่ายสินค้าปลอดอากรสำหรับลูกค้าขึ้นเครื่อง ซึ่งนั่นกลายเป็นทั้ง “โจทย์”

Read More

สหพัฒน์ งัดหมัดเด็ด “ลอว์สัน 108” สู้ยักษ์ค้าปลีก

 หลังจากซุ่มเงียบอยู่นาน ในที่สุด ค่ายสหพัฒน์ของกลุ่มโชควัฒนา เริ่มเปิดฉากร้านสะดวกซื้อ “ลอว์สัน 108” ประเดิมสาขาแรกหน้าบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ย่านถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และขยายตามมาติดๆ อีก 2 สาขา ลาดพร้าว 101 และร่มเกล้า 21 โดยเร่งทยอยงัดหมัดเด็ดต่อสู้กับเครือข่ายยักษ์ค้าปลีกที่กำลังกินรวบทุกช่องทางการจำหน่าย ตั้งแต่ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ซูเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์สโตร์ไปจนถึงศูนย์ค้าส่งขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันตลาดคอนวีเนียนสโตร์ถือเป็นเซกเมนต์ที่มีอัตราเติบโตสูงสุด 10-15% ต่อปี จากมูลค่าตลาดค้าปลีกรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท และหากเทียบอัตราส่วนประชากรต่อร้านกับประเทศอื่นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น 2,800 คนต่อร้าน ไต้หวันและเกาหลี 2,500 คนต่อร้าน ขณะที่ไทยเฉลี่ย 6,800 คนต่อวัน เกิดการช่วงชิงโอกาสการเติบโตไม่ต่างจากญี่ปุ่นที่ผุดร้านสะดวกซื้อในทุกตรอกซอกซอย โดยเฉพาะในปี 2556 คาดว่าจะมีการเปิดร้านสะดวกซื้อสาขาใหม่ในไทยไม่ต่ำกว่า 1,000 สาขา เพิ่มจากปีก่อนๆ ที่ขยายปีละ 700-800 สาขา การพลิกสถานการณ์ในช่วงจังหวะที่ธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์กำลังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ

Read More

เปิดปูม SHV ก่อนถอนสมอ Makro จากไทย

ย้อนกลับในปี 2531 หรือกว่า 25 ปีที่แล้ว การเกิดขึ้นของศูนย์จำหน่ายสินค้าในรูปแบบ Cash and Carry ในนาม สยามแมคโคร คงสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการค้าปลีกไทยไม่น้อย แต่บริบทที่เกิดขึ้นกับ สยามแมคโคร ในวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ธุรกิจค้าปลีกไทย ไปไกลเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการถึง บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเอง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” ด้วยการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังจากที่ SHV Holding บรรษัทที่มีโครงข่ายธุรกิจหลากหลายสัญชาติจากเนเธอร์แลนด์ รุกเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในเอเชีย ซึ่งควบคู่กับการรุกเข้าไปทั้งใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ การเข้ามาในเมืองไทยของบรรษัทต่างชาติอย่าง SHV ในครั้งนั้น ย่อมต้องดำเนินไปโดยมีพันธมิตรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของย่างก้าวก่อนที่จะลงหลักปักฐาน ซึ่งไม่แปลกที่ในครั้งนั้นชื่อของเครือเจริญโภคภัณฑ์จะปรากฏเป็นพันธมิตรสำคัญตั้งแต่เริ่ม “25 ปีที่แล้ว กลุ่มซีพีได้ชักชวน ให้ SHV Holding  เปิดแม็คโครในเมืองไทย ในขณะที่ซีพี ก็เปิด

Read More

ซีพี เชื่อ แม็คโคร จะเป็นใบเบิกทางสู่เวทีโลก

 การที่บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซื้อกิจการบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ “แม็คโคร” ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเองในประเทศไทยด้วยมูลค่าประมาณ 188,880 ล้านบาท เป็นประโยชน์ทั้งต่อการดำเนินธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์และประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบาย 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ คือ การลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ประชาชน และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ทำการศึกษาธุรกิจค้าปลีกอย่างละเอียด ธุรกิจค้าปลีกนั้นสามารถแยกได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1. Mall หรือ Department store 2. Hyper market 3. Convenience store 4. Wholesale หรือ ค้าส่ง ซึ่งรวมแล้วเรียกว่าค้าปลีก ธุรกิจค้าปลีกในไทยมีแนวโน้มที่ดี เพราะอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทยมีแต่บวกกับบวก ความเสี่ยงในการซื้อกิจการแม็คโครนั้น ขณะนี้ยังมองไม่เห็น ที่สำคัญ แม็คโครมีสิทธิที่จะขยายการลงทุนไปได้ทั่วโลก โดยในเบื้องต้นตั้งเป้าหมายไปที่กลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งมีสมาชิก 10 ประเทศ

Read More

“ซีพี” เฉือนคู่แข่ง ฮุบ “แม็คโคร” กินรวบ

การทุ่มทุนกว่า 188,000 ล้านบาท ซื้อหุ้นแม็คโครของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จากกลุ่มบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี (เอสเอชวี) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และบริษัทในเครือ  ถือเป็น “จิ๊กซอว์” ตัวสำคัญล่าสุดของธนินท์ เจียรวนนท์ ในการขยายอาณาจักรธุรกิจอาหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ “ซีพี” อย่างครบวงจร โดยเฉพาะการปรับกระบวนทัพยึดทุกช่องทางค้าปลีก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจำนวนมหาศาล แม้วงการค้าปลีกมองดีลครั้งนี้เป็นการลงทุนที่แพงมาก  แต่สำหรับซีพีถือเป็นการลงทุนที่สามารถต่อยอดหลายชั้น เนื่องจากเป็นทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบครอบคลุมตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การแปรรูปเนื้อสัตว์ เนื้อดิบๆ กึ่งปรุงสุก ปรุงสุก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป และการเปิดหน้าร้าน ทั้งร้านค้าปลีกและร้านอาหาร ขณะที่แม็คโครเป็นผู้ดำเนินธุรกิจศูนย์ค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริการตัวเอง (Cash & Carry) มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ร้านค้าปลีก ร้านโชวห่วย โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร ธุรกิจจัดเลี้ยง (โฮเรก้า) สถาบันการศึกษา และสำนักงานต่างๆ ในรูปแบบสมาชิกจำนวนมากกว่า

Read More

“เสนากรุ๊ป” รุกค้าปลีก คุ้งน้ำเจ้าพระยาเดือด

  “เสนาเฟสต์ เลือกทำเลย่านเจริญนครถือเป็นการเข้าสู่สมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือดมาก โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มคอนโดมิเนียมและค้าปลีก”  จากเด็กขายลอดช่องย่านตลาดเก่าบางรักเมื่อ 30 กว่าปีก่อน ธีรวัฒน์ ธัญลักษณ์ภาคย์ บุกเบิกธุรกิจจำหน่ายและติดตั้งวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะยุคบ้านจัดสรรปูไม้ปาร์เกต์ ก่อนขยายธุรกิจ โดยชักชวนบริษัทในเครือญาติรวมกลุ่มเปิดโครงการที่อยู่อาศัย เสนา 84, เชอรี่วิลล์, เกษราวิลล์, เสนา 88, เสนา 91  และเกษราพัฒนาการ แล้วรุกไปยึดครองตลาดส่วนใหญ่ ทั้งทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และอาคารพาณิชย์ บนถนนรามอินทรา ภายใต้ชื่อโครงการ เสนาวิลล่า วันนี้ “ธีรวัฒน์” ส่งไม้ต่อให้ลูกสาว เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ เข้ามาบริหารอย่างเต็มตัว เปลี่ยน “ลุค” ให้ “เสนาวิลล่า” ทันสมัยมากขึ้นและสนองตอบไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ปรับโมเดลธุรกิจจากผู้พัฒนาโครงการบ้าน เข้าไปเล่นตลาดคอนโดมิเนียมมากขึ้นและล่าสุดขยายสู่ธุรกิจค้าปลีก เปิดคอมมูนิตี้แห่งแรก “เสนาเฟสต์” ประเดิมจุดยุทธศาสตร์แห่งแรกในทำเลที่กำลังบูมสุดขีด ย่านเจริญนคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา “เป้าหมายของเรา คือการโตอย่างมีภูมิคุ้มกัน กระจายความเสี่ยง แม้โตช้า เศรษฐกิจไม่ดีก็ไม่ตาย วันนี้

Read More

สหพัฒน์เปิดเกมรุก ดัน “ค้าปลีก” ยกแผง

มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ เมื่อ 3 ธุรกิจยักษ์ใหญ่ บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในเครือสหพัฒน์ และบริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ประกาศจับมือกันจัดตั้งบริษัท ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย) เพื่อเปิดตัวสถานี SHOP CH. (ช้อป ชาแนล)  ซึ่งจะเป็นสถานีขายสินค้าผ่านช่องทางทีวีดาวเทียมตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะมีการแถลงรายละเอียดที่มาที่ไป รูปแบบความมร่วมมือและกลยุทธ์การรุกตลาดค้าปลีกครั้งสำคัญในวันที่ 5 มีนาคมนี้เพราะถ้าเอ่ยชื่อ “ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่นกรุ๊ป” ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจนำเข้าส่งออกและการลงทุนทั่วโลก คร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจ 5 กลุ่มใหญ่ คือ อุตสาหกรรมโลหะ, การขนส่งและระบบงานก่อสร้าง, หน่วยธุรกิจด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและเครื่องจักร, เคมี ทรัพยากรธรณีและพลังงาน และสินค้าอุปโภคบริโภคและการบริการ นอกจากนี้ ยังดำเนินธุรกิจในการกระจายการลงทุน เพื่อพัฒนาศักยภาพในธุรกิจด้านต่าง ๆ และในวงการทีวีถือเป็นบริษัทผู้ผลิตรายการทีวีชอปปิ้งอันดับ

Read More

ซีพียกเครื่องธุรกิจค้าปลีกปรับกระบวนทัพโกอินเตอร์

“วัตถุดิบทั่วโลกเป็นของซีพี คนทั่วโลกเป็นของซีพี เงินทั่วโลกก็เป็นของซีพี อยู่ที่จะไปเอาเมื่อไหร่ วัตถุดิบไม่จำเป็นต้องเอาจากเมืองไทย ไปทำที่โน่นให้เป็นของซีพี ไปแต่กระเป๋าและความคิด ทำได้แล้ว” แนวคิดของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งตอกย้ำอยู่เสมอในที่ประชุมผู้บริหารของเครือซีพี ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือนและถ่ายทอดไปยังผู้บริหารในเครือข่าย 60 ประเทศทั่วโลก สามารถสะท้อนเป้าหมายสำคัญของซีพีที่ไม่ใช่การยึดครองตลาดเมืองไทย ตลาดอาเซียน หรือเอเชีย แต่ขยายกว้างขวางออกไปทั่วโลกและมีนัยสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่การสร้างยอดขายรายได้ แต่หมายถึงเงินกำไรที่มีสัดส่วนมากขึ้นกว่าการทำธุรกิจต้นน้ำแบบเดิมๆ  ล่าสุด ธนินท์เร่งปรับกระบวนทัพกลุ่มธุรกิจค้าปลีก เพื่อขยายรูปแบบร้านค้าหลากหลายและบุกทุกช่องทางการตลาด โดยโครงสร้างใหม่จัดแบ่งร้านต่างๆ ในเครือเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มร้านอาหาร(Restuarant) ได้แก่ เชสเตอร์กริลล์ ธุรกิจห้าดาว ร้านอาหารจานด่วน “ซีพีคิทเช่น” ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรบูตะ สเต๊กปลา ร้านสแน็กทูโก  อีกกลุ่ม คือ ค้าปลีกอาหาร (Food Retail) ได้แก่ ร้านซีพีเฟรชมาร์ท ซึ่งรวมถึงตู้เย็นชุมชน ร้านซีพีฟู้ดมาร์เก็ต และซีพีฟู้ดเวิลด์ โดยเฉพาะซีพีฟู้ดมาร์เก็ตถือเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เจ้าสัววางหมากไว้แก้โจทย์การขยายสาขาในต่างประเทศ หลังจากการเจรจาขอไลเซนส์กับ

Read More