Home > Museum

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ชวนชม 12 ฉลองพระองค์ไฮไลท์ 5 ยุคสมัย ใน “สิริราชพัสตราบรมราชินีนาถ”

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ชวนชม 12 ฉลองพระองค์ไฮไลท์ 5 ยุคสมัย ใน “สิริราชพัสตราบรมราชินีนาถ” นิทรรศการสะท้อนความงามของผ้าไทยผ่านฝีมือดีไซเนอร์ระดับโลก เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดแสดงนิทรรศการสำคัญทางประวัติศาสตร์ "สิริราชพัสตราบรมราชินีนาถ" เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงผ่านฉลองพระองค์ ตั้งแต่ยุค 1960 จนถึงยุค 2000 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็นผู้นำในการเผยแพร่ความงดงามของผ้าไทยให้เป็นที่ประจักษ์ด้วยพระองค์เอง และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำผลงานจากช่างฝีมือของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ไปจัดแสดงด้วยเสมอ นับเป็นการส่งเสริมผ้าทอและงานศิลปหัตถกรรมไทยให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก ภายในนิทรรศการ "สิริราชพัสตราบรมราชินีนาถ" จัดแสดงฉลองพระองค์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักออกแบบชาวไทยและชาวต่างชาติออกแบบและตัดเย็บฉลองพระองค์จากผ้าไทยในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในและต่างประเทศ พร้อมฉลองพระองค์ไฮไลท์ 12 ฉลองพระองค์ จากแต่ละยุคสมัย รวมถึงสุวรรณพัสตรา ยุค 60: เสด็จเยือนต่างประเทศ ช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดลยเดซมหาราช บรมนาถบพิตรไปทรงเยือนทวีปอเมริกาและทวีปยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาชาติและเพื่อให้ขาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น ฉลองพระองค์ชุดราตรีผ้าไหมซาติน (พ.ศ. 2505) โดยนายปิแอร์ บัลแมง ฉลองพระองค์ชุดกลางวันผ้าไหมซาติน ปักประดับด้วยลูกปัดและคริสตัล (พ.ศ. 2508) โดยนายปิแอร์ บัลแมง พร้อมพระมาลาและฉลองพระบาทเข้าชุด ยุค 70: กำเนิดศิลปาชีพ ช่วงเวลาที่พระองค์โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ

Read More

มิวเซียมสยามกับการปรับตัวในยุคสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทย

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากมีประชากรสูงอายุร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หลายประเทศได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งในระบบบริหาร ระบบสุขภาพ การศึกษา การจ้างงาน การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับความต้องการพื้นฐานและการพัฒนาประชากรกลุ่มใหม่นี้ ประเทศหลายประเทศไม่ได้พัฒนาเพียงแค่การรองรับความต้องการทางกายภาพของประชากรสูงวัย แต่รองรับความต้องการทางสังคม จิตใจ และการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีความเคารพและพึ่งพาตนเองได้ ไม่เป็นภาระของสังคมจนส่งผลให้กลายเป็นผู้ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง มิวเซียมสยาม ในฐานะหน่วยงานที่ถูกจัดตั้งมาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นหลัก อย่างไรก็ดี และเห็นว่าสังคมไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ จึงได้จัดการประชุม Museum Forum 2021 Online ภายใต้แนวคิด มิวเซียมสายตายาว มองการณ์ไกลเพื่อสังคมสูงวัย Far-sighted Museum: Sighting forward to Aging Society เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และปฏิบัติการด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อผู้สูงวัย พร้อมเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงวัยพิพิธภัณฑ์ นักปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ นักการศึกษาพิพิธภัณฑ์ และผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ ถือเป็นการสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานพิพิธภัณฑ์เพื่อผู้สูงวัยในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ รวมถึงจุดประเด็นเรื่องบทบาทของพิพิธภัณฑ์ในสังคมผู้สูงวัยให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง ทั้งนี้ มิวเซียมสยาม ได้จับมือ พันธมิตรพิพิธภัณฑ์ทั้งในประเทศไทยและนานาชาติ นำเสนอ 27 กรณีศึกษาในมิติการทำงานด้านผู้สูงวัยของพิพิธภัณฑ์ งานประชุมครั้งนี้มีปาฐกถาจากผู้สูงวัยและจากองค์กรพิพิธภัณฑ์จาก

Read More

พิพิธภัณฑ์ในสถานการณ์ Covid-19

Column: From Paris เมื่อ Covid-19 เริ่มระบาดในฝรั่งเศส แปลกใจที่เห็นโรงภาพยนตร์และพิพิธภัณฑ์ยังเปิดให้บริการอยู่ จนประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ประกาศเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ให้ประชาชนเก็บตัวอยู่แต่ในที่พักอาศัย และปิดสถานบริการทั้งมวล ยกเว้นซูเปอร์มาร์เกต ไฮเปอร์มาร์เกต และร้านที่ขายสินค้าบริโภค พิพิธภัณฑ์ก็อยู่ในข่ายที่ต้องปิดด้วย เสียดายก็แต่บรรดานิทรรศการจรที่ลงทุนลงแรงจัด ก็ต้องยกเลิกไป ไม่ว่าจะเป็น Turner ที่ Musée Jacquemart–André ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม-20 กรกฎาคม Monet, Renoir, Chagall … voyages en Méditerranée ที่ La Halle–Atelier des Lumières ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-31 ธันวาคม Otto Freundlich–La révélation de

Read More

เคทีซีชวนสมาชิกเที่ยว 64 พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ทั่วไทย กับโครงการ “Thailand Museum Pass”

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยนางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้จัดการ - การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ ร่วมกับ นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ในฐานะผู้จัดโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยวเชิงแหล่งเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ Thailand Museum Pass มอบโปรโมชั่นพิเศษสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีโดยเฉพาะ เพียงซื้อบัตร “Thailand Museum Pass” 1 ใบ ผ่านช่องทาง “KTC World Travel Service” หรือ KTC TOUCH ทุกสาขา หรือสั่งซื้อผ่านทางออนไลน์ได้ที่ KTC U SHOP ในราคาเพียงใบละ 299 บาท แถมอีก 1 ใบ ทันที ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2562

Read More

เรื่องเล่าของเหรียญกษาปณ์และคุณค่าที่มากกว่ามูลค่า

น้อยคนนักที่จะสงสัยและหาคำตอบว่า เหรียญที่กระทบกันส่งเสียงกรุ๊งกริ๊งจากในกระเป๋าเรานั้น มีเรื่องราวการเดินทางมาอย่างไรบ้าง แต่เชื่อเถอะว่า เหรียญกษาปณ์ทุกเหรียญล้วนแล้วแต่มีที่มา และเรื่องราวมากมายแฝงเร้นอยู่ ย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน ผู้จัดการ 360 องศา เคยนำเสนอเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์เหรียญในบริบทที่ว่า “พิพิธภัณฑ์เหรียญ ทุกการเดินทางมีเรื่องราว” ในเวลานั้นการถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางของเหรียญเป็นเพียงแค่ปฐมบทเท่านั้น หาใช่บทสรุปของการเดินทาง จวบจนกระทั่งเวลานี้ที่พิพิธภัณฑ์เหรียญได้เปิดให้บริการแก่นักสะสม และผู้ที่สนใจอย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้การบริหารงานของกรมธนารักษ์ บรรยากาศประชาชนเข้าคิวเพื่อจองและแลกซื้อเหรียญที่ระลึกเนื่องในวันสำคัญต่างๆ คงเป็นภาพที่คุ้นตาไม่น้อย ไม่ว่าผู้คนที่ต่อแถวจะมีความจำนงที่จะซื้อเหรียญเพื่อเก็บไว้เอง หรือเพื่อนำไปเก็งกำไรต่อก็ตามที ทว่า เหรียญที่ระลึกเหล่านั้นไม่ได้มีคุณค่าอยู่ที่ความสามารถในการจับจองจนได้มาเป็นเจ้าของเท่านั้น หากแต่เหรียญที่ระลึกเป็นเสมือนเครื่องบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับบุคคล วันหรือเหตุการณ์สำคัญ และนั่นทำให้เหรียญเหล่านี้ไม่ได้มีคุณค่าตามมูลค่าที่ปรากฏอยู่บนเหรียญเท่านั้น ทว่า เรื่องราวมากมายที่ถูกถ่ายทอดลงบนเหรียญต่างหาก ที่บ่งบอกและแสดงให้เห็นคุณค่าของเหรียญนั้นๆ อย่างแท้จริง ท่ามกลางแดดร้อนระอุ ถือเป็นบททดสอบความมานะอุตสาหะของนักสะสมเหรียญและนักเก็งกำไรได้เป็นอย่างดี แต่หลังจากที่เหรียญมาอยู่ในครอบครองแล้ว จะมีสักกี่คนที่ยังหมั่นหยิบเหรียญเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อหวนรำลึกถึงและมองคุณค่าของมัน นี่อาจเป็นโจทย์สำคัญของกรมธนารักษ์ ที่นอกเหนือไปจากหน้าที่หลักในด้านการผลิตเหรียญกษาปณ์ทั้งสองชนิด คือ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก โดยเหรียญทั้งสองชนิดทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต้นกำเนิดของเหรียญที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ซึ่งน้อยคนนักจะได้รู้ และเช่นเคย บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด ที่เคยออกแบบนิทรรศรัตนโกสินทร์ พิพิธบางลำพู และศูนย์การเรียนรู้อีกมากมาย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการย่อยสารและตีโจทย์ในครั้งนี้ แม้ว่าพิพิธภัณฑ์เหรียญจะเปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2557 และเริ่มถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางของเหรียญมาตั้งแต่ครั้งนั้น แต่เหรียญกษาปณ์ถูกประกอบส่วนขึ้นจากเรื่องราวอีกมากมาย และพิพิธภัณฑ์เหรียญยังคงทำหน้าที่อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จนกระทั่งมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ส่วนเติมเต็มของเรื่องที่ขาดหายไปบนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่

Read More

สพร. ทลายกำแพงพิพิธภัณฑ์ เปิดมิติใหม่การเรียนรู้

  ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติ การละเล่น ประเพณีและวัฒนธรรม วิวัฒนาการในด้านต่างๆ ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมา ท่ามกลางกระแสโลกที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การบันทึกเรื่องราวบนหน้าประวัติศาสตร์ทั้งเพื่อการศึกษาเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ หรือบอกเล่าประสบการณ์ ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 1,439 แห่ง จากฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ที่รวบรวมไว้ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 แต่หากจะนับรวมแหล่งเรียนรู้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทำให้ไทยมีพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้มากกว่า 5,000 แห่ง กระนั้นรูปแบบของการนำเสนอองค์ความรู้ต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการอธิบายข้อมูลสาระสำคัญด้วยตัวอักษรเป็นหลัก ภาพถ่าย และการจำลองวัตถุให้ใกล้เคียงของจริงมากที่สุด  ล่าสุดสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือศูนย์สปาฟา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ระดับนานาชาติ (Museum Forum 2016) ภายใต้แนวคิด “Museum without Walls” โดยดึงผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ทั้งในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และกระบวนการทำงาน ส่งเสริมบุคลากรในวงการพิพิธภัณฑ์ไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เปิดโลกทัศน์แห่งการสร้างสรรค์

Read More

กรมธนารักษ์จัดนิทรรศการสำหรับผู้พิการ ณ พิพิธภัณฑ์เหรียญ

  กรมธนารักษ์ร่วมเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยจัดนิทรรศการและกิจกรรม “ทุกสัมผัสแห่งวิถีของเงินตรา” เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ด้านเงินตรา ระหว่างวันที่ 9-16 สิงหาคม 2559 ณ พิพิธภัณฑ์เหรียญ ถนนจักรพงษ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ ว่า เนื่องจากปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ กรมธนารักษ์จึงจัดงานนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการร่วมเทิดพระเกียรติ โดยพิพิธภัณฑ์เหรียญซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการออกแบบเพื่อรองรับผู้เข้าชมทุกประเภทรวมทั้งกลุ่มผู้พิการด้วย ขณะนี้เปิดให้ประชาชนเข้าชมการจัดแสดงวิวัฒนาการเงินตรา ในบริเวณอาคารชั้น 1 และอยู่ในระหว่างปรับปรุงการจัดแสดงบนชั้นที่ 2 และ 3 โดยจะแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าชมอย่างเต็มรูปแบบในปี 2560 ที่จะถึงนี้ และเชื่อมั่นว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเงินตราที่ใหญ่และมีความทันสมัยที่สุดในประเทศไทย โดยจัดแสดงตั้งแต่จุดกำเนิดของเงินตราเรื่อยมาจนถึงเหรียญกษาปณ์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังจัดแสดงเหรียญกษาปณ์จากนานาประเทศทั่วโลกกว่า 200 ประเทศ ซึ่งหาชมจากที่ไหนไม่ได้ ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับเงินตรากับกลุ่มผู้พิการ

Read More

อุปถัมภ์ นิสิตสุขเจริญ จากนักย่อยสาร สู่ Creative-Content-Provider

  ในห้วงเวลานี้สังคมไทยบางส่วนไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ไม่รู้จักบุคคลหรือองค์กรที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของศูนย์การเรียนรู้หรือพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง ซึ่งผลงานโดดเด่นที่ปรากฏให้เห็นอยู่บนแหล่งประวัติศาสตร์อย่างถนนราชดำเนิน คือนิทรรศน์รัตนโกสินทร์และพิพิธบางลำพู คงจะอธิบายความหมายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ TK Park ที่นับว่าเป็นผลงานชิ้นเอกเสมือนการจุดพลุที่ทำให้ใครหลายคนได้รู้จักกับบริษัท ไร้ท์แมน จำกัด และผู้บริหารนักคิดอย่าง “อุปถัมภ์ นิสิตสุขเจริญ” ครั้งหนึ่ง “ผู้จัดการ 360  ํ” ได้มีโอกาสพูดคุยกับอุปถัมภ์ถึงแนวความคิดในฐานะของนักย่อยสาร ที่ต้องทำการบ้านเมื่อได้รับโจทย์จากเจ้าของโครงการต่างๆ ที่มีเพียง Conceptual หรือ Content ซึ่งทั้งผู้บริหารและทีมงานไร้ท์แมนจะต้องทำความเข้าใจโจทย์ที่ได้รับ และ Creative รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา และเลือกใช้เครื่องมือที่จะช่วยในการสื่อสาร  ทั้งนี้เทคโนโลยีที่ไร้ท์แมนเลือกใช้คือ Interactive รวมไปถึง Multimedia อื่นๆ ที่จะสะท้อนเรื่องราวไปสู่ผู้เข้าชมซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของศูนย์การเรียนรู้นั้นๆ ซึ่งขั้นตอนการทำงานเริ่มตั้งแต่การจัดการที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งแต่ตีความเนื้อหา นำเสนอ และบริการหลังการขาย ที่ไร้ท์แมนมักจะเสนอตัวเข้ามาดูแลบริหารจัดการ ทั้งในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ การอบรมเจ้าหน้าที่รวมไปถึงการการันตีรายได้ ที่ผ่านมาพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ อาจกลายเป็นภาพจำของไร้ท์แมน ในฐานะนักคิด นักแปลสาร หากแต่ในเวลานี้คงไม่ใช่เช่นนั้นอีกต่อไปเมื่ออุปถัมภ์ นิสิตสุขเจริญ ผุดไอเดียใหม่อย่างการสร้าง Theme Park โดยเล่าเรื่องราวที่มีความคลาสสิกอย่างไดโนเสาร์

Read More

ความรวยเป็นเหตุ

เบอร์นารด์ กุกเกนไฮม์ (Bernard Guggenheim) นายธนาคารชาวนิวยอร์ก แยกออกจากครอบครัวมาพำนักในปารีส ทำธุรกิจสร้างลิฟต์ ผลงานเด่นคือลิฟต์ของหอเอฟเฟล (Eiffel) แต่แล้วเดินทางไปกับเรือไททานิก (Titanic) จนเสียชีวิตในที่สุด ทิ้งสมบัติให้ลูก เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์ (Peggy Guggenheim) ได้มรดกอีกส่วนหนึ่งจากลุงคือโซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ (Solomon R. Guggenheim) เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์เกิดในปี 1898 เดินทางไปมาระหว่างนิวยอร์ก ปารีส และลอนดอน ได้รู้จักกับอาร์ทิสต์อย่างกงสต็องแตง บรองกูซี (Constantin Brancusi) ฌอง ก็อกโต (Jean Cocteau) มาร์เซล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) ซึ่งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสะสมงานศิลป์ เธอไปเปิดอาร์ตแกลเลอรีที่ลอนดอน ในบั้นปลายชีวิตไปพำนักที่เมืองเวนิสริมฝั่ง Grand Canal และให้ทำบ้านของตนเป็นพิพิธภัณฑ์  เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์สะสมโมเดิร์นอาร์ต แอ็บสแทร็คและเซอร์เรียลิสต์ อันมีผลงานชิ้นเอกของปาโบล

Read More

Fondation Maeght

 ฝรั่งเศสมีพ่อค้างานศิลป์ดังๆ หลายคน แต่ไม่มีคนไหนที่จะหาญกล้าสร้าง “พิพิธภัณฑ์” ส่วนตัวแสดงผลงานอาร์ทิสต์ทั้งมวลที่ตนสะสมไว้ เอเม มากต์ (Aimé Maeght) เป็นเพียงหนึ่งเดียว เอเม มากต์ เกิดทางตอนเหนือของฝรั่งเศส แถบเมืองลิล (Lille) พ่อไปสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแล้วหายสาบสูญ แม่พาลูกๆ หนีภัยเยอรมันไปทางใต้ใกล้เมืองนีมส์ (Nîmes) หลังจากเรียนด้านการพิมพ์ เอเม มากต์ไปทำงานในโรงพิมพ์แห่งหนึ่งที่เมืองกานส์ (Cannes) เป็นช่างทำแบบพิมพ์ เขาหางานได้ง่ายเพราะเป็นลูกของผู้หายสาบสูญหรือเสียชีวิตในสงคราม  และที่นี่เองเขาได้พบกับสาวน้อยวัย 17 ปี มาร์เกอริต เดอเวย์ (Marguerite Devaye) ลูกสาวพ่อค้าที่มั่งคั่ง ทั้งสองบังเอิญไปฟังคอนเสิร์ตนักร้องประสานเสียงเดียวกัน สาวเจ้านึกว่าหนุ่มเดินตาม จึงหันมาตบหน้าเสียนี่ แต่แล้ว ในที่สุดก็แต่งงานในปี 1928  ต่อมาในปี 1932เขาตั้งโรงพิมพ์ของตนเองชื่อ ARTE แถวหาด La Croisette พร้อมกับขายวิทยุด้วย  ในปี 1936 เอเมและมาเกอริต มากต์ได้พบกับจิตรกรปิแอร์ บอนนารด์

Read More