Home > MAKRO (Page 2)

ตรวจแนวรบซีพี “แม็คโคร-โลตัส” ฮุบทำเลลุยแพกคู่

หากเจาะยุทธศาสตร์ค้าปลีกของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ “ซีพี” ยังถือแต้มต่อเหนือคู่แข่ง ทั้งการวางเครือข่ายตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำบุกตลาดทุกเซกเมนต์และทุกกลุ่มผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้น มีการ Synergy ทุกแบรนด์และรุกตลาดไปพร้อมๆ กัน อย่างกรณี “แม็คโคร” ที่เตรียมผุดสาขาใหม่ในทำเลติดกับ “โลตัส” สาขาเลียบคลองสอง เร่งขยายฐานลูกค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง ที่สำคัญ อาณาจักรธุรกิจของกลุ่มตระกูลเจียรวนนท์ครอบคลุมทุกการใช้ชีวิตของผู้คน ซึ่งถือเป็นจุดแข็งสูงสุดและทำให้กลยุทธ์การตลาดกว้างขวางกว่าค่ายอื่นๆ โดยอัปเดตล่าสุดเครือซีพีแตกไลน์ 8 สายธุรกิจหลัก ครอบคลุม 14 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคม ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและดิจิทัล ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรม ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ ธุรกิจการเงินและการธนาคาร ดังนั้น ถ้าตรวจแนวรบเฉพาะกลุ่ม Retail ธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย แบ่งเป็น 3 ธุรกิจหลัก คือ ค้าปลีก ค้าส่ง และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ประกอบด้วยบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) บริหารกิจการร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น และบริษัท สยามแม็คโคร

Read More

“แม็คโคร” ปิดดีลใหญ่ส่งท้ายปี เดินหน้าเพิ่มทุนสำเร็จ 50,000 ล้านบาท ผสาน “โลตัสส์” ปั้นแชมเปี้ยนค้าส่งค้าปลีก-อีคอมเมิร์ซ

“แม็คโคร” ปิดดีลใหญ่ส่งท้ายปี เดินหน้าเพิ่มทุนสำเร็จ 50,000 ล้านบาท ผสาน “โลตัสส์” ปั้นแชมเปี้ยนค้าส่งค้าปลีก-อีคอมเมิร์ซ ขึ้นเบอร์หนึ่งในเอเชียพาเอสเอ็มอีและเกษตรกรไทยลุยตลาดโลก บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO หรือ บริษัทฯ) ดีลใหญ่จองซื้อหุ้น PO ส่งท้ายปี กับโอกาสของนักลงทุนที่จะร่วมเติบโตไปพร้อมกับแม็คโครและโลตัสในระดับภูมิภาค ล่าสุด การเสนอขายหุ้น PO ของ บมจ. สยามแม็คโคร ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ถือหุ้นเดิมของ MAKRO CPALL และ CPF กลุ่มนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย ถือเป็นดีลใหญ่ส่งท้ายปีท่ามกลางสถานการณ์โควิด ที่ยังคงส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อตลาดค้าส่งค้าปลีกทั่วโลก แต่ยังสามารถปิดดีลระดมทุนได้ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท หลังจากนี้จะได้เห็นการพลิกโฉมครั้งใหญ่สู่เป้าหมายการเป็น “แชมเปี้ยนค้าส่งค้าปลีก-อีคอมเมิร์ซ” ขึ้นเบอร์หนึ่งในเอเชีย พร้อมพาเอสเอ็มอีและเกษตรกรไทยลุยตลาดต่างประเทศ นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจสยามแม็คโคร (ธุรกิจค้าส่ง) เปิดเผยว่า “ในการเสนอขายหุ้นของแม็คโครนั้น ขอขอบคุณนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนทั่วไปที่ได้ให้การสนับสนุน ถึงแม้ว่าระยะเวลาของการเสนอขายจะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด และเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นตัวดี อย่างไรก็ตาม หุ้นแม็คโครก็ยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แสดงถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อศักยภาพของบริษัทฯ

Read More

‘แม็คโคร’ เตรียมขอมติผู้ถือหุ้น รับโอนกิจการกลุ่มโลตัสส์เร่งขยายต่างประเทศ

‘แม็คโคร’ เตรียมขอมติผู้ถือหุ้น รับโอนกิจการกลุ่มโลตัสส์เร่งขยายต่างประเทศ พร้อมชูแพลตฟอร์ม O2O และอีคอมเมิร์ซ ตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ สร้างโอกาสให้ SMEs ไทยเติบโตในต่างประเทศ บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) เตรียมจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น 12 ตุลาคมนี้ ขอมติเรื่องการรับโอนกิจการกลุ่มโลตัสส์ในไทยและมาเลเซียจาก CPRH โดยออกหุ้นใหม่จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับโอนกิจการกลุ่มโลตัสส์ และการเพิ่มทุนจดทะเบียน รวมถึงการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไป เสริมศักยภาพการเติบโตในตลาดต่างประเทศ ผ่านโมเดลธุรกิจแบบ O2O เชื่อมออนไลน์และออฟไลน์ ตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ ด้วยแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเชื่อมโยงทุกภาคส่วน พร้อมผนึกความร่วมมือกับ SMEs เกษตรกรไทยและซัพพลายเออร์ สร้างโอกาสเติบโตไปด้วยกันในระดับภูมิภาค นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร - กลุ่มธุรกิจสยามแม็คโคร หรือ MAKRO เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติการเข้าถือหุ้นและรับโอนกิจการทั้งหมดของกลุ่มโลตัสส์ในไทยและมาเลเซีย จากบริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (CPRH) และเพิ่มทุนจดทะเบียน รวมถึงการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement หรือ PP)

Read More

เซเว่นฯ-แม็คโคร ทุ่ม 2 หมื่นล้าน ปลุกแนวรบค้าปลีกเดือด

“ซีพีออลล์” ปรับเปลี่ยนตัวขุนพลครั้งใหญ่ เมื่อนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2562 โดยให้ลูกชายคนโต “สุภกิจ เจียรวนนท์” ขึ้นนั่งเก้าอี้แทนพร้อมๆ กับการเร่งเดินหน้าแผนการลงทุนรุกแนวรบค้าปลีก ทั้งเซเว่นอีเลฟเว่น และแม็คโคร ใช้เม็ดเงินมากกว่า 20,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน หุ้นบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL และบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ “MAKRO” เคลื่อนไหวคึกคักรับข่าวใหม่ต่อเนื่องตลอดหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะการประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2562 ซีพีออลล์และบริษัทย่อยสามารถทำรายได้รวม 138,896 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 8.6% และมีกำไร 5,416.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 5,416.83 ล้านบาท ปี 2562 ซีพีออลล์ยังตั้งเป้าการเติบโต

Read More

จากอดีตสู่อนาคต “สยามแม็คโคร” ในร่มเงา ซีพี

 ย้อนกลับในปี 2532 หรือกว่า 25 ปีที่แล้ว การเกิดขึ้นของศูนย์จำหน่ายสินค้าในรูปแบบ Cash and Carry ในนาม สยามแม็คโคร คงสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการค้าปลีกไทยไม่น้อย แต่บริบทที่เกิดขึ้นกับ สยามแม็คโคร ในวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ธุรกิจค้าปลีกไทย ไปไกลเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการถึง บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเอง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” ด้วยการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังจากที่ SHV Holding บรรษัทที่มีโครงข่ายธุรกิจหลากหลายสัญชาติจากเนเธอร์แลนด์ รุกเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในเอเชีย ซึ่งควบคู่กับการรุกเข้าไปทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์  การเข้ามาในเมืองไทยของบรรษัทต่างชาติอย่าง SHV ในครั้งนั้น ย่อมต้องดำเนินไปโดยมีพันธมิตรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของย่างก้าวก่อนที่จะลงหลักปักฐาน ซึ่งไม่แปลกที่ในครั้งนั้นชื่อของเครือเจริญโภคภัณฑ์จะปรากฏเป็นพันธมิตรสำคัญตั้งแต่เริ่ม  “25 ปีที่แล้ว กลุ่มซีพีได้ชักชวนให้ SHV Holding เปิดแม็คโครในเมืองไทย ในขณะที่ซีพี ก็เปิด 7-11

Read More

“แม็คโคร” รุกฐานฟู้ดเซอร์วิส เกมสกัดดาวรุ่ง “เบทาโกร”

 แม้ “แม็คโคร” มีกลุ่มโชวห่วยเป็นฐานลูกค้าเก่าดั้งเดิมและเป็นฐานใหญ่มากกว่า 700,000 ราย แต่อัตราเติบโตของลูกค้ากลุ่มธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหารและจัดเลี้ยง หรือโฮเรก้า (HoReCa: Hotel Restaurant Catering) ที่ขยายตัวต่อเนื่องทุกปีไม่ต่ำกว่า 20% เทียบกับโชวห่วยที่เติบโตเพียง 7% ทำให้แม็คโครต้องวางยุทธศาสตร์เจาะกลุ่มโฮเรก้าเข้มข้นขึ้น เพื่อเพิ่มฐานรายได้และเติมเต็มยุทธการยึดตลาดค้าปลีกทุกรูปแบบตามแผนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) การปรับกลยุทธ์ยังเป็นการวางหมากสกัดคู่แข่งดาวรุ่ง โดยเฉพาะเครือเบทาโกร ซึ่งเร่งปูพรมวางเครือข่ายช่องทางจำหน่ายต่อยอดธุรกิจจากต้นน้ำสู่ธุรกิจค้าปลีกปลายน้ำ โดยสร้างฐานลูกค้าในกลุ่มฟู้ดเซอร์วิสและกลุ่มโฮเรก้าไว้อย่างแข็งแกร่ง  จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2531 จนถึงปัจจุบัน แม็คโคร ซึ่งเป็นศูนย์ค้าส่งระบบสมาชิก (Cash and Carry) มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 2.5 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มลูกค้าร้านโชวห่วย ร้านค้าปลีกรายย่อย ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม องค์กรและหน่วยงานต่างๆ  ล่าสุด ขยายสาขาทั่วประเทศ 72 แห่ง แบ่งเป็นศูนย์ค้าส่ง 62 แห่ง โฟรเซ่นช็อป 5 แห่งและฟู้ดเซอร์วิส 5 แห่ง

Read More

MAKRO บนยุทธศาสตร์ค้าปลีก CP

 หากมองย้อนกลับไปนับตั้งแต่ MAKRO กลายเป็นข่าวใหญ่และ talk of the town จากการถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้ดีลที่มูลค่าสูงมากเป็นประวัติการณ์วงการธุรกิจไทยเมื่อกว่าหนึ่งขวบปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า ข่าวคราวของ MAKRO ห่างหายไปจากการนำเสนอในหน้าสื่อต่างๆ พอสมควร ในด้านหนึ่งเนื่องเพราะภาพลักษณ์และแนวคิดหลักของการขับเคลื่อนองค์กรแห่งนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนยุทธศาสตร์หลักของผู้นำองค์กรที่โดดเด่นและเข้มแข็งอย่างธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นด้านหลัก ขณะเดียวกัน MAKRO ยังต้องดำเนินการปรับโครงสร้างและจัดวางเข็มมุ่งใหม่ให้แหลมคมและสอดรับกับเป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ไปด้วยในคราวเดียว การเปิดตัวฉลองครบรอบ 25 ของสยามแม็คโคร เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงเป็นประหนึ่งการประกาศตัวและตอกย้ำแนวทางการรุกรบครั้งใหม่ในธุรกิจค้าปลีกไทย ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในมิติของการเพิ่มจำนวน outlet ในลักษณะของการเพิ่มจำนวนสาขาอีกต่อไป หากหมายรวมลึกซึ้งไปถึงทุกช่องทางการจำหน่าย ที่ยังเปิดกว้างให้เข้าครอบครองด้วย การต่อสู้แข่งขันในสมรภูมิค้าปลีกไทย ไม่เพียงแต่จะอุดมด้วยข่าวความเคลื่อนไหวเปิดตัวสถานที่ตั้งของสาขาที่ขยายไปใหม่เท่านั้น หากยังอุดมด้วยวิสัยทัศน์ที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านภูมิทัศน์ทางธุรกิจให้เข้าสู่บริบทใหม่ ที่มีความหนักหน่วงรุนแรงและส่งผลกระเทือนต่อทุกระนาบในระบบเศรษฐกิจอีกด้วย ตลอดปี 2013 ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ของธนินท์ เจียรวนนท์ ได้วางเข็มมุ่งที่จะปักหมุดและครอบครองพื้นที่สำหรับการขยายอาณาจักรค้าปลีกของกลุ่มซีพีไว้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการรุกของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ทุ่มทุนกว่า 188,000 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นแม็คโครจากกลุ่มบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี (เอสเอชวี)

Read More

เปิดปูม SHV ก่อนถอนสมอ Makro จากไทย

ย้อนกลับในปี 2531 หรือกว่า 25 ปีที่แล้ว การเกิดขึ้นของศูนย์จำหน่ายสินค้าในรูปแบบ Cash and Carry ในนาม สยามแมคโคร คงสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการค้าปลีกไทยไม่น้อย แต่บริบทที่เกิดขึ้นกับ สยามแมคโคร ในวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ธุรกิจค้าปลีกไทย ไปไกลเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการถึง บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเอง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” ด้วยการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังจากที่ SHV Holding บรรษัทที่มีโครงข่ายธุรกิจหลากหลายสัญชาติจากเนเธอร์แลนด์ รุกเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในเอเชีย ซึ่งควบคู่กับการรุกเข้าไปทั้งใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ การเข้ามาในเมืองไทยของบรรษัทต่างชาติอย่าง SHV ในครั้งนั้น ย่อมต้องดำเนินไปโดยมีพันธมิตรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของย่างก้าวก่อนที่จะลงหลักปักฐาน ซึ่งไม่แปลกที่ในครั้งนั้นชื่อของเครือเจริญโภคภัณฑ์จะปรากฏเป็นพันธมิตรสำคัญตั้งแต่เริ่ม “25 ปีที่แล้ว กลุ่มซีพีได้ชักชวน ให้ SHV Holding  เปิดแม็คโครในเมืองไทย ในขณะที่ซีพี ก็เปิด

Read More

ซีพี เชื่อ แม็คโคร จะเป็นใบเบิกทางสู่เวทีโลก

 การที่บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซื้อกิจการบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ “แม็คโคร” ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเองในประเทศไทยด้วยมูลค่าประมาณ 188,880 ล้านบาท เป็นประโยชน์ทั้งต่อการดำเนินธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์และประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบาย 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ คือ การลงทุนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ประชาชน และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ทำการศึกษาธุรกิจค้าปลีกอย่างละเอียด ธุรกิจค้าปลีกนั้นสามารถแยกได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1. Mall หรือ Department store 2. Hyper market 3. Convenience store 4. Wholesale หรือ ค้าส่ง ซึ่งรวมแล้วเรียกว่าค้าปลีก ธุรกิจค้าปลีกในไทยมีแนวโน้มที่ดี เพราะอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทยมีแต่บวกกับบวก ความเสี่ยงในการซื้อกิจการแม็คโครนั้น ขณะนี้ยังมองไม่เห็น ที่สำคัญ แม็คโครมีสิทธิที่จะขยายการลงทุนไปได้ทั่วโลก โดยในเบื้องต้นตั้งเป้าหมายไปที่กลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งมีสมาชิก 10 ประเทศ

Read More

“ซีพี” เฉือนคู่แข่ง ฮุบ “แม็คโคร” กินรวบ

การทุ่มทุนกว่า 188,000 ล้านบาท ซื้อหุ้นแม็คโครของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จากกลุ่มบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี (เอสเอชวี) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และบริษัทในเครือ  ถือเป็น “จิ๊กซอว์” ตัวสำคัญล่าสุดของธนินท์ เจียรวนนท์ ในการขยายอาณาจักรธุรกิจอาหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ “ซีพี” อย่างครบวงจร โดยเฉพาะการปรับกระบวนทัพยึดทุกช่องทางค้าปลีก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจำนวนมหาศาล แม้วงการค้าปลีกมองดีลครั้งนี้เป็นการลงทุนที่แพงมาก  แต่สำหรับซีพีถือเป็นการลงทุนที่สามารถต่อยอดหลายชั้น เนื่องจากเป็นทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบครอบคลุมตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การแปรรูปเนื้อสัตว์ เนื้อดิบๆ กึ่งปรุงสุก ปรุงสุก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป และการเปิดหน้าร้าน ทั้งร้านค้าปลีกและร้านอาหาร ขณะที่แม็คโครเป็นผู้ดำเนินธุรกิจศูนย์ค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริการตัวเอง (Cash & Carry) มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ร้านค้าปลีก ร้านโชวห่วย โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร ธุรกิจจัดเลี้ยง (โฮเรก้า) สถาบันการศึกษา และสำนักงานต่างๆ ในรูปแบบสมาชิกจำนวนมากกว่า

Read More