ภาพแห่งความโกลาหลของประชาชนที่มาเข้าแถวรอแลกธนบัตรมูลค่าใบละ 500 และ 1,000 รูปีที่ถูกประกาศยกเลิกและกำลังจะมีสถานะกลายเป็นเพียงเศษกระดาษไร้ค่าหากไม่นำมาแลกเป็นธนบัตรใหม่ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2559 นอกจากจะดำเนินไปด้วยความตื่นตระหนกอย่างกว้างขวางแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกลไกเศรษฐกิจของอินเดียในห้วงเวลาปัจจุบันอย่างไม่อาจเลี่ยง การประกาศยกเลิกธนบัตรทั้งสองชนิดดังกล่าว ของนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ในด้านหนึ่งดำเนินไปท่ามกลางเหตุผลของความพยายามในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นและผู้ถือครองเงินนอกระบบในประเทศ การขจัดธนบัตรปลอม และการตัดแหล่งเงินสนับสนุนของขบวนการก่อการร้ายเพื่อให้เงินผิดกฎหมายหรือเงินที่ได้มาจากการทุจริตคอร์รัปชั่นถูกขจัดออกจากระบบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวนโยบายที่โมดีได้ใช้หาเสียงในช่วงก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 แม้ว่าการประกาศยกเลิกธนบัตรดังกล่าวจะได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่จำเป็นในการปราบปรามเงินนอกระบบและการคอร์รัปชั่น และจะทำให้ปริมาณเม็ดเงินที่คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่าสองแสนล้านเหรียญสหรัฐที่อยู่นอกระบบของอินเดีย หลั่งไหลเข้ามาเติมเต็มสู่ระบบธุรกิจ บัญชีของธนาคาร และที่สำคัญเป็นภาษีและรายได้เข้าสู่รัฐ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลภายใต้การนำของนเรนทรา โมดี ได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม (GST: Goods and Services Tax Bill) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2017 โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ได้รับการประเมินว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งสำคัญของอินเดียอีกด้วย แต่ผลของประกาศยกเลิกธนบัตรอย่างฉับพลันครั้งนี้ ในด้านหนึ่งกลายเป็นเหตุให้ประชาชนชาวอินเดียจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินทั้งบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งนำไปสู่ความไม่พึงพอใจและการเข้าแถวแลกธนบัตรใหม่ที่ต้องเผชิญกับข้อเท็จจริงที่ว่ามีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการอีกด้วย ขณะเดียวกัน รัฐบาลอินเดียยังได้ลดจำนวนเงินที่อนุญาตให้แลกจาก 4,500 รูปี เหลือ 2,000 รูปี เนื่องจากสงสัยว่าหลายคนรับจ้างกลุ่มขบวนการอาชญากรรมมาฟอกเงินด้วยการแลกหรือฝากธนบัตรเก่าก่อนถึงกำหนดเส้นตาย 30
EconomicsIndiaนเรนทรา โมดีอินเดีย Read More