Home > Food (Page 2)

มอนเด นิสซิน เปิดตัว “ควอร์น” โปรตีนทางเลือก ไร้เนื้อสัตว์ จากอังกฤษ

บริษัทมอนเด นิสซิน ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่แห่งประเทศฟิลิปปินส์ ทุ่มงบกว่า 23,000 ล้านบาท ควบรวมกิจการ บริษัท ควอร์น ฟู้ดส์ ประเทศอังกฤษ มุ่งเปิดตลาด โปรตีนทางเลือก ไร้เนื้อสัตว์ ภายใต้แบรนด์ “ควอร์น” (Quorn™) สู่ภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทย เชื่อการเปิดตัว ควอร์น ครั้งแรกในไทยจะสามารถเจาะเทรนด์คนไทยยุคใหม่ที่รักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม คาดธุรกิจผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จะเติบโตได้มากกว่า 20% ในอีก 2 ปีข้างหน้า มร.รูฟิโน เทียมลี ประธานบริหาร บริษัท มอนเด นิสซิน ประเทศสิงคโปร์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารในเครือ บริษัท มอนเด นิสซิน ภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า “จากแนวทางของบริษัทแม่ที่ต้องการขยายธุรกิจทั้งในประเทศที่มีฐานอยู่ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ไทย ออสเตรเลีย อังกฤษ จึงได้ขยายธุรกิจ สู่ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก ภายใต้แบรนด์ “ควอร์น” (Quorn™) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกแบรนด์ดังจากประเทศอังกฤษ

Read More

เบทาโกร โกลบอลแบรนด์ เกมต่อยอดรายได้แสนล้าน

  ช่วงหลายปีที่ผ่านมา “เบทาโกร” ยังต้องลุยโจทย์เรื่องการสร้างแบรนด์ โดยเฉพาะเมื่อพุ่งเป้ารุกธุรกิจอาหาร เพื่อเพิ่มมูลค่าธุรกิจเกษตรต้นน้ำและต้องแข่งขันดุเดือดกับยักษ์ใหญ่อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่เจาะกลุ่มผู้บริโภคและยึดตลาดแบบเบ็ดเสร็จ ขึ้นโต๊ะอาหารแทบทุกครัวเรือน  เฉพาะปีนี้ เบทาโกรอัดงบมากกว่าร้อยล้านเปิดตัวหนังโฆษณา 2 ชุด โดยช่วงต้นปีทุ่มกว่า 100 ล้านบาท เปิดตัวหนังโฆษณา “เบทาโกร รักคำโตโต”  โดยพยายามตอกย้ำความเป็นผู้นำการผลิตอาหารคุณภาพด้วยความรัก  เพื่อต่อยอดจากแคมเปญเดิม ซึ่งเคยเผยแพร่ผ่านภาพยนตร์โฆษณาเมื่อปี 2556   ล่าสุด เบทาโกรเปิดหนังโฆษณาชุดใหม่ “Love at First Meal” พร้อมๆ กับการเปิดศึกไส้กรอกครั้งใหญ่ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกแบรนด์ BETAGRO เพิ่มปริมาณเนื้อสัตว์ และเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้ทันสมัย สะดุดตา ใช้สีขาวสื่อถึงความสะอาด เรียบง่าย และสีทองสื่อถึง “คุณภาพ” ของไส้กรอก ซึ่งถือเป็นการปรับผลิตภัณฑ์ครั้งใหญ่ในรอบ 5 ปี แน่นอนว่า ในกลุ่มอาหารพร้อมปรุงพร้อมทาน “ไส้กรอก” ถือเป็นเมนูยอดฮิต มีมูลค่าตลาดรวมมากถึง  46,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.1

Read More

“ช้าง-สิงห์” เปิดศึกนอนแอลฯ ยึดธุรกิจอาหาร แข่งเดือด

  2 ยักษ์ใหญ่ “ไทยเบฟเวอเรจ” หรือ “ช้าง” และ “สิงห์ คอร์เปอเรชั่น” กำลังเร่งสยายปีกเจาะธุรกิจอาหาร เพื่อสร้างการเติบโตนอกเหนือจากกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งแนวรบตลาดในประเทศไทยและวางโรดแมพพุ่งเป้าช่วงชิงส่วนแบ่งในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย นับมูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการต่อตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.2559) มียอดขายรวม 100,625 ล้านบาท เติบโต 18.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มียอดขาย 84,697 ล้านบาท กำไรสุทธิ 14,482 ล้านบาท เติบโต 16% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 12,481 ล้านบาท โดยกำไรที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากภาระขาดทุนลดลงจากธุรกิจเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์  เฉพาะธุรกิจเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์มียอดขาย 9,154 ล้านบาท เติบโต 8% ซึ่งถือเป็นปีแรกที่นำยอดขายของบริษัทใหม่ในเครือ คือ “ฟู้ด ออฟ เอเชีย” มารวมด้วย   นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ

Read More

ซีพีเจาะสูตรแกงไทย รุกตลาด “ครัวโลก”

  ยักษ์ใหญ่ “ซีพี” เหมือนใจตรงกัน เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติ (คสช.) สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ เป็นแม่งานพัฒนาอาหารไทยเต็มรูปแบบ เพื่อกำหนดแนวทางการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการปรุง การบริโภค การใช้ผลิตภัณฑ์อาหารไทยทั่วโลก รวมทั้งการรับรองร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่มีอยู่กว่า 20,000 แห่ง เพื่อยกระดับอาหารไทยให้ได้มาตรฐานเพิ่มมากขึ้น  โดยเฉพาะการสร้างมาตรฐานสูตรต้นแบบการปรุงอาหารของไทย นำร่อง 13 เมนู แบ่งเป็นอาหารคาว 11 เมนู ได้แก่ ส้มตำไทย ผัดไทย กะเพราหมู ต้มยำกุ้งน้ำใส ต้มยำกุ้งน้ำข้น มัสมั่นไก่ สะเต๊ะไก่ ลาบหมู ต้มข่าไก่ พะแนงเนื้อ แกงเขียวหวานไก่ และอาหารหวาน 2 เมนู  ได้แก่ ทับทิมกรอบ และข้าวเหนียวมูน มะม่วงน้ำดอกไม้ เหตุผลสำคัญข้อหนึ่ง คือ รสชาติอาหารไทยในร้านอาหารไทย รวมถึงห้องอาหารไทยของโรงแรมในต่างประเทศ และผลิตภัณฑ์อาหารไทย ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ

Read More

อาหารประจำชาติ

   กระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าด้วย พริกแกง ดูจะเป็นไปอย่างคึกคักหนักหน่วงอย่างยิ่งไม่เฉพาะในโลกโซเชียลมีเดีย หากแต่ดูเหมือนบรรดานักวิจารณ์ภาพยนตร์จำนวนไม่น้อยต่างก็แสดงทัศนะด้านลบต่อภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวอย่างเผ็ดร้อนไปตามชื่อเรื่อง ความเป็นไปของวัฒนธรรมอาหารในด้านหนึ่งคือความลื่นไหลของทั้งประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนสัมพันธ์ที่สามารถไล่เรียงตั้งแต่ระดับปัจเจกชนไปถึงระดับชุมชนหมู่บ้าน กระทั่งก่อรูปเป็นกระแสสำนึกในระดับประเทศชาติ ให้เก็บรับกลายเป็นวัฒนธรรมอาหารและการบริโภคไปโดยปริยาย ความพยายามที่จะผูกขาดยึดโยงแบบเหมารวมทั้งในมิติของวิธีการปรุงก็ดีหรือแม้กระทั่งเครื่องเคราวัตถุดิบในการปรุงอย่างกำหนดตายตัวในเมนูอาหารหลากหลายจึงเป็นเรื่องที่สวนทางกับข้อเท็จจริงของวัฒนธรรมอาหาร  ยิ่งเมื่อผูกสานผสมรวมเข้ากับวิถีคิดแบบชาตินิยมคับแคบยิ่งทำให้คำว่า อาหารประจำชาติ กลายเป็นเพียงเรื่องขบขันที่น่าเสียดาย ชนิดที่หัวเราะไม่ออกร้องไห้ก็ไม่ได้ และอาจทำให้เมนูอาหารประจำชาติที่ว่าถูกทิ้งร้างให้จมปลักอยู่ในเงามืดของมุมห้องครัว และปรากฏเหลือเพียงชื่อให้ได้กล่าวถึงแต่ไร้สรรพรสที่จะหยิบยื่นให้สัมผัส หากสำหรับครัวศรีลังกาซึ่งวิวัฒน์ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหลากหลายทั้งจากการที่เป็นสถานีการค้าสำคัญตั้งแต่ครั้งอดีต หรือแม้กระทั่งการเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ทำให้อาหารพื้นถิ่นของศรีลังกาอุดมด้วยเรื่องราวและรากฐานทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ที่ผสานเข้ากับภูมิปัญญาและวัตถุดิบประจำถิ่นที่กอปรส่วนเข้ามาเป็นอาหารของศรีลังกาในปัจจุบัน แม้ว่าอาหารจานหลักของศรีลังกาจะอยู่บนพื้นฐานที่มีข้าว มะพร้าวและเครื่องเทศหลากหลายเป็นองค์ประกอบหลัก โดยเฉพาะเครื่องเทศที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวพันกับศรีลังกาทั้งในฐานะผู้ผลิตสำคัญและการเป็นสถานีการค้าที่มีเครื่องเทศจากทุกภูมิภาคของโลกเคลื่อนตัวผ่าน ทำให้อาหารของศรีลังกาเต็มไปด้วยสีสันและรสชาติที่หลากหลายตามแต่จะปรับเข้าหารสนิยมของผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นถิ่นด้วย สำรับอาหารของศรีลังกานอกจากจะมีข้าวสวยที่ผ่านการหุงสุกประกอบส่วนด้วยเครื่องแกง ที่ถือเป็นสำรับอาหารที่มีต้นทางและเป็นประหนึ่งวัฒนธรรมร่วมอยู่ในอนุภูมิภาคเอเชียใต้ หากมีความหลากหลายทั้งในมิติของรสชาติที่ไล่ระดับความเผ็ดร้อน หรือแม้กระทั่งเนื้อสัตว์แหล่งโปรตีนที่จะเติมเต็มคุณค่าสารอาหาร ทั้งปลา ปู กุ้ง หมู ไก่ หรือแม้กระทั่งเนื้อแพะ วัฒนธรรมอาหารที่ลื่นไหลและอบอวลคละคลุ้งในลักษณะเช่นว่านี้ ทำให้ศรีลังกายากที่จะระบุให้อาหารสำรับใดหรือจานใดจานหนึ่งเป็นอาหารประจำชาติของศรีลังกาแต่โดยลำพัง หากเมื่อกล่าวถึงอาหารยอดนิยมของศรีลังกาแล้วล่ะก็ คงได้ลิสต์รายชื่อออกมาเป็นหางว่าวอย่างแน่นอน ยังไม่นับรวมการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่เป็นมรดกจากยุคอาณานิคมเช่น Lamprais หรือข้าวห่อใบตองซึ่งมีต้นทางมาจากวัฒนธรรมอาหารของพวก Dutch Burgher ที่มีลักษณะเฉพาะด้วยการนำข้าวหุงสุกคลุกเคล้าเข้ากับเครื่องเทศและเครื่องแกงควบคู่ด้วยเนื้อสัตว์ ก่อนจะห่อด้วยใบตองแล้วนำไปอบ ซึ่งก็คือการหุงปรุงรอบที่สอง มรดกของอาหารสำรับดังกล่าวนี้ อาจกล่าวได้ว่า Lamprais เป็นประหนึ่งต้นทางของการห่อข้าวให้เป็น Lunch Packett สำหรับวิถีชีวิตในเมืองใหญ่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการย่อส่วนโดยตัดใบตองและการอบครั้งที่สองออกไปให้เหลือเพียงข้าวกับเครื่องแกงและเครื่องเคียงที่อุดมด้วยสารอาหารและความสะดวกในการพกพา ขณะเดียวกัน การนำข้าวมาแปรรูปเป็นแป้งข้าวเจ้าผสมเข้ากับกะทิมะพร้าวและเครื่องเทศ ก่อนจะนำไปหมักเพื่อให้เกิดเป็น Hoppers หรือแป้งทอดในกระทะเพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงคล้ายแพนเค้กที่มีขอบสูงก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกสำหรับการเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต หรือเพิ่มรสชาติด้วยการทำเป็น Egg

Read More

เมื่อยักษ์ไทยบุกกรุงลงกา

  แวดวงอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในศรีลังกาในห้วงยามนับจากนี้ดูจะอุดมด้วยรสชาติหลากหลายเพิ่มขึ้น หลังจากที่ปรากฏข่าวยักษ์ใหญ่และผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารจากเมืองไทยในนาม เจริญโภคภัณฑ์ ตัดสินใจเคลื่อนทัพเข้าเติมเต็มสีสันด้วยการครอบกิจการของ Norfolk Foods เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวของเครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าสู่ตลาดศรีลังกาในครั้งนี้ดำเนินการโดยผ่านกลไกของ CPF Investment ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในโครงสร้างของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (CPF) ด้วยการซื้อหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 80 ของบริษัท Norfolk Foods  โดยเป็นการซื้อหุ้นจากทั้งที่ถือครองโดย Expolanka Holdings ร้อยละ 50 และส่วนที่เหลือจาก Mohamed Ziauddin ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 4 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 140 ล้านบาท การรุกคืบของ CPF ในครั้งนี้ถือเป็นการเปิดแนวรุกใหม่ครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารของศรีลังกา เพราะแม้ว่า Norfolk Foods ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1994 โดยมี “Crescent” เป็นแบรนด์สำคัญจะอยู่ในฐานะผู้ประกอบการลำดับที่ 3-4 ในอุตสาหกรรมนี้  แต่หากพิจารณาจากความชำนาญการและช่องทางการจัดจำหน่ายของ Norfolk โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจ HoReCa ที่กำลังขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็วควบคู่กับธุรกิจท่องเที่ยวของศรีลังกาแล้ว  นี่อาจเป็นข้อต่อทางธุรกิจที่สำคัญมากสำหรับ CPF ในอนาคตและสอดรับกับยุทธศาสตร์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการผลิตเพื่อค้าปลีก หากแต่ยังให้ความสำคัญกับธุรกิจค้าส่งในกลุ่ม

Read More

เปิดตัวอาหารคู่หูดูโอ

 Column: Well – Being เราคงคุ้นเคยกับการจับคู่บริโภคอาหารบางอย่างด้วยกัน แล้วให้รสชาติเอร็ดอร่อยเป็นพิเศษ เช่น ขนมปังทาแยม แต่ที่น่าแปลกกว่านั้นคือ เมื่อนำอาหารบางชนิดมาจับคู่ นอกจากอร่อยลิ้นแล้ว ยังเพิ่มคุณค่าทางอาหารอีกโข ดังที่นิตยสาร GoodHealth นำเสนอ แครอท + กัวคาโมเล ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับกัวคาโมเลหรืออโวคาโดดิพว่า เป็นอาหารว่างยอดนิยมของชาวเม็กซิกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ส่วนประกอบหลักปรุงจากผลอโวคาโดสุกงอม มะเขือเทศ และหอมหัวใหญ่ เมื่อชาวสเปนเข้าไปบุกเบิกเม็กซิโก ได้นำเมนูนี้กลับไปเผยแพร่ที่สเปนจนเป็นที่นิยมของคนผิวขาวตอนล่างไป สำหรับเมนูสลัด ได้ชื่อว่าอุดมด้วยสารอาหารสำคัญต่อร่างกายมากมายก็จริง แต่คุณจะไม่ได้รับสารอาหารที่ว่าเต็มที่ จนกว่าจะกินกับน้ำสลัดที่ถูกประเภท การบริโภคสลัดที่ราดด้วยน้ำสลัดประเภท full – fat dressings เช่น น้ำมันมะกอก หมายความว่าร่างกายดูดซึมสารแคโรทีนอยด์อย่างไลโคปีนและเบตาแคโรทีนได้มากขึ้น สารเหล่านี้ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้ การเพิ่มถั่วเปลือกแข็ง ไข่ หรือชีส ลงไปก็ให้ผลเช่นเดียวกัน รวมถึงอโวคาโดด้วยผลการศึกษาพบว่า หากเพิ่มอโวคาโดลงในจานสลัด หมายความว่าร่างกายสามารถดูดซึมไลโคปีนได้มากขึ้น 4.4 เท่า และดูดซึมเบตาแคโรทีนมากขึ้น 2.6 เท่า เมื่อเทียบกับสลัดที่ปราศจากอโวคาโด จึงสรุปได้ว่า สลัดที่ปราศจากไขมัน ทำให้ร่างกายดูดซึมแคโรทีนอยด์ได้น้อยมาก นอกจากนี้

Read More

ปรับทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร… ด่วน

 Column: Well – Being เรื่องราวที่นำเสนอต่อไปนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับการใช้อาหารเพื่อช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น หรือทำให้ผ่อนคลายที่ได้ลิ้มรสอาหารรสเลิศหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งวัน แต่เป็นการนำเสนอแนวคิดใหม่ล่าสุดที่ว่า การใส่อารมณ์ลงไปในมื้ออาหารด้วยนั้น ช่วยทำให้เรามีสุขภาพดีขึ้นและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย นิตยสาร Shape กล่าวถึงกระแสของคนอเมริกันยุคนี้ ซึ่งอาจหมายรวมถึงคนในเมืองใหญ่ทั่วโลกด้วยว่า พวกเขามองว่าการบริโภคกลายเป็นภารกิจในการทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน กากใย สารต้านอนุมูลอิสระ ฯลฯ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่สิ้นเปลืองเวลาน้อยที่สุด ที่สำคัญ คนอเมริกันไม่ต้องการใส่อารมณ์หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ใส่ใจ” ลงไปในมื้ออาหารมากนัก เพราะอาจทำให้พวกเขาบริโภคมากเกินไป หรือบริโภคอาหาร “ผิดๆ” อย่างขนมปัง หรือคัพเค้ก ผลที่ตามมาคือ มื้ออาหารไม่ได้หมายถึงความสุขเพลิดเพลินจากอาหารแสนอร่อยอีกต่อไป แต่กลายเป็นหน้าที่ที่ต้องบริโภคในทำนองว่า “ฉันหิวแล้ว ขออาหารที่กินง่าย เร็ว และมีคุณค่า เพื่อจะได้รีบกลับไปทำอะไรอื่นอีกร้อยพันอย่าง” เราต่างให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารที่ดีที่ทำให้แข็งแรงขึ้น มีพลัง และมีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้เราทำกิจกรรมอันสับสนวุ่นวายจนลุล่วงไปได้พร้อมๆ กัน เราหวั่นวิตกมากว่า ถ้ายอมตามใจปาก บริโภคแต่อาหารขยะ เราจะสูญเสียการควบคุมทั้งหมด และได้รับพลังงานส่วนเกินอย่างมหาศาล แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับเห็นว่า ถ้าเราไม่มีความสุขขณะบริโภค เราจะเกิดความพึงพอใจลดลง และมีแนวโน้มบริโภคเกินด้วยซ้ำไป โดย เจนนี เทตซ์

Read More

ฟัว กราส์ มีปัญหา

 Column: From Paris อาหารจานอร่อยของฝรั่งเศสมีหลายอย่าง อร่อยจนลืมโรคภัยที่อาจถามหา อาหารจานอร่อยบางจานเป็นอาหารท้องถิ่นของภาคต่างๆ ด้วยเหตุนี้ยามไปอัลซาส (Alsace) จะขอชิม choucroute หรือที่รู้จักกันในภาษาเยอรมันว่า sauerkraut อีกทั้ง baeckeofe ต้มเนื้อสามชนิดอันมีเนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อหมูต้มกับมันฝรั่ง อาจใส่หอมใหญ่และแครอตได้ด้วย ทว่าต้องเลือกร้านที่ไม่ใส่เนื้อวัวเพราะไม่กินเนื้อวัวมานานแล้ว ไหนจะ tarte flambée แผ่นแป้งบางที่มีหน้าแฮมและหอมใหญ่ใส่เนยแข็งแล้วอบ และไม่ลืมดื่มเบียร์ด้วย เพราะชาวอัลซาสนิยมดื่มเบียร์ ไปเที่ยวชายทะเลของนอร์มองดี (Normandie) ถามหาอาหารทะเลที่มาเป็นถาดและซุปปลา–soupe de poisson ไปทางใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองมาร์เซย (Marseille) ไม่ลืม bouillabaisse ซุปปลาหลายชนิดที่ใส่หอยแมลงภู่ด้วย ถ้าไปเที่ยวถิ่นภูเขาแถบซาวัว (Savoie) ก็ต้องชิม tartiflette เนยแข็ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนยแข็ง reblochon) ผัดกับมันฝรั่ง หอมใหญ่และหมูสามชั้นหมักเกลือที่เรียกว่า lardon และไส้กรอก อาหารจานเด่นของภาคตะวันตกเฉียงใต้คือเป็ดต้มเค็ม–confit de canard และที่ขาดไม่ได้คือฟัว กราส์ foie gras  อันที่จริง

Read More

ชาวเกาะฝ่าวิกฤต ลุยตลาดโลก

 “การขาดแคลนวัตถุดิบหรือมะพร้าวเป็นปัญหาที่กังวลมากที่สุด ปัญหาด้านการเมืองนั้นไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราก็ต้องส่งออก ผมไม่กังวล ผมกังวลเรื่องไม่มีวัตถุดิบในการผลิตมากกว่า” อภิศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพผดุงพร จำกัด ผู้ผลิตกะทิชาวเกาะ กล่าวในวันแถลงผลประกอบการปี 2556  ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ทำให้ในปี 2557 บริษัทฯ หันมาบริหารวัตถุดิบโดยนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และบริหารวัตถุดิบในประเทศโดยประเมินผลผลิตโดยรวมในแต่ละช่วงเวลา จากแปลงทดลองของบริษัทฯ รวมถึงการใช้กลไกราคารับซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ทั้งในช่วงที่มะพร้าวมีปริมาณมากและช่วงขาดแคลน ทำให้ในปีต่อมาบริษัทมีวัตถุดิบคงคลังเพื่อผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จากการแถลงผลประกอบการปี 2557 บริษัทฯ มียอดขายรวมทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2556 มียอดขาย 4,500 ล้านบาท นับเป็นยอดขายที่โตแบบก้าวกระโดด ด้วยอัตราการเติบโตทะลุเป้า 30% และเป็นยอดขายที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ตั้งบริษัทฯ มา อีกทั้งเป็นการสร้างยอดขายที่สวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่กำลังซบเซาอีกด้วย แม้ชาวเกาะจะสามารถขจัดปัญหาวัตถุดิบให้หมดไป แต่ปีนี้ชาวเกาะพบปัญหาใหม่ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา และกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวดี ซึ่งอาจมีผลกระทบบ้างเล็กน้อยกับธุรกิจ แต่กระนั้นปัจจัยสำคัญหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรง คือการแข็งค่าของเงินบาท   ขณะที่ยอดขายส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ สัดส่วนการส่งออกต่างประเทศกับการจำหน่ายในไทย ในอัตราร้อยละ 80

Read More