Home > Education (Page 2)

RSU 5.0 นวัตกรรม ม.รังสิต บนความพยายามของการศึกษาไทย

ความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยรังสิตเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กับการเปิดเผยทิศทางและภาพรวมของแผนการที่กำลังดำเนินไปอย่างมีกรอบโครง ที่ถูกกำหนดเอาไว้ในอนาคต ภาพชัดที่ฉายขึ้นมานั้นดูจะอุดมไปด้วยความคาดหวังที่มุ่งจะสร้างนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่ โดยมีหมุดหมายเพื่อสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยรังสิต ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แผนการลงทุนในธุรกิจของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยรังสิตที่จะผุดโรงพยาบาลอาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นแนล บนพื้นที่ 11 ไร่ ย่านธุรกิจบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และด้วยงบประมาณสูงนับหมื่นล้านบาท อาจจะเป็นคำตอบที่สามารถไขข้อข้องใจในคำถามที่อยู่ในใจของใครหลายคนได้เป็นอย่างดี ที่ว่าศักยภาพด้านการแพทย์ของไทยนั้นก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด ทว่า ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กลับบอกว่า “จุดประสงค์ของเราไม่ได้ต้องการสร้างโรงพยาบาลเพื่อทำธุรกิจ แต่อยากจะสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องแสดงศักยภาพของประเทศ” ก่อนจะอธิบายเพิ่มเติมถึงความเป็นมาของโครงการนี้ว่า มีแนวความคิดในการสร้างโรงพยาบาลที่ไม่เหมือนโรงพยาบาล เปลี่ยนความเจ็บป่วย สิ้นหวัง และสลดหดหู่ มาเป็นการอยู่กับธรรมชาติ สถานที่สวยงาม โดยกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 35 เป็นสถานบริการด้านสุขภาพที่คนมาแล้วมีความสุข เป็น The Most Humanized Medical Care เน้นความเป็นมนุษย์ เอาใจใส่ และเอื้ออาทร นอกจากนี้แนวความคิดที่สองคือ การสร้างโรงพยาบาลที่มีศูนย์การแพทย์ขั้นสูงครบวงจร เป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ในการรักษาพยาบาลในอนาคต และแนวความคิดที่สาม คือการเป็นโรงพยาบาลที่มีองค์ความรู้ทั้งการแพทย์แผนตะวันตก และการแพทย์แผนตะวันออก โดยเฉพาะ Oriental Medicine ที่ประกอบไปด้วยแพทย์แผนไทย แผนจีน และแผนอินเดีย กลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยรังสิตที่นอกจากความต้องการจะปรับรูปแบบของโรงพยาบาลให้ห่างไกลจากความหดหู่และความสิ้นหวังของผู้เข้ามารักษาพยาบาลแล้ว

Read More

โอกาสทางธุรกิจ บนวิกฤตการศึกษาไทย

   “ถ้าคุณตัดสินปลาทองด้วยความสามารถในการปีนขึ้นต้นไม้...ก็คงเป็นเรื่องที่โง่เขลา” ถ้อยความเริ่มต้นของ “I just sued the school system!” วิดีโอคลิปความยาว 6 นาทีของ Prince Ea ที่มีผู้เข้าชมกว่า 7 ล้านครั้งภายในช่วงเวลาเพียง 24 ชั่วโมงหลังจากที่เผยแพร่ออกมา สื่อแสดงถึงความกังวลใจต่อวิกฤตว่าด้วยการศึกษาในระดับนานาชาติที่น่าสนใจไม่น้อย ประเด็นแหลมคมจากวิดีโอคลิปดังกล่าวไม่เพียงแต่จะตั้งคำถามต่อกระบวนทัศน์ในการจัดระบบการศึกษาที่ล้มเหลวและหน่วงเหนี่ยวพัฒนาการของเยาวชนที่ต่อเนื่องยาวนานเท่านั้น หากยังกล่าวหาว่า “โรงเรียนเป็นฆาตกรที่สังหารความคิดสร้างสรรค์ ทำลายเอกลักษณ์และเหยียดหยามทางความคิด” อีกด้วย ขณะที่สำหรับสังคมไทยวิดโอคลิปดังกล่าวก็คงเป็นเพียงประหนึ่งคลื่นลูกหนึ่งในกระแสธารของโซเซียลมีเดียที่ท่วมทะลักต่อการรับรู้ก่อนจะจางหายและผ่านพ้นจากความสนใจไปอย่างรวดเร็ว  ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยวิดิโอคลิปครูหรือบุคลากรทางการศึกษาใช้กำลังประทุษร้ายทางกายภาพต่อนักเรียน ภายใต้การนิยามว่า เป็นการลงโทษ สั่งสอน ด้วยหวังจะให้ลูกศิษย์เป็นคนดีเข้ามาทดแทน ความล้มเหลวที่น่าอับอายของระบบการศึกษาที่ล้าหลังของสังคมไทยกลายเป็นโอกาสในการลงทุนของโรงเรียนนานาชาติ ที่เป็นประหนึ่งการเปิดทางเลือกใหม่ไปโดยปริยาย ควบคู่กับความพยายามที่จะเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาเกิดใหม่เหล่านี้เข้ากับชื่อเสียงและอัตลักษณ์ของโรงเรียนที่มีรากฐานยาวนานในต่างแดน  แม้ว่าในความเป็นจริงกลไกและกระบวนการศึกษาเรียนรู้ในแต่ละแห่งจะดำเนินไปท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่อาจไม่ได้มีความเกี่ยวโยงใดๆ ต่อกันเลย นอกจากค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อมาเป็นแบรนด์ในการสร้างตลาดเท่านั้น วิกฤตด้านการศึกษาของไทยอาจส่งผลให้โรงเรียนนานาชาติที่ผูกโยงเข้ากับชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาชั้นนำจากต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมามีสถานะเป็นทางเลือก ทั้งในมิติของมาตรฐานการศึกษาและชื่อเสียงเกียรติประวัติที่ยาวนาน แต่นั่นอาจไม่ใช่สิ่งยืนยันว่าการบริหารจัดการภายในจะดำเนินไปอย่างมีคุณภาพตามที่คาดหวัง เพราะในขณะที่ licence fee จากการใช้ชื่อสถาบันต้นทางกลายเป็นค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่ทำให้โรงเรียนนานาชาติจำเป็นต้องคำนวณปริมาณนักเรียนที่จะรับสมัครในแต่ละปีและช่วงชั้นให้เหมาะสมต่อความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ ประเด็นว่าด้วยคุณภาพการเรียนการสอนก็กลายเป็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญที่ยากจะหลีกเลี่ยง แต่สำหรับโรงเรียนนานาชาติอย่าง Phuket International Academy (PIA) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 และมีนักเรียนจากช่วงอายุ 2–18 ปี รวมกว่า 400 คน ความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานและบรรทัดฐานด้านคุณภาพการศึกษาดำเนินควบคู่ไปพร้อมๆ กับการแสวงหาเครือข่ายที่กว้างขวางขึ้นสำหรับดึงดูดความสนใจของผู้ปกครอง  กรณีดังกล่าวนำไปสู่การผนึกผสาน

Read More

อาชีพ โอกาส และการศึกษา

 Column: AYUBOWAN ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา กำลังติดตามมาด้วยคำถามที่น่าสนใจมากประการหนึ่ง เป็นปัญหาพื้นฐานที่กำลังส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อโครงสร้างและการพัฒนาในอนาคตของศรีลังกาเลยทีเดียว ศรีลังกาเป็นดินแดนที่มีเกียรติประวัติด้านการศึกษามาอย่างยาวนานนับย้อนกลับไปได้ไกลกว่า 2,000 ปี ขณะที่กระบวนการพัฒนาด้านการศึกษาสมัยใหม่ก็ส่งผลให้ศรีลังกาเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือในหมู่ประชากร (literacy rate) สูงถึงร้อยละ 98.1 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน และเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียใต้ หรือแม้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียแห่งอื่นๆ ศรีลังกาก็จัดเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอยู่ในระดับแนวหน้าประเทศหนึ่งหากประเมินในมิติที่ว่านี้ การศึกษาของศรีลังกา มีบทบาทอย่างสำคัญในชีวิตของชาวศรีลังกาและแวดล้อมมิติทางวัฒนธรรมของสังคมศรีลังกาไว้อย่างแนบแน่นนับเนื่องตั้งแต่สมัยพุทธกาล และเมื่อผนวกรวมให้เข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ในช่วงที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ก็ยิ่งเป็นการเปิดพื้นที่กว้างให้กับนักคิดนักเขียนและนักวิชาการชาวศรีลังกาให้ได้แสวงหาองค์ความรู้ไปได้ไกลยิ่งขึ้น ภายใต้พื้นฐานการศึกษาสมัยใหม่ตามแบบของระบบจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ มิได้จำกัดความอยู่เฉพาะความได้เปรียบจากความสามารถในการสื่อสาร อ่านเขียนภาษาอังกฤษได้เท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงรูปแบบการจัดระบบการศึกษาที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน และปกป้องให้อาชีพครูไม่ตกอยู่ภายใต้ค่าตอบแทนราคาต่ำหรือจากการบริหารที่ไม่เป็นธรรม ระบบโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา หรือระดับมหาวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งและสถาปนาอย่างเป็นระบบระเบียบ และสามารถสร้างเสริมชื่อเสียงโดดเด่นในแวดวงวิชาการได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตชนชั้นนำ เพื่อสนองตอบต่อพัฒนาการทางสังคมในเวลาต่อมา พัฒนาการด้านการศึกษาในช่วงหลังจากที่ศรีลังกาได้รับเอกราช ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากผลของความตื่นตัวว่าด้วยสิทธิ และแนวทางการพัฒนาที่ระบุให้การศึกษาเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่ต้องจัดสรรให้กับประชาชนทุกคน พร้อมทั้งบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้รัฐสร้างเสริมหลักประกันในการบริหารจัดการเพื่อให้ทรัพยากรที่ว่านี้กระจายสู่หมู่ชนทุกระดับ เมื่อการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในทรัพยากรที่รัฐต้องบริหารจัดการ ความสามารถในการกระจายโอกาสจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยที่ผ่านมาศรีลังกาพยายามที่จะส่งมอบโอกาสอย่างไม่จำกัดให้กับประชาชน โดยเยาวชนในระดับประถมและมัธยมศึกษาจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้การศึกษาดำเนินไปอย่างไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ขณะที่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นกว่านั้น เป็นการแข่งขันที่พิสูจน์ทราบกันด้วยความสามารถในการสอบแข่งขัน ภายใต้เงื่อนไขและข้อเท็จจริงที่ว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจะได้รับการจัดสรรไปสู่บุคคลที่มีความสามารถในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการนี้ได้อย่างเต็มที่ และสามารถหนุนนำการพัฒนาให้กับสังคมในกาลอนาคต การแข่งขันเพื่อเบียดชิงทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดในระดับที่สูงขึ้นนี้ ได้ส่งผลให้เกิดสถาบันกวดวิชาเพื่อหนุนส่งความสามารถในการสอบได้คะแนนดีในหลายระดับชั้น ซึ่งธุรกิจสถานกวดวิชาเหล่านี้กลายเป็นธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางกระแสวิพากษ์ทางสังคมอย่างหนักว่าเป็นการทำร้ายความสดใส สุขภาพและจิตวิญญาณวัยเด็กของเยาวชน อย่างไรก็ดี การเกิดขึ้นของสถาบันกวดวิชาในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงของศรีลังกาที่อนุญาตให้เฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้นที่มีสิทธิเปิดการเรียนการสอนและประสาทปริญญาบัตร ขณะที่ความพยายามที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยเอกชนได้รับการคัดค้านด้วยเหตุผลที่ว่า การเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยเอกชนจะทำให้ระบบการศึกษามีสถานะไม่แตกต่างจาก สินค้าชนิดหนึ่ง ที่สามารถใช้เงินตราและความสามารถทางเศรษฐกิจซื้อหามาได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการทำลายคุณภาพการศึกษาทั้งระบบของศรีลังกาในระยะยาว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีอยู่ 15 แห่งสามารถรองรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อได้เพียงร้อยละ 16-20

Read More

ปฏิรูปการศึกษาไทย จะสัมฤทธิ์หรือล้มเหลวซ้ำซาก

“การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความสำคัญของนักเรียน และจบด้วยความสำคัญของนักเรียน” คำกล่าวของดร.ป๋วย อึ๊งภาภรณ์ ที่เคยกล่าวไว้ บ่งบอกถึงความสำคัญของผู้เรียนเป็นหลัก การศึกษานับว่ามีความสำคัญมากต่อการพัฒนาบุคลากรตลอดจนไปถึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนา ส่วนอื่นๆ เพราะไม่ว่าจะทำการพัฒนาส่วนใดต้องเริ่มมาจากการพัฒนาคนเสียก่อนการพัฒนาคนสามารถทำได้หลายๆ รูปแบบ อย่างที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาคนคือการให้การศึกษา ดังนั้นการพัฒนาประเทศต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคนโดยต้องคำนึงถึงการศึกษาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของไอทีครองเมืองนี้ การศึกษาถือว่าเป็นหัวใจและเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ คำที่กล่าวไว้ว่า “กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” อาจจะช้าไปด้วยซ้ำ เพราะคนเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ก่อนที่จะถึงวัยเด็ก เรียนระดับประถม  มัธยม และอุดมศึกษา ทั้งที่ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการศึกษามาโดยตลอด จากยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 จนถึงฉบับที่ 11 ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2555–2558) และยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญของแผนพัฒนาฉบับในปัจจุบัน ก็คือการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ที่มีเป้าหมายให้จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 12 ปี เวลาเกือบ 15 ปีแล้ว ตั้งแต่ประเทศไทยได้เริ่มมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ โดยมี พ.ร.บ.ปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.2542 เป็นหลักสำคัญ แต่เมื่อเวลาผ่านมากว่า 1 ทศวรรษ ปัจจุบันอยู่ในช่วงทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูป (2552-2561) ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม ทั้งจากคะแนนสอบวัดผลมาตรฐานกลาง

Read More

“เด็กไทย” เมื่อมูลค่ามาก่อนคุณค่า กวดวิชา ตลาดชอปปิ้งทางการเรียน

  จากการจัดอันดับ “ระดับการศึกษา” ของไทยที่เป็นอันดับสุดท้ายในอาเซียน เป็นตัวบ่งบอกว่าระบบการศึกษาของไทยมีจุดอ่อนและเป็นปัญหาสะสมมานาน แม้ว่าภาครัฐจะให้ความสำคัญในการศึกษา โดยการทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาล เรียกว่าแทบชนเพดาน ให้กับงานด้านการศึกษา แต่เหมือนว่าไม่ได้เป็นการตอบโจทย์ที่จะพัฒนาเรื่องการเรียนของเด็กไทยได้ ในขณะที่การเติมความฝันที่จะเข้าเรียนไม่ว่าจะเริ่มจากระดับประถม มัธยม หรืออุดมศึกษา ยังมีการวางระบบการศึกษาเป็นแบบการแข่งขัน ทุกคนมุ่งเข้าสู่การแข่งขันเพื่อให้เข้าเรียนในสถาบันที่ตนเองต้องการ โรงเรียนกวดวิชาจึงตอบโจทย์ทั้ง “เด็ก” และ “พ่อแม่ผู้ปกครอง” ที่ถูกกำหนดเส้นทางไว้เบ็ดเสร็จจากการออกระบบการศึกษาที่มีจุดอ่อน ขาลงการศึกษา แต่กลับเป็นขาขึ้นโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในปี 2556 พบว่า ประเทศไทยมีโรงเรียนกวดวิชารวม 1,983 แห่ง แบ่งเป็นเขตกรุงเทพมหานคร 487 แห่ง และต่างจังหวัดอีก 1,496 แห่ง ซึ่งการศึกษาในโรงเรียนกวดวิชานั้นส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง และนักเรียนทุกคนต้องจ่ายเงินค่าเรียน จนทำให้โรงเรียนกวดวิชากลายเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรมหาศาล สถาบันกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่จะแยกสอนสถาบันละวิชาเดียวเท่านั้น เช่น เอ็นคอนเซ็ปต์ สอนเฉพาะภาษาอังกฤษ, เคมีอุ๊ สอนเฉพาะวิชาเคมี, แอพพลายฟิสิกส์ สอนเฉพาะฟิสิกส์ และมีเพียงบางสถาบันเท่านั้นที่สอนหลายวิชา เช่น เดอะติวเตอร์ เดอะเบรน เรื่องจริงที่น่าเศร้าและสะเทือนใจ ก็คือในช่วงเปิดเทอม เด็กต้องเรียนเนื้อหาคู่ขนานกับการเรียนในโรงเรียน เพื่อตอบโจทย์ที่ว่า

Read More

Digital University อีกก้าวของจุฬาฯ ที่ยังไม่ใกล้ “เสาหลักของแผ่นดิน”

 ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยกำลังจะมีอายุครบ 100 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์ปี พ.ศ. 2555-2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งเป้าที่จะเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลก: World Class National University” เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว หนึ่งในพันธกิจสำคัญของจุฬาฯ คือการผลักดันมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็น Digital University อันเป็นยุทธศาสตร์ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารของมหาวิทยาลัยอย่างรอบด้าน ด้วยเหตุนี้ กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา จุฬาฯ ได้จัดให้มีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือในโครงการ “WiFi4CU” ระหว่างจุฬาฯ กับ 4 ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของไทย ได้แก่ เอไอเอส, ดีแทค, ทรู และทีโอที ในการติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายความเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมพื้นที่แนวราบทั้งหมดของจุฬาฯ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 2 ปี “ทุกวันนี้ การเรียนการสอนทุกอย่างใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขับเคลื่อน การวิจัยก็ใช้เครือข่ายนักวิจัยทั่วโลกเข้าด้วยกัน ตอนนี้กิจกรรมมหาวิทยาลัยหลายๆ อย่างได้ขึ้นไปอยู่บนระบบ ICT เกือบหมด เราพยายามขับเคลื่อนเรื่องพวกนี้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ใช้

Read More

“ปัญญาภิวัฒน์” โรงงานผลิต “คน” ของเครือซีพี

 ความรู้ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มว่าจะมีอายุสั้นลง สถาบันการศึกษาจึงมีหน้าที่พัฒนาบุคลากร สอนให้ “คน” เป็น “คนที่ทำงานได้”“รับซาลาเปา ขนมจีบ เพิ่มไหมคะ” น้องฝึกงานวัยละอ่อนในร้าน 7-11 กล่าวก่อนรับเงินจากลูกค้าปัจจุบัน “น้องเทียน” เป็นนักศึกษาปี 3 จากคณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เธอเคยฝึกงานในร้าน 7-11 เป็นเวลา 3 เดือน ในช่วงปี 1 เช่นเดียวกับนักศึกษาทุกคณะ เพราะนี่คือกฎกติกาของสถาบันแห่งนี้ขณะที่ปี 2 คณะอื่นอาจเริ่มแยกย้ายไปฝึกในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาเรียนในองค์กรต่างๆ ของเครือซีพี น้องเทียนยังคงได้ฝึกงานที่ร้าน 7-11 อีกเช่นเคย เพราะเธอเลือกเรียนสาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก ส่วนปี 3 เธอก็ยังคงต้องฝึกงานในร้าน 7-11 แต่ในฐานะนักเรียนที่พร้อมจะก้าวไปสู่ระดับผู้จัดการร้าน ก่อนที่จะแยกย้ายไปฝึกงานในส่วนสำนักงานในองค์กรของซีพีออลล์ “นี่อาจจะถือเป็นจุดอ่อนของเรา เพราะบางคนเห็นว่า ต้องฝึกงานในร้าน 7-11 ก็หันหลังไม่อยากมาเรียน หรือผู้ปกครองบางคนเห็นลูกต้องฝึกงานที่ร้าน ก็คิดว่าจบมาต้องทำงานที่นี่ เราก็พูดเรื่อยๆ ว่ามันไม่ใช่ แต่ ร้าน 7-11 เป็นจุดผ่านหนึ่งและสถานที่เรียนรู้แบบ

Read More

คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร ต่อยอดแนวคิด ธนินท์ ครบวงจร

  “ประเทศไทยเต็มไปด้วยโอกาสในการก้าวสู่การเป็นผู้นำเกษตรโลก ภาคเกษตรของไทยจะเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้ก้าวหน้า วันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการเกษตร เพราะทุกอย่างได้เอื้ออำนวยและผลักดันให้เกษตรกรไทยมีฐานะร่ำรวยขึ้น”     คำกล่าวของ “ธนินท์  เจียรวนนท์” ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ มาพร้อมความเชื่อที่ว่า โลกกำลังก้าวสู่ยุคของ “น้ำมันบนดิน” หรือ “พืชเกษตร” ซึ่งเป็นน้ำมันเลี้ยงมนุษย์ เป็นพลังงานของมนุษย์ และเป็นพลังงานของเครื่องจักร      ส่วน “ก่อศักดิ์  ไชยรัศมีศักดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) มองว่า ประเทศไทยอาจก้าวไปไม่ถึงจุดที่ธนินท์พูด เนื่องจากขาดคนที่จะขับเคลื่อนภาคเกษตรไทย และประชากรรุ่นใหม่ในภาคเกษตรลดลงจนน่าเป็นห่วง       วันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา “ซีพี” ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร จึงได้ลงนามกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อจัดตั้ง “คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร” ขึ้นที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ”นักจัดการเกษตร”

Read More

จากวันครูสู่การพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา

 ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสังคมไทยจะให้ความสำคัญกับอนาคตผ่านกิจกรรมวันเด็ก และการวางรากฐานสู่ความสำเร็จผ่านกิจกรรมวันครู ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อย ช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกันนี้ยังมีการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ภายใต้ชื่อ “การพัฒนาการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 (The 1st Thailand Constructionism Symposium 2013)” ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมกับมูลนิธิศึกษาพัฒน์ มูลนิธิไทยคม และภาคเอกชน และมีพิธีเปิดงานที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมาหรือก่อนหน้าวันครูเพียง 1 วัน และมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) อีกด้วย สาระสำคัญของการประชุมสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ ในด้านหนึ่งนอกจากเป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สรุปการเรียนรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของคนไทย ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี Constructionism ในบริบทต่างๆ แล้ว กิจกรรมดังกล่าวยังเป็นประหนึ่งการเน้นย้ำให้เห็นถึงทิศทางและการให้ความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้  ทั้งในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในภาคการศึกษา การพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ห่างไกล และการพัฒนาศักยภาพของพนักงานที่อยู่ทั้งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการประภาคารปัญญา หรือ The Lighthouse Project ของมูลนิธิศึกษาพัฒน์ ที่ร่วมงานกับคณาจารย์จาก Massachusetts

Read More

การศึกษาไทยและ AEC 2015

ผมได้พูดถึงการศึกษาในประเทศภูฏาน จึงขออนุญาตแทรกเรื่องการศึกษาแบบไทยๆ  เนื่องจากเราเองก็กำลังจะเข้าสู่การเปิดตลาดเสรีของประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในอีก2ปีกว่า เนื่องจากไทยเป็นประเทศชั้นนำในอาเซียน เราต้องหันมาถามตัวเองว่าเราจะ Position การศึกษาของประเทศไทยในมิติไหน  เพราะประเทศเล็กๆ อย่างภูฎานยังสร้าง Education City เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภูมิภาคผมจะพูดถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของอาเซียน แม้เราจะไม่ได้มีประชากรครึ่งโลกอย่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่น แต่ถ้ารวมประชากรของ ASEAN +3 หรือ ASEAN +6 ผมเชื่อว่าอาจจะเกินครึ่งโลกเสียด้วยซ้ำ  ดังนั้นเราต้องถามว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนในอาเซียน และถ้าบวก3 หรือ บวก 6 ประเทศภาคีแล้วไทยยืนอยู่ตรงไหน หรือมีที่ยืนหรือไม่เนื่องจากผมเองก็เป็นนักการศึกษาคนหนึ่ง  จึงให้ความสนใจในเรื่องการศึกษาค่อนข้างมาก โดยผมได้เล่าว่าการศึกษาคือสินค้าส่งออกในต่างประเทศ  และได้พูดถึงการศึกษาไทยและความเป็นนานาชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราไม่สามารถเถียงได้อีกต่อไปว่า  “การศึกษาไทยมีไว้แค่คนไทยเท่านั้น”  แบบในอดีตที่เราพูดกัน เพราะถ้าประเทศไหนยังคิดแบบนี้ก็คงต้องเข้าเกียร์ถอยหลังเข้าคลองไปได้เลย  เพราะแนวคิดที่ว่าการศึกษาคือวิทยาทานนั้นอาจจะเป็นจริงในยุคโบราณจนมาสิ้นสุดในสมัยสงครามเย็นที่มีโคลัมโบแพลน หรือทุนอีสต์เวสต์ ในยุคนั้นเราได้ยินชื่อทุนมากมาย และที่คนไทยรู้จักมากที่สุดคือ ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ซึ่งรูปแบบของ AFS ในวันนี้ก็แตกต่างจากเมื่อ 20 ปีก่อนไปมากแล้ว ทุกวันนี้การศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงโดยมีการบูรณาการทั้งจากวงการศึกษาและระบบราชการเพื่อความเหมาะสมถ้ามองตามหลักการพัฒนาประเทศโดย Rostow สามารถแบ่ง Product ได้ใน5

Read More