Home > Arts

อาแญส ซอเรล

  Column: From Paris อองแวรส์ (Anvers) หรือแอนต์เวิร์พ (Antwerp) ในภาษาอังกฤษ เมืองค้าเพชรของเบลเยียมมีพิพิธภัณฑ์ Musée des beaux-arts จึงขอไปชม แล้วติดใจภาพเขียนหนึ่ง La vierge à l’enfant entourée des anges ของฌอง ฟูเกต์ (Jean Fouquet) ภาพพระแม่มารีกับพระเยซูน้อย เป็นภาพพระแม่มารีที่แหวกแนว ด้วยว่าเปิดถันข้างหนึ่ง อันที่จริงภาพนี้คือภาพอาแญส ซอเรล (Agnès Sorel) ที่เลื่องลือเรื่องความงามนั่นเอง อาแญส ซอเรล เกิดในปี 1422 ในครอบครัวขุนนางเก่าของแคว้นปิการ์ดี (Picardie) ได้รับการศึกษาอบรมเพื่อเป็นข้าหลวงในราชินีอิซาแบลแห่งลอแรน (Isabelle de Lorraine) มเหสีของเรอเน ดองจู (René d’Anjou) ภายหลังได้เป็นสนมเอกของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 7 (Charles VII) ของฝรั่งเศส ดุ๊กแห่งบูร์โกญ

Read More

“นักคิด” ของโอกุสต์ โรแดง

 Column: From Paris  ในบรรดาประติมากรฝรั่งเศส ที่ดังที่สุดเห็นจะเป็นโอกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin) เห็นครั้งแรกในพิพิธภัณฑ์แห่งออร์เซย์ (Musée d’Orsay) ลักษณะบึกบึนบ้าง อ่อนช้อยบ้าง มีหลายขนาดด้วยกัน หากที่ได้ชมจนอิ่มตาอิ่มใจก็ที่พิพิธภัณฑ์โรแดง (Musée Rodin) ซึ่งนอกจากคอลเลกชั่นถาวรแล้ว ยังมีนิทรรศการจรอีกด้วย ในสวนสวยตั้งผลงานของโอกุสต์ โรแดง เป็นระยะๆ รูปปั้นในสวนโดดเด่นไม่แพ้ที่แสดงในอาคาร อาจจะสวยกว่าเสียอีก เพราะเป็นผลงานเด่นๆ ของประติมากรผู้นี้ เพียงเข้าไปในบริเวณ ชายผู้หนึ่งนั่งอยู่บนแท่นสูง เท้าศอกขวาบนตัก และมือยันคางไว้ มีลักษณะครุ่นคิด ชายผู้นี้เต็มไปด้วยมัดกล้าม ทำด้วยบรอนซ์ แรกทีเดียวมีชื่อว่า กวี–Le poète โอกุสต์ โรแดง ปั้นให้อยู่ในท่ากำลังคิดถึงบทกวี หากในภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น นักคิด–Le penseur แล้วแต่จะจินตนาการว่ากำลังคิดถึงอะไร Le penseur เป็นประติมากรรมที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Louvre) สั่งทำเพื่อตั้งไว้หน้าประตูของพิพิธภัณฑ์อารต์เดโก (Musée des arts décoratifs) และประตูพิพิธภัณฑ์ใหม่แห่งนี้ก็สั่งให้โอกุสต์

Read More

นิทรรศการจอร์จส์ บราค

Column: From Paris เมื่อจอร์จส์ บราค (Georges Braque) ถึงแก่กรรมในวันที่ 31สิงหาคม 1963 รัฐบาลฝรั่งเศสจัดพิธีศพให้โดยมีอองเดร มัลโรซ์ (André Malraux) รัฐมนตรีวัฒนธรรมในขณะนั้นกล่าวคำสดุดี ถือเป็นจิตรกรคนเดียวที่รัฐให้ความสำคัญ จอร์จส์ บราค เกิดในปี 1882 ที่อาร์จองเตย (Argenteuil) พ่อเป็นช่างทาสี แต่ชอบเขียนรูปตอนวันหยุด เป็นรูปทิวทัศน์สไตล์อิมเพรสชั่นนิสต์ เมื่อครอบครัวย้ายไปเมืองเลอ อาฟวร์ (Le Havre) จอร์จส์ บราคชอบไปเตร็ดเตร่แถวท่าเรือ ถึงกระนั้นก็เข้าเรียนที่ Ecole supérieure d’art และเรียนเป่าขลุ่ยในเวลาเดียวกัน เขาเดินทางไปปารีสในปี 1900 ฝึกงานกับจิตรกรที่รับตกแต่งภายใน แล้วกลับมาเลอ อาฟวร์เพื่อรับราชการทหาร เมื่อออกประจำการ จึงเป็นจิตรกรเต็มตัว ในปี 1902 ไปปารีสอีก พำนักย่านมงต์มาร์ทร์ (Montmartre) จึงได้พบกับมารี โลรองแซง (Marie Laurencin)

Read More

นิทรรศการจอร์จส์ บราค

 เมื่อจอร์จส์ บราค (Georges Braque) ถึงแก่กรรมในวันที่ 31 สิงหาคม 1963 รัฐบาลฝรั่งเศสจัดพิธีศพให้โดยมีอองเดร มัลโรซ์ (André Malraux) รัฐมนตรีวัฒนธรรมในขณะนั้นกล่าวคำสดุดี ถือเป็นจิตรกรคนเดียวที่รัฐให้ความสำคัญ จอร์จส์ บราคเกิดในปี 1882 ที่อาร์จองเตย (Argenteuil) พ่อเป็นช่างทาสี แต่ชอบเขียนรูปตอนวันหยุด เป็นรูปทิวทัศน์สไตล์อิมเพรสชั่นนิสต์ เมื่อครอบครัวย้ายไปเมืองเลอ อาฟวร์ (Le Havre) จอร์จส์ บราคชอบไปเตร็ดเตร่แถวท่าเรือ ถึงกระนั้นก็เข้าเรียนที่ Ecole supérieure d’art และเรียนเป่าขลุ่ยในเวลาเดียวกัน เขาเดินทางไปปารีสในปี 1900 ฝึกงานกับจิตรกรที่รับตกแต่งภายใน แล้วกลับมาเลอ อาฟวร์เพื่อรับราชการทหาร เมื่อออกประจำการ จึงเป็นจิตรกรเต็มตัว ในปี 1902 ไปปารีสอีก พำนักย่านมงต์มาร์ทร์ (Montmartre) จึงได้พบกับมารี โลรองแซง (Marie Laurencin) เขาพาเธอไป Bateau-Lavoir ซึ่งเป็นศูนย์รวมอาร์ติสต์ดังอย่างปาโบล ปิกัสโซ

Read More

พิพิธภัณฑ์ปิแอร์ ซูลาจส์

 ในปี 2009 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติจอร์จส์ ปงปิดู (Centre national d’art et de culture Georges Pompidou) จัดนิทรรศการผลงานของปิแอร์ ซุลาจส์ (Pierre Soulages) จิตรกรร่วมสมัยชาวฝรั่งเศส เป็นนิทรรศการใหญ่ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เคยจัดให้อาร์ติสต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ปิแอร์ ซูลาจส์ เกิดที่เมืองโรเดซ (Rodez) ในปี 1919 พ่อเสียชีวิตขณะเขาอายุ 5 ขวบ เขาจึงเติบโตมาภายใต้การดูแลของแม่และพี่สาว มีพรสวรรค์ด้านเขียนรูปโดยไม่รู้ตัว เมื่ออายุ 10 ขวบ เขาใช้หมึกดำเขียนบนกระดาษขาว เพื่อนของพี่สาวถามว่าทำอะไรอยู่ เขาตอบว่ากำลังวาดหิมะ เด็กคนนั้นทำหน้าประหลาดใจ ปิแอร์ ซูลาจส์กล่าวว่าเขาไม่ได้ต้องการท้าทายหรืออะไรทั้งสิ้น เพียงแต่กำลังแสวง “ประกายแสง” ความขาวของกระดาษเปรียบเสมือนสีหิมะ ตัดกับหมึกดำที่เขาวาดลงไป เขาได้รู้จักนักโบราณคดีผู้หนึ่ง และไปช่วยเขาทำงาน ทำให้เขาสนใจ “ของเก่าๆ” ครั้งหนึ่งครูพาไปทัศนศึกษาที่วัด Abbatiale Sainte-Foy de Conques เขาชื่นชอบศิลปะแบบโรมัน

Read More

พิพิธภัณฑ์ต่างจังหวัด

 ฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมมาก นักคิด นักเขียน อาร์ติสต์แขนงต่างๆ หรือแม้แต่นักการเมือง และผู้มีส่วนร่วมในการปกป้องประเทศ ล้วนมีค่าควรแก่การจดจำ ในฝรั่งเศสจึงมีพิพิธภัณฑ์เล็กๆ มากมาย กระจายไปตามเมืองต่างๆ กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) เป็นจิตรกรยุคก่อนอิมเพรสชั่นนิสต์ เป็นหนึ่งในผู้นำร่องในการแหกกฎของราชบัณฑิตยสภาสาขาวิจิตรศิลป์ ด้วยการเขียนรูปเกี่ยวกับชาวบ้านขนาดใหญ่ ซึ่งแต่เดิมสงวนให้แต่บุคคลสำคัญ นอกจากนั้นยังพันผูกกับการเมือง มีส่วนร่วมในการลุกฮือของชาวปารีสในยุคที่เรียกว่า Commune de Paris เคยเขียนหนังสือร้องเรียนไปยังรัฐให้ย้ายเสากลางปลาซ วองโดม (Place vendôme) ไปติดตั้งที่โอเต็ล เดแซงวาลีดส์ (Hôtel des Invalides) แทน เพราะเป็นเสาที่จารึกการสงครามของนโปเลอง (Napoléon) อันเป็นยุคจักรวรรดิ ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด ช่วง Commune de Paris ชาวปารีส เขาเกิดที่ออร์นองส์ (Ornans) เมืองนี้จึงทำบ้านที่เขาเคยพำนักเป็นพิพิธภัณฑ์ วินเซนต์ วาน โก๊ก (Vincent Van Gogh) เดินทางไปเมืองอาร์ลส์

Read More