Home > Art (Page 2)

Van Gogh/Artaud

 ดอน แมคลีน (Don McLean) คงชื่นชอบวินเซนต์ วาน โก๊ก (Vincent Van Gogh) มาก จึงแต่งและร้องเพลง Starry night ชื่อเพลงมาจากชื่อภาพเขียนของวินเซนต์ วาน โก๊ก ภาพค่ำคืนที่มีดาวเต็มท้องฟ้า เป็นภาพสวยภาพหนึ่งของจิตรกรผู้นี้ วินเซนต์ วาน โก๊ก เป็นจิตรกรที่มีคนพูดถึงมากคนหนึ่ง เขาเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ ที่เคยคิดจะเป็นนักบวช ทว่าชอบการเขียนรูป จึงไปเขียนที่โน่นที่นี่จนมาตั้งหลักที่ปารีส ซึ่งน้องชายทำงานในอาร์ตแกลเลอรีแห่งหนึ่ง วินเซนต์ วาน โก๊กจึงได้เห็นงานศิลป์และพบอาร์ทิสต์ที่แวะมาที่แกลเลอรี เขาได้ทำงานในอาร์ตแกลเลอรีด้วย แต่ถูกไล่ออกเพราะความเถรตรงจนไม่อาจเป็นพ่อค้าได้  วินเซนต์ วาน โก๊กมีปัญหาทางจิตมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเกิดปัญหาสุขภาพครั้งใหม่ น้องชายส่งไปทางใต้ของฝรั่งเศสเพื่อพักผ่อนและเขียนรูป เขาตื่นตาตื่นใจกับแสงแดดของเมืองใต้ และปักหลักเขียนรูปที่เมืองอาร์ลส์ (Arles) ชักชวนให้เพื่อนฝูงลงไปเขียนรูปด้วยกัน มีเพียงปอล โกแกงเท่านั้นที่ตอบรับคำเชิญชวน แต่แล้วก็เกิดเรื่องเมื่อสองสหายเกิดการโต้เถียงรุนแรง เป็นที่มาของการหูแหว่งของวินเซนต์ วาน โก๊ก ตามปากคำของปอล โกแกง วินเซนต์ วาน

Read More

นิทรรศการฟรีดา กาห์โล และดิเอโก ริเบรา

นักแสดงสาวเม็กซิกันที่รู้จักคือซัลมา อาเยค (Salma Hayek) รู้จักเพราะเธอแสดงภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด สาวร่างเล็กที่อวบอัด ใบหน้าคมเข้ม พูดภาษาอังกฤษสำเนียงแปร่งๆ ชาวฝรั่งเศสรู้จักเธอดีเพราะเธอเป็นภรรยาของฟรองซัวส์-อองรี ปิโนลต์ (François-Henri Pinault) ประธานกลุ่ม PPR ที่เปลี่ยนชื่อเป็น Kering ทำธุรกิจสินค้าหรู สาวเม็กซิกันอีกคนหนึ่งที่ฝรั่งเศสรู้จักดีคือ มาเรีย เฟลิกซ์ (Maria Felix) เพราะเธอเป็นนักแสดงเช่นกัน ข้ามน้ำข้ามทะเลมาสั่งทำเครื่องประดับที่ห้างการ์ทีเอร์ (Cartier) เป็นสร้อยคอจระเข้สองตัวเกาะเกี่ยวกัน และสร้อยงูที่พันรอบลำคอ นับเป็นสาวที่มีรสนิยม “ดุ” ครั้งหนึ่งเห็นซัลมา อาเยคแสดงเป็นสาวที่มีคิ้วติดกัน มีหนวดนิดหน่อย นั่นเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นชื่อฟรีดา กาห์โล (Frida Kahlo) จิตรกรชาวเม็กซิกัน บ้านของน้องสะใภ้ในอัลซาส (Alsace) มีภาพเขียนผู้หญิงคนหนึ่ง นั่นก็เป็นครั้งแรกที่รู้จักชื่อดิเอโก ริเบรา (Diego Rivera)  และแล้วในฤดูใบไม้ร่วง 2013 เห็นนิทรรศการ Frida Kahlo et Diego Rivera, l’art

Read More

ปอล เซซานน์ จิตรกรในใจของชาวฝรั่งเศส

 ชื่อเสียงของปอล เซซานน์ (Paul Cézanne) พันผูกกับภูเขาแซงต์-วิกตัวร์ (Sainte-Victoire) ของเมืองเอ็กซ์-ออง-โปรวองซ์ (Aix-en-Provence) ทางใต้ของฝรั่งเศส และภาพ nature morte หรือที่เรียก still life ในภาษาอังกฤษ โดยมีแอ็ปเปิลเป็น “พระเอก” Cézanne et Paris เป็นนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์ลุกซองบูรก์ (Musée du Luxembourg) จัดในฤดูใบไม้ร่วง 2011– ฤดูหนาว 2012 แสดงภาพเขียนของปอล เซซานน์อันเกี่ยวเนื่องกับกรุงปารีสและชานกรุง ปอล เซซานน์เกิดที่เมืองเอ็กซ์-ออง-โปรวองซ์ เป็นเพื่อนร่วมชั้นกับเอมิล โซลา (Emile Zola) นักเขียนเพื่อชีวิตของฝรั่งเศส เขาเดินทางไปปารีสตามคำชักชวนของเอมิล โซลา ได้พบปะกับอาร์ทิสต์กลุ่มบาติญอลส์ (Batignolles) ซึ่งมีเอดูอารด์ มาเนต์ (Edouard Manet) เป็นหลักที่ Café Guerbois ได้รู้จักกับอาร์ทิสต์อื่นๆ อย่างกามีย์ ปิสซาโร

Read More

Tamara de Lempicka, reine de l’art déco

  ฤดูใบไม้ผลิ 2013 พิพิธภัณฑ์ Pinacothèque ย่านปลาซ เดอ ลา มาดแลน (Place de la Madeleine) จัดนิทรรศการคู่ขนานอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้เกี่ยวกับอารต์ นูโว (art nouveau) และอารต์ เดโก (art déco) ซึ่งเป็นกระแสต่อเนื่องกัน L’art nouveau, la révolution décorative และ Tamara de Lempicka, reine de l’art déco  คำวิพากษ์ที่มีต่อศิลปะกระแส art nouveau ระหว่างงานเอ็กซ์โปนานาชาติที่ปารีสในปี 1900 ทำให้อาร์ติสต์กระแส art nouveau ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบ เส้นโค้งเว้าชดช้อยแปรเปลี่ยนเป็นรูปทรงที่มีเหลี่ยมมากขึ้น อองเดร เวรา (André Vera)

Read More

นิทรรศการอารต์นูโว

Pinacothèque เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนย่านปลาซ เดอ ลา มาดแลน (Place de la Madeleine) จัดนิทรรศการอยู่เนืองๆ จึงเป็นโอกาสให้แวะเวียนไป ในฤดูใบไม้ผลิปี 2012 เป็นนิทรรศการ Art nouveau, la révolution décorative ขึ้นจากสถานีรถใต้ดิน เห็นร้านโฟชง (Fauchon) Pinacothèque อยู่ตรงหน้า เคยชมนิทรรศการของเรอเน ลาลิค (René Lalique) แล้วชอบมาก เครื่องประดับและแจกันสวยสไตล์ Art nouveau พบว่าตนเองชอบ Art nouveau มากเพราะดูอ่อนช้อยดี Art nouveau เป็นศิลปะกระแสที่กำเนิดตอนปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เฟื่องฟูอยู่ราวสองทศวรรษ 1890-1910แล้วก็จางหายไป เปิดทางให้อารต์เดโก (art déco) เข้ามาแทนที่ Art nouveau มิได้มีแต่ภาพเขียน หากแทรกซึมไปในชีวิตประจำวันด้วย

Read More

นิทรรศการ Modigliani, Soutine et l’aventure de Montparnasse

  ในศตวรรษที่ 20 ปารีสเป็นศูนย์กลางศิลปะและวัฒนธรรม เหล่าอาร์ทิสต์ทุกแขนงมุ่งมา ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน จิตรกร ประติมากร... ไปชุมนุมสังสรรค์กันตามย่านต่างๆ จากกรองด์ บูเลอวารด์ (Grands Boulevards) ย้ายไปมงต์มาร์ทร์ (Montmartre) และมงต์ปาร์นาส (Montparnasse) ที่มงต์ปาร์นาสไปรวมตัวกันที่ La Ruche อันถือเป็นจุดเริ่มต้นของ Ecole de Paris อันว่า La Ruche นี้เป็นอาคารที่อัลเฟรด บูเชร์ (Alfred Boucher) ให้สร้างขึ้นโดยนำส่วนประกอบของอาคารที่แสดงไวน์ในงานเอ็กซ์โปนานาชาติ ปี 1900มาประกอบขึ้นใหม่ โดยทีมงานของกุสตาฟ เอฟเฟล (Gustave Eiffel) วิศวกรผู้สร้างหอเอฟเฟล (Tour Eiffel) นั่นเอง  อาร์ทิสต์ที่มารวมตัวกันที่ La Ruche นี้มีอาทิ แฟร์นองด์ เลเจร์ (Fernand Léger) มารี โลรองแซง

Read More

Macchiaioli ฤาอิมเพรสชั่นนิสต์อิตาลี

มีเหตุให้กลับไปพิพิธภัณฑ์ออรองเจอรี (Musée de l’Orangerie) อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้นั่งรถไฟใต้ดินไปขึ้นสถานี Concorde แล้วเดินออกทางป้าย Musée de l’Orangerie ก็ถึง สะดวกดีเหมือนกัน เพียงแต่มาจากบ้านต้องต่อรถอีกทอดหนึ่ง แต่เดิมนั้นนั่งมาทอดเดียวขึ้นสถานี Palais-Royal – Musée du Louvre แล้วเดินตัดสวนตุยเลอรีส์ (Jardin des Tuileries) ไปจนสุดก็ถึง Le Baiser รูปปั้นของโอกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin) ยังอยู่มั่นคงหน้าพิพิธภัณฑ์ จุดมุ่งหมายของการไป Musée de l’Orangerie อยู่ที่นิทรรศการเรื่อง Les Macchiaioli, des impressionnistes italiens? กลุ่ม Macchiaioli ฤาจะเป็นอิมเพรสชั่นนิสต์ของอิตาลี กลุ่ม Macchiaioli ถือกำเนิดที่เมืองฟลอเรนซ์ช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 19นักวิจารณ์ผู้หนึ่งเขียนในหนังสือพิมพ์ Gazetta del Popolo

Read More

โมริซ อูทรีโย

 การเดินเล่นย่านมงต์มาร์ทร์ (Montmartre) เสมือนการเดินตามรอยอาร์ทิสต์ดัง ประเดี๋ยวๆ ก็เจอป้ายอธิบายว่า ณ ที่ตรงนี้วินเซนต์ วาน โก๊ก (Vincent Van Gogh) เคยมาเขียนรูป บ้านนี้เคยเป็นสตูดิโอทำงานของปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) บ้านโน้นปิแอร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ (Pierre-Auguste Renoir) เคยมาพำนัก ตามมาด้วยเอดการ์ เดอกาส์ (Edgar Degas) ราอูล ดูฟี (Raoul Dufy) โอตง ฟรีซ (Othon Friesz) และโมริซ อูทรีโย (Maurice Utrillo) แม้ชาวอเมริกันเห็นว่าปารีสมิใช่ศูนย์กลางของ “วัฒนธรรม” อันรวมถึงศิลปะอีกต่อไปแล้ว หากอาร์ทิสต์จากประเทศต่างๆ ก็ยังมุ่งมาปารีส หมายที่จะ “เกิด” เฉกเช่นอาร์ทิสต์รุ่นก่อนๆ นอกจากนั้นย่านมงต์มาร์ทร์ยังจัดสุดสัปดาห์เปิดบ้านอาร์ทิสต์ ทำให้ตระหนักความจริงข้อนี้Pinacothèque de Paris

Read More

วิลเดนสไตน์ พ่อค้างานศิลป์

นาตอง วิลเดนสไตน์ (Nathan Wildenstein) ชาวยิวจากอัลซาส (Alsace) ย้ายมาตั้งรกรากที่ปารีส เขาซื้อภาพเขียนจากร้านขายของเก่า แล้วนำไปขายต่อได้กำไร จึงหันมาค้างานศิลป์อย่างเป็นเรื่องราวจนร่ำรวย โดยเน้นภาพเขียนศตวรรษที่ 18 ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมขณะนั้น แล้วนำไปขายแก่เศรษฐีอเมริกัน พร้อมกับเปิดอาร์ตแกลเลอรีที่นิวยอร์ก นาตองซื้อคฤหาสน์ที่ถนนลา โบเอซี (rue La Boétie) และคอกม้าแข่ง ลูกชายของนาตองคือ จอร์จส์ (Georges) เป็นผู้ทำให้อาณาจักรของครอบครัวมั่นคง เขาจ้างคนมาทำบัญชีผลงานของจิตรกรดังแต่ละคน ทำให้รู้ว่าผลงานชิ้นใดตกแก่ผู้ใด สะดวกแก่การติดต่อขอซื้อเมื่อภาพเขียนนั้นๆ เป็นมรดกตกทอด           ดาเนียล วิลเดนสไตน์ (Daniel Wildenstein) เป็นชนรุ่นที่สาม มีลูกชายสองคนคือ อเล็ก (Alec) และกี (Guy) ดาเนียล แต่งงานครั้งที่สองกับซิลเวีย ร็อธ (Sylvia Roth) ความยุ่งยากเกิดขึ้นเมื่อดาเนียลถึงแก่กรรมในปี 2001

Read More

ภาพเขียนของมงดรีออง

อีฟส์ แซงต์-โลรองต์ (Yves Saint-Laurent) ดีไซเนอร์ชื่อดังผู้ล่วงลับไปแล้ว นำภาพเขียนของจิตรกรดังไปจำลองบนตัวเสื้อ จึงเห็นเสื้อปักเลื่อมหลากสีที่เป็นภาพเขียนของวินเซนต์ วาน โก๊ก (Vincent van Gogh) เดรสตัดต่อลายแบบภาพเขียนของจอร์จส์ บราค (Georges Braque) หรือมงดรีออง (Mondrian)อีฟส์ แซงต์-โลรองต์ (Yves Saint-Laurent) ดีไซเนอร์ชื่อดังผู้ล่วงลับไปแล้ว นำภาพเขียนของจิตรกรดังไปจำลองบนตัวเสื้อ จึงเห็นเสื้อปักเลื่อมหลากสีที่เป็นภาพเขียนของวินเซนต์ วาน โก๊ก (Vincent van Gogh) เดรสตัดต่อลายแบบภาพเขียนของจอร์จส์ บราค (Georges Braque) หรือมงดรีออง (Mondrian)เสื้อมงดรีอองของอีฟส์ แซงต์-โลรองต์ มีพื้นขาวที่มีลายเส้นนอนและเส้นตั้งสีดำ แบ่งเป็นช่องที่เติมสีแดงบ้าง น้ำเงินบ้าง เหลืองบ้าง ดูรวมๆ ก็สวยดี อาจเป็นเพราะรูปแบบเรียบๆ ที่เป็นแสคตรง ไม่มีส่วนแต่งวุ่นวายที่จะทำให้ลวดลายบนตัวเสื้อด้อยลงไปศิลปะแบบมงดรีอองไม่ต้องใจนัก หากสนใจใคร่รู้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร แล้วก็สมใจอยาก ด้วยว่าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ จอร์จส์ ปงปิดู

Read More