Home > แม่ฮ่องสอน

เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแห่งเมืองสามหมอก

ถ้าพูดถึงแหล่งท่องเที่ยวของเมืองสามหมอก หรือจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชื่อว่าสถานที่แรกๆ ที่ผุดขึ้นในใจของหลายๆ คน คงหนีไม่พ้น “ปาย” อำเภอเล็กๆ ที่แสนมีเสน่ห์ หรือการชมวิวสายหมอกซึมซับธรรมชาติตามดอยต่างๆ ที่จริงแล้วแม่ฮ่องสอนยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดวาอารามที่กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมือง ที่มิใช่เป็นเพียงศาสนสถานเท่านั้น แต่ยังสะท้อนแรงศรัทธาอันแรงกล้าในพุทธศาสนาของเหล่าคหบดีไทใหญ่ที่อพยพมาตั้งรกรากที่แม่ฮ่องสอน และร่ำรวยจากการค้าไม้สักซึ่งมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่ “วัดพระธาตุดอยกองมู” “กองมู” เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า เจดีย์ เดิมที่วัดพระธาตุดอยกองมู มีชื่อเรียกว่าวัดปลายดอย เป็นพระธาตุเจดีย์ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่บนเนินเขาที่ไม่ไกลจากตัวอำเภอมากนัก และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามไม่แพ้ใคร บริเวณวัดประกอบด้วย พระธาตุองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบมอญ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2403 โดยนายจองต่องสู่และภรรยา ภายในพระเจดีย์บรรจุพระธาตุของพระมหาโมคคัลลานะเถระ ที่พระอู่ปั่นเต้กต๊ะ ชาวเมืองตองกี ประเทศพม่า ได้นำมาจากเมืองมะละแหม่ง อีกทั้งยังมีการอัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองมะละแหม่งมาประดิษฐานรอบๆ องค์พระธาตุ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวในพุทธประวัติตอน “สัตตมหาสถาน” ที่แสดงถึงสถานที่สำคัญทั้ง 7 แห่ง ภายหลังการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอีกด้วย พระธาตุองค์เล็ก สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2417 เพื่อเป็นการฉลองและเป็นอนุสรณ์ของพญาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองคนแรกของแม่ฮ่องสอน โดยบรรจุพระธาตุของพระสารีบุตรเถระ ที่พระอู่เอ่งต๊ะก๊ะ นำมาจากเมืองมัณฑะเลย์

Read More

“นักสืบของอดีต” จากการวิจัยสู่บอร์ดเกม ย่อยงานวิชาการพร้อมเติมความสนุก

ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์เป็นประเด็นสำคัญที่ควรทำความเข้าใจและไม่ควรถูกละเลย แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าประเด็นดังกล่าวจะเน้นหนักไปทางวิชาการที่เข้าถึงและเข้าใจได้ไม่ง่ายนัก จนกลายเป็นถูกละเลยไปในที่สุด จะดีแค่ไหนถ้างานวิชาการที่ดูเหมือนเข้าใจยาก ถูกย่อยให้เข้าใจง่าย พร้อมเติมความสนุกในรูปแบบของ “บอร์ดเกม” ที่กำลังเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คน บอร์ดเกมชุด “นักสืบของอดีต” เป็นการต่อยอดจากโครงการวิจัย “มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กับพลวัตทางวัฒนธรรมบนพื้นที่สูง ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ของ ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยมีศุภร ชูทรงเดช และวริศ โดมทอง เป็นผู้ออกแบบและพัฒนา เพื่อนำอดีตมาสร้างเป็นอนาคต และกระจายองค์ความรู้เข้าไปถึงคนทุกระดับโดยเฉพาะเยาวชน โดยบอร์ดเกมชุดนักสืบของอดีตนั้นจะนำเอาความรู้ทางวิชาการที่ได้จากการวิจัยดังกล่าวทั้งทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ มาจำแนก แยก ย่อย พร้อมนำเสนอใหม่ในรูปแบบของบอร์ดเกมที่เข้าถึงได้ง่าย น่าสนใจ และสนุก เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมากขึ้น “บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสื่อสารงานวิจัยที่ซับซ้อน นำไปสู่การเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ง่าย ผ่านประสบการณ์ร่วมที่เกิดขึ้นระหว่างงานวิจัยและกลไกของเกมกระดาน และเป็นนวัตกรรมขนาดพกพาที่เสริมสร้างพฤติกรรมด้านการปะทะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความคิด ลดช่องว่างระหว่างวัย และช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของผู้เล่นในทุกระดับบนพื้นฐานของการเล่นแบบเผชิญหน้า ผ่านการใช้อุปกรณ์ที่จับต้องได้เป็นสื่อกลาง ซึ่งประสบการณ์ร่วมที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้เล่นที่มาจากต่างถิ่นฐาน ต่างภาษา และต่างวัฒนธรรม เกิดความเข้าใจ

Read More

ถ้ำผีแมนโลงลงรัก-แหล่งโบราณคดีปางมะผ้า ขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์แห่งแม่ฮ่องสอน

เป็นเวลากว่าสองทศวรรษที่ทีมนักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา นำโดย ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช ร่วมกันขุดค้นแหล่งโบราณคดีตามถ้ำและเพิงผาต่างๆ ที่กระจายอยู่ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนค้นพบหลักฐานสำคัญที่เป็นดั่งขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ของแม่ฮ่องสอน “แม่ฮ่องสอน” เป็นจังหวัดเล็กๆ ทางชายแดนด้านตะวันตกของภาคเหนือที่ถูกจัดอันดับว่าเป็นจังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำเกือบที่สุดของประเทศ และถูกมองว่าเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยาก การสัญจรไปมาลำบาก ด้วยภูมิประเทศที่เป็นภูเขาเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กลับพบว่าแม่ฮ่องสอนกำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่เน้นให้การศึกษามีลักษณะของการสืบค้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อเป็นฐานความรู้ในการพึ่งตนเอง และเพื่อสร้างอำนาจให้กับท้องถิ่นทั้งในเรื่องการจัดการทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐ ทำให้ช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ได้เกิดโครงการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ขึ้นอย่างมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่มีมากกว่า 200 ชิ้น ซึ่งผลงานวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีความรุ่มรวยทั้งมรดกทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ที่สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับจังหวัดได้ “โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน” งานวิจัยเชิงพื้นที่ระยะยาวที่บูรณาการศาสตร์ของโบราณคดี มานุษยวิทยา สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน อันมี ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

Read More