Home > แผ่นดินไหว (Page 2)

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตแผ่นดินไหว-สึนามิในนิวซีแลนด์

ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยในชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. และ วช. เปิดเผยว่า จากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ขนาด 7.3-8.1 หลายครั้งอย่างต่อเนื่องทางตอนเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่คืนวันที่ 4 ถึงเช้าตรู่ของวันที่ 5 มีนาคม 2564 ทำให้เกิดคลื่นสึนามิด้วยแต่มีขนาดไม่สูงมากจึงส่งผลกระทบต่อประชาชนค่อนข้างน้อย ต่างจากแผ่นดินไหวสุมาตราในปี 2547 ที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดไปสร้างความเสียหายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และเนื่องจากแผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่กลางมหาสมุทรห่างจากแผ่นดินพอสมควร จึงไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินหรือหมู่เกาะรอบ ๆ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวบริเวณแนวมุดตัวนี้มีแผ่นดินไหวขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่เกิดขึ้นมาโดยตลอด แผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่ตรงแนวชนกันและมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่มีชื่อว่าแนวมุดตัวทองกา-เคอร์มาเด็ค แนวมุดตัวนี้มีความยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร วางตัวมาจากด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเหนือของนิวซีแลนด์พาดยาวขึ้นมาทางทิศเหนือจนเกือบถึงประทศซามัว เป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งนึ่งของโลก กลไกการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทั้ง 3 ตัวในครั้งนี้มีความสลับซับซ้อนพอสมควร โดยแผ่นดินไหวตัวใหญ่ตัวแรก มีขนาด 7.3 เกิดขึ้นใกล้กับเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ อีก 4 ชั่วโมงถัดมาเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ทางเหนือห่างออกไปประมาณ 1,000 กิโลเมตร จึงไม่น่ากระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งที่สองได้ หลังจากนั้นอีกประมาณเกือบ 2

Read More

นักวิจัยแนะสำรวจอาคาร-ออกแบบตาม มยผ. ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดในแอ่งดินอ่อนเพิ่มขึ้น

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ผศ. ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ นักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกสว. จากมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าแผ่นดินไหวที่ ส.ป.ป.ลาว ในช่วงเวลา 06.50 น. ห่างจากอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ประมาณ 19 กม. เบื้องต้นเชื่อว่าเกิดบนรอยเลื่อนน้ำเป็งซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ที่อำเภอปัว เมื่อปี 2478 ที่ระยะห่างประมาณ 30 กม. ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลังอยู่เป็นจำนวนมากจึงเกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยครั้ง ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมามีแผ่นดินไหวขนาดกว่า 6.0 เกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อประเทศไทย พม่า และลาวกว่า 7 ครั้ง รวมทั้งครั้งนี้ด้วย สำหรับผู้อยู่อาศัยบนอาคารสูงในกรุงเทพมหานครนั้นสามารถรับรู้ถึงแผ่นดินไหวได้ประมาณปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ระยะไกล เนื่องจากการพัฒนาอาคารสูงตามการพัฒนาของเศรษฐกิจในระยะหลัง บุคคลทั่วไปรับรู้แผ่นดินไหวได้มากขึ้นกว่าในอดีต ที่ผ่านมาโครงการวิจัยได้ศึกษาผลกระทบดินอ่อนต่ออาคารในกรุงเทพมหานคร และพัฒนามาตรฐานการออกแบบแผ่นดินไหวครอบคลุมทุกอำเภอและกรุงเทพมหานคร โดยมาตรฐานแผ่นดินไหว (มยผ 1302-61) ซึ่งเผยแพร่โดยกรมโยธาและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กำหนดค่าการออกแบบสำหรับวิศวกรในการออกแบบตึกสูงให้ทนทานต่อแผ่นดินไหวที่รุนแรงเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครได้ แต่แม้ว่าจะเผยแพร่มาตรฐานดังกล่าวแล้วประชาชนทั่วไปอาจไม่เข้าใจถึงการนำไปใช้

Read More

วสท.ยกระดับมาตรฐานอาคารต้านแผ่นดินไหว ลดภัยพิบัติ-สังคมปลอดภัยจากงานวิจัยสกสว.

วสท.โดยคณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม จัดสัมมนารับกฎกระทรวง และ มยผ.ที่ปรับปรุงใหม่จากข้อมูลงานวิจัย สกสว. หวังสร้างเสริมนวัตกรรมในการออกแบบอาคารให้มีความแข็งแรง ผู้อยู่อาศัยมั่นใจ ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในภาวะฉุกเฉิน หลังจากมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1302-52) ได้ประกาศใช้เมื่อปี 2552 และได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบกับความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ หลายครั้ง ส่งผลต่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ประกอบกับมีข้อมูลแผ่นดินไหวและผลการศึกษาทางธรณีวิทยาเพิ่มเติม กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้มอบหมายให้คณะผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวทำการศึกษาเพื่อการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และข้อมูลในปัจจุบัน โดยมาตรฐานฉบับใหม่ล่าสุด คือ มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ.1301/1302-61 ล่าสุด วสท.ได้จัดการอบรม “กฎกระทรวงและมาตรฐาน มยผ. การออกแบบบบบบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวฉบับใหม่” นำทีมโดย ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกสว. ซึ่งกล่าวว่าการปรับปรุงครั้งนี้มุ่งเน้นวิธีการวิเคราะห์การออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวให้สมบูรณ์มากขึ้นโดยเน้นประเด็นหลักที่สำคัญคือ ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวในรูปของความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมทั่วประเทศ ค่าความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่พิจารณาแอ่งดินลึก ข้อกำหนดในการใช้โครงสร้างแบบความเหนียวจำกัด ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผนังอิฐก่อ การออกแบบฐานราก การให้รายละเอียดเหล็กเสริม วิธีการออกแบบโครงสร้างด้วยวิธีสเปกตรัม ผลตอบสนองและการปรับปรุงด้านอื่น ๆ “มาตรฐานวิชาชีพจะต้องปรับปรุงเป็นระยะ ๆ เนื่องจากมีผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว ซึ่งคณะวิจัยได้นำประสบการณ์มาทบทวนใหม่ โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีมากขึ้น การสำรวจทำให้เราสามารถประเมินการสั่นสะเทือนได้ดีขึ้น และนำมาปรับข้อกำหนดการออกแบบใหม่ นอกจากนี้ผลการวิจัยก็ชี้ว่ามาตรฐานของต่างประเทศไม่เหมาะสมกับบริบทในประเทศไทย” ด้าน รศ.

Read More