จับตาอโยธยา 4.0 บนหนทางสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน
สายลมที่พัดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ปะทะสไบของหญิงสาวจากยุคดิจิทัล ชายสไบปลิวไสวลู่ไปตามแรงลม รอยยิ้มที่ฉาบอยู่บนใบหน้ายามต้องแสงอาทิตย์ท่ามกลางอุณหภูมิที่ร้อนอบอ้าว ยิ่งทำให้ดวงหน้านั้นน่ามองยิ่งขึ้น หากแต่คงจะดีกว่านี้หากไม่มีแว่นดำกันแดดบดบังนัยน์ตาสวยใสเอาไว้ พร้อมกับสมาร์ทโฟนในมือที่กลายเป็นอวัยวะชิ้นใหม่ที่เรียกกว่าขาดออกจากร่างกายไม่ได้แม้สักเพียงชั่วลมหายใจหนึ่ง เสียงบรรยายดังมาจากบริเวณโดยรอบพื้นที่วัดไชยวัฒนาราม ที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานกำลังอธิบายปูมหลัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสถานที่ให้แก่นักท่องเที่ยวที่สนใจใคร่รู้ ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ที่นุ่งโจงห่มสไบตามกระแสละครกำลัง selfie เพื่อเก็บภาพตัวเองกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์เป็นที่ระลึก แม้ส่วนหนึ่งจะมีเหตุผลเพื่อตามรอยละครดังก็ตาม กระนั้นการแต่งกายด้วยชุดไทยไปยังสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในห้วงยามนี้ แท้จริงแล้วเริ่มต้นมาตั้งแต่งาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” ที่จัดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แม้ว่าความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในเวลานี้ หลายอย่างจะเป็นเพียงกระแสที่ผู้คนแห่แหนทำตามกันไป แต่นัยหนึ่งต้องยอมรับว่าท่ามกลางกระแสเหล่านั้น ล้วนแต่มีกิมมิกเล็กๆ น้อยๆ ที่สร้างสีสันให้น่าดูน่ามองอยู่ไม่น้อย หากแต่จะมองให้ลึกลงไปอีกมิติ กลับมีคำถามให้ชวนขบคิดว่า ผู้คนเหล่านั้นเข้าใจความหมายของชุดไทยมากน้อยเพียงใด หรือชุดไทยนั้นๆ เป็นชุดที่เคยใช้ในยุคใด สมัยใด หรือการแต่งให้ครบเครื่องนั้นต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง หลังจากแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสนใจและเดินทางมาท่องเที่ยวมากขึ้น แม้จะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่กลับมีประเด็นให้หลายฝ่ายต้องระดมสมองว่าจะทำอย่างไรให้การท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในเวลานี้ เป็นการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ไม่ใช่เป็นเพียงกระแสแล้วผ่านพ้นไป กระทั่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. จัดเสวนาในหัวข้อ “อโยธยา 4.0 สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” โดย สุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา บอกกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “ในวันปกติมีนักท่องเที่ยวไม่ถึงพันคน แต่หลังจากละครออกอากาศมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ตอนนี้วันละประมาณ 5
Read More