อุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม ผู้อยู่รอดในยุคโควิดครองเมือง?
มาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลที่มีหมุดหมายเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ให้ขยายวงกว้างมากเกินกว่าความสามารถของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะทานไหว ส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มาตรการดังกล่าวคล้ายเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดความต้องการอาหารมากกว่าสถานการณ์ปกติ นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการกักตุนอาหารทั้งในแง่ของผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก หรือประชาชน เช่น แรงงานภาคขนส่งจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่แรงงานบางส่วนยังไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีน หรือเกิดคลัสเตอร์ในกลุ่มแรงงานภาคการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาจทำให้ผลผลิตมีจำนวนลดลง รวมถึงระยะเวลาในการขนส่งที่อาจล่าช้ากว่าเดิม ซึ่งจะทำให้การกระจายสินค้าไปในพื้นที่ยากลำบากมากขึ้น ศูนย์วิจัยธนาคารออมสินเคยวิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นจากการขยายตัวของความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการที่หลายประเทศประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไปประเทศคู่ค้าหลักขยายตัว โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมรับประทานพร้อมปรุง ตลอดจนอาหารที่สามารถเก็บรักษาได้นาน เช่น ไก่สดแช่แข็ง ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่คาดว่ามูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 น่าจะเติบโตดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดย 3 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มไทยเติบโต คือ 1. เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 2. การบริหารจัดการวัคซีนมีประสิทธิภาพ และ 3. การขาดแคลนแรงงานคลี่คลาย ทั้งนี้อาจมีปัจจัยที่ต้องติดตามทั้งราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ช่วงครึ่งหลังปี 2564 มูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยน่าจะเติบโตราว 4.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน ส่งผลให้ภาพรวมปี 2564
Read More