Home > สึนามิ

นักวิจัยชี้ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวภาคเหนือทำไม่ได้ ห่วงการรับมือสึนามิยังขาดความตื่นตัว-อพยพไม่ทัน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวและส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ จนเกิดกระแสในโลกโซเชียลติดอันดับ 2 ของทวิตเตอร์ประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 โดยส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงการมีระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือเช่นเดียวกับในต่างประเทศนั้น ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวมีหลายรูปแบบ บางแบบจะไม่สามารถเตือนภัยได้ แต่บางรูปแบบอาจจะเตือนภัยได้แต่ก็เพียงไม่กี่สิบวินาทีก่อนเกิดการสั่นสะเทือนรุนแรง ในกรณีภาคเหนือของประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งส่งผลรุนแรงในระยะใกล้จุดศูนย์กลาง จึงเป็นแผ่นดินไหวในรูปแบบที่ไม่สามารถเตือนภัยได้ ส่วนกรณีของกรุงเทพมหานคร การสั่นสะเทือนจะเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีศูนย์กลางห่างไกลออกไปนับร้อยกิโลเมตร ในกรณีเช่นนี้มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว ซี่งอาจจะเตือนได้เพียง 10-20 วินาทีก่อนที่คลื่นแผ่นดินไหวจะวิ่งมาถึงกรุงเทพฯ ระยะเวลาเตือนภัยสั้น ๆ นี้จึงอาจไม่เพียงพอที่จะอพยพผู้คนออกจากอาคาร แต่อาจช่วยให้หลบเข้าที่ปลอดภัยได้ หรืออาจนำมาใช้ในการชะลอความเร็วของรถไฟความเร็วสูงที่จะมีในอนาคต เพื่อให้รถวิ่งช้าลงและไม่ตกรางจนเกิดอันตราย สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นมีหลายรูปแบบ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมืองโกเบเมื่อหลายสิบปีก่อน และแผ่นดินไหวที่จังหวัดคุมาโมโตะ เป็นแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางใกล้ตัวเมืองมาก จึงไม่สามารถเตือนภัยได้ เพราะคลื่นแผ่นดินไหววิ่งเร็วมากด้วยความเร็วประมาณ 3-6 กิโลเมตร/วินาที ทำให้คลื่นแผ่นดินไหววิ่งมาถึงตัวเมืองในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก ๆ ในทะเลที่อยู่ห่างจากชายฝั่งหลายร้อยกิโลเมตร

Read More

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตแผ่นดินไหว-สึนามิในนิวซีแลนด์

ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยในชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. และ วช. เปิดเผยว่า จากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ขนาด 7.3-8.1 หลายครั้งอย่างต่อเนื่องทางตอนเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่คืนวันที่ 4 ถึงเช้าตรู่ของวันที่ 5 มีนาคม 2564 ทำให้เกิดคลื่นสึนามิด้วยแต่มีขนาดไม่สูงมากจึงส่งผลกระทบต่อประชาชนค่อนข้างน้อย ต่างจากแผ่นดินไหวสุมาตราในปี 2547 ที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดไปสร้างความเสียหายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และเนื่องจากแผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่กลางมหาสมุทรห่างจากแผ่นดินพอสมควร จึงไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินหรือหมู่เกาะรอบ ๆ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวบริเวณแนวมุดตัวนี้มีแผ่นดินไหวขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่เกิดขึ้นมาโดยตลอด แผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่ตรงแนวชนกันและมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่มีชื่อว่าแนวมุดตัวทองกา-เคอร์มาเด็ค แนวมุดตัวนี้มีความยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร วางตัวมาจากด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเหนือของนิวซีแลนด์พาดยาวขึ้นมาทางทิศเหนือจนเกือบถึงประทศซามัว เป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งนึ่งของโลก กลไกการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทั้ง 3 ตัวในครั้งนี้มีความสลับซับซ้อนพอสมควร โดยแผ่นดินไหวตัวใหญ่ตัวแรก มีขนาด 7.3 เกิดขึ้นใกล้กับเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ อีก 4 ชั่วโมงถัดมาเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ทางเหนือห่างออกไปประมาณ 1,000 กิโลเมตร จึงไม่น่ากระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งที่สองได้ หลังจากนั้นอีกประมาณเกือบ 2

Read More