จากสินมั่นคงสู่ฟู้ดแพนด้า บทเรียนที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม
การดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบันที่โลกต้องประสบกับปัญหาโรคระบาดที่ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่นั้น เป็นเรื่องยากอยู่แล้วที่จะประคองธุรกิจให้ผ่านคลื่นลมพายุที่โหมกระหน่ำทุกทิศทาง นอกจากความท้าทายที่กล่าวไปในข้างต้น ความขัดแย้งทางสังคมไทยในปัจจุบันที่แบ่งออกเป็นฝักฝ่ายอย่างชัดเจน ดูจะเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจจำเป็นจะต้องนำมาขบคิด ในห้วงยามนี้ หากนักการตลาดหรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลภาพลักษณ์สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ พยายามจะยึดโยงแบรนด์ที่ก่อร่างสร้างตัวมานาน โดยมุ่งหวังเพียงแค่จะเกาะกระแสเพื่อให้ได้พื้นที่หน้าข่าวจากประเด็นความขัดแย้ง ด้วยการไปเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ดูจะเป็นการไม่เหมาะสมนัก เพราะนอกจากจะผิดจากหลักการตลาดพื้นฐานแล้ว ยังเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของแบรนด์ทางอ้อมด้วยเช่นกัน บทเรียนจากประกาศยกเลิกกรมธรรม์โควิดแบบ “เจอ จ่าย จบ” ของ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม 2564 สร้างความเสียหายในหลายมิติต่อแบรนด์ ทั้งแง่มุมของความน่าเชื่อถือที่สินมั่นคงสร้างเอาไว้มาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ที่เริ่มดำเนินธุรกิจในวันที่ 27 มกราคม 2494 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกเพียง 2 ล้านบาท ภายใต้ชื่อ บริษัท ป้วนฮงเซ้งประกันภัย จำกัด ซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น สินมั่นคงประกันภัย ในเวลาต่อมา ความมั่นคงที่แบรนด์ได้สร้างไว้เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นในปี 2534 ที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และแปรสภาพเป็น บริษัท มหาชน จำกัด ในปี 2537 การประกาศยกเลิกกรมธรรม์โควิดในช่วงเวลานี้สร้างความสั่นคลอนให้แก่ธุรกิจประกันภัยโดยรวมทั้งประเทศ แน่นอนว่าประชาชนผู้ซื้อและถือครองกรมธรรม์ ต่างมีคำถามผุดขึ้นในใจในเวลาไม่นานว่า บริษัทเจ้าของกรมธรรม์ที่ตัวเองทำข้อตกลงไว้
Read More