Limited Education แก้ปัญหาผ่านแบรนด์ เปลี่ยนการศึกษาไทยให้เป็นของ (ไม่) ลิมิเต็ด
เสื้อยืดสีขาวที่มีตัวอักษรโย้เย้สะกดชื่อแบบผิดๆ ถูกๆ อยู่บนตัวเสื้อ หรือ ป้าย “ขนมปังเนยโสด” ที่อยู่บนกล่องขนมปังเนยสดของร้านขนมหวานชื่อดังอย่าง After You คงเคยผ่านตาของใครหลายคน แม้มุมหนึ่งอาจจะดูน่ารัก ดึงดูดความสนใจ ประหนึ่งการตลาดรูปแบบใหม่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ภายใต้ตัวอักษรเหล่านั้นกำลังสะท้อนความจริงของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทย “ความเหลื่อมล้ำ” เป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง แต่โดยส่วนมากมักนึกถึงความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจหรือรายได้เป็นหลัก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้เป็นปัญหาที่เห็นภาพเด่นชัดในสังคมไทย ทว่าช่องว่างของรายได้และทรัพย์สินที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ ในสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา” ที่โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพถูกจำกัดด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัญหาเรื้อรังที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ตัวอักษรโย้เย้และคำสะกดผิดที่อยู่บนเสื้อยืดสีขาวและกล่องขนมข้างต้น คือหนึ่งในความพยายามที่จะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผ่านโครงการ “Limited Education” ที่เป็นดั่งพื้นที่รวบรวมสินค้า Limited Edition จากแบรนด์ดังต่างๆ ที่เห็นความสำคัญและพร้อมที่จะเข้ามาร่วมกันเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย โดยเชื่อว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยจะลดลงได้ เมื่อเกิดพื้นที่แห่งความร่วมมือจากทุกคน ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ อุดหนุน และส่งต่อประเด็นปัญหา ผ่านสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษโดยใช้คำที่สะกดผิดจากลายมือจริงของเด็ก ที่ดูผ่านๆ หลายคนคงคิดว่าเป็นลายมือของเด็กประถม แต่แท้ที่จริงแล้วทุกตัวอักษรและทุกข้อความที่ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เป็นฝีมือของเด็กระดับมัธยมต้น ที่กำลังเผชิญกับปัญหาทางการศึกษา ขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ทำให้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น “จากสถิติปี 2563 เราพบว่า
Read More