เงินเฟ้อพุ่ง ราคาพลังงาน-อาหารสูง เศรษฐกิจโลกติดลบ
สถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบัน คงต้องเรียกว่าสาหัส เมื่อนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ออกแถลงตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 7.1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 13 ปี นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 เงินเฟ้อที่สูงขึ้นครั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอีกหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา หรือประเทศในแถบยุโรป ซึ่งเป็นผลมาจากราคาพลังงานและอาหาร ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงินเฟ้อในประเทศไทยถูกผลักดันจากราคาพลังงานกว่า 60% และราคาอาหารประมาณ 17% ซึ่งหากหักพลังงานและอาหารออก ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.28% แน่นอนว่าปัจจุบันคนไทยเริ่มมีอาการร้อนๆ หนาวๆ และพยายามเร่งปรับตัว หลายครัวเรือนปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์อันยากลำบากนี้ ทว่า จำนวนเงินที่มีอยู่ในกระเป๋าแม้จะมีเท่าเดิม แต่มูลค่ากลับลดลงอย่างต่อเนื่อง หากภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นเช่นนี้ นอกจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น คนไทยจะต้องแบกรับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น จากการที่ภาครัฐยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม และทยอยปรับขึ้นแบบเป็นขั้นบันได การปรับขึ้นค่าเอฟที (FT) ของค่าไฟฟ้า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง ทั้งเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป สินค้ากลุ่มพลังงานที่มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 37.24% สินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 6.18% ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนระหว่างเดือนเมษายนกับเดือนพฤษภาคม ภาพรวมค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 246 บาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าระดับเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี โดยจะมีระดับสูงสุดในช่วงไตรมาส
Read More